ชนิดของจอภาพ ที่เราพบกันในท้องตลาดในปัจจุบัน มีอยู่ 2ชนิดครับ คือจอภาพแบบ CRT และ จอภาพแบบ LCD

การเลือกซื้อจอภาพ
ควรจะเลือกให้เหมาะกับงานที่เราใช้เช่นถ้าต้องอยู่กับหน้าจอคอมเป็น
เวลานาน ,งานกราฟฟิก ,เล่นเกม ก็ควรเลือกจอที่มีคุณสมบัติสูงและมี
ขนาดใหญ่สักหน่อย (17"ขึ้นไป ) ทั้งนี้เพื่อคุณภาพของงานและของสายตา

สิ่งที่ต้องคำนึง ที่ข้างกล่องจอ


1. อัตรารีเฟรช ( ที่เหมาะกับสายตาคือ 75 เฮิรตช์ สำหรับจอ 14,15นิ้ว และ 80 เฮิรตช์ สำหรับจอ 17นิ้ว ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ)
2. ระยะ Dot pitch ( เช่น 0.26, 0.28, 0.29 มิลลิเมตร ยิ่งน้อยยิ่งดีครับ เพราะมันจะรับความละเอียดได้สูง)
3. Max Resolution หรือ ความละเอียดสูงสุดที่รับได้ เช่น 1024 x 768 อันนี้ถือว่าธรรมดา ยิ่งสูงยิ่งดีครับ
เพื่อสามารถรับการ์ดจอที่มีความละเอียดสูงได้ อย่างไรก็ตามก็ต้องดูขนาดจอด้วยครับ จอ 17" ควรจะรับได้มากกว่าค่านี้
4. รุ่นและราคา อันนี้สรุปโดยรวมว่า ถ้าจอขนาดเท่ากัน ยี่ห้อดีกว่า ราคาแพงกว่า ส่วนมากคุณสมบัติมันก็จะดีกว่าครับ
เพียงแต่ไม่ต้องเกินความจำเป็นมากนัก

 

จอภาพแบบ CRT ( Cathod Ray Tube )

จอ CRT มีการคิดค้นขึ้นมาเมื่อปี 1897
หลักการทำงาน ก็คือ มีปืนยิงอิเลคตรอน3ตัว (สีแดง,สีเขียว,สีน้ำเงิน ) ยิงอนุภาคผ่านหลอดภาพซึ่งเป็นสูญญากาศที่ภาพในมีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงมากๆ ไปยังพื้นผิวจอภาพที่เคลือบสาร ฟอสเฟอร์ เรืองแสง ทำให้เกิดภาพขึ้นมา การยิงอิเลตตรอนดังกล่าวจะยิงตามแนวขวางจากอีกด้านไปสุดอีกด้าน แล้วลงมาแบบฟันเลื่อย จนเต็มจอภาพและทำซ้ำไปเรื่อย ๆ
ชนิดของจอแบบนี้ มีอยู่อีกอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่า "จอแบน " ซึ่งหน้าจอจะแบนเรียบไม่โค้ง เป็นการพัฒนาจุดที่ต้องการให้เกิดบนจอซึ่งเทคโนโลยีเดิมจะกลม ให้จุดเป็นสี่เหลี่ยม ทำให้ระยะห่าง ระหว่างจุดน้อยลง ทำให้มีความละเอียดสูงขึ้น ให้ภาพที่คมชัดกว่าเดิม และยังพัฒนาให้สามารถลดแสงที่สะท้อนออกมา ทำให้ไม่เสียสายตา เช่นจอที่เรียกว่า ไตรนิตรอน(Trinitron,Flatron,Tension Mask) ซึ่งเรียกแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ

 

จอภาพแบบ LCD ( Liquid Crystal Display )

 

จริงๆ แล้วจอภาพ LCD นั้นมีมานานแล้วเช่น
จอของเครื่องคิดเลข จอมือถือ ตอนหลังได้
พัฒนามาใช้กับคอมพิวเตอร์เช่นในจอNotebook
และลักษณะของจอแบนที่เรียกว่า Flat Panel

 

หลักการทำงาน คือ ใช้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งอยู่ชั้นหลังสุด ผ่านผลึกเหลว ที่มีคุณสมบัติ บิดตัวเป็นเกลียวเมื่อถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ดังนั้นผลีกเหลวจุดใดถูกกระตุ้น(charge)มาก ก็จะบิดตัวมาก ทำให้แสงผ่านออกมาได้มาก จุดใดที่แสงผ่านมาไม่ได้ก็จะเป็นสีดำบนหน้าจอ และสำหรับจอสี ก็จะผ่านฟิลเตอร์แม่สีแดง,เขียว,น้ำเงิน ทำให้สีออกมาตามที่ต้องการ

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ มีการพัฒนามาใช้กับจอคอมพิวเตอร์นั้นมี 2แบบคือ

1.Passive Matrix (PMLCD) หรืออาจเรียกว่า Super-Twisted Nematic (STN)
หรือบางทีเรียกว่า เป็น Dual-scan STN (DSTN) Passive Matrix มีผลึกอยู่ 2ชั้น เรียกว่า Substrate แต่ละชั้นจะเป็นตัวกำหนดคอลัมน์และแถวของการแสดงผล วงจรควบคุมจะส่งสัญญาณออกไปสองชุด เพี่อระบุตำแหน่งของจุดพิกเซลนั้น อย่างไรก็ตามการส่งสัญญาณ จะเป็นแบบสแกน(กวาด) ไปทีละจุด จนครบทั้งหน้าจอ ทำให้การแสดงผลช้า ทำให้อัตราการรีเฟรชของจอภาพต่ำและการควบคุมโวลเตจที่ทำได้ลำบากเนื่องจากมีสัญญาณกวน ทำให้เกิดเงาขึ้นมาได้ กรณีมีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว

2.Active Matrix
ระบบของ Active Matrix จะแก้ปัญหาของระบบเดิม โดยการเปลี่ยนขั้วไฟฟ้าแบบธรรมดาในชั้นของ glass substrate เป็นทรานซิสเตอร์ ซึ่งสร้างจากแผ่นฟิล์มบาง ๆ ทำให้เรียกจอแบบนี้ว่า thin film Transistors (TFT ) ทำให้การชาร์ต ผนึกเหลวทำใด้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามการผลิตทรานซิสเตอร์บาง ๆ นี้ทำได้ยาก ทำให้ราคาแพงกว่าแบบเดิมมาก ท่านที่พบจอภาพโน๊ตบุครุ่นเก่า ก็ยังเจอแบบเดิมอยู่ แต่รุ่นใหม่ ๆ ลองสังเกตุสเปคดูครับ มีวงเล็บโชว์ไว้เช่น 14" (TFT) เป็นต้น

BACK