Home

??????????????????????????????????????
?????????????????
??????
???????????????
????????????? 1
????????????
???????????
?????????? 3
?????????? 2

กล้องส่องทางไกลนับเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่นักนิยมธรรมชาติมักจะอยากมีไว้ใช้ แต่เมื่อไป
เลือกดูในท้องตลาดก็มักจะสับสนเพราะว่ากล้องส่องทางไกลมีมากมายหลายแบบและมีข้อมูล
สเปกหลายอย่างที่ยากจะเข้าใจ จนทำให้เลือกไม่ถูก ผมจึงขอรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการ
เลือกกล้องส่องทางไกลโดยจะข้อจำกัดไว้ที่กล้องส่องทางไกลชนิดสองตาเอาไห้อ่านกันก่อนจะ
เสียสตางค์ซื้อ

กล้องสองตามีราคาต่างกันตั้งแต่ พันกว่าบาทไปจนถึงหลายหมื่น แต่ละตัวถูกออกแบบมาให้
ใช้งานในวัตถุประสงค์ต่างๆกัน กล้องราคาแพงไม่จำเป็นจะต้องดีกว่ากล้องราคาถูกเสมอไป
เพราะมันอาจจะไม่ตรงกับการใช้งานของคุณก็ได้

อ่านสเปก

เมื่อคุณไปเลือกซื้อกล้องสองตา ตัวเลขแรก(ไม่นับราคานะครับ) ที่คุณจะเห็นก็คงเป็นตัวเลขที่
พิมพ์ติดอยู่ข้างกล้องเช่น 8x30, 7x42, 7-21x50 ตัวเลขเหล่านี้แหละเป็นสิ่งที่คุณควรจะ
ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างแรก

 สเปกของกล้อง Swarovski 10x42

Swarovski SLC 10x42
Center Focus
Roof Prism
Exit Pupil 4.2 mm
Field Of View @ 1000 yds. = 330'
Easy-to-grip armouring
1/4 inch tripod connection thread
Twist-in eye cups
 Waterproof to 13 ft.
 Minimum Focus Distance 13.2'
 Weighs 30.7 oz.

เลขตัวแรกคนส่วนใหญ่มักจะเดาได้ว่ามันคือกำลังขยายของกล้อง(magnification) กำลัง
ขยายนี้เป็นตัวบอกว่ากล้องตัวนี้จะดึงภาพเข้ามาได้ใกล้เพียงใด เช่นกล้องที่มีกำลังขยาย 10
เท่าจะทำให้วัตถุที่อยู่ห่างออกไป 100 เมตร ปรากฏในกล้องเหมือนกับมันอยู่ห่างออกไปเพียง
สิบเมตร

อย่างนี้ยิ่งกำลังขยายมากก็ยิ่งดีซิ? ทุกคนที่จะซื้อกล้องส่องทางไกลเป็นตัวแรกมักจะคิดอย่างนี้
แต่ความจริงแล้วก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไปเพราะเมื่อกำลังขยายเพิ่มขึ้นความสว่างของภาพ
ก็จะลดลง(อ่านเพิ่มในเรื่อง exit pupil อีกสองสามย่อหน้าข้างล่าง), มุมมองของภาพก็จะ
แคบลง และนอกจากนี้การสั่นไหวที่เกิดจากมือก็จะรู้สึกได้มากขึ้นจนทำให้รู้สึกวิงเวียนได้ง่าย
กำลังขยายที่เหมาะสำหรับการถือส่องทั่วๆไปจะอยู่ในช่วง 7 ถึง 8 เท่า 

กล้องบางตัวก็มีเลขเป็นช่วงเช่น 7-21x50, 8-12x35 ซึ่งก็หมายความว่าสามารถซูมหรือ
เปลี่ยนกำลังขยายได้ ซึ่งก็ไม่แล้วนักแต่อย่าไปหลงกับตัวเลขกำลังขยายมากๆ เพราะที่กำลัง
ขยายขนาดนั้นภาพที่เห็นจะมืดมากและคุณจะไม่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้ ขนาดซัก 8-12 ยัง
พอใช้งานได้แต่มากกว่านั้นก็ไม่เป็นประโยชน์แล้ว

