ประวัติความเป็นมา(History)
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
      พ.ศ.  2478 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง ได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญ
                             เกษตรกรรม ขึ้นกับอำเภอเมืองตรัง  เปิดการสอนหลักสูตรวิสามัญเกษตรกรรม
     พ.ศ.  2480  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดขึ้น
                             ในโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม  อีกแผนกหนึ่ง
     พ.ศ.  2481  โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม  ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมตรัง
                             เปิดสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น ( แผนกเกษตรกรรม )
                             โดยรับผู้จบการศึกษาระดับชั้นประถมปีที่ 4 เข้าศึกษาต่อ อีก 2 ปี
     พ.ศ.  2496  โรงเรียนเกษตรกรรมตรัง  ได้เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาตอนปลาย
                             (แผนกเกษตรกรรม)  โดยรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                             (แผนกเกษตรกรรม) และผู้ที่จบมัธยมปีที่ 3 ( ม.3 เดิม ) เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี
      พ.ศ.  2507  โรงเรียนเกษตรกรรมตรังเปิดสอนระดับมัธยมตอนปลายสายอาชีพ
                             (แผนกเกษตรกรรม) โดยรับผู้ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย
                             (แผนกเกษตรกรรม) และผู้ที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.6เดิม) เข้าเรียนต่ออีก 3 ปี
                             และงดรับผู้ที่จบการศึกษาประถมปีที่ 4 ( ป. 4 ) เข้าเรียนประโยคอาชีวศึกษา
                             ตอนต้น ( เกษตรต้น )
      พ.ศ.  2518  โรงเรียนเกษตรกรรมตรัง  เปิดใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.ศ.4, 5 )
                             เกษตรกรรม
      พ.ศ. 2518    แทนหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ  แผนกเกษตรกรรม
                           พ.ศ.  2503
    พ.ศ.  2519 โรงเรียนเกษตรกรรมตรัง  เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
                           (ปวส.)  แผนกเกษตรกรรม  โดยรับผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
                           สายอาชีพ  แผนกเกษตรกรรม ( ม.ศ. 6 เกษตรกรรม )
   พ.ศ.  2520  โรงเรียนเกษตรกรรมตรัง ได้รับการยกวิทยาฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง
                          เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช. ) แผนกเกษตรกรรม
                           แทนหลักสูตร ม.ศ. 6  เกษตรกรรม และในเดือน ตุลาคม  2520 ได้เปิดสอน
                           การศึกษาพิเศษ (นอกระบบ) คือหน่วยฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมเคลื่อนที่
    พ.ศ.  2521  วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง  เปิดสอนหลักสูตรฝึกวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น
   พ.ศ.  2527   วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง  เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค
                           ( ปวท. ) แผนกวิชาชีพเกษตรกรรม  สาขาไม้ผล - ไม้ยืนต้นและสาขาพืชไร่
    พ.ศ.  2531   วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พิเศษ
                           (ปวช.พิเศษ) ตามโครงการอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท
                           (อศ.กช.) ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท
   พ.ศ.  2538   ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสิทธิไชยภักดี  ในวิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง
                           อีกสถานศึกษาหนึ่ง สอนหลักสูตรนอกเหนือจากประเภทวิชาชีพเกษตรกรรม
                           ได้เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ   หลักสูตรพาณิชยกรรม
                           ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทบริหารธุรกิจ  สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    พ.ศ.  2539วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรศาสตร์
                            ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต
    พ.ศ.  2539   วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง ได้รับการเปลี่ยนชื่อตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
                            ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.  2539 เป็น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
HOME
ปรัชญา
" สำนึกต่อหน้าที่ และ ความรับผิดชอบ "

หน้าที่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
                 1.  ดำเนินการจัดการศึกษาอาชีวเกษตรในระบบ  ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
                 2.  ดำเนินการให้การศึกษาอบรมในด้านวิชาชีพนอกระบบแก่ผู้สนใจ
                 3.  ให้การบริการและร่วมมือกับชุมชนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเป็นศูนย์กลาง
                      ประสานงาน และบริการด้านวิชาการและเทคโนโลยีทางการเกษตร
                 4.  ทำการทดลอง สาธิต วิเคราะห์ วิจัยเพื่อค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาวิทยาลัย ฯ
                      และการเกษตร
                 5.  ดำเนินการทางด้านงานฟาร์ม หลักสูตรและสภาพท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งฝึกทักษะแก่นักศึกษา
                      และเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร

         HOME