logo1.gif (5457 bytes)

วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน)

๒  ถนนสนามไชย  แขวงพระบรมมหาราชวัง    เขตพระนคร   กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐  โทร. ๐-๒๒๒๕-๙๕๙๕ 

Home ] ประวัติวัดโพธิ์ ] ภูมิศาสตร์ ] [ เขตพุทธาวาส ] เขตสังฆาวาส ] จารึกวัดโพธื์ ] สมุดเยี่ยม ] ภูมิสถาปัตย์ ]

เ ข ต พุ ท ธ า ว า ส

   wat03.gif (61926 bytes)
ก. ภาพภูมิทัศน์จากที่สูง มุมมองจากด้านทิศใต้  ภาพสี่เหลี่ยม
     ผืนผ้าขนาดใหญ่ ด้านขวามือ   เป็นบริเวณพระอุโบสถ ส่วน

     ภาพสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดลองลงมา ด้านบนซ้าย เป็นวิหาร
     พระพุทธไสยาสน์

   bhudavas01_.gif (42582 bytes)

ข. ภาพถ่ายทางอากาศ   มุมมองจากด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เห็นสูงเด่น
    เป็นสง่าอยู่กลางภาพ คือพระอุโบสถ ถัดไปกลางภาพเป้นหมู่มหาเจดีย์
    ๔ รัชกาล   ส่วนที่เด่นเป็นสง่าอยู่ขวาสุด เป็นวิหารพระพุทธไสยาสน์
                 ในการวางผัง  การก่อสร้างวัดพระเชตุพนนั้น
ได้แยกส่วนที่เป็นพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ ฯ ออก
จากส่วนที่พักอาศัยของพระสงฆ์   โดยเอกเทศ คือมีกำ
แพงอาณาเขตแยกจากกันคนละส่วน มีถนนรถยนตคั่น
กลางระหว่างกำแพงเขตพุทธาวาส กับกำแพงเขต
สังฆาวาส
wpe10.gif (109669 bytes)
        พระอุโบสถ
        ภายในกำแพงเขตพุทธาวาสนื้อ
ที่ประมาณ ๓๐ ไร่ มีสิ่งปลูกสร้างตลอดพิ้นที่ ดังนี้ .-
        ๑. พระอุโบสถ
        ๒. พระวิหารทิศล้อมรอบพระ
            อุโบสถสี่ทิศใหญ่
        ๓. พระระเบียงเชื่อมประสาน

                     พระวิหารทิศรอบพระอุโบสถเป็นพระ
                     ระเบียง ๒ ชั้น รอบนอกและรอบใน ประ
                     ดิษฐานพระพุทธรูปเก่า ทั้งสมัยเชียงแสน
                     สุโขทัย อู่ทองและอยุธยา    ประมาณ
                       ๓๙๔ องค์    (คลิกดูภาพภูมิสถาปัตย์)
                ๔. พระเจดีย์รอบระเบียงพระอุโบสถ ทั้ง
                     เจดีย์เดี่ยวและหมู่ รวม ๑๖๒ องค์

                ๕. พระวิหารคต ถัดจากหมู่พระเจดียออกไป                       ติดกำแพงเขตพุทธาวาส มีวิหารคต (หัก
                     ข้อศอก) ประจำสี่มุม
                ๖. ศาลาราย ตั้งอยู่ระหว่างแนวพระวิหารคต
                      และพระมหาเจดีย์ เป็นที่จารึกตำรา และ
                      ตั้งรูปฤาษีดัดตน (ปัจจุบันตั้งไว้ตาม
                      เขามอ)

       ทั้งหมดนี้ อยู่ในส่วนที่
เป็นบริวารแวดล้อมพระ
อุโบสถซึ่งอยู่ในส่วนตะวัน
ออกของเขตพุทธาวาส ถัดไปทางด้านตะวันตก
มีกำแแพงภายในแยก
ออกไปเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง
ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่ง
หย่อนไปกว่าส่วนแรกเลย
โดยมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ
ในส่วนนี้   คือ.-

wpe3.gif (443886 bytes)
เขามอตั้งรูปฤาษีดัดตน

            ๗. พระมหาเจดีย์ ๔ รัชกาล ทั้งหมด ๔องค์    
มีระเบียงล้อมรอบ ในระเบียงประดิษฐานพระพุทธ
รูปยืนทั้งสิ้น  ๑๓๕ องค์
            ๘. หอพระมณฑป
ยอดมงกุฎ อยู่ถัดจากหมู่พระ
มหาเจดีย์ ไปทางด้านตะวันตก เป็นสถานที่เก็บตู้พระ
ธรรม ด้านซ้ายพระมณฑปเป็นสวนมิสกวัน มีศาลา
เก๋งจีน ต้นโพธิ์ลังกา ปัจจุบันมีภูเขาน้ำตกประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบเพิ่มความร่มรื่น แก่ผู้มาเยี่ยมชม
               ด้านขวาพระมณฑป เป็นสวนน้ำ มึตึกฝรั่ง
และภูเขากลางน้ำ เป็นองค์ประกอบสวน
        ๙. ศาลาการเปรียญ ถัดจากสวนน้ำไปทาง
ขวามือ   เป็นพระอุโบสถหลังเดิม   เมื่อครั้งยังเป็นวัด
โพธาราม ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ฟังธรรม และฝึก
อบรมวิปัสสนาของวัด
           ๑๐. วิหารพระพุทธไสยาสน์ตั้งอยู่มุมกำแพง
เขตพุทธาวาส (ข่วงถนนท้ายวังบรรจบกับถนน

