ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ก l บทที่ ข l บทที่ ค l บทที่ ฆ l บทที่ ง l บทที่ จ l บทที่ ช l บทที่ ซ l บทที่ ญ l บทที่ ฒ l
บทที่ ด l บทที่ ต l บทที่ ถ l บทที่ ท l บทที่ น l บทที่ บ l บทที่ ป l บทที่ ผ l บทที่ ฝ l บทที่ พ l
บทที่ ม l บทที่ ย l บทที่ ร l บทที่ ล l บทที่ ว l บทที่ ศ l บทที่ ส l บทที่ ห l บทที่ อ l บทอื่น ๆ l



กาในฝูงหงส์
คนชั้นต่ำอยู่ในหมู่ผู้ดี


เกลียดตัวกินไข่
เกลียดส่วนใหญ่รักส่วนย่อย


กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ
กษัตริย์ย่อมทรงถือความสัตย์ ไม่เปลี่ยนแปลง
พระเจ้าเชียงใหม่ ในเรื่องขุนช้างขุนแผนตรัสว่า
"ทุกสิ่งสิ้นสารพัดเป็นสัจจัง ชาติกษัตริย์ตรัสดังช้างงา
ถ้าขืนคดหดเตียนเป็นเศียรเต่า ขอให้เราสิ้นชีวังเป็นสังขาร์"


กล้านักมักบิ่น
แข็งนักมักหัก (กล้าเป็นคุณสมบัติของเหล็กเช่นมีดดาบ)


กันดีกว่าแก้
ป้องกันไว้ไม่ให้เกิด ดีกว่าปล่อยไว้ให้เป็นไปแล้วจึงแก้ไข


การขี้รดหัวตัวเองมองไม่เห็น
ไม่เห็นโทษหรือความผิดของตัว


กินในที่ลับไขในที่แจ้ง
เปิดความลับที่เขาไว้ใจตัว


กินบนเรือนขี้บนหลังคา
อกตัญญู อาศัยเขาแล้วยังทำให้เขาเดือดร้อน


กินเป็นต้น นอนเป็นประธาน เที่ยวเป็นปริโยสาน
เกียจคร้าน เอาแต่กินกับนอน แล้วเที่ยวไม่ทำงานให้เกิดประโยชน์


แกว่งเท้าหาเสี้ยน
รนหาเรื่อง


ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
ไก่งามตามธรรมชาติ แต่คนต้องอาศัยการแต่งเพิ่มเติม


กงกรรมกงเกวียน
ทุกข์กับสุขหมุนเวียนกันไปตามกรรมที่สร้างไว้


กระดี่ได้น้ำ
แสดงกริยาดีใจเหมือนปลากระดี่ที่โยนลงไปในน้ำ


กระโถนท้องพระโรง
ผู้รับบาป ผู้ถูกใช้มาก


กัดก้อนเกลือกิน
อดทน สู้ทนต่อความยากจน


กินนอกกินใน
เอากำไรทั้งทางตรงและทางอ้อม


กินน้ำตาต่างข้าว
ได้รับความทุกข์ยาก


ไก่แก่แม่ปลาช่อน
มีความชำนาญมากเพราะอายุมาก


เกลือเป็นหนอน
สนับสนุนให้ผู้อื่นคิดร้ายแก่พวกตน


กระเชอก้นรั่ว
เปรียบถึงคนสุรุ่ยสุร่าย


กินน้ำเห็นปลิง
ใช้ของไม่สนิท เพราะของนั้นมีตำหนิมาก่อน


กินน้ำใต้ศอก
อยู่ในฐานะต้องเสียเปรียบ


แกงจืดจึงรู้คุณแกง
ต่อเมื่อเดือดร้อนจึงนึกถึงคุณ


กินข้าวต้มกระโจมกลาง
ทำพรวดพราดไม่ดูให้ดี



กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
กว่าจะแก้ไขเหตุการณ์ได้ก็สายเสียแล้ว


songkran2000@chaiyo.com