> OSMUNDACEAE > Osmunda || Back
สกุล Osmunda ออสมันดา
วงศ์ OSMUNDACEAE

Osmunda ( อ่าน oz-mun' dah) เป็นเฟินที่มักพบอยู่บริเวณใกล้บึงน้ำ ลักษณะทั่วไปของเฟินสกุลนี้ คือ มีเหง้าสั้นตั้งตรง ฝังตัวอยู่ใต้ผิวดิน ดูคล้าย Tree Fern ขนาดเล็ก ใบเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย เป็นแผ่นหนา ขอบใบหยัก สปอร์เกิดบนใบสปอร์เป็นใบผอมเรียว ไม่มีสีเขียวของโคโรฟิลด์ มีอับสปอร์เป็นกลุ่มก้อน

ตัวอย่างเฟินในสกุลยี้ได้แก่


Osmunda angustifolia ที่โครงการหลวง ดอยอินทนนท์
[Image : Bank]


ต้นนี้อยู่ที่ กทม. [ Image : Pik ]

Osmunda angustifolia Ching ex Ching & Wang
ชื่ออื่น : หัสดำ
พบที่ เลย ชัยภูมิ ตราด

ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ใบสปอร์กับใบปกติ อาจอยู่บนก้านใบเดียวกัน โดยใบย่อยที่มีสปอร์อยู่ตอนล่างและผอมเรียว ใบปกติอยู่ตอนปลาย อับสปอร์เกิดเป็นกลุ่ม เมื่อสปอร์ยังอ่อน เป็นสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป้นสัส้ม


[ Image : Pik ]

[Image : Bank]

 



Osmunda banksiifolia
[ Image : Pik ]


[ Image : Pik ]

Osmunda banksiifolia (Presl) Kuhn

ออสมันดาชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเป็นเฟินที่มีแนวโน้มสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ เนื่องจากป่าไม้ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก


ต้นนี้อยู่ที่ โครงการหลวง อินทนนท์ [ Imge : Bank ]

[ Image : Pik ]
เมื่อต้นอายุยังน้อย ใบปกติ (sterile frond) และ ใบสปอร์ (fertile frond) อยู่บนก้านใบเดียวกัน ใบสปอร์อยู่ตอนล่าง และผอมเรียวกว่าใบย่อยที่ไม่มีสปอร์

อับสปอร์ เมื่อยังอ่อน เป็นสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วเป็นส้มเมื่อสปอร์แก่

[ Image : Bank ]


Osmunda cinnamomea Linnaeus

Osmunda cinnamomea L.
ชื่อสามัญ : Royal Fern, Cinnamon Fern
ชื่ออื่น : หัสแดง

เฟินออสมันดา ซินนาโมมีอา หรือเรียก ซินนามอนเฟิน หรือ หัสแดง มักพบอยู่ในป่าสนเขา บนดอยที่มีอากาศเย็น บริเวณหนองบึงที่มีความช่มชื้นสูง ชนิดนี้กระจายพันธุ์ไปทั่วโลกในหลายประเทศ ตั้งแต่อเมริกาเหนือ เอเชียตะวันออก ถึง อุษาคเนย์ เฟินชนิดนี้มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เมื่อถึงฤดูแล้งและเกิดไฟป่า หัสแดงก็สามารถอยู่รอดได้ เมื่อมีฝนตกลงมา หัสแดงจะแตกใบใหม่ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ในไทยมีรายงานพบที่ จ. เลย
ลักษณะใบมี 2 ลักษณะ คือ ใบปกติ เป็นใบประกอบขนนก ใบย่อยขอบหยักลึก ไม่ถึงเส้นกลางใบ และใบสปอร์ อยู่กลางทรงพุ่ม มีขนาดเล็กผอมเรียว ก้านชูตั้งตรงอยู่กลางทรงพุ่มต้น สปอร์เกาะเป็นกลุ่ม สปอร์เมื่ออายุน้อยเป็นสีเขียว เมื่อสปอร์แก่เปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล หรือสีขมิ้นแดง ช่อสปอร์เมื่อแก่มีสีสันสวยงาม ดูเหมือนช่อดอกไม้

การปลูก : หากอยู่ในเขตร้อนจะเจริญเติบโตตลอดปี แต่หากอยู่ในเขตหนาวจะพักตัว ชอบดินโคลน มีฤทธิ์เป็นกรด มีความชื้นในอากาศสูง แสงรำไร ขยายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ หรือแบ่งกอ


Osmunda javanica Blume
ดูภาพเฟินชนิดนี้ : Thomas Schoepke
มีรายงานพบที่ จันทบุรี
Osmunda cachellii Hook.
ชื่ออื่น : หัสดำ, กาซอดี
มีรายงานพบที่ เชียงใหม่ เลย นครศรีธรรมราช ยะลา สตูล
> OSMUNDACEAE > Osmunda || Back