ตัวเลขตัวหลังจะหมายถึงความกว้างของหน้ากล้อง(objective lens size) ในหน่วยของ
มิลลิเมตร กล้องที่มีหน้ากล้องใหญ่ก็ย่อมจะรับแสงผ่านได้มากกว่า ซึ่งก็หมายถึงว่าคุณจะเห็น
ภาพที่สว่างกว่า

อ้าว.... อย่างนี้ซื้อกล้องที่หน้ากล้องกว้างๆก็ดีกว่าซิ? ก็มีส่วนถูกอยู่บ้างครับ แต่การที่หน้า
กล้องกว้างมากๆ คุณก็จะได้กล้องที่ตัวใหญ่และน้ำหนักมากไปด้วย และถ้าคุณไม่ได้ใช้มันใน
ที่ๆแสงน้อย หน้ากล้องที่กว้างใหญ่นี้ก็ไม่ได้ให้ประโยชน์สักเท่าใด

กล้องสองตา Olympus ขนาด
7x35 ขนาดกำลังดี

Swift 15x60 
 ใครจะซื้อมาแบกไปดูนกก็เชิญ 
ผมขอตัวไม่ช่วยแบก

จากตัวเลขกำลังขยายและขนาดของหน้ากล้องนี้ยังบอกข้อมูลอีกอย่างหนึ่งก็คือ ขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลางของลำแสงที่ผ่านเข้าสู่ตา (exit pupil) ตัวเลขนี้คิดคำนวณได้จากการเอาความ
กว้างของหน้ากล้องหารด้วยกำลังขยาย เช่น กล้องขนาด 8x40 ก็จะมีขนาดลำแสงเท่ากับ
40/8 = 5 มิลลิเมตร คุณจะสามารถเห็น exit pupil นี้ได้โดยการมองที่เลนส์ตาหรือ
eyepiece (เลนส์ที่อยู่ใกล้ตาเวลาเราส่องกล้องนั่นแหละครับ) โดยให้กล้องอยู่ห่างประมาณ 12
นิ้ว

ขนาดลำแสงยิ่งใหญ่ก็จะทำให้ภาพที่เห็นมีความเปรียบต่าง(contrast)ดีขึ้น แต่ขนาดลำแสงที่
 ใหญ่เกินไปก็ไม่มีประโยชน์นักเพราะขนาดของรูม่านตาของคนจะเป็นตัวจำกัดลำแสงที่ผ่านเข้า
สู่ตาของเราอยู่ดี ขนาดรูม่านตาของคนเรานี้จะหดลงเมื่อแสงจ้าและขยายขึ้นเมื่อแสงน้อยโดย
ที่จะเปิดได้กว้างสุดเพียง 7 มม. ดังนั้นกล้องที่มีขนาดลำแสงเกินกว่า 7มม.จึงไม่เกิด
ประโยชน์อะไร และนอกจากนี้กล้องที่ใช้ส่องเวลากลางวันก็ไม่จำเป็นจะต้องมีขนาดลำแสง
 ใหญ่ถึง 7มม. เพียงแค่ 2-3มม.ก็เพียงพอแล้ว ส่วนกล้องที่จะใช้ในที่แสงน้อยอย่างการดูนก
ตอนเย็นย่ำ (อาจรวมถึงการส่องดูน้องนกข้างบ้านด้วยก็ได้) ก็น่าจะมีขนาดลำแสงประมาณ 5-7
มม.

วิธีวัดขนาดของหน้ากล้อง

วิธีวัด exit pupil

ตัวเลขอีกตัวที่อาจจะมีพิมพ์ไว้ที่กล้องก็คือมุมรับภาพ (field of view) ซึ่งอาจจะบอกใน
ลักษณะของ องศาเช่น 65 ํ หรืออาจบอกเป็นความกว้างของภาพที่เห็นในระยะต่างๆ เช่น  120
เมตรที่ 1000 เมตร ซึ่งก็หมายถึงว่ากล้องตัวนี้สามารถมองเห็นเรือขนาดยาว 120 เมตร ที่
จอดอยู่ห่างไป 1000 เมตรได้ทั้งลำพอดี

