> ATHYRIACEAE > Anisocampium || Back

สกุล Anisocampium
วงศ์ ATHYRIACEAE

ตัวอย่างเฟินในสกุลนี้ ที่พบในไทย มีเพียงชนิด


กูดเปื๋อย ที่ริมลำธารน้ำตกแม่สา เชียงใหม่




Anisocampium cumingianum
[ Image : Bank ]

Anisocampium cumingianum Presl
ชื่ออื่น : กูดเปื๋อย (เหนือ), กูดฮ่มค่า (ลำปาง), กิ๊กุเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

เฟินชนิดนี้ มักพบตามไหล่เขาในป่าดิบ ที่ระดับ 0-1,1600 ม. MSL ในบริเวณที่ชุ่มชื้นเป็นดินทรายหรือดินโคลน พักตัวแห้งในฤดูแล้ง ซึ่งจะพบเห็นเฟินชนิดนี้ได้เฉพาะในช่วงฤดูฝน
กระจายพันธุ์อยู่ในอินเดียใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน ลาว ฟิลิปปินส์ ในไทย พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก เฟินชนิดนี้ในไต้หวัน เคยบันทึกไว้ว่า ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ต่อมาภายหลังจึงค้นพบว่ายังมีอยู่

ลักษณะทั่วไป : มีเหง้าเป็นแท่งอวบ ขนาดราว 5 ม.ม. ทอดนอนอยู่ในดิน เหง้าปกคลุมด้วยเกล็ดรูปแถบกึ่งสามเหลี่ยม ก้านใบด้านบนสีน้ำตาล โคนก้านสีน้ำตาล มีเกล็ดหรือขน ใบเป็นใบประกอบ แบบขนนก ปลายคี่ รูปขอบขนาน ใบย่อย 2-6 คู่ ความยาวใบรวมก้านใบ ยาวได้ถึง 1.0 เมตร ใบปกติ sterile ferond ที่ไม่สร้างสปอร์ มีใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างราว 4-5 ซม. ยาวราว 13 ซม. ในใบสปอร์ fertile frond ใบย่อยผอมเรียวกว่าในใบปกติ ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนมน-สอบ ขอบหยักลึก ปลายมนและขอบจัก เส้นใบแยกสาขาแบบขนนกจากเส้นกลางใบไปยังแต่ละหยัก


fertile frond ใบสปอร์
[ Imagee : Bank ]

อับสปอร์รูปกลม จัดเรียงตัวอยู่บนเส้นใบย่อยของใบย่อย มีเยื่ออินดูเซียปิดคลุม รูปกลม ใบสปอร์จะผลิตออกมาในช่วงปลายฤดูฝน ราวเดือน ต.ค.-ธ.ค.

Image : Bank ถ่ายที่ น้ำตกแม่สะกึดหลวง เมื่อ พ.ย. 45

> ATHYRIACEAE > Anisocampium || Back