> LOMARIOPSIDACEAE > Bolbitis || back

สกุล Bolbitis Schott
วงศ์ LOMARIOPSIDACEAE


Bolbitis heteroclita
เฟินหางหงษ์ [ Image : Blue Jay ]

เฟินในสกุลนี้ มีทั้งที่เป็นเฟินดิน เฟินเกาะหิน หรือกึ่งอิงอาศัย ลักษณะทั่วไป มีเหง้าผอมกลม เลื้อยสั้น มีน้อยมากที่เลื้อยปีนขึ้นสูง แตกกิ่งสาขา ยอดเหง้ามีขนหรือเกล็ดปกคลุม ก้านใบออกจากเหง้า ไม่มีปุ่มตาที่โคนก้าน ก้านใบกลม ใบ มีใบเดี่ยวปกติ หรือใบประกอบขนนก ปลายเดี่ยว มีน้อยมากที่เป็นใบประกอบขนนก 2ชั้น ใบย่อย อาจมีก้านใบย่อยหรืออาจไม่มี ใบย่อยที่ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม หรืออาจเป็นใบประกอบ ขอบใบย่อยมีทั้งแบบขอบเรียบและหยักซี่ฟัน สปอร์เกิดบนใบสปอร์ มีลักษระแตกต่างจากใบปกติ มีก้านใบยาว ใบประกอบแบบขนนก อับสปอร์กระจายติดกันเป็นพืดอยู่ทั่วหลังใบ ไม่มีเยื่ออินดูเซียม และไม่มีเส้นใยคลุมสปอร์ มีเยื่อรัดรอบอัสปอร์ตามแนวยาว

กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน Tropical พบจำนวน 85 ชนิด ตัวอย่างเฟินในสกุลนี้ เช่น

Bolbitis appendiculata
Bolbitis appendiculata

Dark green of pinnate frond

[ปีกแมลงทับ appn.jpg] เฟินปีกแมลงทับ
[ Image : Mr. ZUP]

Bolbitis appendiculata (Willd.) J. Sm.
ชื่อพ้อง : Acrostichum appendiculatum Willd., Polybotrya appendiculatum
ชื่ออื่น : เฟินปีกแมลงทับ(ไทย)

เฟินชนิดนี้ พบเห็นได้บ่อยบริเวณใกล้ลำธาร น้ำตก มักพบเกาะอยู่ตามก้อนหินหรือพื้นดินที่ชุ่มชื้น ตลอดริมลำธาร ที่มีร่มเงา ได้รับเพียงแสงสว่าง ในป่าระดับต่ำ

ลักษณะทั่วไป ลำต้นเป็นเหง้าสั้นและอ้วนอวบน้ำเลื้อยไปตามผิวดินหรือเกาะตามซอกหิน มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาลเกือบสีดำ ปกคลุม ลักษณะใบเป็นใบประกอบขนนก ปลายคี่ หากอยู่ร่มจัด ใบเป็นสีเขียวอมน้ำเงินเหลือบ คล้ายสีของปีกแมลงทับ ใบมีก้านยาว ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายแหลม ขอบใบจักซี่ฟันตื้น ส่วนใบที่สร้างสปอร์จะมีขนาดผอมเรียว อับสปอร์อัดแน่นที่ริมขอบใบถึงเต็มใบ

เฟินชนิดนี้ชอบอากาศร้อนชื้น ความชื้นสัมพัทธ์สูงยิ่งชอบ พบมากที่สุดบริเวณน้ำตกแถวนครนายก และปราจีนบุรี กระจายพันธุ์ประเทศศรีลังกา อินเดีย ภูฐาน จีนตอนใต้ พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปืนส์ ริวกิว ไต้หวัน

B. appendiculata (Wild.) K. Iwats. กูดหินเล็ก จะพบได้ตามริมลำธารพบตามก้อนหินหรือโขดหินที่มีอินทรีย์วัตถุปกคลุม
- Subsp. appendiculata พบทั่วทุกภาคของไทย
-Subsp. vivipara (Hamilt. ex. Hook.) Hemnipman พบที่ เชียงรายแห่งเดียว

fertile frond
Sterile frond more sesile

(มี เฟินปีกแมลงทับ อีกชนิดที่เรียกกัน ในทางการค้าทั่วไป อยู่ในสกุล Dryopteris)