มหาราช) เป็ที่ประดิษฐานพระนอนใหญ่ ๒๓ วา
ชาวต่างประเทศนิยมมาชม   และนมัสการกันมาก
           ๑๑. วิหารน้อย ด้านหน้าวิหารพระพุทธไสยาสน์

สำหรับเก็บพระพุทธรูปที่หักชำรุด
           ๑๒. หอระฆัง หน้าวิหารน้อย เป็นหอระฆังที่มี
ความงดงามไม่ย่อหย่อนไปกว่าหอระฆังในวัดพระศรี  

รัตนศาสดารามเลย
      
นอกจากสิ่งก่อสร้างหลัก
ๆ ดังกล่าว ในเขต
พุทธาวาสนี้  ยังมีองค์ประกอบที่เป็นเก๋งจีน เก๋งฝรั่ง
ตุ๊กตาหิน จีน  ฝรั่ง น้ำตก สวนหย่อม โดยเฉพาะ
เขามอ  มีตั้งเรียงรายอยู่รอบอาณาบริเวณ เขตพุทธา
วาส
          มีผู้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมหนังสือประชุมจารึก
วัดพระเชตุพน โดยได้กล่าวถึงองค์ประกอบต่าง ๆ
เหล่านี้ ไว้อย่างน่าสนใจ เช่นที่มาของเขามอ
ซึ่งเป็นภูเขาจำลอง ขนาดย่อม ๆ  นี้ว่า
            รัชกาลที่ ๓ โปรดฯ ให้รื้อสวนขวา ซึ่งเป็น
พระราชอุทธยาน ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสมเด็จ
พระชนกนาถทรงสร้างไว้   โดยใช้แรงคน ๓๐๐-
๑,๐๐๐ คน  ชลอลากมาก่อตั้งไว้   จำนวนทั้งสิ้น ๒๖
ภูเขา เพื่ออุทิศพระราชกุศล แด่พระชนกนาถ

  รายละเอียดของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

        ๑. พระอุโบสถ  สร้างแบบยกพื้นสูง หลังคา
ลดมุขสามชั้น มุงกระเบื้องเคลือบ ตั้งอยู่กี่งกลาง
ลานมีพระวิหารทิศ ๔ ทิศและมีพระระเบียงเชื่อม
ประสาน พระวิหารทิศทั้ง ๔ ล้อมรอบพระอุโบสถ
เป็น ๒ ชั้น ไม่มีที่อื่นเหมือน
(คลิกดูรายละเอียด
ที่ภูมิสถาปัตย์วัดโพธื์)

        
                        (หน้าแรก)

                 ๒. พระพุทธเทวปฎิมากร พระประธานพระ
อุโบสถเป็น  เป็นพระปางสมาธิ หน้าตัก ๕ ศอก
๑ คืบ๔ นื้ว สูงตลอดพระรัศมี ๗ ศอกคืบ สันนิษฐาน
ว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เดิมเป็นพระประธาน
อยู่วัดศาลาสีหน้า ปัจจุบันนื้เปลี่ยนเป็นวัดคูหาสวรรค์
เขตภาษีเจริญ จังหวัคกรุงเทพมหานคร
                    พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดให้อัญเชิญมาเป็นพระ
ประธาน แทนองค์เดิมชื่งโปรดให้ประดิษฐาน ไว้ที่
ศาลาการเปรียญ
          ๓. พระวิหารทิศ ล้อมรอบพระอุโบสถสี่ทิศ
ลักษณะของพระวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศ จะมีมุขหน้า-หลัง
เหมือนกัน มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ เรียกว่ามุขหน้า ส่วน
มุขที่หันสู่พระอุโบสถเรียกว่ามุขหลัง
                     ทั้งมุขหน้าและหลัง ล้วนมีพระพุทธรูป
เก่าเป็นพระประธานประจำ ซึ่งอัญเชิญมาแต่หัวเมือง
ทั้งสิ้น   ยกเว้นพระป่าเลไลยก์   พระประธานประจำ
พระวิหารทิศเหนือ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑
                  ชาววัดโพธิ์จะมีชื่อเรียกขาน พระ
วิหารทิศทั้งสี่   อันเป็นที่รู้กันภายในว่า หมายถึงพระ
วิหารทิศใด ซึ่งผู้เขียนจะขอนำมาเรียกในที่นี้ด้วย

                      ทิศตะวันออกเรียกว่า ทิศพระโลกนาถ

มีพระพุทธโลกนาถ เป็นพระประธาน ซื่งประดิษฐาน
อยู่มุขหลัง ของพระวิหาร พระพุทธโลกนาถนี้
กล่าวถึงไว้ในศิลาจารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุ
พน ในรัชกาลที่ ๓ ซื่งติดอยู่ที่มุมหลังพระวิหารทิศ
ตะวันออกว่า พระพุทธรูปยืนสูงยี่สิบศอก ทรงพระ
นามว่าพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ปรักหักพัง
เชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพชญ์
                     
