> ATHYRIACEAE > Diplazium || Back

สกุล Diplazium Swartz; J. Bot. (Schrader)
วงศ์ ATHYRIACEAE

ชื่อเฟินสกุลนี้ อ่านว่า ดี-เพล-ซี-อุม dy-PLAY-zee-um หรือ ดิพ-เพล-ซี-อุม dip-PLAY-zee-um ได้ชื่อมากจากภาษากรีกว่า diplasios (double) หมายถึง อับสปอร์มีเยื่อหุ้มปิด 2 ชั้น บางแห่งเรียกเฟินสกุลนี้ว่า Twin sori เฟินสกุลนี้กระจายอยู่ทั่วเขตร้อนของโลก มีจำนวนราว 474 ชนิด ในไทยพบ 29 ชนิด

ลักษณะทั่วไปของเฟินสกุลนี้ เหง้าตั้งหรือเลื้อย ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดมีทั้งชนิดขอบเรียบและขอบหยักเป็นซี่ฟัน ก้านใบด้านหน้าเป็นร่อง เห็นได้ชัด ลักษณะใบ มีทั้งใบเดี่ยวถึงใบประกอบขนนก 1-3 ชั้น ลายเส้นใบ แตกแขนงแบบขนนก หรือ เป็นร่างแหตาข่ายรูปทรงสี่เหลี่ยม โดยทั่วไปผิวเกลี้ยง หรือมีเกล็ดบ้างตามแกนใบ อับสปอร์ รูปยาว ไปตามเส้นใยใบ มีเยื่อหุ้มอินดูเซียรูปจันทร์เสี้ยว 2 ข้างของอับสปอร์ (ลักษณะเด่น เป็นที่มาของชื่อสกุล) เมื่อสปอร์แก่จะเปิดออก 2 ข้าง ทิศตรงข้ามกัน

เฟินสกุลนี้ มีอยู่ราว 400 กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วโลก ในบ้านเรามีเฟินในสกุลนี้ ราว 29 ชนิด บางชนิดค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย คือ D. montanum v.A. v.Ros และ D. incomptum Tagawa & K. Iwats. การจำแนกชนิดเฟินในสกุลนี้ยังคงมีการศึกษาและเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมกันอีกต่อไป

ตัวอย่างชนิดเฟินในสกุลนี้ได้แก่


Diplazium cordifolium
picture from Victoria Peak @ Hong Kong
[ Image : Mr. HK@Hong Kong ]


Rhizome short, eret or assending scaly in younger part, 5 mm. dia.

Thanks to Mr. HK for plants were sent us for study here.

Diplazium cordifolium Bl.

ลักษณะทั่วไปของเฟินชนิด ลำต้นเป็นเหง้า สั้น ตั้งหรือล้มเอน ที่ปลายยอดเหง้าปกคลุมด้วยเกล็ด เหง้าอ้วนราว 5 มม. ลักษณะ เกล็ดเป็นแผ่นแคบ 8:1 มม. สีน้ำตาล ขอบเรียบ ลักษณะก้านใบ ยาว 30-60 ซ.ม. สีฟาง หรือสีน้ำตาลที่บรเวณช่วงโคน เกล็ดกางชี้ขึ้น กลางเก,้ดเป็นร่องยาวตามแกน

ลักษณะใบ มีทั้งแบบใบเดี่ยวปกติและใบประกอบขนนกปลายคี่ จึงแบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย คือ

D. cordifolium cv. pariens (Copel) C. Chr.
แบบใบเดี่ยวปกติ
เป็นรูปขอบขนานแ กมรูปสามเหลี่ยม โคนใบมนเว้าเข้า แบบหัวใจ ปลายสอบแหลม ขอบใบค่อนข้างเรียบ ถึงเป็นคลื่น ขนาดใบโตได้ถึง 30 : 13 ซ.ม. แผ่นใบหนาเหมือนแผ่นหนัง แกนใบด้านล่างปูดนูนเห็นได้ชัด ผิวหน้าเรียบ ลายเส้นเป็นร่องจมลงในเนื้อใบ แตกสาขาไม่มากนัก จรดโค้งเข้าหาขอบใบ มี gemmae เชื่อมระหว่างแกนใบกับก้านใบ มีต้นอ่อนเกิดได้

