Postmodern Philosophy
presented by Hans de Crop

What is Modern & Postmodern Philosophy ?
Hans de Crop
Continue

สวัสดีครับ สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปเป็นแนวคิดปรัชญาโพสท์โมเดิร์น พอพูดเรื่องปรัชญาแล้ว ก็จะพยายามโยงเรื่องของศิลปะในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเรียกว่าโพสท์โมเดิร์น

ในปัจจุบัน ปรัชญาได้รับการมองว่าแทบจะไม่มีคุณค่าใดๆทั้งสิ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาวิชาความรู้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ศิลป หรืออะไรก็แล้วแต่. อันนี้มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่… ผมตอบไม่ได้ครับ. แต่มีอยู่อย่างหนึ่งซึ่งปรัชญาพอทำได้คือ การตั้งคำถามที่ดีๆหน่อย, อันนี้เป็นวิธีการคิด แต่เนื้อหาคงไม่มีอะไรมาก

ทีนี้ผมขอยกตัวอย่างคำถามขึ้นมา ที่น่าจะถามกันมาตั้งแต่แรก เพราะเรากำลังจะพูดถึง โมเดิร์น, โพสท์โมเดิร์น. ผมขอถามว่า มันหมายถึงอะไรแน่ หมายถึงใครแน่ ? เราพูดถึง Originality อันนี้ถูกต้อง, แต่ตราบใดที่เราไม่รู้ว่ามันหมายถึงอะไร มันเริ่มต้นที่ไหน และสำหรับแต่ละคนมันจะมีความหมายมากน้อยแค่ไหน ? ถ้าไม่รู้ เราคงจะพูดไม่ถูก ไม่เข้าใจขอบเขตของสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เขาเรียกกันว่าวิกฤตการณ์ในศิลปะและปรัชญา. จริงๆแล้ว ปรัชญาโพสท์โมเดิร์น เขาเรียกว่าเป็นวิกฤต หรือ Crisis of Modern Philosophy สิ่งที่ผมจะทำในที่นี้ก็คือ พยายามจะตั้งคำถามขึ้นมา โดยไปดูคนที่พูดถึงเรื่องโพสท์โมเดิร์น จากคนๆหนึ่ง ไม่ใช่โดยทั่วไป.
Midnight University

Charles Jencks ที่เมื่อสักครู่ อ. Jan พูดว่าเป็นคนที่พยายามนิยามว่า โพสท์โมเดิร์น เริ่มต้นที่ไหน เมื่อไหร่ กี่โมง อันนี้มันน่าหัวเราะนะครับ แต่อย่างน้อยมันก็มีข้อหนึ่งคือ อันนี้มันเถียงกันได้ว่าถูกต้องหรือไม่ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ? สำหรับผมแล้ว ผมไม่เห็นด้วยกับ Charles Jencks ซึ่งเขาพยายามที่จะบอกว่าเขาเป็นคนแรกที่คิดคำนี้ขึ้นมา โดยจะให้มันเป็นเรื่องของสถาปัตยกรรม แต่ผมคิดว่า ปรัชญาพูดได้ชัดกว่าเยอะ

ในปรัชญา, หลายคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักปรัชญาโพสท์โมเดิร์น ซึ่งในที่นี้ผมจะระบุลงไปถึงคนเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อจะได้รู้ว่าเขาหมายถึงอะไร ? คนๆนี้ค่อนข้างจะเป็นคนดัง ชื่อว่า Lyotard (เลียวตาด) เขาได้เขียนหนังสือในปี 1979 ชื่อ Postmodern Condition อันนี้ทำให้คนหลายคนเริ่มสนใจปรัชญาแบบโพสท์โมเดิร์น เพราะเขามีสไตล์การเขียนที่ชัดเจน.

สำหรับหนังสือที่เขาเขียนนั้น ไม่ค่อยจะเป็นปรัชญาเสียเท่าไหร่ น่าจะเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "สภาพของความรู้ในโลกที่พัฒนาแล้ว"มากกว่า. อันนี้เป็นงานวิจัยที่เขียนโดยเงินสนับสนุนของมหาวิทยาลัยควีเบค ในแคนาดา. โดยการทำวิจัยชิ้นนี้ ขาต้องไปดูว่า ลักษณะของความรู้ทั่วโลก ที่สถาบันต่างๆ, ความรู้ตามหน้าจอทีวี, ความรู้ซึ่งเขาสอนและร่ำเรียนกันอยู่นั้น เป็นอย่างไร ? แล้วเขาเรียกสภาพความรู้ซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบันว่า"โพสท์โมเดิร์น".

ในหนังสือเล่มนี้ เขาไม่ได้อธิบายอะไรมาก นอกจากว่าคำนิยามของ"โพสท์โมเดิร์น"ก็คือ ปัจจุบันนี้ ความรู้ที่คนมีนั้น มักจะไม่ได้รับความเชื่อถือกันอีกต่อไปแล้ว ในภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า disbelieve ในอุดมการณ์ของโมเดิร์น ต่างๆ. โดยสรุป หนังสือเล่มนี้ไม่ค่อยได้อธิบายถึง postmodern Philosophy เสียเท่าไหร่ แค่พูดถึงลักษณะของความรู้เท่านั้น.

