> Marattiaceae > Angiopteris || back

สกุล Angiopteris สกุลกีบแรด
วงศ์ Marattiaceae

Angiopteris evecta
เฟินกีบแรด ที่น้ำตกเกริงกระเวีย กาญจนบุรี
[ Image : Moo ]

สกุลนี้ บางแห่ง จำแนกเป็น 300 ชนิด และบางแห่งมีเพียง 11 ชนิด และมีบางแห่ง จำแนกเป็นเพียงชนิดเดียว และอีก 300 ชนิด เป็นสายพันธุ์ย่อย ของ Angiopteris evecta
เฟินชนิดนี้

ชื่อสกุล Angiopteris อ่าน An-ji-op-te-ris
มาจากคำภาษากรีก aggeion (angion; a vessel) และคำว่า Pteris (เฟิน)

หัวเหง้า หรือลำต้นของเฟินกีบแรด
[ Image : Mr. Bank]

ใบของเฟินกีบแรด
ถ่ายที่ร้าน Amazon ตลาดคำเที่ยง
[Image : Mr. Bank]

[กีบแรด]

เฟินกีบแรด [ Image : ZUP ]

 

Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm.
ชื่อสามัญ : Giant Fern, King Fern
ชื่ออื่น : ว่านกีบแรด ว่านกีบม้า กีบม้าลม ดูกู

เฟินกีบแรด เป็นเฟินดิน ชอบร่มเงา และต้องการความชื้นในอากาศสูง ในประเทศไทยพบทั่วไปตามป่าดิบเขาที่มีร่มเงาและความชื้นสูง มีข้อสัณนิษฐานว่า เฟินกีบแรดต้องอาศัยอยู่ร่วมกับเชื้อราที่ระบบรากของกีบแรด เพื่อให้เชื้อราช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ ให้กลายเป็นธาตุอาหารให้กับรากของกีบแรดดูดซึมเข้าไป โดยลำพังมันไม่สามารถดูดซับเองได้ และกีบแรดแลกเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลให้กับเชื้อราคืนด้วย หากไม่มีเชื้อรา กีบแรดอาจจะไม่เจริญเติบโตได้

ลักษณะต้น เป็นเฟินที่มีขนาดใหญ่ มีลำต้นเป็นหัวอยู่ฝังที่ระดับผิวดิน เป็นเนื้ออวบอ้วน ที่หัวมีร่องรอยบุ๋มรอบหัว ซึ่งเกิดจากขั้วของก้านใบที่หลุดออก เหลือไว้เป็นร่อง มองดูคล้ายกีบเท้าแรด สมชื่อที่เรียกว่า กีบแรด เคยมีคนบอกว่า เห็นที่เชียงใหม่ ขนาดของหัวใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.5 ม.

ลักษณะใบ มีขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง 10 ฟุต ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ก้านใบใหญ่ อวบอ้วน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน มีก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบหนา และสีเขียวดสดเป็นมันเงา

กลุ่มอับสปอร์ เป็นรูปรี เรียงตัวขนานกันเเป็น 2 แถวติดกัน ที่ขอบริมใบย่อย

อับสปอร์ของเฟินกับแรด [ Image : Bank ]
ใบย่อยของเฟินกีบแรด บางใบปลายเป็นแฉก
ต้นนี้อยู่ที่ร้าน Amazon ตลาดคำเที่ยง เชียงใหม่
[ Image : Mr. Bank]


เฟินกีบแรด ปลูกลงกระถาง
[ Image : Mr. Bank ]

การปลูกเลี้ยง : ฝังหัวเหง้าลงตื้นๆ ให้หัวโผล่อยู่ที่ผิวเครื่องปลูก สำหรับวัสดุปลูก ชอบสภาพเป็นกรดเล็กน้อย มีใบไม้ผุมากๆ และโปร่ง ผสมทรายหยาบบ้าง เพื่อให้ระบายน้ำและระบบรากถ่ายเทอากาศดี ชอบแสงรำไรและอากาศชุ่มชื้น เหมาะปลูกเป็นสวนป่า หรือปลูกลงกระถางก็สวยงามดี หากปลูกในกระถาง ควรเลือกกระถางให้ใหญ่กว่าหัวมากหน่อย แต่หากปลูกลงดิน จะเจริญเติบโตได้ดีกว่า ปกติให้ใบใหม่ช้า แต่เมื่อใบอ่อนเริ่มงอก จะโตได้รวดเร็ว และไม่ทิ้งใบบ่อย ต้นที่ปลูกอยู่บ้าน แต่ละใบอยู่ให้เห็น 1-2 ปี
ในช่วงที่ออกใบอ่อนใหม่ หากมีช่วงขาดน้ำ เมื่อได้รับน้ำอีกครั้ง มันจะเกิดเป็นปุ่มตาที่ก้านใบ ที่ดูเหมือนเป็นข้อที่ก้านใบ

การขยายพันธุ์ : สปอร์ หรือ ใช้กีบด้านข้างลำต้น นำไปชำในที่ร่มและชื้น แต่ใช้ระยะเวลานานมาก กว่จะแตกตาต้นใหม่

ต่อไป เราลองมาดูตัวอย่างเฟินกีบแรด จาก ตปท. กันบ้าง หนุ่ม Bank เก็บภาพเอามาฝากให้ชมกัน


Angiopteris smithii [ Image : Bank ]

 

Angiopteris smithii

กีบแรดชนิดนี้เป็นไม้พื้นเมืองของซาราวัค ที่เกาะบอร์เนียว ในบ้านเรามีผู้สั่งนำเข้ามาจำหน่ายกัน แต่ยังไม่เห็นมีใครขยายพันธุ์ในบ้านเราออกมาขาย มีแต่สั่งนำเข้าต้นใหม่มาเรื่อยๆ


ลักษณะลำต้นของ A. smithii [ Image : Bank ]


กีบแรดจากเกาะบอร์เนียว

ต้นนี้ เป็นอีกต้นหนึ่งที่ Bank เก็บภาพมาฝากเช่นกัน
เป็นเฟินกีบแรดจากเกาะบอร์เนียว ใบเล็ก รูปไข่เกือบกลม และใบเล็กแทบจะดูเป็นเกล็ด

 

> Marattiaceae > Angiopteris || back