พระวิหารทิศด้านใต้ เรียกว่าทิศปัญญ
วัคคีย์  
มีพระโปรดปัญจวัคคีย์ เป็นพระประธาน
ประจำวิหาร เป็นพระปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย
หน้าตัก ๕ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นื้ว อัญเชิญมาแต่
กรุงสุโขทัย
                     
พระวิหารทิศด้านตะวันตกเรียกว่า
ทิศนาคปรก
  มีพระนาคปรกประทับนั่งใต้ต้นจิก
พระประธานประจำมุขหน้า อัญเชิญมาแต่เมือง
สุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ
                      
พระวิหารทิศด้านเหนือเรียกว่า
ทิศป่าเลไลยก์
มีพระป่าเลไลยก์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูป
ประทับนั่งบนโขดหินห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายคว่ำ
บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาแบหงายบนพระชานุ
ุสูง ๘ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว มีลิงถวายรวงผึ้งอยู่ทางซ้าย
และช้างหมอบชูงวง  ถวายคณฑีน้ำยู่ทางขวา สร้าง
ครั้งที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพน

              ๔. วิหารพระพุทธไสยาสน์  เป็นที่ประ
ดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางประทับ
บรรทม รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราว
ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่ เป็นพระพุทธรูป
ก่ออิฐถือปูนแล้วลงรักปิดทอง ยาว ๑ เส้น ๓ วา สูง

๑๕ เมตร พระภักตร์ยาว ๑๐ ศอก กว้าง ๕ ศอก
ลักษณะเด่นของพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพน
อยู่ที่ฝ่าพระบาท ซึ่งยาวถึง ๕ เมตร สูง ๓ เมตร

จำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ มีความงดงามยิ่งและ
หาชมที่อื่นได้ยาก
                        เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว จึง
สร้างพระวิหารภายหลัง ซึ่งมีลักษณะรูปทรงคล้าย
กับพระอุโบสถ   แต่หลังคามุงกระเบื้องต่างสีกัน

re_.jpg (687736 bytes)
วิหารพระพุทธไสยาสน์
และหอระฆัง

        ๕. พระมหาเจดีย์
รัชกาล  ประกอบด้วยพระ
มหาเจดีย์ศรีสรรเพชดา
ญาณ
ประดับกระเบื้องสี
เขียว  ฐานกว้าง ๘ วา สูง
๘๒ ศอก พระบาทสม
เด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา
โลกมหาราช ทรงสถาปนา      

เพื่อบรรจุแกนองค์พระพุทธรูป พระศรีสรรเพชดาญาณ
ซื่งเป็นพระพุทธรูปยืนใหญ่มหึมา สูงแต่พระบาทถึงยอด
พระรัศมีได้  ๑๖ เมตร
พระพักตร์ยาวได้ ๒ เมตร
กว้าง ๑ เมตรครื่ง
               เดิมเป็นพระพุทธรูปหุ้มทองคำ ถูกข้าศึก
เอาไฟสุมลอกทองคำไปหมด ในคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒
โปรดฯ ให้อัญเชิญมาจากกรุงเก่า แต่องค์พระชำรุด
มาก เกิดที่จะจะช่อมให้กลับคืนดีได้ จึงทรงโปรดให้
สร้างพระเจดีย์ใหญ่บรรจุไว้ดังกล่าว
                  ถัดมาเป็น
พระมหาเจดีย์ดิลก ธรรมกรก
นิทาน ประดับกระเบื้องเคลือบสีขาว
และพระมหาเจดีย์
มุนีบัตรบริขาร ประดับกระเบื้องเคลือบสีเหลือง
รัชกาล

ที่ ๓ ทรงสถาปนาขื้นใหม่ ขนาบเหนือใต้ องค์แรก
เพื่ออุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระชนกาธิราช
                     

          องค์สุดท้ายค่อนไปทาง ตลาดท่าเตียน) พระมหาเจดีย์
รัชกาลทิ่ ๔ หรือเจดีย์แบบ
สุริโยทัย
อยู่แนวหลังสุด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้น เป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาล
แต่มิได้พระราชทานนามไว้//

re_02.jpg (574348 bytes)
     หมู่พระมหาเจดีย์ ๔ รัชกาล
       ในภาพเห็นเพียง ๓ องค์

   ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม หากท่านประสงค์จะเยี่ยมชม web site อื่น ๆ ต่อไป เชิญได้ตามนี้ Chat ดังเมืองไทย Pantip.Com แหล่งรวม download
โปรแกรมฟรี
Sanook.Com  แหล่งรวม links ทั่วโลก Hunsa.Com เวบดังติดอันดับ Mthai.Com เวบชวัญใจวัยรุ่น Narak.Com & Headmaker.Com

 Last edited  11-11-2001 Copyrigh (C) 2001 Srimuang  home. All rights reserved