empower.jpg (12183 bytes)

                                                                                 emp.jpg (11245 bytes)

                                                    การสร้างพลัง (Empowerment) เป็นกระบวนการพัฒนาคนและกลุ่มบุคคล

                        โดยใช้กระบวนการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง  

                        โดยใช้วิธีการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้   และความคิดเห็นกันระหว่างผู้เรียน ให้ผู้เรียนร่วมกัน

                        ระบุปัญหาของตน     วิเคราะห์หาสาเหตุและความเป็นมาของปัญหาโดยใช้วิจารณญาณ

                        มีการมองภาพหรือชุมชนของตนที่ควรจะเป็น   และร่วมกันพัฒนากลวิธีที่จะแก้ไขอุปสรรค

                        เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ

                                                    การจัดการศึกษาตามรูปแบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน

                        มีการนับถือตนเอง   มีความเชื่อในความสามารถของตนเองสูงขึ้น และทำให้มีพฤติกรรม

                        สุขภาพที่ถูกต้องมากขึ้นในแต่ละบุคคลแล้ว   ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับกลุ่มและ

                        การเปลี่ยนแปลงชุมชนอีกด้วย

                                                    การศึกษาเพื่อสร้างพลังเป็นกระบวนการที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างกว้าง

                        ขวางทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ   การพัฒนาบุคคล   การพัฒนาชุมชน การปรับปรุงคุณภาพ

                        ชีวิตซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขได้

                        ความสำคัญของการศึกษาเพื่อสร้างพลัง

                                                    การสร้างพลัง   เป็นกระบวนการที่บุคคลและชุมชนมีความสามารถในการ

                        ควบคุมและร่วมมือกันกระทำในการเปลี่ยนแปลงชีวิต   และสิ่งแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่   ซึ่งแนว

                        คิดการสร้างพลังมีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในสังคมที่พบว่าบุคคลและสังคม

                        รอบข้างจะมีปฏิสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา บางครั้งบุคคลไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

                        หรือชีวิตของตนได้โดยลำพัง   เพราะได้รับผลกระทบจากสังคมรอบข้าง   ไม่ให้ความร่วมมือ

                        สนับสนุน หรือขาดการเห็นพ้องจากกลุ่มบุคคลในสังคม

                                                    การศึกษาเพื่อสร้างพลัง     เป็นรูปแบบที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงาน

                        สาธารณสุข   โดยการมุ่งสร้างพลังให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ใน 3 กรณี คือ

                                                    1. การสร้างพลังให้แก่เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพ   ให้เห็นความสำคัญ

                        และคุณค่าของตนเองที่มีต่องานสาธารณสุข   และเชื่อว่าตนเองร่วมกับสมาชิกในทีมสุขภาพ

                        คนอื่น ๆ มีความสามารถที่จะดำเนินงานสาธารณสุขในหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบได้

                                                    2. การสร้างพลังให้แก่ผู้ป่วยและญาติ     ให้สามารถกำหนดสภาวะ

                        สุขภาพที่ตนปรารถนา      และตัดสินเลือกปฏิบัติในสิ่งที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของตนเอง

                        และครอบครัว ตลอดจนการสนับสนุนให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพคล้ายคลึงกัน ได้รวมกลุ่มเพื่อ

                        การเรียนรู้และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                                                    3. การสร้างพลังให้กับชุมชน   โดยมุ่งให้ชุมชนตระหนักในความสำคัญ

                        ของปัญหาสุขภาพ   มีการร่วมมือในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค   หรือจัดสภาพแวดล้อม

                        หรือบริการที่มีผลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน

                        หลักการของการศึกษาเพื่อสร้างพลัง

                                                    การศึกษาเพื่อสร้างพลังมีหลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้      (Bishop et al.

