> Marattiaceae || Back

วงศ์ Marattiaceae วงศ์กีบแรด

เฟินกีบแรด
Angiopteris evecta
กีบแรด อยู่ริมตลิ่งข้างลำธารน้ำตก กาญจนบุรี

เฟินในวงศ์นี้ เป็นเฟินขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จัดเป็นเฟินดิน มีเหง้าเป็นแท่งสั้นหรือเป็นก้อน เนื้ออ่อนและอวบน้ำ ฝังตัวอยู่ที่ผิวดิน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ก้านใบยาวและอ้วยอวบน้ำ ใบย่อยหนา ผิวใบเป็นมันเงา ในธรรมชาติจะพบในป่าเขตร้อนและกึ่งร้อนที่มีอากาศชื้น
จากรายงานการค้นพบซากฟอสซิลของเฟินในวงศ์นี้ ทำให้ทราบว่า เฟินนี้เป็นเฟินโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยคาร์บอนิเฟอรัส คือประมาณ 350 ล้านปีมาแล้ว ในซากฟอสซิลเฟินในวงศ์นี้มีลำต้นสูงใหญ่ถึง 10 เมตร แต่สายพันธุ์ที่ยังเหลือรอดมาถึงในยุคปัจจุบัน ลำต้นเป็นเพียงแท่งสั้นๆ ฝังตัวอยู่กับดิน ดูเหมือนเป็นหัวว่านยา

ลักษณะของกลุ่มอับสปอร์เรียงตัวกันเป็นแถวถี่ๆ ไปตามความยาวของก้านใบย่อย อยู่เกือบริมขอบใบย่อย อับสปอร์ มีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด รูปร่างรีกลม เมื่อแก่ เยื่อจะเปิดออกตามรอยยาว เพื่อให้สปอร์ปลิวออกไปได้ (ดูภาพอับสปอร์ของเฟินวงศ์นี้ที่ Links ตอนท้ายหน้านี้)

จำนวนสมาชิกของเฟินในวงศ์นี้ ปัจจุบันแบ่งเป็น 5-7 สกุล มี Angiopteris, Marattia, Christensenia, Archangiopteris, Danaea, Macroglossum, และ Protomarattia คือ บางแห่ง รวมเอาบางสกุลเข้าไว้ด้วยกันทำให้มีจำนวนสกุลไม่เท่ากัน สำหรับในไทย พบเฟินในวงศ์นี้ 3 สกุล ในลำดับแรกที่กล่าว

รายละเอียดที่น่าสนใจ ในวงจรชีวิตเฟินในวงศ์ MARATTIEACEAE นี้ กล่าวคือ ในช่วงที่สปอร์เจริญเติบโตเป็นแผ่นโปรธัลสัส ซึ่งมีรูปร่างเป็นโครงสร้างแบบขนนก (pinnate structure) ในช่วงระยะนี้จำเป็นต้องมีเชื้อรา mycorrhizal ชนิดหนึ่งอยู่ร่วมด้วย จึงจะพัมนาเกิดเป็นโคโรฟิลด์และมีการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นได้ โปรธัลลัสเหล่านี้มีรากเทียม rhizoids ช่วยยึดเกาะดินเอาไว้ มีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (antheridia) เกิดอยู่ที่ผิวบนและผิวล่าง อวัยวะเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (archegonia) เกิดอยูที่ผิวล่างเท่านั้น เมื่อเชื้อตัวผู้ว่ายน้ำออกจาก antheridia ไปหาเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย จึงเกิดการผสมพันธุ์กันแล้วจึงเกิดเป็นต้นอ่อนเฟิน (ระยะ sporophyte) ที่เริ่มมีโครงสร้างคล้ายใบ มีสีเขียว และเริ่มมีรากแท้เกิดขึ้น จากนั้นโปรธัลลัสจะสลายไป แสดงให้เห็นว่า การผสมพันธุ์กันนั้นเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของโปรธัลลัส และยังพบว่า หากไ่ม่มีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น โปรธัลลัสของเฟินวงศ์นี้ สามารถมีอายุอยู่ได้นานถึง 6 ปี ถ้ามันไม่ถูกฝังกลบไปซะก่อน และมีขนาดยาวได้ถึง 5 ซ.ม.อีกด้วย

สกุล Angiopteris Hoffm.

กีบแรด [ Image : ZUP ]

สกุลนี้ มีอยู่ร่วม 100 ชนิด ส่วนใหญ่พบอยู่ในประเทศจีน ในไทยพบเพียงชนิดเดียวที่หลายคนคุ้นเคย คือ เฟินกีบแรด ใน สกุล Angiopteris

หมายเหตุ บางสำนัก แยก Angiopteris เป็นอีกวงศ์ Angiotiaceae

 


สกุล Marattia J. Sm.

สกุลนี้มีราว 60 ชนิด ในไทยมีรายงานพบชนิดเดียว คือ
Marattia sambucina Blume พบที่นครศรีธรรมราช


สกุล Christensenia

ในไทย มีรายงานพบชนิดเดียว คือ

Christensenia aesculifolia (Blume) Maxon
ชื่อพ้อง : Aspidium aesculifolium Blume, Kaulfussia assamica Griff.
พบที่ นครศรีธรรมราช



หมายเหตุ บางแห่ง แยก Angiopteris และChristensenia เป็นวงศ์ใหม่ เป็น Angiotiaceae, Christensiniaceae แต่ไม่มีคำอธิบาย

เล็กๆ น้อยๆ สำหรับนักเรียน : วงศ์นี้จำง่าย เฟินกีบแรดอยู่ในวงศ์ ม้า-แรด-เทีย-ซี-เอ้ Marattiaceae (Ma-rat-tia-ce-ae)

> Marattiaceae || Back