เกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์

   > กลับหน้าแรก
   > แนวคิด
   > วัตถุประสงค์
   > คณะกรรมการ
   > คณะอาจารย์
   > พันธุ์ไม้ในโรงเรียน
  > สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2545
  > สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2546
  > สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2547

















































@
:: ประโยชน์ ::
     การใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในทรรศนะของนักพฤกษศาสตร์
การใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ใหญ่ ๆ ดังนี้
    1.  การใช้ประโยชน์ในการเรียน การสอนทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา นิเวศวิทยาเกษตร และวิทยาศาสตร์กายภาพ
    2.  การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา พุทธศาสนา สุขศึกษา ศิลปะ และอื่นๆ
    3.  การใช้ประโยชน์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
    4.  การใช้ประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์

1.การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาทางวิทยาศาสตร์

  - เป็นแหล่งที่รวบรวมตัวอย่างของจริง
  - เป็นแหล่งที่รวบรวมตัวอย่างของจริงที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนได้
  - การเรียนการสอนทางด้านชีววิทยา มีหลายสาขา เช่น
        + ความหลากหลายของพืช ศึกษาชนิดต่างๆ ของพืชสังเกตความแตกต่างและกลุ่มชนิดต่างๆ ของพืช
        + การจัดจำแนก ศึกษาการจัดกลุ่มพืชสัณฐานวิทยาของพืช ศึกษาลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของพืช
        + กายวิภาคของพืช ศึกษาการทำงานของส่วนต่างๆ ของพืช
        + การเกษตร การปลูก การดูแลรักษาพืช
        + โครงการวิทยาศาสตร์ การทดลอง ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ เช่น
             .. การเรียนการสอนด้านนิเวศวิทยา เช่น สังคมพืช พืชบก พืชน้ำพืชอิงอาศัย
             .. การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างการจับตัวของพืชน้ำแบบจมใต้น้ำ ลอยน้ำ เป็นต้น
             .. การอยู่ร่วมกันระหว่างพืชกับสัตว์     
             .. การถ่ายละอองเรณูของพืชโดยอาศัยแมลง และอื่นๆ เป็นตัวอย่างของสิ่งแวดล้อมที่ดี                 
   - เป็นพื้นที่สีเขียวของโรงเรียนการเรียนการสอนทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาในระดับประถมและมัธยม ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นพื้นฐานต่อขึ้นไปในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันมีผู้เรียนทางด้านพฤกษศาสตร์น้อยลงจึงเป็นการขาดกำลังทางด้านการศึกษา และ อนุรักษ์ทรัพยากรทางด้านธรรมชาติในประเทศไทยเป็นอย่างมากจึงควรมีการปูพื้นฐานให้เด็กรู้จัก  พืชมากๆ จะได้ทำให้เด็กๆ มาสนใจในทางด้านนี้มากขึ้น
2. การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ
        2.1  วิชาภาษาไทย
            2.1.1  เชื่อมโยงพันธุ์ไม้กับขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ
                     เช่นประเพณีการในการไหว้ครู เป็นต้น
            2.1.2  เชื่อมโยงกับสำนวนไทย คำพังเพย สุภาษิต เป็นต้น
            2.1.3  เชื่อมโยงกับวันสำคัญ เช่นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ในวันพ่อ วันแม่ เป็นต้น
            2.1.4  เชื่อมโยงกับวรรณคดีไทยทำให้จดจำได้ซาบซึ้งถึงบทกลอนวรรณคดีเหล่านั้น
                    ได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้น
            2.1.5  ฝึกการเขียนบทความกึ่งวิชาการที่น่าสนใจโดยระบุถึงประโยชน์และความงามหรือจุดเด่นต่าง ๆ ได้
      2.2  วิชาพุทธศาสนา
           2.2.1  ใช้พันธุ์เปรียบเทียบสัจธรรม
           2.2.2  ใช้พันธุ์ไม้บางชนิดสื่อโยงไปถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
           2.2.3  แสดงถึงบทบาทของพันธ์ไม้ที่มีต่อสังคมมาแต่บรรพกาล

       2.3  วิชาสังคมศึกษา
           2.3.1  เปรียบเทียบการอยู่ร่วมกันของพันธ์ไม้ในสังคมพืชกับสังคมมนุษย์
           2.3.2  เปรียบเทียบความหลากหลายของพันธ์ไม้กับความหลากหลายในสังคมมนุษย์
       2.4  วิชาสุขศึกษา
           2.4.1  แสดงให้เห็นสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้สุขภาพกายและจิตดียิ่งขึ้น
           2.4.2  พันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นยารักษาโรค
           2.4.3  พันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นอาหาร
    2.5วิชาลูกเสือและเนตรนารี หรืออนุกาชาด
           2.5.1  ใช้เป็นบริเวณฝึกสังเกต การสะกดรอย และการตั้งค่าย
           2.5.2  ใช้ในการยังชีพ เช่น ต้นไม้ที่รับประทานได้ ต้นไม้ที่เป็นพิษ
           2.5.3  ใช้ในการบำเพ็ญประโยชน์
    2.6วิชาศิลปะ
           2.6.1  การวาดภาพจากตัวอย่างพันธุ์ไม้ในสวน
           2.6.2  การทำภาพพิมพ์ใบไม้
           2.6.3  การประดิษฐ์ผลงานศิลปะ จากดอกไม้แห้ง ใบแห้งและผลหรือกิ่งไม้แห้งๆ
           2.6.4  การวาดภาพเกี่ยวกับต้นไม้โดยจินตนาการอิสระ
           2.6.5  การวาดภาพจากต้นไม้ โดยรับเรื่องประวัติ และการใช้ประโยชน์มาก่อนแล้วจินตนาการจากข้อมูลเหล่านั้น  การใช้ประประโยชน์ในวิชาอื่น ผู้สอนสามารถใช้ได้ทุกวิชาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณนของผู้สอนที่ปรับให้เหมาะสม