                        1988 : Arnold & Burke 1983)

                                                    1. ในการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างพลังให้แก่บุคคล   โดยการ

                        สนับสนุนให้บุคคลมองเห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งแวดล้อม   และเชื่อว่าตนสามารถ

                        ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของตนเอง กลุ่มชุมชนและสังคมได้

                                                    2. การเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากประสบการณ์ของผู้เรียน   ให้ผู้เรียนคิด

                        วิเคราะห์โดยใช้วิจารณญาณ   เพื่อโยงปัญหาต่าง ๆ ของบุคคลเข้ากับปัจจัยทางสังคมที่เป็น

                        สาเหตุ   การเกิดความเข้าใจดังกล่าว   จะนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมที่บุคคลกระทำอยู่หรือ

                        ที่จะกระทำในอนาคตให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม

                                                    3. การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง   โดยส่งเสริม

                        ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุก ๆ ขั้นตอน   ตั้งแต่การเลือกประเด็นในการเรียนรู้ที่เป็นที่สนใจ และ

                        มีความสำคัญต่อผู้เรียน การวางแผนกิจกรรม การมีส่วนร่วมในการสนทนา และจัดกิจกรรม

                        การเรียนรู้ การประเมินผลตนเอง   ตลอดจนการประเมินผลโครงการ

                                                    4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม   (Collective  Learning) คือการที่

                        ทุกคนสอนทุกคนเรียน   โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะเปลี่ยนบทบาทหน้าที่มาเป็นผู้สนับสนุน

                        การเรียนรู้หรือผู้ประสานงาน   แทนการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ตามบทบาทเดิม   การที่ผู้เรียน

                        ได้แลกเปลี่ยนความรู้   ความคิด   ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน   นอกจากจะทำให้แต่ละคนได้

                        เกิดความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว   ยังช่วยให้รู้สึกการเป็นกลุ่ม มีการคิดและ

                        กระทำร่วมกัน      ซึ่งการรวมกลุ่มกันที่จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีพลังสนับสนุนมากพอ ที่จะ

                        กระทำการแก้ไขปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการ

                                                    5. การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง   โดยเป็นการเปลี่ยน

                        แปลงความรู้   ทัศนคติ  ความรู้สึก   และทักษะ   ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทันที

                        หรือมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง   เมื่อได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้กระบวนการ

                        เรียนรู้จะนำไปสู่การกระทำเพื่อการเปลี่ยนแปลง   โดยจะมีการสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้เรียน

                        มีการวางแผนร่วมกัน   สำหรับการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลง

                                                    6. การเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่น และเป็นกระบวนการที่

                        ต่อเนื่อง   โดยจะมีการปรับเนื้อหา   วิธีการ   และสื่อการเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการ

                        ของผู้เรียนและกลุ่ม   รวมทั้งการเรียนรู้จะไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน   เนื่องจากผู้เรียน

                        สามารถเรียนรู้จะไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน   เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ

                        จากประสบการณ์จริง และจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองได้ตลอดเวลา

                                                    7. การเรียนการสอนที่มีความสนุกสนานไม่น่าเบื่อ

                        กระบวนการเรียนรู้ของการศึกษาเพื่อสร้างพลัง

                                                    การศึกษาเพื่อสร้างพลังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องเป็น

                        วงจรไม่มีที่สิ้นสุด (Learning  spiral) คือ เริ่มต้นจากประสบการณ์หรือสิ่งที่ปฏิบัติอยู่

                        (Pactice)   แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง (Refletion) ว่าปัญหาคืออะไร มีความเป็น

                        มา และมีปัจจัยสาเหตุใดบ้าง   โดยโยงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะทำ

                        ให้เกิดความเข้าใจต่อปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อันจะนำไปสู่การวางแผนการ

                        ปฏิบัติ   และการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว   โดยผลของการปฏิบัติกิจกรรม

                        ต่าง ๆ ของผู้เรียนจะกลายเป็นประสบการณ์ใหม่ที่นำไปสู่วงจรการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องต่อไป