ครูที่ดี

ครูที่ดีต้องมี ๓ สุ
๑. สุวิชาโน มีความรู้ดี
๒. สุสาสโน สอนดี มีเทคนิค ตั้งใจสอน
๓. สุปฏิปันโน มีความประพฤติดี

ครูดีต้องมี ๔ เต็ม
๑. สอนให้เต็มหลักสูตร
๒. สอนให้เต็มเวลา
๓. สอนด้วยความเต็มใจ
๔. สอนเต็มความสามารถ

ลักษณะของครู
๑. ครูมาสาย คติประจำใจ คือ
สอนน้อยหน่อย สายมากหน่อย อร่อยกำลังเหมาะ

๒. ครูค้าขาย คติประจำใจ คือ
ครูที่มีความเพียร ต้องทำโรงเรียนให้เป็นตลาด ครูที่มีความสามารถ ต้องทำตลาดให้เป็นโรงเรียน

๓. ครูคุณนาย คติประจำใจ คือ
อยู่อย่างคุณนาย สบายทุกอย่าง หนทางสะดวก พรรคมากมี

๔. ครูสุราบาล คติประจำใจ
ศุกร์เมา เสาร์นอน อาทิตย์ถอน จันทร์เกียจคร้าน อังคารหยุด พุธลา พฤหัสมาก้มหน้าไม่สู้คน

๕. ครูเกียจคร้าน คติประจำใจ
สอนมั่ง ไม่สอนมั่ง สตางค์เท่าเดิม


๖. ครูหัวโบราณ คติประจำใจ
คิดเป็นก็คิดไป แก้ปัญหาเป็นก็แก้ปัญหาไป แต่ฉันจะสอนอย่างไร ใครอย่ามายุ่งกับฉัน

๗. ครูปากม้า คติประจำใจ
นินทาวันละมาก ๆ ปากผ่องใส

๘. ครูหน้าใหญ่ คติประจำใจ
ใหญ่ที่โรงเรียน ไปเป็นเสมียนที่อำเภอ เห่อเจ้านายได้สองขั้น

๙.ครูไร้อาย
ทำงานไม่เกี่ยงงอน สอนเต็มหลักสูตรอย่างเคร่งครัด


สมบัติที่ครูดีควรมี ๔ ประการ
๑. เสือ กินของสะอาดไม่กินของเน่า
๒. สิงห์ ยิ่งในศักดิ์ศรี นำจ่าฝูง นำชุมชนพัฒนา
๓. กระทิง ต่อสู้ไม่ย่อท้อ สู้งานเอาการเอางาน
๔. ครูแรด หนังเหนียว บึกบึน อดทน

ปัญหาของครูเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ควรใช้หลักสังคหวัตถุ ๔

ทาน คือการรู้จักเสียสละ งานครูเป็นงานที่ได้ทั้งบุญทั้งกุศล
ปิยวาจา คือ การพูดจาไพเราะ ครูบางคนพูดดี ๆ เด็กชอบมาก ครูบางคนก็แย่หน่อย พูดดุ พูดไม่เพราะเผลอ ๆ พูดมากด้วย จึงมีคำถามว่า “เดือนอะไร ที่ผู้หญิงโดยเฉพาะครูพูดน้อยที่สุด เดือนกุมภาพันธ์ นิทานรูปี
อัตถจริยา ครูต้องมีความรักอาชีพครู เสียสละเป็น
สมานัตตตา วางตนให้เสมอต้นเสมอปลาย ต้องรู้จักฐานะตัวเอง

ครูคือ.. แสงทองส่องชีวิต ครูคือ...ดวงจิตอันสูงค่า
ครูคือ.. ผู้ที่ให้วิชา ครูคือ...ผู้ที่พาเราก้าวไกล
ครูคือ..ยานวิเศษลำไม่น้อย ครูคือ..ผู้ที่คอยเอาใจใส่
ครูคือ..หลักนำประจำใจ ครูคือ..หลักชัยของชีวิต
   

ครูที่ดีต้อง มี ๔ ส.
สันทัสสนา ชี้ให้ชัด
สมาทปนา ชวนให้ปฏิบัติ
สมุตเตชนา ปลุกให้กล้า
สัมปหังสนา เร้าให้ร่าเริง

 

[หน้าถัดไป]