มีการถกเถียงกันขึ้นมา และเคยมีนักศึกษาถามว่า postmodern philosophy มันหมายถึงอะไรกันแน่ ? นักปรัชญาคนดังชื่อว่า Habermas ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน เขาเคย lecture โจมตีเลียวตาดว่า สิ่งซึ่งเลียวตาดทำนั้นมันไร้สาระ. อันที่จริง เลียวตาด ไม่ได้ตั้งใจที่จะเขียนเรื่องที่ดังขนาดนี้ แต่ปรากฎว่านักปรัชญาคนอื่นเขาทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เลียวตาดก็เลยตอบจดหมายไปเรื่อยๆเพื่อชี้แจงเรื่องและตัวเขา... และก็มีจดหมายที่น่าสนใจเล่มหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า Postmodernism ที่อธิบายให้กับนักศึกษา, เป็นจดหมายโต้ตอบชุดหนึ่งซึ่งอธิบายถึง postmodern philosophy.

ที่ผมจะพูดต่อไปนี้ คือต้องการจะสรุปแนวคิดของเลียวตาด. เลียวตาดบอกว่า การที่เราจะตั้งคำถามว่า what is postmodernism ? เราน่าจะถามว่า what is modernism ? คำว่า modern หมายถึงอะไร จะได้เข้าใจคำว่า postmodern.

ในภาษาอังกฤษคำว่า post หมายถึง "หลังจาก". เลียวตาดเตือนเอาไว้ตั้งแต่แรกว่า postmodern อย่าได้เข้าใจว่าเป็นยุคสมัยที่มาหลังจาก modern อันนี้จะทำให้เราเข้าใจผิด, ไม่ใช่, เป็นทัศนคติมากกว่า. เป็นความรู้สึกของผู้คนที่เกิดขึ้นต่อโลกซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้. แสดงว่า คำว่า postmodern เขาค่อยๆปฏิเสธคำว่า post จนกระทั่งเขาใช้คำอื่นขึ้นมาแทน เรียกว่า rewriting modrnity. หมายความว่า ไปศึกษาหรือไปเขียนประวัติของ modern หรือแนวคิดของ modern ใหม่อีกครั้ง, เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาคำว่า post.

ถ้าจะไปดูเรื่องปรัชญาของยุค modern มันเริ่มต้นขึ้นมานับจาก Descartes ซึ่งเป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ที่ประกาศว่า I think therefore I am (ฉันคิด ฉันจึงมีอยู่). ที่สำคัญก็คือคำว่า"ฉัน". เริ่มจากตัว"ฉัน"ที่จะยืนยันความมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งหมดเริ่มที่ตัว"ฉัน". ในภาษาที่เป็นปรัชญาเขาเรียกว่า"subject". สำหรับคำว่า"subject" หรือ"ปัจเจกบุคคล"ที่เกิดขึ้นมา และมีความสำคัญต่อสังคมขึ้นมา, มันต้องรอจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 18 ซึ่งเขาเรียกกันว่า"ยุคสว่าง"(enlightenment)คำนี้จึงมีความสำคัญขึ้นมา.

ยุคสว่าง(enlightenment)แสดงให้เห็นถึงความสามารถ หรือความมั่นใจของคนหรือ subject ในยุคนั้น อันนี้หมายความว่า เขากล้าที่จะต่อสู้กับสถาบันเก่าแก่ เป็นระบบเผด็จการหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช. ประชาชนเรียกร้องสิทธิของตนเอง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ประชาชนมั่นใจในตนเองจนกระทั่ง กล้าเสี่ยงชีวิตเพื่อที่จะสร้างอุดมการณ์ อุดมการณ์อันนี้เลียวตาดเรียกว่า"โมเดิร์น". คำเรียกร้องของการปฏิวัติก็คือ เสรีภาพ ภราดรภาพ และเสมอภาค. นี่เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับ modern ideal (อุดมคติของโมเดิร์น) ซึ่งเลียวตาดบอกว่า เดี๋ยวนี้ผู้คนไม่เชื่ออีกแล้ว.

ปรัชญาในยุค modern เริ่มต้นที่
Descartes นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
เขาได้ประกาศคำว่า

I think therefore I an



สำหรับ Marxist ก็ได้นำเอาอุดมคติ
modern ideal มาใช้เช่นเดียวกัน
พยายามที่จะสร้างสังคมที่ไม่มีชนชั้น
ขึ้นมาทั่วโลก
ซึ่งอันนี้ก็เป็นไปไม่ได้