[heteroclita หางหงษ์]
Bolbitis heteroclita
เฟินหางหงษ์

Bolbitis heteroclita (Presl) Ching ex C. Chr.
ชื่ออื่น : กูดเป้า กูดหางนกกะลิง(เหนือ) กูดเป้าหลวง หางหงษ์(ชื่อทางการค้า)

เฟินชนิดนี้มีเหง้าเล็ก กว้างราว 1-2 มม. สีเขียว ทอดขนานยาวไปตามผิวที่เกาะอาศัย เหง้ามีขนหรือเกล็ดสีดำ ใบ เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบขนนกปลายคี่ ก้านใบสีเขียว มีเกล็ดหุ้ม ตัวใบยาว 20-30 ซม. ใบย่อย แตกเป็นคู่จำนวน 2-3 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน โคนสอบ ก้านสั้น ปลายแหลมเรียวเป็นติ่ง ขนาดใบย่อย กว้าง 3-6 ซ.ม. ยาว 7-15 ซ.ม. ปลายติ่งยาว 4-7 ซ.ม. ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบที่ปลายก้าน คอดและแหลมเรียวยาว ดูคล้ายหาง หางนี้ยาว 50-80 ซ.ม. ปลายใบยาวๆ นี้ สามารถเกิดต้นอ่อนเป็นต้นใหม่ได้ เส้นใบเป็นร่างแหเห็นได้ชัดเจนทั้งด้านบนและด้านล่าง ใบสปอร์มีรูปร่างแตกต่างจากใบปกติที่ไม่สร้างสปอร์ ก้านใบยาวกว่าใบปกติ และชูตัวใบตั้งขึ้นสูงกว่าทรงพุ่ม มีใบย่อย 4 คู่ รูปขอบขนานและผอมเรียวกว่าใบปกติ ปลายใบย่อยที่ปลายห้านใหญ่กว่าใบคู่ล่าง กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวทั่วใต้แผ่นใบย่อย เฟินขนิดนี้ มักพบตามริมลำธารน้ำตก ทั้งบนดินและโขดหินที่มีดินติด ในพื้นที่ป่าดิบชื้น ที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง ที่ระดับ 600-1,000 ม. MSL
กระจายพันธุ์อยู่ใน อินเดียตอนเหนือ พม่าตอนเหนือ ตอนใต้ของจีน ไต้หวัน หมู่เกาะริวกิ ในอุษาคเนย์ ASIAN ในบ้านเราพบทั่วทุคภาค เช่นที่ เชียงราย เชียงใหมใj ลำปาง พิษณุโลก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธุ์ และทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคใต้
เฟินชนิดนี้ เป็นที่นิยมนำมาปลูกเลี้ยงในตู้ปลาสวยสวยงาม น่าแปลกที่เฟินชนิดสามารถปลูกอยู่ใต้น้ำได้


เพิ่มเติม Bolbitis ในไทย
  • Bolbitis angustipina (Hayata) H. ho. พบลำปาง ตาก เลย เขาใหญ่
  • B. copelandii Ching ex. C. Chr. & Tardieu กูดหินใหญ่ พบได้ในป่าดิบแล้ง บริเวณริมลำธาร ที่ลำปาง เลย ขอนแก่น เขาใหญ่ ภาคตะวันออก ชลบุรี
  • B. costata (C. Presl.) Ching. ex. c. Chr. พบที่ เชียงใหม่ ลำปาง
  • B. deltiggera (Bedd.) C. Chr. พบที่ ลำปาง พิษณุโลก นครนายก
  • B. hookeriana K. Iwats พบทางภาคเหนือป่าฝั่งตะวันตก ตั้งแต่แม่ฮ่องสอน ตากและกาญจนบุรี
  • B. scalpturata (Fe'e) Ching พบที่ เชียงใหม่ เลย สุราษฎร์ธาน
  • B. sinensis (Baker) K. Iwats. var costulata (Hook.) Tagawa & K. Iwats. พบที่ เชียงราย เชียงใหม่ และพิษณุโลก
  • B. sinensis (Baker) K. Iwats. var sinensis กูดบ้ง พบที่เชียงราย เชียงใหม่ เลย เพชรบูรณ์ จันทบุรี
  • B. sinuata (C. Presl.) Hemnipman พบทางภาคใต้ตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป
    Lamina thicker, stiff when dry, veins indistinct; terminal segment the same shape as lateral pinnae although sometimes slightly larger, never linear and rampant; plants of forest floor, the rhizome often ascending the boles of trees.
  • B. tonkiensis (C. Chr. ex Ching) K. Iwats. พบที่เชียงรายแห่งเดียว
  • B. virens (Wall. ex. Hook. & Grev.) Schott. var. compacta hennipman พบที่ชลบุรี พังงา สตูล

