fernSiam.com : Home > โลกของเฟิน >Taxonomy > Pteridaceae || go Back

วงศ์ Pteridaceae

เฟินวงศ์นี้ มีชื่อสามัญว่า Brake Fern หรือ Braken Fern เป็นเฟินดิน มีบ้างที่เจริญเติบโตอยู่ในหนองบึง ลักษณะทั่วไป เหง้า บางชนิดเป็นเหง้าตั้ง หรือบางชนิดเหง้าเลื้อย เหง้าสีดำ ปกคลุมด้วยขนหรือเกล็ด ก้านใบยาว สีน้ำตาล ถึงสีดำ บางชนิดด้านหน้าเป็นร่องตัว U ลักษณะใบเป้นใบประกอบแบบขนกนก 2-3 ชั้น บางชนิดเฉพาะใบย่อยใกล้โคนเป็นใบประกอบ 3 ชั้น สปอร์ไม่มีเยื่ออินดูเซีย บางชนิดขอบใบม้วนพับลงมาปิดกลุ่มสปอร์ ทำหน้าที่เป็นเยื่ออินดูเซียปลอม บางชนิดอับสปอร์เกิดเต็มแผ่นหลังใบย่อย
วงศ์นี้กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยแบ่งเป็น 7-13 สกุล ตัวอย่างเช่น Acrostichum สกุลปรงไข่ ปรงทอง , Afropteris, Anopteris, Nevrocallis, Ochropteris, Pteris (สกุลเฟินหิรัญ เฟินเงิน) และ Stenochlaena (สกุลผักกูดแดง) บางแห่งจัดสกุล Adiatum เฟินก้านดำ สกุล Cheilanthes รวมอยู่ในวงศ์นี้ด้วยก็มี

สกุล Acrostichum L. สกุลปรงไข่ ปรงทอง

สกุลนี้ เป็นเฟินน้ำ มักพบอยู่ตามบึงหรือหนองน้ำตื้นๆ และมักเป็นน้ำกร่อย บางทีก็อาจพบตามหนองน้ำใสด้วย เป็นเฟินขนาดกลาง มีเหง้าใหญ่เป็นเนื้อไม้แข็ง เหง้าเป็นแท่งสั้น ตั้งตรง ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นแผ่นหนา ก้านใบยาว ด้านหน้าก้านใบเป็นร่องรูปตัว U เมื่อต้นยังเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวปกติ เมื่อโตเต็มที่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปรี ปลายแหลม หนาและเป็นมันเหมือนแผ่นหนัง อับสปอร์ เป็นกลุ่มอัดแน่นติดกันเป็นพืดเต็มหลังแผ่นใบย่อย ไม่มีเยื่ออินเซียปิดคลุมสปอร์ อับสปอร์ผนังรัดรอบกลุ่มสปอร์แต่ละกลุ่มเท่านั้น (Acrostichoid แปลว่า ติดกันเป็นพืด) บางแห่งจัดสกุลอยู่ในวงศ์ Acrostichaceae

เฟินสกุลนี้ในไทยมี 2 ชนิด

Acrosticum auream L.
ชื่ออื่น : ปรงทะเล ปรงไข่

เฟินชนิดนี้พบได้บ่อยบริเวณบึงตื้น ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อย หรือบริเวณป่าชายเลน ได้รับแสงแดดเ๖้มที่ตลอดวัน พบได้มากจนกลายเป็นวัชพืช ลักษณะ เหง้าสั้นตั้งตรง ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปรีปลายแหลม หนาคล้านแผ่นหนัง ใบสปอร์มีขนาดเล็กกว่าใบปกติ กลุ่มอับสปอร์ติดกันเป็นพืดเต็มใต้ใบ สปอร์สีน้ำตาลแดง
เฟินขนิดนี้ สามารถนำใบอ่อนมารับประทานได้เป็นผักสดได้ และยังนิยมปลูกประดับสวนน้ำ ทำให้ดูบรรยากาศเป็นธรรมชาติป่าได้ดี และยังมีรายงานว่า น้ำคั้นจากลำต้นใส่แผล เป็นยาแก้อักเสบได้อีกด้วย


Acrosticum speciosum Willd.
ชื่ออื่น : ปรงหนูเล็ก

ซึ่งคล้ายกับชนิดแรก แต่มีขนาดเล็กหว่า ขนที่เหง้าใหญ่กว่า ปรงหนูจะพบบริเวณที่เป็นบึงน้ำกร่อยได้มากกว่าน้ำจืด พบที่ระนอง พังงา และตราด

สกุล Pteris สกุล เฟินหิรัญ เฟินเงิน

อินเดียด่าง
เฟินในสกุลนี้ในบ้านเรามีหลายชนิดที่พบในธรรมชาติ ที่อากาศไม่ร้อนนัก แดดปานกลาง ความชื้นสูง ดินปลูกระบายน้ำด มีความผันแปรกลายพันธุ์ที่ได้จาก การเพาะสปอร์ ทำให้ได้พันธุ์ใหม่ แปลก ออกมามากมาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สกุล Pityrogramma

เฟินสกุลนี้เป็นเฟินดิน ทรงพุ่มปานกลาง ตัวอย่างเราพบเห็นกันได้บ่อย คือ เฟินหลังเงิน หรือเฟินหลังทอง ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สกุล Stenochlaena ผักกูดแดง

เฟินชนิดนี้จัดเป็นเฟินอากาศ (epiphyteic fern) มีเหง้าหรือลำต้นยาวเลื้อยไปตามลำต้นไม้ใหญ่ ใบประกอบแบบขนนก มี 2 แบบ คือ ใบที่สร้างสปอร์ มีขนาดเล็กกว่าใบปกติ อับสปอร์เกิดกระจายทั่วผิวใบด้านล่าง  เว้นเฉพาะส่วนที่เป็นเส้นกลางใบ ใบปกติมีจักที่ขอบคล้ายหนาม
ในเขตร้อนพบ 4 ชนิด ตั้งแต่อาฟริกาไปจนถึงโพลีนีเซีย ในไทยพบเพียงชนิด

Stenochlaena pulustris (Burm. f.) Bedd.
ชื่ออื่น  :  ปรงสวน ลำเท็ง ลำทะเม็ง กูดมอญ ผักยอดแดง ปะกูมาติง

เฟินชนิดนี้พบตามสวนเก่าทั่วไปใน กทม. นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง ตราด และภาคใต้ ชอบเลื้อยขึ้นต้นไม้
ลำต้นเหนียวแน่น ใช้ทำเชือกหรือนำมาถักกระเช้าหรือตะกร้าได้ดี  ใบสามารถนำมาฟอกสีให้ขาวทำเป็นใบไม้แห้งสำหรับประดับแจกันได้ดี มีใบพริ้ว บางใสคล้ายไหม นอกจากนี้ ยอดอ่อนยังสามรถกินได้อีกด้วย
fernSiam.com : Home > โลกของเฟิน >Taxonomy > Pteridaceae || go Back