ขอพูดต่ออีกนิดหนึ่งก็คือ ลักษณะของ modern ideal ก็คือ เขาจะปฏิเสธอดีต อันนี้ไม่เอาแล้ว แต่จะตั้งจุดมุ่งหมายในอนาคต. นักปฏิวัติฝรั่งเศสจะบอกว่า ระบอบการปกครองที่เราต้องการก็คือ จะอยู่ได้ต่อเมื่อ สามารถสร้างจุดมุ่งหมายที่เราตั้งขึ้นมา ก็คือ "ทำให้คนมีความสุข". หมายความว่า แทนที่จะได้ความชอบธรรมจากอดีต เช่น พ่อแม่เกิดเป็นกษัตริย์ ตัวเราก็ต้องเป็นกษัตริย์. เปล่าครับ เขาจะตั้งจุดมุ่งหมาย. แทนที่จะมองอดีตเขาไม่มอง…ทิ้งไปเลย, มองอนาคต เรียกว่าเป็น project, ดูอนาคต. ความชอบธรรมของรูปแบบการปกครองได้จาก project ที่ตั้งขึ้นมา อันนี้คือลักษณะของอุดมการณ์โมเดิร์น. ไม่เอาอดีตอีกต่อไป

อีกอย่างที่ อ.สมเกียรติเมื่อสักครู่ เรื่องความเป็นสากลนะครับ. พอนักปฏิวัติฝรั่งเศสเขียนใบประกาศสิทธิมนุษยชน ในปี 1789, อันนี้เขาไม่ได้พูดถึงเฉพาะคนฝรั่งเศสนะครับ เขาบอกว่า ทุกคนมีสิทธิ ปัจจุบันนี้เราเรียกว่าปฏิญานสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน. คือหมายความว่า ความคิดของโมเดิร์น เป็นของทุกๆคน, จะเป็นเอเชีย, แอฟริกา หรือใครก็แล้วแต่ ทุกคนมีสิทธิอันนี้

ยกตัวอย่างแนวคิดของโมเดิร์น ที่มีมาถึงทุกวันนี้นะครับ ที่ยังเอา modern ideal มาใช้, นั่นก็คือ Marxist ซึ่งจะทิ้งระบบชนชั้นทุนนิยม แล้วก็จะสร้างสังคมที่ไม่มีชนชั้นขึ้นมา สร้างสังคมที่น่าอยู่ขึ้นมา อันนี้เป็นจุดมุ่งหมายที่ตั้งอยู่ในอนาคต และพยายามที่จะทำให้ไปถึงจุดมุ่งหมายอันนั้นให้ได้

หรือทุนนิยมก็ตาม ได้คิดถึงอุดมการณ์ว่า จะช่วยให้คนทั่วโลกมีฐานะความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดีขึ้น อันนี้ก็เป็นการสร้าง project ขึ้นมา เขาเรียกว่าเป็น project ของ enlightenment.

ทีนี้เลียวตาดมาบอกว่า เสาหลักหรือแกนหลักของปรัชญาโมเดิร์น ก็คือ
1. "เชื่อมั่นในมนุษย์" เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่าจะสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ มนุษย์ในความหมายสากล และยังเชื่อมั่นต่อไปว่า
2. "ความรู้ที่เรามีนั้น ทำได้ สร้างอนาคตที่ดีได้" เกิดความก้าวหน้าอย่างแน่นอน และ
3. "เชื่อมั่นในเครื่องมือที่สร้างสิ่งเหล่านี้" นั่นก็คือ "เหตุผลของมนุษย์"… ซึ่งอันนี้ผมสรุปเพียงสั้นๆเท่านี้ก่อน... ความจริงมีมากกว่านี้อีกครับ

กลับไปพูดถึงเลียวตาด. เลียวตาดบอกว่า โพสท์โมเดิร์น ก็คือ... 3 สิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ไม่มีใครเชื่อมันอีกต่อไปแล้ว มันได้ถูกทำลายไปหมดแล้วในปัจจุบัน. อันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างนะครับ

1. ความเชื่อที่ว่า มนุษย์มีความสามารถเป็นพิเศษที่จะสร้างอนาคตที่ดีได้ ก็คือ ในปัจจุบันนี้ ในปรัชญา ในสังคมศาสตร์ ในมนุษยศาสตร์ เกิดแนวคิด anti-humanism อันนี้ผมจะไม่อธิบายลึกมากนะครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่า "subject"ไม่ได้มีบทบาทอีกต่อไป. เขามักจะเน้นในเรื่องโครงสร้างต่างๆว่า มนุษย์คิดอย่างไร ? ตัวเขาเองไม่เกี่ยว มันขึ้นอยู่กับว่าเขาเกิดที่ไหน ? เขาได้รับการศึกษายังไง ? จริงๆแล้วมนุษย์มันไม่เกี่ยว. หรือมีนักปรัชญาคนหนึ่งในศตววรษที่ 20 ประกาศว่า "มนุษย์ตายแล้ว" คนที่พูดก็คือ คนที่เห็นเหตุการณ์ที่นาซีไปทำกับชาวยิว. เขาบอกว่า เราไม่ควรที่จะใช้คำว่ามนุษย์อีกต่อไป …น่าอาย เรามีความรู้ขนาดนี้ แล้วยิ่งมีความรู้ก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหา

2. เสาหลักอันที่สองคือ"ความก้าวหน้า". ให้มองดูปัจจุบันนี้ว่า สิ่งที่เรามีอยู่ในทุกวันนี้ มันดีไปกว่าอดีตไหม ? มันดีกว่ารุ่นพ่อรุ่นแม่ของเราหรือไม่ ? เรามีโทรศัพท์มือถือ เรามีเทคโนโลยีอะไรมากมาย แล้วมันดีกว่าเดิมไหม ? อันนี้เริ่มมีคนสงสัยมากขึ้น เริ่มมีปฏิกริยาเกี่ยวกับความก้าวหน้าแบบนี้มากขึ้น เริ่มมีการคลั่งศาสนา การเมือง และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว. ประเด็นหลักที่เลียวตาดเตือนก็คือว่า ถึงจะไม่ชอบก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นก็มีอยู่แล้ว มีขบวนการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ ไม่สามารถที่จะทำลายมันได้

3. เรื่องของ"เหตุผล". อันนี้ได้ถูกทำลายมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20. ผู้ทำลายก็คือ Freud นั่นเอง. เขาบอกว่า แกนหลักที่ทำให้มนุษย์คิดอะไร มีพฤติกรรมอะไร แรงขับอันนั้นอยู่ใต้จิตสำนึก พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ความไร้เหตุผล". เวลามนุษย์จะแต่งตัวดีๆ มนุษย์มองไปที่กระจก อันนี้เป็นเรื่องเฉพาะเหตุผลเท่านั้นเอง

เลียวตาดกำลังบอกว่า อุดมการณ์ที่ตั้งขึ้นมาในยุคโมเดิร์น ไม่ใช่เพียงทำไม่ได้เท่านั้น แต่มั่นกลับสร้างปัญหาขึ้นมาด้วย. ยกตัวอย่างสุดท้ายตรงนี้ก็คือ project ต่างๆที่สหประชาชาติกำลังสร้างอยู่ พยายามทำให้ประเทศทั่วโลกร่วมมือ สร้างโลกที่ดีขึ้น. อันนี้ อันดับแรกเลย มันทำไม่ได้ ประเทศแต่ละประเทศไม่เห็นด้วย ไม่ยอมเซ็นสัญญา.

แล้วก็เรื่อง universal man มันอยู่ตรงไหนครับ, อันนี้ตกลงกันไม่ได้. เราต่างก็รู้ว่าบางประเทศนั้น มันเป็นศัตรูกันมาโดยตลอด จะแก้เฉพาะภายในทวีปยุโรป ก็ยังตกลงกันไม่ได้… อย่างการพยายามจะสร้างตลาดร่วม ก็ยังทำไม่ได้. มันมี particular มากขึ้น. universal มันเป็นไปไม่ได้ เราอย่าไปบังคับ เพราะคนเขาไม่ต้องการจะเป็นเช่นนั้น. ชาวเดนมาร์กซ์ก็ปฏิเสธอย่างชัดเจนว่าจะไม่เป็นตลาดร่วมอีกต่อไป. ใครที่ไม่ยอมเซ็นปฏิญญานสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน อันนี้เป็นเรื่องของเขา. แม้แต่ประเทศไทยเองก็ไม่ยอมเซ็น อันนี้ประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว

สรุปนะครับว่า อุดมการณ์โมเดิร์น เกือบทั้งหมดถูกทำลายลงในปัจจุบันนี้

ผมจะขอเชื่อมโยงกับศิลปะนิดหนึ่งนะครับ. "Subject" หรือที่ว่า "มนุษย์ตายแล้ว" ก็มาดูกันที่ originality. Originality ก็มาดูที่มนุษย์มีความสามารถที่จะคิดอะไร หรือริเริ่มอะไรขึ้นมา ใช้จินตนาการ ตอนนี้มันหายไปแล้ว ไม่มีความหมายเลย

เรื่องของ progress หรือความก้าวหน้าในศิลปะ, ผมไม่แน่ใจว่ายังจะเรียกอย่างนี้ได้ไหมครับ. มี avant-garde, มี post avant-garde, ตอนนี้ไม่รู้นะครับว่ามันเป็นความก้าวหน้าหรือถอยหลัง เพราะตอนนี้มันผสมผสานกันหมดเลย ไม่รู้ว่าดีกว่าเดิมไหม ? เอาเกณฑ์อะไรไปวัด. Progress ก็เลยหายไป.

และเรื่องของ reason ยกตัวอย่างพวก Dada ที่พยายามจะเสนอผลงานศิลปะในแนวที่ anti-reason แล้วหยิบเอาเรื่องของความไร้สาระมาพูด มันสนุกดี ต่อต้านเลย. อันนี้เป็นการพยายามที่จะทำให้ศิลปะหลุดพ้นจากกรอบที่บอกว่าต้องมีเหตุผลตายตัว จะต้องสร้างอะไรที่ดี. Postmodern Art จะปฏิเสธกรอบเหล่านี้ทั้งหมด จะทำอะไรเล่นๆ

 

ผลงานศิลปะในยุค Dada
เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลมานานแล้ว
เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้น
ศตวรรษที่ 20

ในยุค Postmodern นั้น
ไม่มีการแบ่งแยกระหว่าง
High Art และ Low Art
ผลงานศิลปะไม่ใช่เป็นของ
ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

Postmodern Art
อุทิศ อติมานะ

อุทิศ : ผมคิดว่า เรากำลังพูดถึงวิชาการของตะวันตกล้วนๆ, เป็น style of western thinking โดยเริ่มตั้งแต่พยายามจะทำความเข้าใจสังคมที่ผ่านมา โดยการตั้งชื่อคำว่า modern ขึ้นมา, แล้วต่อมานักปรัชญาตะวันตก หรือบรรดานักคิดเป็นจำนวนมากของค่ายตะวันตก กำลังประดิษฐ์คำว่า postmodern เพื่อที่จะหาลักษณะเฉพาะทางสังคม ทางศิลปะ หรืออะไรสักอย่างหนึ่ง.