Bolbitis virens (Wall. ex. Hook. & Grev.) Schott var. virens
ชื่ออื่น : กูดง้อง

เฟินชนิดนี้ เป็นเหง้าทอดเลื้อยขนานไปกับผิวที่ยึดเกาะ มีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นแผ่นปกคลุมอยู่ทั่วไป
ใบปกติ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ก้านใบยาวราว 30-40 ซ.ม. มีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุมก้านใบหนาแน่น ใบย่อยมี 5-7 คู่ ใบย่อย กว้าง 6 ซ.ม. ยาว 25 ซ.ม. รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายเป็นติ่งแหลม โคนสอบแคบ ขอบใบหยักแหลมและมักเป็นคลื่น แผ่นใบเรียบ เส้นใบเป็นร่างแห มองจากด้านล่างเห็นเส้นใบและเกล็ดได้ชัดเจน มีเส้นสั้นๆ อยู่ตามช่องร่างแห ใบที่ปลายก้านมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยคู่ล่าง ปลายใบสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้
ใบที่สร้างสปอร์ มีรูปร่างต่างจากใบปกติ ก้านใบยาวกว่าใบปกติ และผอมเรียวกว่าใบปกตินิดหน่อย มีใบย่อย4-6 คู่ ปลายเรียวแหลม กลุ่มอับสปอร์กระจายอยู่ไปหลังใบ

เฟินชนิดนี้กระจายพันธุ์อยู่ในจีนตอนใต้ พม่า บังคลาเทศ พบทางภาคเหนือป่าแถบตะวันตก ไล่จากเชียงใหม่ลงมาถึงกาญจนบุรี แพร่ เลย จันทบุรี สุราษฎร์ธานี มักพบขึ้นอยู่บนดินหรือหินใกล้ลำธารน้ำ ในป่าดงดิบ ที่มีความสูง 800 - 1,200 ม. MSL


เฟินผักชี (ชื่อทางการค้า)
เฟินผักชี (ชื่อทางการค้า) ทรงพุ่มต้นคลุมติดดิน มีเหง้าเลื้อยทอดไปตามผิวดิน ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียวเล็ก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบสปอร์มีก้านชูสูงขึ้นมาจากทรงพุ่ม เป็นใบประกอบ ใบย่อยเกือบกลม ราว 1 ซ.ม. มีสปอร์กระจายทั่วใต้ใบ

ตัวอย่าง Bolbitis sp. เฟินในสกุลนี้ แต่ยังไม่ทราบชื่อชนิด

Bolbitis sp.
[ Image : Chatt ]

Bolbitis sp.
[ Image : Bank ]

Bolbitis sp.
[ Image : Bank ]


[ Image : Mr. CHATT]



[ Image : Mr. ZUP]

ชื่อทางการค้าว่า เฟินใบเลื่อยด่าง
ลำต้นมีเหง้าเลื้อย เหง้ากลม ยาว สีเขียว มีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ มีใบย่อยตั้งแต่ 1-3 คู่ ใบย่อยรูปยาว ขอบขนาน ปลายสอบ ขอบหยักเป็นซี่ฟัน ทำให้ดูเหมือนใบเลื่อย ใบหนาเป็นเงามัน กลางใบเป็นด่างสีเขียวอ่อน เส้นใบหลักและย่อยสีเขียวเข้ม
ยังไม่ทราบชื่อที่แน่นอนเช่นกัน

 

> LOMARIOPSIDACEAE > Bolbitis || back