การแปลงจากหน่วย เมตรที่ 1000 เมตรมาเป็น องศาเพื่อเปรียบเทียบกล้องหลายๆตัวก็
สามารถทำได้โดย การหารด้วย 17 เช่น 120 เมตรที่ 1000 เมตร ก็คือ 120/17 = 7 องศา
ถ้าบอกมาเป็น ฟุตที่ 1000 หลาก็สามารถแปลงเป็นองศาได้โดยการหารด้วย 52.5

มุมรับภาพก็มีส่วนสำคัญ

กล้องที่มีมุมรับภาพกว้างมักจะเขียน
บอกไว้เลยว่าเป็น Wide Angle เช่น
Bushnell 7x32ตัวนี้

มุมรับภาพที่กว้างก็จะทำให้การมองหาวัตถุเช่น การมองหานกทำได้ง่ายขึ้น กล้องบางตัวอาจจะ
เขียนโฆษณาไว้เลยว่าเป็นกล้อง Wide Angle ซึ่งก็มักจะหมายความว่ากล้องตัวนั้นมีมุมรับ
ภาพตั้งแต่ 65 องศาขึ้นไป

ตัวเลขที่สำคัญอีกตัวก็คือ ระยะสบายตา (eye relief) เลขตัวนี้จะบอกระยะห่างจากตาถึง
เลนส์ตาที่ยังทำให้มองภาพได้เต็มจออยู่ อันนี้สำคัญมากสำหรับผู้ที่ใส่แว่นสายตาเพราะท่านจะ
 ไม่สามารถเอาตาเข้าไปใกล้เลนส์ตาได้โดยไม่ถอดแว่น

ถ้าคุณใส่แว่นคุณควรจะเลือกกล้องที่มี eye relief อย่างน้อย 14 มม.(กล้องบางตัวเขียนคำว่า
long eye relief ไว้เลย) และคุณควรจะเลือกกล้องที่สามารถพับหรือยืดหดแหวนยาง (eye
cup) ได้ ก็จะทำให้คุณใช้กล้องตัวนั้นได้ดียิ่งขึ้น

คนที่ใส่แว่นควรจะเลือกกล้องที่สามารถปรับหรือ
พับยางeyecup ได้ ในภาพนี้เป็นกล้องสองตา
Leica ที่สามารถปรับกระบอกเลนส์ตาได้

แบบของกล้องส่องทางไกล

นอกจากตัวเลขสเปกทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วคุณก็ควรจะทำความรู้จักกับแบบต่างๆของกล้อง
ส่องทางไกลกันอีกสักนิดก่อนจะออกไปเลือกซื้อ

ชนิดของปริซึ่ม

ท่านที่เคยสังเกตดูกล้องส่องทางไกล ก็คงพอจะเคยเห็นแล้วว่ากล้องส่องทางไกลมีรูปร่าง
หลากหลาย แต่ถ้าดูกันจริงๆแล้วก็คงจะแบ่งออกได้เป็นสองรูปร่างใหญ่ๆคือ กล้องที่เป็น
ทรงกระบอกตรงๆกับ กล้องที่มีรูปร่างหยักเป็นรูปคล้ายตัว N ทั้งนี้ก็เพราะกล้องทั้งสอง
แบบนี้มีโครงสร้างภายในที่แตกต่างกัน

กล้องส่องทางไกลเกือบทุกตัว (ยกเว้นกล้องแบบเด็กเล่น) จะมีแท่งแก้วทรงปริซึ่มอยู่ข้างใน
ระหว่างเลนส์หน้ากล้องและเลนส์ตา มันจะทำหน้าที่กลับภาพให้หันหัวตั้งขึ้นให้ตรงกับความเป็น
จริง

ปริซึ่มที่ใช้ในกล้องส่องทางไกลมีอยู่สองแบบคือ

1) Porro Prism อันนี้เป็นแบบที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป โดยที่ตัวกล้องจะเป็นหยักคล้ายตัว N

2) Roof Prism กล้องแบบนี้จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกตรงๆ ปริซึ่มแบบนี้จะมีขบวนการ
ทำที่ซับซ้อนยุ่งยากกว่าแบบ Porro Prism จึงมักจะมีราคาสูงกว่าไปด้วย แต่ก็จะมีรูปร่างที่
กระทัดรัดกว่า