ผมออกตัวนิดหนึ่ง อยากให้พวกเราเข้าใจว่า วันนี้ที่เราพูดเป็นวิชาการของตะวันตกล้วนๆ 100%. ผมยังไม่เคยเห็นนักปรัชญาไทยหยิบเอา topic นี้มาเถียงกับ Harbermas เถียงกับ Lyotard. อันนี้เป็นเรื่องของตะวันตกทั้งหมด. แต่ก็ควรจะรู้ไว้ว่า นักวิชาการตะวันตกเขาคิดอะไรกัน

ประเด็นต่อมา ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ Hans นะครับ ที่พูดถึง Charles Jencks ซึ่งบอกว่า postmodern เริ่มต้นวันที่เท่าไหร่ เวลากี่โมง. ถ้าเขาเชื่อแบบนั้น เขาโง่ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ถ้าเขาเขียนแดกดัน อันนี้โอเค มันดี. เพราะผมมานั่งนึกนะ ถ้าคุณแบ่ง... คือผมมองว่าสังคมที่ผ่านมา มันเป็นสังคมที่ค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆมีวิวัฒนาการ มีคนนั้นเติมที คนนี้เติมที มีศาสตร์นั่น มีบุคคลนี่ มีปัจจัยเป็นร้อยๆเป็นพันๆที่จะค่อยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง. โดยสามัญสำนึกนะ ผมยังไม่เคยเห็นการเปลี่ยนแปลงจากขาวเป็นดำอย่างฉับพลัน. และการที่คุณประดิษฐ์คำว่า modern ขึ้นมา แล้วมาบอกว่าวันที่นี้เกิดยุค postmodern. สำหรับผมรู้สึกว่ามันปัญญาอ่อนสิ้นดี

ผมเห็นด้วยกับ อ. Hans นะครับว่า เวลาที่คุณพูดถึง modern คุณก็ต้องพูดถึงก่อน modern ก็คือ ลักษณะสังคมยุคก่อน modern ที่ศาสนามีอิทธิพล ซึ่งมันเป็นเหมือนกันทั่วโลก. และวิธีคิดของสังคม modern มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยเรอเนสซองค์ ประมาณ 500 ปีมาแล้ว. ซึ่งมันก็มีปรัชญาแบบ modern, วิทยาศาสตร์แบบ modern, สังคม modern. การปฏิวัติอุตสาหกรรมเขาก็เรียกว่า modern, เศรษฐกิจเขาก็เรียกว่า modern. อันนี้ผมสรุปว่า คำว่า modern มันเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป และคำว่า modern มันใช้ทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์สมัยใหม่, วิทยาศาสตร์สมัยใหม่, ศิลปะสมัยใหม่... แต่ละศาสตร์ก็จะมีนิยาม ซึ่งยกตัวอย่างไม่เหมือนกัน เช่น ศิลปะสมัยใหม่ก็จะมีตัวอย่างชุดหนึ่ง เพื่อที่จะบอกออกมาว่ามันต่างกับอดีตตรงไหน ? ประวัติศาสตร์สมัยใหม่มันก็จะมีนิยามชุดหนึ่งที่บอกว่ามันต่างกันตรงไหน ?

กับมาที่เรื่องของ postmodern. Charles Jencks เขาเป็นสถาปนิก และยกตัวอย่างงานทางด้านสถาปัตย์ ซึ่งค่อนข้างเห็นชัดเจน เพราะงานสถาปัตยกรรมไม่ค่อยหลากหลาย. ยุค modern ของสถาปัตย์ก็เป็นงานแบบ functional คือพอเห็นแล้วก็นึกออก. สไตล์งานทางด้านสถาปัตยกรรมมันไม่หลายหลายเท่างานทัศนศิลป์ประเภทอื่น เพราะฉะนั้นการนิยามความต่างระหว่างยุคต้นศตวรรษกับยุคปลายศตวรรษ อันนี้ไม่ยาก. สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ก็เกิดขึ้นมาจากพวกเบาเฮาส์ ซึ่งก็ทำงานกับพวกทัศนศิลป์ประเภทอื่น. แต่พอมาถึงยุคปัจจุบัน เริ่มผสมผสานอะไรเยอะแยะ แล้วก็เห็นความต่างชัดเจน ดังนั้นในความคิดผม เรื่องทางด้านสถาปัตยกรรมมันเห็นความต่างกันชัดเจน ไม่ยาก

