> PTERIDACEAE > Pteris หน้า [ 1 ] > [ 2 ] || Back

สกุล Pteris เฟินหิรัญ ( tear'-iss)
วงศ์ PTERIDACEAE


สกุล Pteris ชื่อสกุลมาจากภาษากรีกว่า pteron หมายถึง ปีกนก มีชื่อสามัญว่า Brake Fern จัดเป็นเฟินดิน ขนาดเล็กถึงปานกลาง บางชนิดสูงเพียง 1 นิ้ว และบางชนิดสูงได้มากกว่าเมตร มักพบขึ้นงอกงามตามธรรมชาติบนพื้นดิน หน้าผาหิน กำแพง มีอยู่ราว 250-320 ชนิด กระจายในเขนร้อนและกึ่งร้อน ในไทยที่ค้นพบแล้วมีราว 29 ชนิด

ลักษณะทั่วไป เป็นเฟินดิน ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเหง้าสั้นๆ ในดิน ลักษณะใบ มีก้านใบยาว ก้านใบมีร่องบนผิวด้านบน ภายในก้านระกอบด้วยท่อลำเลียงรูปตัว U ใบอาจเป็นใบเดี่ยว หรือใบประกอบแบบต่างๆ ทั้ง pinnate, tripinate, tripartite บางชนิดใบเป็นรูปมือ ซอไรเกิดตามขอบใบ มีเยื่ออินดูเซียใสๆ เกิดจากขอบใบที่ม้วนตัวลงมา เป็นเยื่ออินดูเซียปลอม
เฟินสกุลนี้ มีมากมายหลายชนิด เป็นเฟินที่ปลูกเลี้ยง่าย สามารถปลูกเลี้ยงในบ้านในอาคาร หรือปลูกจัดสวนประดับได้ดี ดูวิธีการปลูกท้ายหน้า

ตัวอย่างเฟินในสกุลนี้ ได้แก่


Pteris argyraea
Pteris argyraea (are-gyr' ee-ah)
ชื่อพ้อง P. quadriaurita var argyraea
ชื่อสามัญ : Silver Brake, Silver Lace Fern
ชื่ออื่น : เฟินอินเดียด่าง
เป็นเฟินที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง พบครั้งแรกที่ตอนกลางประเทศอินเดีย สามารถสูงได้ถึง 3 ฟุต
ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น ใบย่อยมีได้ถึง 6 คู่ ออกตรงข้ามกัน ขอบใบย่อยหยักเว้า แต่ไม่ถึงเส้นกลางใบ ใบสีน้ำเงินฟ้าอมเขียวที่ขอบใบ และแถบสีด่างขาวเหลือบเงินบริเวณกลางใบ
ปลูกเป็นไม้ประดับกระถาง หรือปลูกลงดินประดับสวนได้สวยงาม

Pteris aspericaulis Wall. ex. J. Agardh.
พบที่เชียงใหม่ เชียงใหม่

Pteris asperula J. Sm.
พบที่เชียงราย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ชลบุรี

Pteris bella tagawa
พบที่ แม่ฮ่องสนอ เชียงใหม่ หนองคาย กาญจนบุรี สงขลา



กูดขนคางพญานาค P. biaurita L.
[ภาพ : Mr. CHATT]

Pteris biaurita L.
ชื่ออื่น : กูดหางค่าง กูดขนคางพญานาค, ผักกูดขนคางพญานาคราช

เฟินชนิดนี้มีเหง้าสั้นตั้งตรง ใบประกอบขนนกปลายคี่ ใบบาง สีเขียยวอ่อนและหยาบด้าน ขนาดใบ กว้างได้ถึง 30 ซ.ม. และยาว 60 ซ.ม. ก้านใบยาวถึง 50 ซ.ม. สีเขียวถึงสีน้ำตาลเข้ม มีเกล็ดสีน้ำตาล มีร่องตามความยาวด้านบน ใบย่อยเกิดตรงข้าม มีได้ถึง12 คู่ ใบย่อยรูปแถบแกมรูปใบหอก ปลายเรียว โคนสอบ ขอบหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย ใบย่อยคู่ล่าง หยักลึกคล้ายใบประกอบขนนก 2 ชั้น ใบแคบยาวปลายแหลม เส้นยใบเป็นร่างแหบริเวณโคน แตกสาขาเป็นคู่เห็นได้ชัดทั้ง 2 ด้าน สปอร์จัดเรียงตัวต่อเนื่อง ตามขอบใบย่อย ยกเว้นบริเวณปลายใบและที่ขอบเว้า