D. cordifolium cv. integrifoilium (Blume) Mitsuta
แบบใบประกอบปลายคึ่
มีจำนวนคู่ใบย่อยด้านข้างแกนใบไม่มาก ใบย่อยขอบหยักเป็นซี่ฟัน มี gemmae เกิดขึ้นที่จุดต่อแกนกลางใบย่อยกับแกนใบหลัก เส้นใยใบทำมุม 45-55 องศา กับแกนกลางใบย่อย


Upper laminar, veins reticulate to form rather quadrangular


Midrib and veins distinctly raised beneath

อับสปอร์ เป็นรูปยาวขนานไปกับเส้นใยใบ ยาวได้ถึง 4 ซ.ม. หรือมากกว่า เกิดขึ้นทั้งสองข้างของแผ่นใบ มีเยื่ออินดูเซีย แต่หลุดร่วงไปง่าย ยังไม่มีภาพตอนนี้ หวังว่า Mr. HK จะส่งมาให้ในอนาคตเมื่อพบต้นที่มีสปอร์

เฟินชนิดนี้ ในธรรมชาติมักพบอยู่ตามดินทราย บริเวณที่มีร่มเงา ตามลาดเนินเขาในป่าที่ชุ่มชื้น ระดับความสูงไม่มากนักถึงความสูงปานกลาง กระจายพันธุ์อยู่ใน ไทย มาเลย์ อินโดนีเซีย และไปถึงหมู่เกาะโซโลมอนด้านตะวันออก ในบ้านเรามีรายงานพบที่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส และยะลา



Diplazium donianum ที่ดอยอินทนนท์
[ Image : หนุ่ม สกลนคร ]

Diplazium donianum (Mett.) Tard.

ลักษณะลำต้นเหง้า เป็นแท่งสั้นตั้งตรง ดูเหมือนเป็น Tree Fern แต่แท่งสูงไม่มากนัก ข้างลำต้นปกคลุมด้วยเส้นรากสีดำ ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ก้านใบยาวผอมเรียว ใบย่อย มีก้านใบย่อย rachis ใบย่อยรูปหอก โคนมนเฉียง ปลายแหลม ขอบเรียบ รูปร่างใบปกติและใบสปอร์เหมือนกัน อับสปอร์จัดเรียวตัวตามเส้นใบใบ ไม่มีเยื่ออินดูเซียมปิด
ใบสปอร์ของ D. donianum
[ Image : Bank ]


กูดกิน Diplazium esculentum สังเกตุที่กลางภาพ เหง้าเป็นแท่งตั้ง เหมือนเป็นเฟินต้น Tree Fern
ภาพเฟินชนิดนี้ถ่ายที่ ลำน้ำซองกาเรีย กาญจนบุรี เมื่อคราว Trip#004
[ Image : Moo]


ใบของกูดกิน D. esculentum
[ Image : Bank - Inthanon]

Diplazium esculentum (Retz.) Sw.
ชื่อสามัญ : Paco Fern
ชื่ออื่น : กูดคึ (เหนือ), กูดกิน ผักกูด (กลาง), ผักกูดขาว (ชลบุรี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

เฟินชนิดนี้เป็น ผักกูด ชนิดหนึ่งในหลายๆ ชนิดที่รู้จักกัน หลายคนบอกว่า เคยกินผักกูดชนิดนี้ จึงได้ชื่อว่า ผักกูด หรือกูดกิน เป็นที่นิยมกินเป็นผักกันมาก และเฟินชนิดนี้มักอยู่ในที่ลุ่มน้ำแฉะ จึงได้ชื่อว่า กูดน้ำ หรือกูดห้วย