ข้างซ้าย Roof Prism

ข้างขวา Perro Prism

เนื้อแก้วที่นำมาใช้ทำปริซึ่มก็มีผลต่อความคมชัดของภาพ โดยปรติแล้วปริซึ่มมักจะทำจาก แก้ว
บอโรซิลิเกต (BK7) แต่กล้องคุณภาพดีๆก็มักจะใช้แก้วคุณภาพสูงที่เรียกกันว่า แก้วแบเรี่ยม
คราวน์ (BaK4) ซึ่งถ้ายี่ห้อไหนใช้แก้วชนิดนี้ก็มักจะเขียนโม้ไว้ในสเปกด้วย

ระบบการปรับระยะชัด (Focus System)

กล้องส่องทางไกลมีระบบการปรับโฟกัสหลายแบบด้วยกัน

1)  Center Focus ระบบนี้จะมีปุ่มหมุนสำหรับปรับโฟกัสอันเดียวอยู่ตรงกลาง ทำให้สะดวก
ต่อการปรับโฟกัส

2) Individual Focus ระบบนี้จะมีปุ่มปรับโฟกัสอยู่ที่กระบอกเลนส์ตาข้างละอัน การปรับ
โฟกัสจะทำได้ไม่ง่ายนักโดยเฉพาะกับมือใหม่ทั้งหลาย แต่ก็มีข้อดีที่โครงสร้างไม่ซับซ้อนทำให้
แข็งแรงและกันน้ำและฝุ่นละอองได้ดี มักจะพบเห็นในกล้องรุ่นที่ใช้ในทางทะเลหรือทางทหาร

3) Focus Free ระบบนี้ไม่จำเป็นต้องโฟกัสเพราะระยะโฟกัสถูกตั้งมาแล้ว อันนี้ก็ใช้ได้ดีพอ
สมควรแต่ก็ไม่ได้ให้ภาพที่คมชัดทุกระยะเหมือนกล้องที่ปรับได้

กล้องสองตาส่วนมากจะใช้ระบบ CenterFocus
คือใช้ปุ่มเดียวปรับระยะชัดทั้งสองตาโดยที่สามารถ
ปรับชดเชยการไม่เท่ากันของตาทั้งสองข้างด้วย

กล้องนิคอนสำหรับการใช้งานทางน้ำใช้
ระบบโฟกัสแยกเพื่อให้กันน้ำได้เต็มที่ 

เลือกแบบไหนให้เหมาะกำการใช้งานของคุณ

ส่วนนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นเพื่อให้ตัวเลือกของคุณแคบลงแต่ถ้าคุณมีความคิดเห็นที่แตกต่าง
 ไปก็ไม่ว่ากัน

1) กล้องสำหรับดูนก ควรจะมีกำลังขยายประมาณ 7-8 เท่า ถ้าอยากได้ขยายมากอีกนิดก็ไม่
ควรเกิน 10 เท่า ตัวกล้องไม่ควรใหญ่และมีน้ำหนักมากนักเพราะเดี๋ยวคุณจะเมื่อเสียก่อนจะได้
ดูนก ขนาดที่เหมาะสมสำหรับมือใหม่ก็คือ 7x35, 8x35 Porro Prism กล้องแบบนี้จะมีราคา
ไม่แพงนัก, กำลังขยายพอเหมาะ, ให้ความสว่างพอสมควร ขนาดกระทัดรัดและน้ำหนักไม่มาก
เกินไป

กล้องดูนกในขนาดและราคาปานกลางมีให้เลือกซื้อมากมาย ในภาพจากซ้ายไปขวาคือ
Minolta Activa 7x35, Nikon 8x30E, Bushnell 8x30 และ Pentax PCF 8x40

