พระพิฆเนศวร

พระพิฆเนศวร
พระศิวะ
รูปภาพ
ผู้จัดทำ

พิธีกรรม

วันคเณศจตุรถี

การบูชาพระคเณศเรียกว่า "พิธีคเณศจตุรถี" มีความหมายว่า "พิธีอุทิศต่อพระคเณศ" จะกระทำวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทรบท หรือเดือน 10 ในช่วงเดือนกันยายน (พ.ศ.2538 ) ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่ฮือฮากันมากที่สุดก็คือปรากฏการณ์ที่เทวรูปดื่มนมสดก็ปรากฏขึ้นมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยซึ่งตรงกับเทศกาลประกอบพิธีคเณศจตุรถี หรือพิธีอุทิศต่อพระคเณศพอดีทำให้ปรากฏการดังกล่าวได้รับความสนใจไปทั่วโลก หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ผู้คนแตกตื่นพากันไปดูเทวรูปดื่มน้ำนมกันแพร่หลาย

ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาทำสักการะบูชารูปเคารพของพระคเณศที่ปั้นด้วยดิน (เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด,) ขนมต้ม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว,(แบบแขก) ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่องพระนาม 108 ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพวกพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูกันให้อิ่มหนำสำราญและมีข้อห้ามในวันพิธีคเณศจตุรถีนี้คือ ห้ามมองพระจันทร์อย่างเด็ดขาด และถือกันว่าถ้าผู้ใดได้มองพระจันทร์ (เห็นพระจันทร์) โดยพลาดพลั้งเผลอเรอไป พวกชาวบ้านก็จะพากันแช่งด่าผู้นั้นทันที่ (ถือว่าซวยมาก) และที่ชาวบ้านด่านั้น ก็เป็นความหวังดี มิได้ด่าด้วยความโกรธแค้น แต่ด่าเพราะเชื่อกันว่าการด่าการแช่งนั้นจะทำให้คน (ซวย) นั้นพ้นจากคำสาปไปได้

ความเชื่อนี้ มีเรื่องเล่าที่มาอยู่ 2 เรื่อง

คือสืบเนื่องมาจากการที่พระคเณศพลัดตกจากหลังหนูจนท้องแตก (เพราะหนูตกใจที่มีงูเห่าเลื้อยผ่านหน้า และพระคเณศเสวยขนมต้มมามาก) ขนมต้มทะลักออกมาพระคเณศ ก็รีบเก็บขนมต้มยัดกลับไปในพุง และจับงูเห่าตัวนั้นมารัดพุงขณะเดียวกันพระจันทร์ ก็เผอิญมาเห็นเข้าก็อดขำไม่ได้หัวเราะออกมาดังสนั่นพระคเณศโกรธยิ่งนัก เอางาขว้างไปติดพระจันทร์จนแน่น ทำให้โลกมืดลงทันที่ เพราะไฟดับ (เหมือนราหูอมจันทร์)

พระอินทร์และทวยเทพทั้งหลายทราบเรื่อง ก็ต้องพากันไปอ้อนวอน พระคเณศจึงยอมถอยเอางาออก แต่พระจันทร์ก็ต้องได้รับโทษอยู่คือ จะต้องเว้าๆแหว่งๆเป็นเสี้ยวๆไม่เต็มดวงทุกคืน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ จึงจะเต็มดวง

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระคเณศสาปคนที่มองดูพระจันทร์ในวันที่บูชาพระองค์คือ หากใครมองดูพระจันทร์ในวันนี้ ผู้นั้นก็จะต้องกลายเป็นคนจัณฑาลไปเลย และคนจัณฑาลในสังคมอินเดียจะเป็นที่รังเกียจของคนวรรณะอื่นๆทุกๆวรรณะ (เพราะถือว่าคนจัณฑาล ไม่มีชนชั้น เป็นชนชั้นต่ำ ) ดังนั้นคำสาปให้เป็นจัณฑาลจึงเป็นโทษร้ายแรงยิ่งนัก