ลักษณะ : เป็นเฟินขนาดใหญ่ มีเหง้าตั้งตรง สูงได้มากกว่า 1.0 ม. เหง้าปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ขอบเกล็ดหยักเป็นซี่ฟัน ใบ ออกมาจากยอดเหง้า ก้านใบยาว ตัวใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาวราว 1.0 ม. กว้างได้ถึง 50 ซ.ม. ใบย่อยคู่ล่าง เล็กกว่าใบย่อยช่วงกลาง ใบย่อย ก้านสั้น หรือไม่มี ใบย่อยเป็นใบบาง ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบหยักลึกเป็นแฉก เส้นใบแยกแบบขนนกยาวถึงแต่ละแฉก มีเส้นใบย่อยราว 10 คู่ กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย

เฟินชนิดนี้ มักขึ้นอยู่บริเวณริมน้ำที่เฉอะแฉะ บริเวณที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ที่ระดับ 0 - 800 ม. MSL กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรของเอเซีย จีน ตอนลางถึงกลาง ตอนใต้ของญี่ปุ่น และหมู่เกาะแปซิฟิคตอนใต้ ในไทยกระจายอยู่ทั่วไปทุกภาค


ใบสปอร์ของกูดกิน


Diplazium polypodioides Blume
ชื่ออื่น : กูดย่อย (เชียงใหม่)

ลักษณะ : มีเหง้าอ้วน ตั้งตรง ดูคล้ายเฟินต้น (Tree Fern) ปกคลุมด้วยเกล็ดสีน่ำตาล เกล็ดเป็นหยักซี่ฟัน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ใบยาวได้มากกว่า 1 ม. โคนก้านใบมีเกล็ดหรือขนปกคลุมหนาแน่น ผิวเป็นหนามที่เกิดจากเกล็ดที่ร่วงไป ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ขอบหยักลึกและแหลม ด้านบนของใบเป็นสีเขี้ยวเข้ม ใต้ใบสีเขียวอ่อน อับสปอร์อยู่ตามเส้นใบใกล้เส้นกลาง ยาวไม่เกิน 2 มม. มีเยื่อหุ่มอินดูเซียบาง
เฟินชนิดนี้ มักพบขึ้นอยู่ตามไหล่เขาหรือชายป่าที่มีความชุ่มชื้นสูง ที่ระดับ 0 - 1,300 ม. MSL กระจายพันธุ์ในอินเดียตอนใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน และอุษาคเนย์ ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

เพิ่มเติมเฟินในสกุลนี้ที่พบในไทย ได้แก่ :
Diplazium accedens Bl.
Diplazium bantamense Bl.
Diplazium conterminum Christ ชื่อพ้อง : Allantodia contermina (Christ) Ching
Diplazium crenatoserratum (Bl.) Moore
Diplazium dilatatum Bl. ชื่อพ้อง ; Allantodia dilatata (Bl.) Ching
Diplazium heterophlebium (Mett. ex Bak.) Diels
Diplazium leptophyllum Christ
Diplazium malaccense Presl
Diplazium megaphyllum (Bak.) Christ
Diplazium mettenianum (Miq.) C. Chr.
Diplazium muricatum (Mett.) v.A.v. Ros.
Diplazium petelotii Tard.
Diplazium petri Tard.
Diplazium prescottianum (Wall. ex Hook.) Moore
Diplazium riparium Holtt.
Diplazium siamense C. Chr.
Diplazium silvaticum (Bory) Sw.
Diplazium simplicivenium Holtt.
Diplazium sorzogonense (Presl) Presl
Diplazium subintegrum Holtt.
Diplazium subserratum Bl.
Diplazium subsinuatum (Wall. ex Hook. & Grev.) Tagawa
Diplazium taiwanense Tagawa
Diplazium tomentosum Bl.
Diplazium xiphophyllum (Bak.) C. Chr.

> ATHYRIACEAE > Diplazium || Back