อันตรายจากรังสี
	เนื่องจากรังสีเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกระทบต่อวัสดุต่าง ๆ และต่อสิ่งที่มีชีวิต ก็ย่อมก่อให้
เกิดผลกระทบขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ชนิดของรังสี พลังงานของรังสี ปริมาณรังสีและชนิด
ของอวัยวะที่รังสีตกกระทบ
	รังสีที่ก่อให้เกิดไอออนนั้น มีผลต่อสิ่งมีชีวิตโดยทำให้อะตอม/โมเลกุลของเซลล์และระบบการทำงาน
ของเซลล์เปลี่ยนแปลงไปและเกิดอาการผิดปกติในร่างกายขึ้นได้
	ได้มีการศึกษาผลกระทบจากรังสีจากกรณีที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณูเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 และ
จากกรณีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์ รังสีและวัสดุกัมมันตรังสีตลอดช่วงเวลา 100 ปี ที่ผ่าน
มาและได้สรุปผลค่าความเสี่ยงและอันตรายของรังสีต่อมนุษย์ ได้ดังนี้
ระดับความแรงรังสี อันตรายที่เกิดขึ้น
10,000 มิลลิซีเวิร์ต
ในระยะเวลาสั้น ๆ
ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและ
ถึงตายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
1,000 มิลลิซีเวิร์ต
ในระยะเวลาสั้น ๆ
ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย เช่น อาเจียนแต่
ไม่ถึงตายและอนาคตอาจเกิดมะเร็งได้
20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เป็นเกณฑ์ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี
13 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เป็นเกณฑ์ที่อนุญาตให้ทำงานได้
สำหรับคนงานในเหมืองแร่ยูเรเนียม
2 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เป็นระดับรังสีปกติในธรรมชาติ
0.05 มิลลิซีเวิร์ต เป็นเกณฑ์กำหนดระดับรังสี ณ รั้ว
รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขณะเดินเครื่อง

ตามปกติมนุษย์ได้รับรังสีจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
รังสีจากธรรมชาติ ความแรงรังสี
(มิลลิซีเวิร์ตต่อปี)
รังสีคอสมิก 0.39
พื้นดิน (ยูเรเนียม/ทอเรียม/โพแทสเซียม) 0.46
แก๊สเรดอน 1.30
อาหารและเครื่องดื่ม 0.23

รังสีจากต้นกำเนิดรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้น ความแรงรังสี
(มิลลิซีเวิร์ตต่อปี)
รังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ 0.30
รังสีจากฝุ่นกัมมันตรังสี 0.006
รังสีจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 0.008
รังสีจากสินค้าอุปโภค 0.0005
รังสีจากกรณีอื่น ๆ 0.001

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามนุษย์จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกรังสีที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติไม่ได้
ไอโซโทปรังสีในร่างกายมนุษย์ ในร่างกายมนุษย์เรานั้น มีไอโซโทปรังสีปนอยู่ด้วยหลายชนิด เช่น
ไอโซโทปรังสี % ในร่างกายโดยน้ำหนัก
โพแทสเซียม -40 0.2
รูบิเดียม -87 0.0017
เรเดียม -226 1.4 x 10-13
แลนทานัม -138 น้อยกว่า 7 x 10-5
วาเนเดียม -50 น้อยกว่า 1.4 x 10-7
ยูเรเนียม -238 3 x 10-8

เครื่องวัดรังสีที่สำคัญ ได้แก่ 1. ฟิล์มแบดจ์ เป็นกลักสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ภายในบรรจุฟิล์มซึ่งไวต่อรังสี ความดำ-ขาวของฟิล์มภายหลังจากนำไปล้าง มาแล้ว จะบอกให้ทราบถึงปริมาณรังสีที่ได้รับว่ามีมากน้อยเท่าใด เครื่องวัดชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้วัดปริมาณ รังสีเป็นระยะเวลานาน เช่น 1-3 เดือน จึงนำฟิล์มมาล้างตรวจดูครั้งหนึ่ง 2. เครื่องวัดปริมาณรังสีชนิดอ่านค่าได้ทันที 2.1 เครื่องวัดโดสชนิดเสียบกระเป๋า มีลักษณะคล้ายปากกา เมื่อตั้งเครื่องถูกต้องแล้ว สามารถอ่าน ค่าปริมาณรังสีจากเข็มชี้บนสเกลโดยตรง บางแบบอาจมีเครื่องอ่านแยกต่างหาก ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้วัด รังสีระหว่างการทำงาน 2.2 เครื่องวัดโดสชนิดให้สัญญาณเตือน เป็นเครื่องวัดโดสที่พัฒนามาจากเครื่องวัดสำรวจรังสี แบบใช้แก๊ส แต่มีขนาดเล็กแบบพกพาได้และสามารถอ่านค่าความแรงรังสีที่ได้รับเป็นค่าตัวเลขได้ทันทีพร้อม กับส่งสัญญาณเตือนได้ด้วย
เครื่องวัดชนิดเสียบกระเป๋าและเครื่องวัดชนิดให้สัญญาณเตือน
3. เครื่องวัดปริมาณรังสีชนิดเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ เป็นเครื่องวัดปริมาณรังสีที่ทำจากผลึกของสารประกอบพิเศษบางชนิดที่สามารถเก็บเอาพลังงาน ที่ได้รับจากรังสีได้ในตัวเอง และจะคายพลังงานรังสีนั้นออกมาในรูปของแสงสว่างได้เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วย ความร้อน ซึ่งเมื่ออ่านค่าความเข้มของแสงสว่างที่ผลึกสารดังกล่าวเปล่งออกมาโดยใช้เครื่องมือวัดแสงที่เหมาะ สม จะทำให้สามารถทราบถึงสัดส่วนปริมาณของรังสีที่ผู้ใช้อุปกรณ์นั้นได้รับ สารประกอบที่ใช้เป็นเทอร์โมลูมิเนสเซนส์มีหลายชนิด อาทิ ลิเทียมฟลูออไรด์ แคลเซียมฟลูออไรด์ และแคลเซียมซัลเฟต เป็นต้น