TRANSLATOR000
◊ home ♠ about translator ♣ payment ♥ ห้องสนทนา chat ♦ ตัวอย่างแปล contact us amateur radio packet radio ตำรับยาไทย ห้องสนทนา ๑ Chat room 1 ห้องสนทนาอังกฤษ(ไทย) International Chat เรียนการแปลที่นี่ บทเรียน ๑





เตรียมตัวก่อนเปลหนังสือ

เลือกต้นฉบับ

	ก่อนการแปลหนังสือนั้น จะต้องมีการเลือกต้นฉบับยก่อนว่า ว่าจะเลือก
แปลเรืองแบบใด แปลให้ใครอ่าน เฃ่น
	ตำรา
	บทความทางวิชาการ
	นวนิยาย
	หนังสือเด็ก
	ข้อความสำคัญก็คือ เราจะต้องมีความรู้ในเรืองที่จะแปลตามสมควร
อย่าแปลเรืองที่ไม่มีความรู้พื้นฐาน หรือไม่มึความสนใจพอ ถ้ามีศัพท์เฉพาะ
ของแต่ละวิชา จะต้องค้นคว้าให้ทราบความหมายที่ถูกต้องแน่นอนของศัพท์
นั้นก่อน อย่าแปลตามความเข้าใจของตน
	เมือเลือกต้นฉบับได้แล้ว ต่อไปต้องดูว่าแปลให้ใครอ่าน เช่น
	แปลให้เด็กอ่าน :ต้องเป็นภาษาง่าย สั้น ๆตรงไปตรงมา  คือภาษาเด็ก ๆ 
	แปลนวนิยาย: ต้องใฃ้ภาษาโลดโผน เต็มไปด้วยสำนวนโวหาร
	แปลบทความทางวิชาการ : ต้องเป็นภาษาทางวิชาการ มากว่าสำนวน
โวหาร

ทำความเข้าใจต้นฉบับ

	ก่อนแปล ต้องอ่านต้นฉบับให้เข้าใจโดยตลอด ทั้งศัพท์ ความหมาย
โครงสร้างประโยค ความคิด และเจตนาอันเป็นจุดมุ่งหมายของผู้เขียน โดยใช้
เครืองมือฃ่วยต่าง ๆ เช่น ปทานุกรม พจนานุกรม ทั้งสองภาษา ตลอดจนศัพท์
บัญญัติต่าง ๆ 

สำนวนการแปล

	การแปลนั้น ต้องเลือกคำให้มีสำนวนเป็นไทย ในกรณีที่แปลเป็นไทย
ถ้าแปลเป็นอังกฤษ ก็ให้เป็นสำนวนอังกฤษ ซึ่งไม่เหมือนกัน สำหรับแปลเป็นไทย
ที่ดีนั้น ให้แปลสำนวนไทยจนไม่เห็นว่าเป็นฉบับแปล คือกับว่าเป็นการเขียน
เป็นภาษาไทยล้วน ๆ นั่นเอง ซึ่งถูกต้องสละสลวย จะมีสำนวนไพเราะมากน้อย
เพียงใด ผู้แปลต้องใช้พินิจพิเคราะห์ด้วยตนเอง

ภาษาที่ใช้แปล

	ให้ใช้ภาษาที่เหมาะสม เฃ่า ภาษาราชการ ภาษาสุภาพ ภาษาที่ใช้
ในการสนทนา มีความแตกต่างระหว่างชนนชั้น หรือความสนิทสนม  ซึ่งแสดง
ถึงความสัมพันธ์กันระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง เฃ่น ฉัน,เธอ,คุณพี่, ท่าน,ผม,กระผม,
ใต้เท้า,ข้า,เอ็ง,กู,มึง เป็นต้น

ฃนิดของการแปล

	๑.   การแปลโดยพยัญชนะ
	๒.   การแปลโดยอรรถ

การแปลโดยพยัญชนะ

	เป็นการแปลคำต่อคำ รักษาโครงสร้างและความหมายภาษาต้นฉบับ
และฉบับแปลอย่างเคร่งคัด ทำให้แปลแล้วอ่านเข้าใจยากมาก  แต่ก็นิยมสำหรับ
การแปลเพื่อศึกษาภาษา จะเห็นได้จาก การเรียนแปลภาษาบาลี สำหรับผู้เรียน
แปลพระธรรมบทเป็นต้น
	การแปลตรงตัว คงความหมายท่วงทำนอง รูปแบบ โครงสร้างของ
ต้นฉบับไว้ ไม่ตัดทอนแต่งเติมข้อความใด ๆ 

การแปลโดยอรรถ

	เป็นการแปลไม่รักษาโครงสร้าง ความหมาย ท่วงทำนอง รูปแบบ
ต้นฉบับอย่างเคร่งครัด โยกย้ายขยายความ ตัดทอน เปลี่ยนแปลง ขอความ
ทางไวยากรณ์ได้ เช่น กาารแปล นวนิยาย เรืองสั้น นิทาาน เป็นต้น

คุณสมบัติของนักแปล

	๑.   ต้องเข้าใจนัย และความหมายผู้เขียนต้นฉบับว่ามีจุดประสงค์
อย่างได ต้องการที่จะให้อะไรกับผู้อ่าน จะได้ถ่ายทอดจุดประสงค์นั้น ๆ ได้อย่าง
ถูกต้อง
	๒.   ต้องมึความรู้ทั้งภาษาต้นฉบับและฉบับแปลอย่างดีเยี่ยม
	๓.   หลีกเลี่ยงการแปลคำต่อคำ
	๔.   ควรใช้รูปแบบของภาษาที่เป็นมาตราฐานทุกคนยอมรับ ใช้
อันอยู่ที่วไป  ไม่คิดคำแสลงใหม่ ๆขึ้นมา หรือคำไม่สุภาพ ไม่เป็นที่นิยม
	๕.   รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะสม ถูกต้องตามความหมาย
ต้นฉบับ รักษาบรรยากาศต้นฉบับไว้

ประเภทของานแปล

	๑.   แปลทางศาสนา เฃ่น พระไตรปิฏก เพือเผยแพร่พระ
ธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
	๒.   แปลวรรณกรรม ร้อยแก้ว ร้อยกรอง และการละคร
	๓.   แปลข่าว สารคดี
	๔.   แปลบทภาพยนต์
	๕.   แปลดนตรี อุปรากร
	๖.   แปลเพือการค้าและโฆษณา
	๗.   แปลทางวิทยาศาสตร์
	๘.   แปลทาางเทคนิค เช่น หนังสือคู่มือการใช้เครืองอุปกรณ์ต่างๆ
	๙.   แปลทางการทหาร
	๑๐. แปลทางการทูต
	๑๑. แปลทางการปกครอง
	๑๒. แปลทางกฏหมาย
	๑๓. แปงทางการเมือง
	๑๔. แปลเพือการศึกษา
	๑๕. แปลโดยเครืองจักร์ ( เช่นโปรแกรมการแปลต่าง ๆ )      	
	 
สนใจติดต่อ อีเมล์ : hs4dor19@hotmail.com
หรือโทร : 01-8457816 โทรสาร :02-6522264
http://www.oocities.org/translator000