ประวัติกักกันพืช
     
มูลเหตุการกักกันพืช
มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการกักกันพืช

               คำว่า "Quarantine" (กักกัน) มาจากคำว่า "Quarantum" ซึ่งเป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า "สี่สิบ) แรกเริ่มเดิมทีคำว่า Quarantine ถูกนำไปใช้เป็นช่วงระยะเวลากักกันเรือที่เดินทางมาจากประเทศที่มีโรคร้ายแรงกำลังระบาดอยู่ เช่น กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้เหลือง เป็นต้น ลูกเรือและผู้โดยสารจะถูกบังคับให้อยู่บนเรือซึ่งจอดอยู่ห่างฝั่งเป็นระยะเวลาหนึ่ง นานพอที่โรคภายที่อาจจะติดมากับลูกเรือผู้โดยสารจะปรากฏให้เห็น จึงจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งได้ เรื่องดังกล่ายนี้มีรายงานว่าเริ่มมีในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 14 ต่อมาระบบการกักกันเรือได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ Venice ในปี พ.ศ. 1946 และที่ Genoa ในปี พ.ศ. 2010 และในปี พ.ศ. 2342 กฎหมายสหรัฐอเมริกาได้ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางคอยให้ความช่วยเหลือแต่ละรัฐ และเมืองท่าต่างๆ ในการประกาศใช้ข้อบังคับทางด้านอนามัยหลายๆ อย่างของท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2368 ประเทศอังกฤษออกกฎข้อบังคับกักกันเรือที่เดินทางมาจากต่างประเทศและในปี พ.ศ. 2348 มีการประชุมนานาชาติที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้มีการยกร่างประมวลกฎหมายว่าด้วยการกักกันเกี่ยวกับการเดินเรือ และการค้าขายระหว่างประเทศ

ความหมายของคำว่า "กักกัน" ถูกนำมาใช้โดยเริ่มจากเรื่องราวของโรคมนุษย์ มาเป็นเรื่องราวของโรคสัตว์ และต่อมาภายหลังครอบคลุมมาถึงศัตรูพืชด้วยโดยใช้คำว่า "กักกันพืช" ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Plant Quarantine"

รัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มให้ควาสสนใจอย่างจริงจังเกี่ยวกับการอารักขาพืชในตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี้เอง ทั้งนี้เนื่องมาจากในศตวรรษที่แล้วมีศัตรูพืชสำคัญหลายชนิดระบาดในส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูพืชของมันฝรั่งและองุ่นเกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในหลายประเทศในทวีปยุโรป จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นพังพินาศลง และอีกหลายประเทศต้องประสบกับสภาวะข้าวยากหมากแพง ขาดแคลนอาหาร และประชากรต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานในแหล่งใหม่ เรื่องราวของโรคและศัตรูพืชจากประเทศหนึ่งเล็ดลอดเข้าไปแพร่ระบาดยังอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีเกิดขึ้นมากมายในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย

www.oocities.org/thaipqs
HOME