ถ้าคุณมั่นใจว่าจะดูนกเป็นงานเป็นการจริงๆและไม่เดือดร้อนเรื่องเงินทองละก็ ลองดู Roof
 Prism 8x32, 7x42, 8x40 หรือ 10x40  ตัวแรก 8x32 จะมีขนาดกระทัดรัดน่าใช้มาก
7x42 จะให้ความสว่างเหลือเฟือเหมาะสำหรับพวกที่ดูนกจนค่ำมืดแบบไม่ยอมหลับยอมนอน
8x40 ก็เป็นรุ่นกลางๆที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 10x40 ก็ให้กำลังขยายมากขึ้นอีกนิดสำหรับ
พวกที่คิดว่ามือตัวเองนิ่งพอ (อย่างผมเมื่อก่อนนี้)

ดีเยี่ยมทุกตัวในกลุ่มนี้ จากซ้ายไปขวา Zeiss 7x42 Classic, Diafun 8x30 ตัวใหม่ราคาย่อมเยา
จาก Zeiss, Baush&Lomb 10x42, Swift 7x36 ตัวกระทัดรัด และ Leica  Trinovid 8x42

Zeiss 8x30
ขนาดกระทัดรัดน่าใช้มาก

Nikon Attache
Roof Prism ขนาด
8x40

2) กล้องสำหรับนักเดินป่า ถ้าคุณเดินป่าจริงจังและอยากมีกล้องส่องทางไกลไปส่องดูนกดู
หนูหรือวิวทิวทัศน์ระยะไกลซักตัวคุณคงไม่ซื้อกล้องใหญ่โตขนาด 10x50 (อย่างที่ผมเคย
หลงผิดมาแล้ว) แน่ๆ

กล้องที่คุณควรจะเลือกพิจารณาควรจะเป็นกล้องเล็กๆขนาดซัก 7x20, 8x20, 8x25  หรือ
เต็มที่ก็ไม่เกิน 8x35

Minolta Activa ขนาด 8x25

Nikon Travelite ขนาด 8x23

ชุดนี้ ขนาดกระเป๋า แต่ราคาอาจทำให้กระเป๋าฉีกได้
จากซ้ายมาขวา Zeiss 8x20, Leica 10x25, Swarovski
10x20b ทั้งหมดเป็นกล้องขนาดเล็กแต่คุณภาพดีเยี่ยม

Pentax UCF 8x21

Pentax UCF 8x24

3) นักนิยมธรรมชาติทั่วๆไป ถ้าคุณไม่ได้ตั้งใจเดินดูนกและไม่ได้แบกของเดินป่าเป็นระยะทาง
ไกลๆ แต่ฮยากมีกล้องส่องทางไกลไว้ดูเล่นเวลาขับรถไปกางเต็นท์นอน กรณีนี้คุณไม่ต้อง
กังวลเรื่องน้ำหนักมากนัก ถึงแม้คุณสามารถเลือกกล้องชนิดใดก็ได้ ผมก็คงแนะนำกล้อง
ขนาดกลางๆเช่น 8x35 หรือ 8x40 ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้งานได้ทั่วๆไป ถ้าคุณอยากมีกล้องเล็กๆ
ไว้ติดกระเป๋าไปไหนมาไหนก็เลือกตัวเล็กๆอย่าง 7x20 หรือ 8x25 อย่าไปซื้อพวกตัวเล็กแต่
กำลังขยายมากๆมา เพราะกล้องพวกนี้จะมืดและไม่มีทางถือให้นิ่งได้

Nikon 7-15x30 ซูมได้

กล้องชั้นเยี่ยมจาก Nikon
10x42 Superior E Series

Minolta 10x40W

Swift Audubon
ขนาด 8.5x44

Bushnell 8x40

Minolta 10x50
ถ้าคุณไม่คิดจะแบกมันไปไหน

กล้องไฮเทคจาก Cannon
12x36 มี Stabilizer
ช่วยให้ภาพไม่สั่น

จะไปซื้อแล้ว...จะต้องเลือกยังไง

เอาละ เลือกดูสเปกจนถูกใจแล้วฝากเพื่อนเลยดีมั๊ย?  ไม่ดี.....ข้อควรจำอย่างแรกก็คือ ไม่
ควรฝากใครซื้อกล้องส่องทางไกลโดยที่ยังไม่ได้ลองเองเป็นอันขาด  ถึงแม้คุณจะเลือกดู
กล้องโดยการดูสเปกบนกระดาษหรือบน Internet แล้วอย่างละเอียดก็ตาม เพราะว่านอกจาก
สเปกตัวเลขที่กล่าวถึงมาแล้วยังมีคุณสมบัติอีกหลายอย่างที่ไม่สามารถบอกได้นอกจากคุณจะ
ไปลองสัมผัสด้วยตัวเอง