แต่พอมาทางด้านทัศนศิลป์ด้านอื่นๆ ทุกวันนี้ที่คณะวิจิตรศิลป์สอน พูดกันมาก มีหนังสือเยอะแยะในห้องสมุด แต่มันยังไม่อิ่ม ผมยังรู้สึกว่ามันไม่ต่างขนาดนั้น. คือสำหรับวงการเรานะ ในยุคโมเดิร์นมันจะมีอยู่สอง ism ใหญ่ๆ ที่ยอมรับกันว่าเป็นโมเดิร์น ก็คือสไตล์แบบ formalism คือพวก abstract ทั้งหลาย, ส่วนอีกสไตล์หนึ่งก็คือสไตล์ในแบบ expressionism เป็นเรื่องของการแสดงอารมณ์ อันนี้จัดอยู่ในพวก modern. แต่พอมาถึงผลงานศิลปะประเภท installation, happening art, งานของ Joseph Beuys หรืองานที่มันไร้รูป(non-figurative) หรือไร้สาระ จับเอาตัวตนไม่ได้ ซึ่งอาจารย์สมเกียรติบอกว่า ไม่งามบ้าง ไม่มี unity บ้าง ก็คือบุคคลิกของศิลปะแบบยุคหลังนี้.

ตัวผมเองก็เห็นนะครับว่า มันมีความต่างซึ่งพอจะตัดได้ แล้วดูเหมือนว่า เขาจะพยายามตัดในช่วงทศวรรษที่ 1960s นี้นะครับ. แต่ผมก็ยังไม่อิ่ม ผมยังไม่เชื่อเสียทั้งหมด... เพราะอย่าลืมว่า Dada เกิดขึ้นมาช่วงต้นศตวรรษที่ 20, sur-realism ก็เกิดขึ้นเมื่อต้นศตวรรษ, แม้ว่าแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ไม่ค่อยจะดังเสียเท่าไหร่ เพราะเวลาเราคิดถึงผลงานศิลปะในช่วงต้นศตวรรษ เราจะนึกถึงผลงานศิลปะประเภท abstract art เป็นหลัก. Dada เป็นเพียงแค่น้ำจิ้ม. แต่พอมาถึงปลายศตวรรษ แนวคิดแบบ Dada ไม่ใช่น้ำจิ้มไปซะแล้ว กลายเป็นกระแสหลัก ในขณะที่ abstract เป็นน้ำจิ้ม... แนวคิดพวก visual arts พวกนี้ต่างจากสถาปัตย์นะครับ มันมีความหลากหลายมากกว่า และการบอกว่ามันเป็น postmodern art แล้ว อันนี้ผม 50-50 เพราะมันไม่ชัด, แต่ในทางสถาปัตย์ค่อนข้างยอมรับ เพราะว่ามันง่ายกว่า มันมีความต่างอย่างชัดเจน

 

ทางด้านสถาปัตยกรรม ผมอาจจะยอมรับได้ว่าเป็น
ยุคของ postmodern แต่ในทาง visual arts อื่นๆ
ผมไม่ค่อยแน่ใจ รู้สึกว่า 50-50 เท่านั้น

ในทางปรัชญา ผมก็รู้สึกกระอักกระอ่วนใจกับคำว่า
Postmodern เพราะผมรู้สึกว่า
วิธีคิดหลายๆอย่าง มันก็เป็นวิธีคิดที่ต่อมาจาก
ยุค Modern

 

 

ในทางวิทยาศาสตร์ ผมเคยถามอาจารย์ชัชวาล ซึ่งอยู่ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มช. ผมเคยถามอาจารย์ว่า ในทางวิทยาศาสตร์มี postmodern แล้วยังครับ ? อาจารย์ตอบว่ามันยังไม่มี,... คือผมเพียงอยากจะบอกว่า ประเด็นคำว่า postmodern มันยังไม่ได้ถูกใช้ทุกศาสตร์ แต่มันเป็นความพยายามในศาสตร์บางศาสตร์ ในคนบางกลุ่มซึ่งพยายามจะบอกว่า มันเกิดความแตกต่างขึ้นมาแล้วนะ

และในทางปรัชญานี่ ก็เพิ่งมาเริ่มเถียงกันเมื่อ 20 ปีมานี้นี่เองว่ามันต่างหรือมันเหมือนกันอย่างไร ? แล้วผมก็มานั่งดูว่าในทางปรัชญา มันก็ยังไม่สรุปร้อยเปอร์เซนต์ ว่า modern หรือ postmodern อย่างเช่น Habermas เขาก็ไม่เห็นด้วย เขาก็บอกว่ามันไร้สาระ, ปัจจุบันมันก็ยังเป็น modern เพียวๆ ถ้าเผื่อมองในมุมมองของนักปรัชญา

