พระพิฆเนศวร

พระพิฆเนศวร
พระศิวะ
รูปภาพ
ผู้จัดทำ

พิธีกรรม

ลักษณะทางประติมากรรม

พระคเณศนั้นมีหลายปาง และมีให้เลือกสรรการบูชาตามความเหมาะสม แต่ภาพโดยสรุป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศียรก็ดี สัตว์พาหนะ ตลอดจนถึงเครื่องประดับและอิริยบทต่างก็ดี พอจะแยกได้ดังนี้

เศียร
พระคเณศมีตั้งแต่ 1 เศียรหรือพระพักตร์เดียว ไปจนถึง 2-5 เศียร ซึ่งปาง 5 เศียรนี้นิยมใช้ในปางเหรัมภะซึ่งแพร่หลายในอินเดียและเนปาล ส่วนพระคเณศในแบบของคนไทยนั้นจะมีเพียงเศียรเดียวเท่านั้นส่วนใหญ่แล้วพระคเณศจะมีเพียงสองตาเท่านั้น ส่วนตาที่ 3 บริเวณหน้าผาก (บ้างใช้เปลวไฟเป็นสัญลักษณ์แทน ) นิยมใช้ในลัทธิตันตระที่ชัดเจนมากเห็นจะเป็นพระพิฆเณศในศิลปะแบบธิเบต

นอกจากนี้บริเวณหน้าผากทั่วไป อาจจะเป็นรูปจันทร์เสี้ยว หรือเส้น 3 เส้นตามลักษณะของไศวะนิกาย หรือพระเศียรอาจจะสวมมงกุฎชนิดแบบราบ(กรัณฑมุกุฎ) หรือสวมชฎาทรงสูงก็ได้ ส่วนงานั้น จะมีเพียงงาเดียวข้างขวาเท่านั้นส่วนงาข้างซ้ายนิยมทำหักไว้

งวง
มีลักษณะที่ห้อยตรงแต่ส่ายปลายไปทางซ้ายหรือขวาแต่ที่นิยมคือหันงวงไปทางซ้าย และหยิบขนม บตะสะ(โมทกะ)จากถ้วยขนมที่ถืออยู่ในซ้ายมือหรือบางทีก็เป็นพวกผลไม้ป่า

กร
มีจำนวนกรตั้งแต่ 2-4 เรื่อยขึ้นไปถึง 10 กว่ากรหรือมากกว่านั้น สัญลักษณ์ที่ถือตามพระกรต่าง ๆเช่น งาหัก,ผลมะนาว, ผลไม้ป่า,มะขวิด,ลูกหว้า,หัวผักกาด,ขนมโมทกะ,ผลทับทิม,ส่วนอาวุธนั้นมีมากมายอาทิ ขวาน,บ่วงบาศ,ดาบ,ตรีศูล ฯลฯ สิ่งอันเป็นมงคล เช่น สังข์,แก้วจินดามณี,ครอบน้ำ ฯลฯ

ท่าทาง
พระคเณศในยุคแรกนั้นจะเป็นพระคเณศในรูปแบบของการยืนเสียเป็นส่วนใหญ่ จากนั้นจึงได้พัฒนาเป็นการนั่ง ซึ่งมีการนั่งถึง 4 ลักษณะด้วยกันคือ
1. ท่ามหาราชลีลา หรือเข่าข้างหนึ่งยกขึ้น อีกข้างหนึ่งงอพับบนอาสนะ (ซึ่งมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12)
2. นั่งขาไขว้กัน
3. นั่งห้อยพระบาทข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างวางพับอยู่บนอาสนะ
4. นั่งโดยขาทั้งสองพับอยู่ทางด้านหน้า ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ชิดกัน (ศิลปชวา,บาหลี)

เครื่องประดับ
ในยุคแรกไม่นิยมการทรงเครื่องประดับต่อมาจึงเริ่มมีเครื่องทรงมากขึ้น เริ่มจากสาย
ยัชโญปวีต (สายศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพราหมณ์ บางทีก็เป็นงูธรรมดา ส่วนผ้าที่นุ่งนั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่สร้างรูปเคารพส่วนเครื่องทรงนั้นมีการเพิ่มเติมมากขึ้นเช่นมงกุฏ ,สร้อยคอ,สร้อยข้อมือ,สร้อยข้อเท้า,สร้อยกระดิ่ง

พาหนะ เท่าที่พบในปัจจุบันมีเพียง หนู นกยูงและสิงโตเท่านั้น