หลายๆ ท่านเรียก ว่า ซีพียู ไม่ใช่นะครับ เพราะนอกจาก CPU แล้ว ข้างในมี
อุปกรณ์อีกหลายอย่าง

ชนิดของเคส...

1.ชนิด XT ( Extended Technology ) มีตั้งแต่สมัยรุ่น cpu 8088 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
2.ชนิด AT ( Advanced Technology ) ยังพอมีให้เห็นบ้างในเครื่องรุ่นเก่า
3.ชนิด ATX ( Advanced Technology Extended ) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในตอนนี้

เคสชนิดใด ต้องใช้กับ Power Supply และ Main board ชนิดเดียวกัน

Power Supply มีหน้าที่ แปลงไฟจากไฟบ้านซึ่งเป็นไฟ กระแสสลับ 220 โวลท์ ( ACV )
ไปเป็นไฟกระแสตรง ( DCV ) บวกลบ 5,12 โวลท์ เพื่อใช้ในการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์

แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทตามชนิดของเคสคือ แบบ AT และ แบบ ATX เนื่องจากโดยปกติเมื่อซื้อเคสเปล่า พาวเวอร์ซัพพลาย จะติดมากับเคสด้วย ขนาดของเพาเวอร์ ซัพพลาย
ในปัจจุบันจะมีขนาด 230 และ 250 วัตต์ และ 300 วัตต์ ถ้ามีอุปกรณ์ต่อพ่วง ในคอมพิวเตอร์เยอะก็ควรเลือกวัตต์สูงไว้ก่อน เมื่อพาวเวอร์ ซัพพลายติดอยู่กับเคส ก็อาจจะเรียกรวมๆ ไป เช่น เคส 300 วัตต์ ATX เป็นต้น
ข้อแตกต่างระหว่าง Case แบบ AT และ ATX และสิ่งที่จะสังเกตุได้จากภายนอกก็คือ

AT
- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นเก่า ขนาดจะเล็กกว่า ATX
- บางเครื่องปุ่มสวิตย์เปิดปิด จะค้างแสดงคุณสมบัติเปิด-ปิด
- หลังจากปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมแล้วต้องกดปุ่มปิดอีกครั้งที่หน้า Case ด้วย

ATX
- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ ๆ
- ปุ่มสวิตย์เปิดปิดจะไม่ค้าง ( กดกี่ครั้งก็ไม่รู้ว่ากดไปหรือยังคือปุ่มจะเด้งกลับ )
- ปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมเท่านั้นไม่ต้องกดปุ่มปิดที่หน้า Case อีก (จะกดปุ่มสวิตย์เฉพาะตอนเปิดเครื่องเท่านั้น )

หมายเหตุ

- เมนบอร์ดบางรุ่น จะใส่ได้กับเคส ทั้งสองแบบ เรียกว่า เป็น AT/ATX แต่ในปัจจุบัน (2545) ค่อนข้าง หายากแล้ว

- รูปร่างของ Case ในอดีต จะเป็นทรงแบน และวางจอไว้ด้านบน เรียกว่า เคสแบบ เดสทอปหรือแบบตั้งโต๊ะ ( Desktop ) ปัจจุบันนิยมเป็นเป็นแบบกล่องทรงสูง เรียกว่าเคสแบบ ทาวเวอร์ ( Tower ) เนื่องจากเหตุผล ในเรื่องของการสิ้นเปลืองวัสดุ ( เคสแบบเดสทอปต้องมีโครงสร้าง ที่แข็งแรงมากเพื่อรับน้ำหนักจอ ) และ การระบายความร้อน ( เคสแบบ ทาวเวอร์ จะระบายความร้อนได้ดีกว่า เนื่องจาก ความเร็วของชิปในคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความร้อนในเคสสูงขึ้นตามลำดับ ) เป็นเหตุผลหลัก

- ถ้าจับที่ท้ายเคส จะมีกระแสไฟเกิน สังเกตุง่ายๆ โดยถ้ายืนบนพื้นคอนกรีต แล้วนำมือไปแตะส่วนที่เป็นโลหะจะถูกไฟช๊อต ( แต่ไฟประมาณ 12 Volt ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตหรอกครับ แค่รู้สึกตึ๊บ ๆ ให้ตกใจพอเป็นกระสัย ) ถ้าไม่ต้องการให้เป็นลักษณะดังกล่าวให้ต่อสายกราว ( ปัจจุบันบางโรงงานจึงผลิตเคสออกมาเป็นพลาสติกหรือวัสดุอื่น )

BACK