การปฏิสนธิในพืช (Fertilization in Plants)

เมื่อละอองเรณูปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย (stigma) ขบวนการนี้เรียกกันว่า ขบวนการถ่ายละอองเกสร (pollination) ละอองเรณูจะงอก pollen tube ลงไปตามก้านชูเกสรตัวเมีย (style) จนถึง embryo sac นิวเคลียสของ ละอองเรณูซึ่งอยู่ในสภาพ haploid จะแบ่งตัวแบบไมโตซิส 1 ครั้ง ได้ tube nucleus และ generative nucleus และ generative nucleus จะแบ่งตัวแบบไมโตซิสอีกครั้งหนึ่งได้ sperm nucleus 2 อัน แล้ว sperm nucleus หนึ่งอันจะเข้าไปผสมกับ egg nucleus ได้ zygote หรือ embryo (2n) ส่วน sperm nucleus อีกอันหนึ่งจะเข้าผสมกับ 2 polar nuclei กลายเป็นเอนโดสเปอร์ม (endosperm) ซึ่งมีโครโมโซม 3 ชุด หรือ 3n จะเห็นว่าพืชจะมีขบวนการปฏิสนธิเกิดขึ้น 2 ครั้ง จึงเรียกการปฏิสนธิแบบนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อนหรือ double fertilization

การปฏิสนธิในสัตว์ (Fertilization in Animals)

การปฏิสนธิในสัตว์ ก็คือ การรวมตัวกันของสเปอร์มและไข่ซึ่งต่างก็มีโครโมโซมชุดเดียว หรือ n แล้วจะได้ zygote ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็น 2 ชุด หรือ 2n เซลล์สืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จะมีสารพันธุกรรมหรือโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม และเซลล์สืบพันธุ์ดังกล่าวจะเป็นตัวนำสารพันธุกรรมของพ่อและแม่ไปยังลูก เมื่อมีการปฏิสนธิ เซลล์สืบพันธุ์เหล่านี้จะมารวมตัวกัน ลูกที่เกิดขึ้นจึงมีสารพันธุกรรมทั้งของพ่อและของแม่อยู่ ทำให้ลูกสามารถเจริญเติบโตไปเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันกับพ่อแม่ ซึ่งอาจจะเหมือนกันบ้าง หรือแตกต่างกันบ้างซึ่งก็เนื่องมาจาก การเกิดการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซม ในขบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสนั่นเอง


เนื้อเยื่อสัตว์ (animal tissues)์ (animal tissues)

สัตว์ชั้นสูงประกอบด้วยเซลล์ต่าง ๆ หลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะอย่าง ดังนั้น เนื้อเยื่อ (tissue) จึงหมายถึง กลุ่มของเซลล์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันมารวมกัน เพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ในอวัยวะใด ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย เนื้อเยื่อของสัตว์ชั้นสูง แบ่งได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้

1. เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue)
2. เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)
3. เนื้อเยื่อเลือด (blood tissue)
4. เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscular tissue)
5. เนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue)

การจัดจำแนกชนิดและหน้าที่ของเนื้อเยื่อสัตว์แต่ละชนิด

เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue)

ลักษณะเฉพาะ - มีเซลล์รูปร่างแบบเดียวกันมาเรียงชิดติดกัน อยู่บนเยื่อรองรับฐาน (basement
membrane) และมีผิวด้านบนเป็นอิสระ (free surface)
หน้าที่ - ป้องกันเซลล์ที่อยู่ชั้นล่าง ป้องกันเชื้อโรค รับความรู้สึก ดูดซึมสารเข้าสู่ร่างกาย
สร้างสารที่มีประโยชน์ ขับสารที่ร่างกายไม่ต้องการออกมา
ตำแหน่งที่พบ - พบทั้งภายนอกและภายในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ทางเดินอาหาร ท่อลม ปอด และ
ท่อไต เป็นต้น
การจัดจำแนก - แบ่งได้ตามลักษณะของรูปร่างของเซลล์ เช่น รูปร่างแบนบาง (squamous) รูปร่าง
สี่เหลี่ยมลูกบาศก์ (cuboid) รูปร่างแท่งทรงกระบอก (columnar) และการจัดเรียงตัว
ของเซลล์ เช่น เซลล์เรียงตัวชั้นเดียว (simple) หรือเซลล์เรียงตัวหลายชั้น (stratified)

• รูปแสดงลักษณะของเนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue) ที่เรียงตัวชั้นเดียว แบบต่าง ๆ

• รูปแสดงเนื้อเยื่อบุผิวที่ปกคลุมอยู่ภายในและภายนอกร่างกาย

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)

ลักษณะเฉพาะ - ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวอยู่ห่าง ๆ กัน และสารที่ไม่ใช่เซลล์ เรียกว่า เมทริกซ์
(matrix) นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเส้นใย (fiber) 3 ชนิด ได้แก่ เส้นใยคอลลาเจน
(collagen fiber) เส้นใยอิลาสติก (elastic fiber) เส้นใยเรติคิวลาร์ (reticular fiber)
แทรกอยู่ในเมทริกซ์ ช่วยทำให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
หน้าที่ - เชื่อมโยงยึดเหนี่ยวอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ของร่างกายให้อยู่รวมกัน และ
ค้ำจุนร่างกาย
ตำแหน่งที่พบ - ห่อหุ้มเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ พบแทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชนิดอื่น ๆ
การจัดจำแนก - แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสมบูรณ์ เช่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ชนิดโปร่งบาง (loose connective tissue) เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ
(dense connective tissue) และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันพิเศษ เช่น กระดูก (bone) กระดูกอ่อน (cartilage)
เนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue)ดังตารางข้างล่างนี้

• รูปแสดงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง (loose connective tissue)