พระศิวะ

พระศิวะ
พระพิฆเนศ
รูปภาพ
ผู้จัดทำ

ศิวลึงค์

การบูชาพระศิวะ

การประกอบวิธีกรรมเพื่อสักการะบูชาองค์พระศิวะมหาเทพนั้น ได้มีการกำหนดช่วงเวลาไว้ หลายช่วงเวลาด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าแห่งใดจะยึดถือเอาตามคัมภีร์ใด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการประกอบพิธีการสักการะบูชาอยู่ 4 ช่วงตามลักษณะของเทศกาลทั้ง 4 ดังนี้

นิตยศิวาราตรี
ในเทศกาลนี้จะระบุไว้ว่าสามารถสักการะบูชาองค์พระศิวะมหาเทพได้ตลอดปี โดยให้กระทำในวันจันทร์ที่เป็นวันข้างขึ้นของทุก ๆเดือนตลอดปี โดยจะเลือกบูชาวันใดก็ได้แต่ขอให้เป็นวันจันทร์ข้างขึ้นด้วยเท่านั้น

มาสศิวาราตรี
ในเทศกาลนี้ได้ระบุไว้ว่าจะต้องประกอบพีบวงสรวงบูชาพระศิวะได้ทุกเดือนตลอดปี แต่จะต้องเป็นวันแรม15ค่ำของในแต่ละเดือนเท่านั้น

มาฆาศิวาราตรี
เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่ส่งเสริมให้ทำพิธีสัการะบูชาองค์พระศิวะมหาเทพ ได้เฉพาะในเดือนมาฆะหรือเดือนที่ 3 ของปี และในเดือนมาฆะนี้นั้นจะต้องประกอบพิธีกรรมในวันแรม 14 ค่ำ จะเป็นวันแรมอื่น ๆไม่ได้เด็ดขาด

มหาศิวาราตรี
เทศกาลนี้สามารถประกอพิธีบวงสรวงบูชาองค์พระศิวะได้ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของเดือนมาฆาคือเดือน 3 เช่นเดียวกันกับเทศกาลมาฆาศิวาราตรี ต่างกันตรงที่ว่าในเทศกาลมหาศิวาราตรี นี้นั้น จะต้องประกอบพิธีกรรมในวันที่ ขึ้น 15 ค่ำเท่านั้น

แต่โดยหลักทั่วๆ ไปที่ยึดถือกันโดยแพร่หลายก็คือการไปร่วมสักการะบูชาในพิธีที่ค่อยข้างใหญ่โตที่สุด นั่นก็คือพิธีมหาศิวาราตรีที่ได้ระบุไว้ว่า สามารถสักการะบูชาพระศิวะได้ในเดือนมาฆะ แต่จะต้องเป็นวันขึ้น15ค่ำ

ซึ่งในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนมาฆะนี้ หมายถึงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งจะเป็นเดือนที่3 ของปี และจะมีช่วงเวลาใกล้เคียงหรือตรงกับวันมาฆบูชาด้วยนั่นเอง

ดังนั้นในพิธีกรรมช่วงนี้จึงมีผู้ประกอบพิธีกันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายกว่าในช่วงเวลาอื่นๆ

หากใครที่จะบวงสรวงบูชาศิวลึงค์ในช่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม หรือเรียกว่าเดือนมาฆะนี้แล้วนั้นมักจะต้องประกอบในวันขึ้น 15 ค่ำ แล้วจึงจะต้องมีการประพฤติตนตามธรรมเนียมอีกด้วย คือจะต้องงดการับประทานอาหารและเครื่องดื่มนานาชนิด

นอกจากจะต้องอดข้าวอดน้ำแล้ว บรรดาผู้ที่จะบูชาบวงสรวงศิวลึงค์ในพิธีมหาศิวาราตรีนี้ ยังจะต้องสวดมนต์บูชาสรรเสริญพระศิวะตลอด 24 ชั่วโมง จึงค่อยพักมาทำการสวดมนต์สรรเสริญด้วยบทธรรมดา จากนั้นก็จึงจะได้รับอนุญาติให้รับประทานอาหารและดื่มน้ำได้บ้าง

ผู้ที่ประกอบพิธีการบวงสรวงบูชาศิวลึงค์ โดยอดอาหาร อดเครื่องดื่มและอดหลับอดนอนจนครบ 24 ชั่วโมงนี้แล้วนั้น ยังมีการนำขี้เถ้ามาลูปไล้บนร่างกายให้ทั่วๆอีกด้วย

สำหรับบางแห่งที่นิยมทำเช่นนี้นั้น จะมีการเผามูลวัวกับกำยาน เครื่องหอมต่าง ๆแล้วก็นำเอามูลวัวเผา หรือเศษเถ้าที่ได้จากการเผากำยานและเผามูลวัวนั้นมาทาร่างกายเพื่อให้ศิริมงคลจะทำให้เกิดควาสุขและความสำเร็จได้ในเร็ววันอีกด้วย

ตำนานของการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงบูชาพระศิวะมหาเทพนี้นั้นได้เล่าไว้ว่าในสมัยโบราณได้มีนายพรานคนหนึ่ง ซึ่งกลับจากการล่าสัตว์แล้วก็ได้ปีนขึ้นไปสร้างห้างค้างแรมอยู่บนต้นใหญ่เพื่อจะพักกายอาศัยหลับนอนก่อนที่จะตื่นขึ้นในรุ่งเช้าและเดินทางกลับบ้านต่อไป

ในค่ำคืนนั้นนายพรานนอนตากน้ำค้าง สั่นหนาวและหิวโหย จึงดิ้นกระสับกระส่ายเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งคืน อันเป็นเหตุให้ใบมะตูมและหยาดน้ำค้างที่เกาะอยู่ตามผิวไม้และใบมะตูมนั้นได้ร่วงพราวลงสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ใต้ต้นมะตูมนั้น

องค์พระศิวะที่ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส จึงได้หยั่งรู้และสำคัญไปว่ามีนายพรานผู้หนึ่งได้ทำการสักการะบูชาพระองค์ด้วยใบมะตูม และน้ำค้างบริสุทธิ์ตลอดคืนพระองค์จึงประทานพรให้นายพรานผู้นั้น กลายเป็นผู้บริสุทธิ์พ้นจากบาปที่ได้เกิดจากการล่าสัตว์มาตลอดครึ่งชีวิตแล้ว
พิธีกรรมบวงสรวงบูชาองค์พระศิวะมหาเทพ ที่ได้มีการโปรยใบมะตูม พวงมาลัยดอกไม้และมีการอดหลับอดนอน อดข้าวอดน้ำ เพื่อสังเวยองค์พระศิวะ จึงได้มีการกำเนิดขึ้นมาเพราะเหตุนี้นั้นเอง