ผมมานั่งนึกนะ สิ่งที่พูดมาทั้งหมด เดี๋ยวเกิดยุคนี้แล้วเปลี่ยนมาเป็นยุคนี้ ตรงนี้มันเป็นสไตล์คิดของตะวันตกในยุคโมเดิร์น ซึ่งเขาเรียกว่า dialectic. แนวคิดแบบ dialectic ก็คือ ถ้าคุณอยู่ซ้าย ผมก็อยู่ขวา แล้วก็เกิดกระบวนการหรือเกิดวิวัฒนาการ เกิดสำนึกประวัติศาสตร์ เห็นอะไรที่มันเกิดมีเส้นซึ่งมันค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งวิธีคิดนี้ ก็เป็นวิธีคิดที่ถูกผลิตขึ้นในยุคโมเดิร์น. เป็นปรัชญาสมัยใหม่ใช่ไหม dialectic ของเฮเกล... เป็น element หนึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของความคิดสมัยใหม่

คำว่า "subject" หรืออะไร อันนี้จะบอกว่า"ตัวคนมันหายไป" อันนี้ก็ไม่เชิงนะครับ. ในเชิงภาษาผมไม่รู้ แต่ผมรู้สึกว่า ทุกวันนี้คุณค่าเรื่องปัจเจกมันก็ยังมีอยู่เลย. หรือว่า"วิธีคิดทางวิทยาศาสตร์" ผมบอกว่า วิธีคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ทุกวันนี้มันก็ยังเป็นหลักส่วนใหญ่. วิธีคิดตะวันตกก็ยังเป็นแม่บท เราต้องยอมรับ. ตะวันตกหลังๆมาเริ่มยอมรับคุณค่าอย่างอื่นๆ แต่ก็ยอมรับแค่ท่าทีเฉยๆ อันนี้สำหรับผมเข้าใจว่าอย่างนั้นนะ. แต่ทุกวันนี้เขาก็ยังเห็นกันว่า "นิยามความจริงของสังคมตะวันตกคือความเป็นสากล"

สำหรับผม ในทางปรัชญาคำว่า postmodern ผมยิ่งกระอักกระอ่วนที่จะบอกว่ามันมีอยู่จริง เพราะผมรู้สึกว่า วิธีคิดหลายๆอย่างมันก็เป็นวิธีคิดที่ต่อมาจาก modern ในหลายๆประเด็น และยังไม่มีอะไรที่มันต่างอย่างชัดเจน

สมเกียรติ : ผมขอเสริมจาก อ.อุทิศนิดหนึ่งนะครับ... ผมคิดว่า แนวคิดแบบ dialectic ที่อาจารย์อุทิศยืนยันมั่นเหมาะว่าเกิดขึ้นในยุค modern น่ะ เท่าที่ผมทราบผมคิดว่าไม่ใช่... อันที่จริงเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรีก นับจาก Zeno, Socrates, จนมาถึง Plato. สำหรับ Plato ได้พูดถึงหลักการของ dialectic อันนี้เอาไว้เช่นเดียวกันนะครับ แต่ไม่ได้แจงเป็น thesis, anti-thesis และ synthesis เขาพูดด้วยคำอื่นที่มีความหมายไปในทำนองเดียวกันนี้ ฉะนั้นผมจึงไม่แน่ใจในสิ่งที่อาจารย์อุทิศพูดว่า หลักการ dialectic เป็นหลักการที่คิดขึ้นมาในยุค modern.

เรื่องที่สองคือ สิ่งที่ อ.อุทิศพูดว่า ยุคของ modern ในปัจจุบันยังมีอิทธิพลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ก็ยังเป็นวาทกรรมหลักของสังคม แนวคิดแบบคนตะวันตก ยังเป็นแนวคิดที่เราศิโรราบ เรายอมรับ... ผมคิดว่านี่เป็น"ปรากฎการณ์ปกติของแรงเฉื่อยของยุคโมเดิร์น..." คุณไม่สามารถที่จะตัดประวัติศาสตร์เหมือนกันการที่คุณตัดเค็กได้ มันมีการสืบต่อเกี่ยวเนื่อง และมันมีแรงเฉื่อยของมันอยู่ ในขณะที่ยังอยู่ในท่ามกลางแรงเฉื่อยนั้น มันเกิดแนวคิด หรือการ against ต่อ modern ขึ้นมา, มันเป็นการทับซ้อนของความคิด

นักคิด Postmodern เองบอกตัวเองว่า แนวคิดของเขา มันยังไม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดหรือไปถึงเป้าหมาย ดังนั้นจึงมีนักคิดบางคนมองว่า postmodern เป็น the half way house. Postmodern เป็น the half way house คือมันเป็นบ้านที่อยู่ครึ่งทางหรือระหว่างทางที่จะไปนั่นเอง... คำตอบที่คลุมเครือ คำถามที่ตั้งขึ้นมา หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นสิ่งที่ยังไม่ชัดเจน. แล้วมันประกอบกับแรงเฉื่อยของยุคโมเดิร์น คุณจะไม่เห็นภาพชัดหรอกครับ. ไม่มีใครพูดเรื่อง postmodern ได้ชัดเจน เท่าที่ผมฟังมาไม่มีใครสามารถทำอย่างนั้นได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่พูดชัดไม่ได้ เพราะมันเป็นกระแสที่กำลังก่อตัวขึ้นมา.