พบทุคภาคของไทยตามชายป่าระดับกว่า 1,400 ม. พบในป่าทุกภาคของไทย ยกเว้นอีสานกลาง-อีสานใต้ นอกจากนี้ ยังพบขึ้นตามสวนตามบ้านทั่วไปก็มีบ้าง หาดูได้ไม่ยากนัก



Pteris blumeana J. Agardh

Pteris blumeana J. Agardh
ชื่อพ้อง : P. quadriaurita หรือ P. quadriaurita var blumeana
ชื่ออื่น : เฟินหิรัญ

ลักษณะทั่วไปเป็นเฟินดิน ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เหง้าเป็นแท่งตั้งและสั้น ใบเป็นใบประกอบขนนก ปลายคี่ แผ่นใบบาง ผิวหนาเป็นเงามัน สีเขียว ใบย่อยออกตรงข้ามเป็นคู่ ใบย่อยรูปหอกแคบ โคนมน ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง ใบย่อยขอบหยักเป็นซี่ฟันแบบขนนก ทั้งสองข้างเท่าๆ กัน หยักกว้างได้ถึง 4 มม. ใบย่อยคู่ล่างใกล้โคนใบ มีใบย่อยแยกสาขาออกมาอีกชั้น และมีขนาดเล็กกว่าใบย่อยอื่น เส้นใยใบเป็นร่างแหอิสระ ยกเว้นบริเวณริมขอบใบ

เฟินชนิดนี้ พบได้ทั่วไปในหลายภาคของประเทศ เช่นที่ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก เลย กาญจนบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชุมพร ยะลา



Pteris blumeana cv. Alaba
[ Image : Pik ]

เฟินอะลาบา P. blumena
[ Image : Pik ]
Pteris blumeana cv. Alaba
ชื่ออื่น : เฟินอะลาบา

ชื่อ เฟินอะลาบา ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ อะลาบาลเตอร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีความสนใจเรื่องพันธู์ไม้มาก ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบทั้งชนิดที่มีใบสีเขียวตามปกติ และพันธุ์ที่กลายเป็นใบด่าง สีเงินและชมพูเป็นแถบตามขอบด้านในใบย่อย

การปลูกเลี้ยง เครื่องปลูกโปร่งระบายน้ำดี ชอบแสงรำไร หากแสงน้อย ใบอ่อนสีไม่แดงจัดเท่าแสงรำไร ความชื้นปานกลาง


P. blumena cv. Alaba
[ Image : Duang99 ]


Pteris blumeana cv. Variegate
จากธรรมชาติ ที่คำนวณเนิร์สเซอรี่ ภูเรือ
[ Image : Anakin@Loei ]
Pteris blumeana cv. Variegate


ม.ร.ว. พันทิพย์ บริพัตร เคยเล่าว่า พบเป็นดงอยู่ในแถบทุ่งแสลงหลวง เพชนบูรณ์ นอกจากนี้ ยังพบที่ น้ำตกวังตะไคร้ นครนายก
และภูหลวง จ. เลย ดอยหลวงเชียงดาว เชียงใหม่ เกริงกะเวีย กาญจนบุรี


กูดผีเสื้อ : P. cretica L. [ภาพ : Mr. ZUP]
 Pteris cretica L.
ชื่อสามัญ : Table Fern หรือ Cretan Brake Fern
ชื่ออื่น : กูดผีเสื้อ

