ลูกปัดแห่งกาลเวลา

ลูกปัดเก่า

แค่สงสัย ทำไมต้องลูกปัด

ควนลูกปัด

บ้านโคกคอน

กลับไปหน้าแรก  ......กระท่อมของจิ๋ว

เอามาฝาก

แหล่งที่พบลูกปัด...บ้านโคกคอน

 

ที่ตั้ง
บ้านโคกคอน ตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำห้วยโมง กับห้วยคุกซึ่งไหลมาจากเทือกเข้าภูพานน้อยหรือภูพระบาท ในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ไหลลงสู่แม่น้ำโขง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
บ้านโคกคอน ตำบลโคกคอน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเทศบาลอำเภอท่าบ่อ ไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 2020 (ท่าบ่อ-บ้านผือ) แยกเข้าถนน รพช.ขวามือเพียงเล็กน้อย
ระยะทางห่างจากเทศบาลท่าบ่อ 14 กิโลเมตร

โบราณวัตถุที่พบ
เมื่อ พ.ศ. 2535 ชาวบ้านได้ขุดหลุมทำส้วมซึม และได้พบ หม้อดินลายสีแดงแบบบ้านเชียง จำนวนมาก จากนั้นก็นำออกจำหน่ายสู่ตลาดโลกหลายคันรถ ทางอำเภอท่าบ่อได้รายงานไปให้กรมศิลปากรรับทราบ แต่ก็ไม่มีเงินงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ดำเนินการขุดค้นตามหลักวิชาการ นายอำเภอจึงใช้อำนาจฝ่ายปกครองท้องที่ ประกาศข้ามขุดเด็ดขาด โดยใช้กำลังตำรวจและ อส.เฝ้าบริเวณแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมา จนกลางปี พ.ศ.2538 ผู้เขียนได้พยายามสืบเสาะหาโบราณวัตถุที่พ่อค้าไม่สนใจจะซื้อ และหลงเหลืออยู่มาตรวจสอบ คือ
ขวานหิน


มีทั้งธรรมดา และหินอุกาบาตสีดำที่เรียกว่า ขวานฟ้า แต่ไม่มีบ่าตัวขวาน รวมทั้งบางชิ้นอาจเป็นเครื่องมือเฉือนเนื้อก็ได้ สอบถามได้คความว่าถูกขุดพบในชั้นดินล่างสุด ประมาณ 8 เมตร ชาวบ้านเก็บมาล้างได้หลายร้อยชิ้น ทั้งเก็บไว้จำหน่ายชิ้นละเพียง 50 บาท แต่พ่อค้าไม่ค่อยสนใจซื้อ
เครื่องประดับ

มีหินแก้วขัด หินควอตซ์ คล้ายกำไล หรือสร้อยคอแตกหักไม่สมบูรณ์หลายชิ้น แต่ยังพอเรียงติดต่อกันได้ มีทั้งที่ยังมิได้ขัดมันด้วย ตลอดทั้งลูกหินกลม ลูกปัด และแท่งกลวงคล้ายตะกรุด ที่น่าสนใจคือ หินอุกาบาตสีดำ ชิ้นหนึ่งมีลายสลักเป็นก้นหอย
เครื่องปั้นดินเผา
เครื่องปั้นดินเผา เป็นหม้อมีลายสีแดงแบบบ้านเชียงไม่สมบูรณ์หลายชิ้น สอบถามแล้วได้ความว่า ใบที่สมบูรณ์ที่สุดได้มีพ่อค้ามารับซื้อไปแล้วจำนวนมาก ในราคาใบละ 5,000-10,000 บาท จึงเหลือแต่ชิ้นส่วนที่แตกหัก ที่สำคัญที่สุดที่เหลือคือ เครื่องปั้นดินเผาที่ไม่มีลายเขียนสี ซึ่งพ่อค้าไม่สนใจนั้นน่าจะเป็นยุคก่อนบ้านเชียง เพราะเป็นลายเชือกทาบ จึงหลงเหลือมาให้เห็น คลิกอ่านต่อ


คุณสิทธิพร ณ นครพนม เรียบเรียง
(ก๊อบ***มาให้อ่าน จากnongkhaicity_com)