พระศิวะ

พระศิวะ
พระพิฆเนศ
รูปภาพ
ผู้จัดทำ

ศิวลึงค์

การบูชาศิวลึงค์

ในอินเดียตอนใต้จะมีการประกอบพิธีสักการะบูชาศิวลึงค์กันอย่างจริงจัง โดยจัดทำกันในเมืองที่อยู่บนยอดเขาโดยจัดเป็นประจำทุกปีเรียกกันว่าเทศกาลบูชาศิวลึงค์โยนีหรือเทศกาล KAETIKAI หรือเทศกาล SATURNALIT เทศกาลทั้ง 2 นี้ จะทำพิธีกันค่อนข้างใหญ่โตเป็นพิเศษ มีงานเฉลิมฉลองกันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน

เครื่องบวงสรวงที่จะใช้ในพิธีกรรมนี้ก็ประกอบด้วยน้ำนมสดและพวงมาลัยดอกไม้สดเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องประกอบพิธีดังนี้

- ดอกไม้เหลือง
- ดอกไม้แดง
- ข้าวตอก
- ใบมะตูม
- หญ้าคา
- มูลโค
- มะพร้าวอ่อน
- เมล็ดธัญพืชต่าง ๆเช่น ข้าวโพดแห้ง เมล็ดข้าวแห้ง
- ธูปหอมและเทียนหอม

ในเทศกาลนี้จะมีการตั้งรูปศิวลึงค์อยู่ ณ เทวสถานกลางเมือง เมื่อมีการเฉลิมฉลองและถวายเครื่องบวงสรวงบูชาเรียบร้อยแล้ว จะมีการสวดมนต์สรรเสริญบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ด้วย การจัดเทศกาลเพื่อสักการะบูชาศิวลึงค์ด้วยความเคารพ เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงนี้ บรรดาชาวบ้าน ชาวเมือง นิยมกระทำพิธีเพื่อขอพรให้เกิดความสุขและความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์ในการกระทำพืชไร่ ซึ่งสังคมของชาวอินเดียตอนใต้นั้นนิยมทำอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่มีการปลูกพืชไร่กันทั่วไป ดังนั้นการขอให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่การเพาะปลูกที่กระทำอยู่นั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

การประกอบพิธีเพื่อบูชาศิวลึงค์ นอกจากที่ในอินเดียตอนใต้นี้แล้ว ทุกหนทุกแห่งทั่วไผก็จะมีลักษณะการบูชาที่คล้ายคลึงกันในส่วนของการเทน้ำนมสดราดลงไปในศิวลึงค์

โดยความบริสุทธิ์ของน้ำนมนั้นเปรียบเสมือนการให้กำเนิดผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
แต่ก็มีบางแห่งที่นอกจากจะใช้นมสดราดรดบนศิวลึงค์แล้ว ยังนิยมใช้ฝุ่นสีแดงมาแต้มทาที่ยอดปลายของศิวลึงค์ เพื่อแทนความหมายของการกำเนิดใหม่แห่งชีวิตใหม่นั่นเอง

ในการสักการะบูชาศิวลึงค์นั้น ยังมีความเชื่ออีกว่าหากบวงสรวงสังเวยด้วยศิวลึงค์ชนิดใดก็จะได้รับพรที่องค์พระศิวะมหาเทพจะประทานให้แตกต่างกันออกไป ดังเช่น

หากนำมูลโคมาสร้างสรรค์ปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตลอดชีวิต มีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใด ๆเลย

หากนำเอาดินจากบริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตลอดชีวิต มีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใดๆเลย

หากนำเอาดินจากบริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นเป็นศิวลึงค์แล้วบวงสรวงบูชาด้วยความเคารพเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นเกิดความร่ำรวยมั่งคั่ง มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมหาศาลเลยทีเดียว

หากนำเอาเมล็ดข้าวทั้งดิบและสุก มาสร้างสรรค์บรรจงประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์แล้วทำการสักการะบูชา จะทำให้บุคคลนั้นหรือครอบครัวนั้น มีความสมบูรณ์พูลสุข มีข้าวปลาอาหารกินโดยบริบูรณ์ หรือทำกิจกรรมการค้าเกี่ยวกับอาหาร ก็จะมั่งคั่ง ร่ำรวยและรุ่งเรืองเป็นแน่แท้

หากนำเอาทองคำบริสุทธิ์มาสร้างสรรค์ ปั้นประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความมั่นคง ร่ำรวยในระดับเศรษฐีตลอดชีวิต

หากนำไม้จันทร์มาสร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชา ก็จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขสันต์หรรษามิสร่างคลาย
หากนำเมล็ดรุทรรากษ์สร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชาก็จะทำให้ผุ้นั้นมีความรอบรู้ศิลปวิทยาการทั้งปวง

ในคัมภีร์อินเดียโบราณนั้น กล่าวไว้ว่าศิวลึงค์นั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่สร้าง
ลึงค์แบ่งตามหลักของนักปราชญ์อินเดียโบราณแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

จลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนไหวได้หรือสั่นไหวได้
อจลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้

ลึงค์ที่ทำจากแก้ว เรียกว่า รัตนชะ
ลึงค์ที่ทำจากหิน เรียกว่า ไศละชะ
ลึงค์ที่ทำจากดิน เรียกว่ามรินมยะ
ลึงค์ที่ทำจากไม้ เรียกว่า มารุชะ
ลึงค์ที่ทำจากโลหะ เรียกว่า โลหชะ
และลึงค์ที่ทำขึ้นเฉพาะกิจตามวาระโอกาสต่างๆเรียกว่า กษณิกลิงค