รักและนับถือ > บันดาลใจ
 
  บันดาลใจ
  ทะเยอทะยาน
  ใครหลายคน(นั้น)
  หารือ
  ฉงน

 

๑๒-๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๕ ชตุตการ์ต เยอรมนี นักศึกษาไทยในเยอรมันจากทุกทิศ และจากปารีสบางส่วน ราว ๑๖๐ คน เดินทางมาร่วมประชุมงานวิชาการครั้งที่ ๑ อ. ประเวศ วะสี อ. เสน่ห์ จามริก และ นพ. ชูชัย ศุภวงศ์ ให้เกียรติมาร่วมงาน

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ไฮเดลแบร์ก เยอรมนี นักศึกษาไทยในเยอรมัน และจากปารีสบางส่วน เดินทางมาร่วมประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิชาการ พร้อมกับร่วมฟังปาฐกถา "บทบาทปัญญาชนต่อสังคมไทย" โดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์

องค์ปาฐกจะแสดงปาฐกถาอย่างไรบ้างนั้น ยังไม่ใช่กาละเทศะที่จะนำเสนอในที่นี้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ

บางคน(นั้น)ไม่รู้จัก ประเวศ วะสี

บางคน(นี้)ไม่เคยได้ยินชื่อ สุลักษณ์ ศิวรักษ์

และ(อีก)หลายคนไม่รู้จัก อ. เสน่ห์ จามริก รวมไปถึง นพ. ชูชัย ศุภวงศ์

ทั้งนี้(และ)ทั้งนั้น มิได้ขึ้นกับปัจจัยว่า เขาหรือเธอเป็นเด็กที่เติบโตในต่างประเทศหรือเมืองไทย เขาหรือเธอเป็นนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์

คำถามก็คือ ทำไมจึงไม่รู้จัก และมีความจำเป็นไหมที่ควรจะรู้จัก?

 

เพื่อนหนุ่มของข้าพเจ้าเคยพูดทำนองเปรยให้ฟังว่า เขาไม่ค่อยนับถือบางคนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปัญญาชน เขาไม่ได้อธิบายเหตุผล และข้าพเจ้าก็มิได้ถาม ได้แต่นึกภาวนาว่า ขอให้เขามีคนที่นับถือบ้าง และขอให้ไม่ใช่ตัวของเขาเอง (HA-HA)

 

ข้าพเจ้าเคยนึกทบทวน แล้วก็อนุมานว่า คำว่าปัญญาชนนั้นคงเป็นคำแปลมาจากภาษาอังกฤษ intellect คำภาษาไทยที่ใช้เรียกคนประเภทเดียวกันน่าจะเป็นคำว่า นักปราชญ์ บันฑิต หรือ สัตบุรุษ ซึ่งหมายถึงคนที่มีปัญญา และได้ใช้ปัญญานั้นยังประโยชน์ใ้ห้กับผู้อื่นด้วย จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น ปัญญาชน มิใช่ปนยาชัน

 

ยุึคสมัยนี้ ธรรมว่าด้วยการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดูเหมือนจะเสื่อมความขลังลงไปไม่น้อย ความสามารถในการแยกแยะความดีความเลวก็ดูเหมือนจะฟั่นเฟือน การให้คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้ก็ถูกทำให้ัสับสน เราจะมุ่งดีได้อย่างไร เมื่อมองเห็นแต่ข้อเสีย หรือไม่เห็นอะไรเลย (HA)

 

 


หน้าแรก
| ปัญญาชนสยาม | หนุ่มสาวดัดจริต | กังวานเกี่ยวข้อง | ข้าวตอกดอกมะเขือ | กลับสู่ด้านบน

เว็บไซต์นี้จัดทำด้วยความกระตือรือล้นของใครหลายคน(นั้น)
ก้อนหิน และหรือดอกไม้ กรุณาหารือกับนักการ
พยายามปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด เมื่อวันที่
๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