ทุกวันนี้คุณบอกว่าตะวันตกเป็นใหญ่ ตะวันตกยังมีอำนาจอยู่... แล้วธนาคารโลกเป็นตะวันตกใช่ไหม ? ทุกวันนี้อำนาจของธนาคารโลก ไปประชุมที่ไหน ประชาชนต่อต้านทุกที่ ไม่ว่าจะในญี่ปุ่น เกาหลี ไทย หรือตะวันตกด้วยกันเอง นี่หรือคืออำนาจ หรือเสียงตะวันตกที่ศักดิ์สิทธิ์,... ใช่ยังคงศักดิ์สิทธิ์... แต่มันศักดิ์สิทธิ์น้อยลง

Hans : ขอพูดถึงสิ่งซึ่ง อ.อุทิศ พูดนิดหนึ่งนะครับ ที่บอกว่าเรื่องที่เรากำลังคุยกันเป็นเรื่องของฝรั่ง อันนี้ผมไม่เห็นด้วย แม้ว่าคนที่คิดคนที่เขียนหนังสือจะเป็นคนตะวันตก เป็นคนต่างชาติ แต่ผมคิดว่าผลกระทบของ postmodern มันมาถึงเมืองไทย. และอย่าไปคิดว่า postmodern เป็นยุคที่มาหลังสมัยใหม่ เพราะว่าอุดมการณ์แบบ modern มันอาจจะยังมาไม่ถึงประเทศไทย หรือประเทศในเอเชียทั้งหลาย

อุทิศ : พออาจารย์พูดแล้ว ผมก็อยากพูดตรงที่ว่า คือผมก็ออกนิสัยแดกดันเล็กๆ ที่ผมบอกว่ามันเป็นวิธีคิดหรือ style of thinking แบบตะวันตก. จริงๆ ลึกๆผมไม่ได้เถียงนะว่า วิธีคิดนี้มันกลายเป็นแม่บททั้งโลก มันมาถึงที่นี่ด้วย ผมเพียงแค่ต้องการบอกว่า ประเด็นทางวิชาการเหล่านี้ เป็นผลิตผลทางปัญญาของตะวันตก เป็นส่วนใหญ่. และผมมีความเชื่อย่างหนึ่งว่า สิ่งที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมา มีสไตล์การคิดแบบตะวันตกอยู่ด้วย. วิธี against เขาไม่ได้มา against พุทธ เขา against คริสเตียน. คำอธิบายอะไร หรือรายละเอียด เวลาเขานึกถึงตัวอย่างว่าสังคมต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมหลับตานั่งนึก ไม่รู้ว่ามาร์กซ์เป็นอย่างไร ? แต่เขาก็คงนึกถึงสังคมแถวยุโรป ไม่ได้นึกถึงไทยหรืออะไรด้วย

คือผมพยายามบอกว่า คำอธิบายต่างๆที่เราเรียกว่า modern หรือที่เราเรียกว่า postmodern เป็นผลิตผลทางปัญญาของตะวันตกส่วนใหญ่เกิน 90% และผลิตผลทางปัญญานี้ มันออกมาเป็นภาคปฏิบัติ มันเปลี่ยนแปลงสังคม และสังคมไทยหรือสังคมเอเซียเป็นสังคมของผู้ตาม ผมอยากจะพูดเพียงแค่นี้ว่า เราเป็นสังคมที่ถูกกระทำ ไม่ใช่เป็นสังคมของการกำหนดว่า เฮ้ย! เราจะมีโครงการแอนตี้ หรือ project Buddhist ผมยังไม่เคยเห็นมันอย่างจริงจังโดยส่วนตัว. ทำไมผมถึงพูดคำนี้... ผมจะเลิกพูดคำนี้ก็ต่อเมื่อ ผมเห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการประดิษฐ์ความคิด postmodern. อันนี้ผมยังไม่เห็นในเวทีการพูดคุย

ผมยกตัวอย่างง่ายๆคือ เมื่อก่อนมีแต่นักปรัชญาในยุโรปเป็นส่วนใหญ่ ในยุค modern แรกๆ พอมาปลายๆ มันได้ขยายไปที่อเมริกา, นักปรัชญาอเมริกันก็พยายามสร้างวิธีคิดของเขาขึ้นมาที่ไม่เหมือนกับยุโรป. อเมริกันพยายามที่จะกอดแนวคิดแบบปฏิบัตินิยม ส่วนยุโรปก็เป็นแบบยุโรป เป็นเรื่องของ relativism หรือ subject อะไรของคุณไป. คือเขาพยายามเอาสิ่งนั้นมาพัฒนาและหาจุดยืนที่เป็นของตัวเอง ทำให้มีส่วนร่วมประดิษฐ์วิธีคิด และทำให้วิธีคิดนั้นมี อิทธิพลต่อสังคมด้วย. อันนี้ผมยังไม่เห็นว่าสังคมไทยร่วมประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ ผมถึงบอกว่า สิ่งที่เราเถียงกัน เรากำลังเถียงสิ่งที่เป็นผลิตผลทางปัญญาของตะวันตกเป็นส่วนใหญ่.

E-mail : midnightuniv@yahoo.com Back to Midnight's Home