1) ความคมชัด นี่เป็นตัวอย่างชัดๆที่คุณดูจากสเปกบนกระดาษไม่ได้ เมื่อไปเลือกกล้องลอง
เปรียบเทียบโดยการส่องไปยังรายละเอียดเล็กๆในระยะไกลๆดูว่ากล้องแยกรายละเอียดได้
หรือไม่ ลองสังเกตขอบภาพว่าคมชัดหรือไม่ กล้องที่ดีควรจะให้ความคมชัดทั่วทั้งภาพ

2) ทดสอบความคลาดเคลื่อน(collimation) ปรับความห่างระหว่างช่องมองให้พอดีกับตา ใช้
มือปิดหน้ากล้องข้างหนึ่งส่องกล้องไปที่วัตถุซักอย่างปรับโฟกัสให้ชัด ทันทีที่เอามือออก ภาพ
ที่เห็นจากเลนส์ทั้งสองข้างควรซ้อนเป็นภาพเดียวกัน แต่ถ้ากล้องมีความคลาดเคลื่อนของการ
วางเลนส์ ภาพจะไม่ซ้อนกันทันที กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อจะให้ภาพซ้อนกันให้
ได้ในทีสุดซึ่งจะทำให้เมื่อยตาและปวดศรีษะ เรื่องนี้สำคัญมาก ถ้าคุณพบว่ากล้องตัวนั้นให้ภาพ
ที่ไม่ซ้อนกัน  วางมันลงซะแล้วไปดูตัวอื่น

3) ตรวจสอบระยะสบายตา ลองมองดูว่าคุณสามารถมองเห็นภาพเต็มจอโดยยังรู้สึกสบายๆ
อยู่หรือไม่ โดยเฉพาะคนที่ใส่แว่น

4) ทดสอบความมั่นคงของโครงสร้าง ลองขยับกล้องทั้งสองข้างดูว่าลื่นเกินไปหรือไม่ ถ้าลื่น
เกินไปก็จะทำให้ระยะห่างระหว่างเลนส์ที่ปรับให้เข้ากับระยะระหว่างตา เคลื่อนไปและจะต้อง
ปรับใหม่ทุกครั้งที่ยกขึ้นส่อง

ตั้งกล้องกับพื้นโต๊ะ วางมือบนเลนส์ตาแล้วกดลงเบาๆ ถ้าโฟกัสเคลื่อนไปตามแรงกดง่ายเกิน
ไปก็แสดงว่าความมั่นคงของระบบโฟกัสไม่ดีนัก

มีอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญมากๆ นั่นก็คือราคา แทบจะเป็นเรื่องที่แน่นอนว่ากล้องราคา
แพงมักจะดีกว่ากล้องลักษณะเดียวกันที่ราคาถูกกว่า ถ้าคุณอยากได้ของดีก็คงต้องจ่ายแพง
เพราะฉะนั้นเข้าใจความต้องการและงบประมาณของตัวเองให้ดีจากนั้นจึงค่อยมองหากล้องที่
ดีที่สุดในเงื่อนไขของราคาที่ตั้งใจไม่งั้นบานปลายแน่ (อันนี้พูดง่ายแต่ทำยากนะ ผมรู้)

Leica Geovid สุดยอดของกล้องส่องทางไกล(?) 
สามารถวัดหาระยะถึงวัตถุและมีเข็มทิศในตัว
แต่อย่างคุณกับผมนี่จะเอามันไปใช้อะไรหรือ?

หวังว่าที่เล่ามาทั้งหมดคงจะช่วยให้คุณเลือกกล้องส่องทางไกลได้ดีขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ

ตาเกิ้น 
26 มกราคม 2543

คุยกันรอบกองไฟ

เซ็นสมุดเยี่ยม

 

สมัครสมาชิก Thailand Outdoor ฟรี

กรุณาใส่ email และคลิ๊ก submit
Powered by YourMailinglistProvider.com