> ATHYRIACEAE || Go Back

วงศ์ ATHYRIACEAE

เฟินในวงศ์นี้ได้ชื่อสามัญว่า LadyFern กระจายพันธุ์ในเขตร้อนทางซีกโลกเหนือ พบจำนวนชนิดมากที่สุดในประเทศจีน ลักษณะของเฟินวงศ์นี้ เป็นเฟินดิน มักพบขึ้นอยู่ตามพื้นดิน หรือเกาะตามซอกหิน ขนาดมีตั้งแต่ ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ มีเหง้าเป็นแท่งสั้น บางชนิดตั้งตรง บางชนิดเหง้าเลื้อย บางชนิดเมื่อต้นยังเล็กอายุน้อยจะยังไม่มีเกล็ดปกคลุม เมื่อต้นโตมีเกล็ดเป็นแผ่นปกคลุมเหง้า ใบมีก้านยาว ไม่มีข้อใบติดกับเหง้า ใบเป็นแผ่นรูปปกติ หรือเป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบ บางชนิดใบเนื้อบางและบางชนิดหนาเหมือนแผ่นหนัง เส้นกลางใบเป็นร่อง เส้นใบย่อยเป็นร่างแห บางชนิดใบปกติ (sterile frond) แตกต่างกับใบสร้างสปอร์ (fertile frond) อับสปอร์ เป็นรูปยาวไปตามเส้นใบ บางชนิดเป็นแถวคู่ก็มี บางชนิดมีเยื่ออินดูเซีย ลักษณะเป็นรูปยาวแคบ โดยมากเป็นรูปตัว U หรือ ตัว J บางชนิดเป็นรูปกลมก็มี มีไม่กี่ชนิดที่ไม่มีเยื่ออินเซีย เฟินในวงศ์นี้ มีจำนวนมากหลายชนิดที่พักตัวแห้งในหน้าแล้ง
เฟินวงศ์นี้ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่รวมในวงศ์ Aspleniaceae (วงศ์เฟินข้าหลวง) เนื่องจากอับสปอร์มีรูปร่างและโครงสร้างเหมือนกัน
เฟินในวงศ์นี้ แบ่งเป็น 7 -14 สกุล ได้แก่ Adenoderris , Anisocampium, Athyrium , Athyriopsis, Cornopteris, x Cornoathyrium, Diplazium , Deparia, x Depazium , Dryoathyrium , Hypodematium, Kuniwatsukia, Lunathyrium, Rhachidosorus
Cystopteris (sis-top-ter-is) บางแห่ง จัดให้เฟินสกุลนี้อยู่ในวงศ์นี้ด้วย

สกุล Anisocampium

เฟินสกุลนี้ในบ้านเรา มีชนิดเดียว คือ
A. cumingianum มักพบใกล้ริมลำธาร ในป่าดิบทางภาคเหนือ
[ เพิ่มเติม More ]



กูดกิน ที่ห้วยซองกาเรีย
Diplazium esculentum

สกุล Diplazium

เฟินในสกุลนี้ ชนิดที่รู้จักกันดี คือ กูดกิน หรือผักกูด Diplazium esculentum กินเป็นผัก เอามาลวกน้ำทำยำผักกูด หรือเอาไปผัดน้ำมันหอย กรุบกรอบ เคี้ยวมัน อร่อยจริงๆ คุณเคยลองแล้วหรือยัง?
[ เพิ่มเติม More ]

กูดกินในภาพ ถ่ายไว้เมื่อครั้งที่ไปเที่ยวป่า ดูเฟิน ที่ ห้วยซองการเรีย อ. สังขละ จ. กาญจนบุรี


สกุล Hypodematium

ชนิดที่พบในไทย
Hypodematium crenatum (Forssk.) Kuhn
Hypodematium glanduloso-pilosum (Tagawa) Ohwi


เฟินก้านแดงญี่ปุ่น

สกุล Athyrium (Lady Fern)

เดิมสกุลนี้เคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Aspleniaceae เป็นเฟินจากป่าดิบชื้นของเขตร้อน เฟินสกุลนี้เป็นเฟินดิน มีขนาดใหญ่ ทุกชนิดในสกุลนี้พักตัวแห้งไปในหน้าร้อนและแล้ง แต่ก็ยังเป็นที่นิยมของคนรักเฟิน เฟินสกุลนี้มีอยู่ มี 200 ชนิด
ตัวอย่างเฟินในสกุลนี้ เฟินก้านแดงญี่ปุ่น A. niponicum cv. pictum
[ เพิ่มเติม More ]


สกุล Cornopteris

ในไทยพบชนิดเดียว คือ
Cornopteris opaca (D. Don) Tagawa


สกุล Deparia

ชนิดที่พบในไทย มี
Deparia boryana (Willd.) M. Kato
Deparia japonica (Thunb.) M. Kato


สกุล Kuniwatsukia

ชนิดที่พบในไทย
Kuniwatsukia cuspidata (Bedd.) Pichi-Serm.

> ATHYRIACEAE || Go Back