Present Participle 

วัตถุประสงค์   เพื่อให้นักศึกษาสามารถ          

          1. บอกลักษณะของรูปกริยา  present participle ได้

2. เปลี่ยนรูปกริยา base form เป็น present participle ได้ถูกต้อง

 

Present participle คือรูปกริยา base form เติม - ing เป็นรูปกริยาที่ใช้กับประโยค continuous tenses เพื่อแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์นั้นกำลังดำเนินอยู่หรือยังไม่สิ้นสุด เช่น
I am reading a book now. ฉันกำลังอ่านหนังสือในขณะนี้

ตัวอย่าง ลักษณะรูปกริยา present participle

base form

simple past

past participle

present participle

buy

bought

bought

buying

dig

dug

dug

digging

do

did

done

doing

 

Present Participle เป็นรูปกริยาที่ใช้กับ  Continuous Tenses และ Perfect  Continuous Tenses ตัวอย่างเช่น

  • I am rowing a boat.
    ฉันกำลังพายเรือ

  • We have been sitting  up here for three hours.
    รานั่งอยู่บนนี้เป็นเวลา 3 ชั่วโมงแล้ว

  • She is jumping into the pond?
    หล่อนกำลังกระโดดลงในสระน้ำ

  exercise4

หลักการเติม ing

1.      กริยาที่ลงท้ายด้วย –e ตัวเดียวให้ตัด –e ออกก่อนแล้วเติม –ing เช่น
            arrange => arranging
            give     =>  giving
                     live      =>  living

                     arise
    => arising
ยกเว้น  คำกริยาที่มีพยางค์เดียว (monosyllabic verbs) ที่ลงท้ายด้วย –ye, -oe หรือ –nge ไม่ต้องตัด –e ออก แต่เติม –ing ได้เลย เช่น
             
age => ageing
                   dye => dyeing
                    singe => singeing
                    hoe => hoeing

         
หรือคำกริยาที่ลงท้ายด้วย –ee  ก็สามารถเติม –ing ได้เลย เช่น
        
     agree => agreeing
                       see => seeing

2.      คำกริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระตัวเดียวและมีตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มตัวสะกดอีกตัวก่อนแล้วค่อยเติม –ing เช่น
        
     get => getting
                      sit => sitting
                      stop => stopping
                     run => running

                                            
rid =>   ridding   
              

3.      คำกริยาที่มีสองพยางค์หรือมากกว่า ที่มีพยางค์สุดท้ายมีสระตัวเดียวและลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว ซึ่งออกเสียงหนักที่พยางค์ท้าย ให้เพิ่มตัวสะกดอีกตัวแล้วเติม –ing เช่น
          
  admit => admitting
                   begin => beginning
                   reset => resetting


ยกเว้น แต่ถ้าไม่ออกเสียงหนักที่พยางค์ท้ายก็ไม่ต้องเพิ่มตัวสะกด ให้เติม
–ing ได้เลย เช่น         
               appeal => appealing
                          visit => visiting
                          enter => entering
                  
        develop=> developing

4.      คำกริยาที่ลงท้าย –l, -m และ -p ก่อนเติม –ing สามารถเพิ่ม หรือไม่เพิ่มพยัญชนะตัวท้ายก็ได้ เช่น
           travel => traveling
หรือ travelling,
                   program => programing
หรือ programming,
                   worship => worshiping
หรือ worshipping

5.      คำกริยาที่ลงท้ายด้วย –y ให้เติม –ing ได้เลย เช่น
        
     carry => carrying
                    cry => crying
                    try => trying
                   
overlay=> overlaying
      

6.      คำกริยาที่ลงท้ายด้วย –ie ให้เปลี่ยน –ie เป็น –y แล้วเติม – ing เช่น
             
die => dying
                    lie => lying

7.      ถ้าคำกริยาลงท้ายด้วย –c ให้เปลี่ยน –c เป็น –ck แล้วเติม –ing เช่น
           panic => panicking
                   picnic => picnicking

กิจกรรมที่ 5 ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบตนเองเรื่อง Present Participle
 

คำสั่ง ให้นักศึกษาเปลี่ยนคำในวงเล็บให้เป็น present participle โดยการเติมลงในช่องว่าง

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี