QUESTION...

>> 1. Mainframe Arechitecture ได้รับการพัฒนาให้เข้ากันได้กับ Client-Server Architecture ถามว่าทำอย่างไร ?
>> 2. เพราะเหตุใด Client-Server Architecture จึงเข้ามาแทนที่ File Sharing Architecture ?
>> 3. ใน Client-Serve Architecture สิ่งที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Client กับ Server เช่นอะไร?
>> 4. ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา Application สำหรับ 2-tire Client-Server Architecture?
>> 5. ปัญหาสำคัญของ 2-Tire ที่ทำให้ต้องพัฒนาไปเป็น 3-Tire Client-Server Architecture คืออะไร?
>> 6. ใน 3-Tier Client-Server Architecture สิ่งที่เพิ่มเติมจาก 2-Tire คือสิ่งใด ? สิ่งนั้นทำหน้าที่อะไร?
>> 7. ข้อจำกัดของ 3-Tier Client-Server Architecture คืออะไร?
>> 8. จงเปรียบเทียบ 3-Tier Client-Server Architecture ว่าแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?
>> 9. งานที่เหมาะกับ 3-Tier Client-Server Architecture เช่นอะไรบ้าง ? เพราะอะไร ?
>> 10. ขณะนี้เทคโนโลยีของ Client-Server Architecture กำลังมุ่งไปในทางใด ?


@ 1. Mainframe Arechitecture ได้รับการพัฒนาให้เข้ากันได้กับ
Client-Server Architecture ถามว่าทำอย่างไร ?

นขณะที่ระบบ client-server ต้องการความรวดเร็วในการทำงานของ
application และการกระจายการประมวลผล mainframes ก็มีประสิทธิภาพ
ในการจัดการการประมวลผลแบบ online, การเก็บข้อมูลจำนวนมาก,
มี software ที่ใช้ในการกระจายข้อมูลจากส่วนกลาง และเป็นคลังข้อมูล

รู ปด้านบนแสดงถึง mainframe ที่อยู่ในสถาปัตยกรรม three tier
client-server architecture ให้ mainframe เป็นเหมือน server หลัก
ในการกระจายข้อมูลในสถาปัตยกรรม client-server ซึ่งมีผลทำให้ระบบ
มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำ mainframe ในขณะนี้มีการจัดหา
มาตรฐานการสื่อสาร และโปรแกรมโต้ตอบ ที่ง่ายต่อการทำให้เครื่อง
mainframes เป็นเสมือน server ในสถาปัตยกรรม client-server

ถาปัตยกรรมนี้ช่วยกระจายการทำงานที่มากเกินไปของศูนย์กลางข้อมูล
ช่วยป้องกันความเสียหาย และกู้ข้อมูลโดยการทำ backing up ข้อมูล
ในปริมาณมากๆ ไว้อีกที่หนึ่ง model นี้เป็นแบบ thin client
คือมีการทำงานหลักๆ ที่เครื่อง server

M ainframe architecture ได้รับการพัฒนาให้เข้ากันได้กับ
client-server architecture โดยใช้เทคโนโลยี
Distributed/Collaborative Enterprise Architectures
ในการหาวิธีการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และเพิ่มความปลอดภัย


@ 2. เพราะเหตุใด Client-Server Architecture
จึงเข้ามาแทนที่ File Sharing Architecture ?

F ile Sharing Architecture จะทำงานได้ในกรณีที่มีการ share ไม่มากนัก
มีการ update ในระดับต่ำ และปริมาณข้อมูลในการส่งน้อย นอกจากข้อจำกัด
ดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้ Client-Server Architecture เข้ามาแทนที่
file sharing architecture คือ File Sharing Architecture นั้น
จำกัดจำนวน user (ให้มีประมาณ 12 คน ในเวลาเดียวกัน) และเทคโนโลยี
ของ graphical user interfaces (GUI) ก็กำลังเป็นที่นิยม
ดังนั้น Client-Server Architecture จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมา
แทนที่ File Sharing Architecture เพื่อแก้ไขข้อจำกัดนั่นเอง


@ 3. ใน Client-Server Architecture สิ่งที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน
ระหว่าง Client กับ Server เช่นอะไร ?

ตั วอย่างของ software ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่าง client กับ server
เช่น Remote Procedure Calls (RPCs) หรือ standard query
language (SQL) statements


@ 4. ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา Application
สำหรับ 2-tire Client-Server Architecture ?

ตั วอย่างของเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา Application สำหรับ 2-tire
Client-Server Architecture เช่น โปรแกรม dbase, Foxpro
Oracle และ Application อื่นที่สามารถติดต่อกับ ODBC ได้ เป็นต้น


@ 5. ปัญหาสำคัญของ 2-Tire ที่ทำให้ต้องพัฒนาไปเป็น
3-Tire Client-Server Architecture คืออะไร ?

ปั ญหาของ 2-Tire Client-Server Architecture มีดังต่อไปนี้

1. จำกัดจำนวนผู้เข้าใช้ คือเมื่อมีจำนวน user มากกว่า 100 คนแล้ว จะทำ
ให้ประสิทธิภาพเสื่อมลง ข้อจำกัดนี้เป็นผลทำให้ Server ต้องทำการ
เชื่อมต่อผ่านข้อความ "keep-alive" กับแต่ละ Client เมื่อ Server
เริ่มทำงานไม่ได้นั่นเอง

2. เครื่องมือในการบริการจัดการการประมวลผลนั้นใช้สิทธิผู้ขาย ทำให้จำกัด
ความคล่องตัวในการใช้ฐานข้อมูล และการใช้ applications ของ DBMS

3. เครื่องมือของ 2-Tier architecture ในปัจจุบันนี้ มีข้อจำกัดในการส่งผ่าน
function การทำงานของโปรแกรมจาก Server เครื่องหนึ่ง ไปยังเครื่องอื่นๆ
โดยปราศจากคู่มือการ regenerating procedural code ได้


@ 6. ใน 3-Tier Client-Server Architecture สิ่งที่เพิ่มเติมจาก 2-Tire
Client-Server Architecture คือสิ่งใด ? สิ่งนั้นทำหน้าที่อะไร ?

สิ่ งที่เพิ่มเติมจาก 2-Tire Client-Server Architecture ใน 3-Tire
Client-Server Architecture คือ "middle tier" ซึ่งเป็นตัวกลาง
ระหว่าง user system interface ทางฝั่ง client กับ database
management ทางฝั่ง server มีหน้าที่หลายทางเช่น จัดคิวการ
ทำงาน, ประมวลผลโปรแกรม และเป็นฐานข้อมูลได้อีกด้วย


@ 7. ข้อจำกัดของ 3-Tier Client-Server Architecture คืออะไร ?
ารสร้างสถาปัตยกรรม three tier เป็นงานที่มีความซับซ้อน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ยังไม่สามารถตอบสนองในทุกๆ
ความต้องการได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการประมวลแบบกระจาย


@ 8. จงเปรียบเทียบ 3-Tier Client-Server Architecture
ว่าแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ?

t ransaction processing (TP) monitor technology
เป็นประเภทของการจัดคิวข้อความ, จัดการรายการ
และบริการการให้สิทธิก่อนหลัง การจัดการต่างๆ จะตอบรับ
โดยผ่านหน้าจอ monitor ซึ่งทำหน้าที่จัดลำดับและตอบสนอง
การจัดการ โดยเป็นอิสระจาก client

m essage server
message เป็นการให้สิทธิลำดับก่อนหลัง และเป็นการประมวลผลที่
ไม่ต่อเนื่อง message server เชื่อมต่อกับ relational DBMS
และ data sources อื่นๆ ความแตกต่างระหว่าง TP monitor
technology กับ message server คือสถาปัตยกรรมของ
message server มุ่งเน้นที่ inteligent messages ในขณะที่
TP monitor นั้นสนใจ intelligence monitor ส่วน data นั้น
จะจัดการให้เป็น dump data packets ระบบ messaging
ให้ผลที่ดีสำหรับ wireless infrastructures

a pplication server
มีการทำงานของ application ที่ run บน host มากกว่า client
application server ไม่ได้เป็น GUI มีข้อดีคือ client จะมี
software น้อย จึงไม่ต้องกังวลเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย
เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ server เพียงเครื่องเดียว
แทนที่จะต้องทำกับ desktop ของ client ทุกเครื่อง
application server ออกแบบมาเพื่อช่วยในเรื่องของการ
รักษาความปลอดภัย, ความสะดวกในการแก้ไข และค่าใช้จ่าย เป็นหลัก

O RB architecture
เป็นระบบ client-server ที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีของการ
สนับสนุนการทำงานเป็น objects, การทำงานต่างภาษา,
ต่าง platforms รวมไปถึงทำให้การบำรุงรักษา และสามารถ
ดัดแปลงแก้ไขระบบได้ง่ายขึ้น


@ 9. งานที่เหมาะกับ 3-Tier Client-Server Architecture เช่นอะไรบ้าง ? เพราะอะไร ?
านที่เหมาะกับ 3-Tier Client-Server Architecture เช่นการทำงานบน internet
เพราะแต่ละส่วนทำงานเป็นอิสระต่อกัน บางงานก็ต้องการความปลอดภัยในการสื่อสาร
ข้อมูล หรือบางงานอาจติดต่อกันข้าม platform หรืออาจใช้โปรแกรมภาษาในการสื่อสาร
ไม่ตรงกัน ซึ่งตรงนี้ 3-Tier Client-Server Architecture สามารถรองรับการทำงาน
ได้เป็นอย่างดี เช่นให้เครื่องที่เป็น client ใช้โปรแกรมภาษา HTML, applets สำหรับใน
ระดับ top tier เพื่อติดต่อกับ user และใช้ภาษา C, C++, SmallTalk, Basic, Ada 83,
หรือ Ada 95 สำหรับ middle tier และใช้ SQL สำหรับ database tier เป็นต้น


@ 10. ขณะนี้เทคโนโลยีของ 3-Tier Client-Server Architecture กำลังมุ่งไปในทางใด ?
มุ่ งเน้นไปที่ การทำงานแบบ interoperability คือการทำงานต่างภาษา,
ต่าง platform และเทคโนโลยีของ ORB (Object Request Broker)