P. cretica (อ่าน cre-ti-cah) มีมากมายหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกเลี้ยงกันมาแต่เก่าก่อน ต้นสูงราว 6-18 นิ้ว ใบหยาบคล้ายหญ้ามาเลย์ ทรงพุ่มสีเขียว พันธุ์ใบด่าง ทรงพุ่มดูสว่างตา ใบเป็นใบประกอบ ยาว 12-24 นิ้ว ใบย่อยแตกเป็น 1-5 คู่ ใบย่อยเป็นแถบเรียวแคบ ใบที่สร้างสปอร์จะเรียวและแคบมากกว่า

พบในธรรมชาติทางภาคเหนือ ที่ดอยเชียงดาว ดอยสุเทพ เชียงใหม่ ภูเมี่ยง เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ภาคตะวันออก
ศรีราชา ชลบุรี จันทบุรี และทั่วไปทางภาคใต้

เฟินชนิดนี้ มีหลากหลายสายพันธุ์ ที่เกิดจากการเพาะสปอร์ ตัวอย่างพันธุ์ที่นิยมปลูกเลี้ยงกัน ได้แก่

P. cretica cv. Albo-lineata
ชื่อสามัญ : Albo-Lineata, Varigated Table Fern
ชื่ออื่น : เฟินเงินแคระ

สวยงาม ใช้ประดับตกแต่งสถานที่อาคาร และจัดสวนได้ดี ปลายใบแตกเป็นสามง่าม เส้นกลางใบและบริเวณกลางใบมีสีเงิน ใบที่สร้างสปอร์จะผอมและสูงกว่า ทรงต้นเตี้ย สูงได้ราส 18 นิ้ว และแผ่คลุมดินได้ พุ่มดูแน่นหนาดี ปลูกเลี้ยงง่าย มีร่มเงาให้บ้างพอสมควร ต้องการความ
ชุ่มชื้นสูง แต่ไม่ชอบดินแฉะ


P. cretica cv. Albo-lineata เฟินเงินแคระ
[Image : Mr. CHATT]

P. cretaca cv. Wilsoni
ชื่อสามัญ : Fan Table Fern

สวยงามและมีลักษณะเด่น เหมาะใช้ประดับโต๊ะ ทรงพุ่มเตี้ย แตกพุ่มแน่น ปลายใบแตกเป็นกิ่งคล้ายเขากวางหรือรุปพัด ขยายพันธุ์ยาก


P. cretica cv. Parkei
P. cretica cv. Parkei
ชื่อสามัญ : Parker's Table Fern

มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น ใบย่อยค่อนข้างกว้าง เรียวยาว สีเขียวอ่อน ใบยาวประมาณ 40-70 ซ.ม.

P. cretica cv. Rivertoniana
ชื่อสามัญ : Lacy Table Fern

ใบเป็นใบประกอบ ขอบหยักเป็นแฉกลึก ใบย่อยมีจำนวน 4-5 คู่ ทรงพุ่มแน่น


P. cretica cv. Rivertoniana
[ Image : Mr. CHATT]

หน้าต่อไป

การปลูกเลี้ยง :

เฟินในสกุลนี้ ชอบอากาศอบอุ่น ไม่ร้อนมากนัก สามารถปลูกประดับภายในบ้านได้ ทำให้ดูชุ่มชื่นและช่วยลดอุณหภูมิความร้อนจากภายนอกบ้านได้ดี เป็นเฟินที่ชอบน้ำชุ่ม แต่ไม่ขังแฉะ ต้องการแสงปานกลาง หรือแดดรำไร เครื่องปลูกระบายน้ำดี เป็นด่างอ่อนๆ
หากเครื่องปลูกอับ ไม่ระบายน้ำ จะทำให้รากเน่า ให้รีบเปลี่ยนกระถาง โดยตัดรากที่เสียหายออกไปและเปลี่ยนเครื่องปลูกและกระถางใบใหม่

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะสปอร์ หรือผ่ากอแยกต้น

> PTERIDACEAE > Pteris หน้า [ 1 ] > [ 2 ] || Back