เทคนิคในการให้คำปรึกษา

                ในการให้คำปรึกษา บางกรณีอาจมีการต่อต้านเหมือนผู้ร้ายที่ไม่ชอบตำรวจ   จึงต้องอาศัยเทคนิคต่างๆมากมายเช่น

 

                1.เทคนิคในการสร้างความสัมพันธภาพ  เพื่อให้ผู้มีปัญหาเกิดความไว้วางใจ  เกิดความอบอุ่น เกิดความมั่นใจว่า  ผู้ให้คำปรึกษาเป็นมิตรมิใช่ศัตรู  และจะไม่มีการลงโทษหรือตำหนิผู้ที่มีปัญหา   แต่เป็นผู้ที่พร้อมจะเข้าใจ  เห็นใจ  และยอมรับในสิ่งที่ผู้มีปัญหาประสบอยู่    เทคนิคนี้จะแสดงออกด้วย  คำพูด  น้ำเสียง   กิริยาท่าทาง  ที่เมตตาอ่อนโยนและจริงใจ

                2. เทคนิคในการฟัง   การฟังจะดูเป็นเรื่องธรรมดา    แต่แท้จริงเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนกันพอสมควร  ทั้งนี้เพราะ

                   J คนส่วนใหญ่ไม่สามารถทนฟังใครพูดนานๆได้   โดยเฉพาะผู้มีปัญหาที่อาจพูดวกไปเวียนมา   พูดพล่ามไม่รู้จบ  หรือไม่อาจพูดได้ราบรื่นเป็นปกติ  ฉะนั้นผู้ให้คำปรึกษาจะต้องฝึกให้อดทนฟังได้  และต้องแสดงให้รู้ว่า   เราฟังอย่างตั้งใจและให้ความสำคัญแก่ผู้พูด

                   J คนส่วนใหญ่ฟังไม่เป็น    จับประเด็นสำคัญไม่ได้   และไม่เข้าใจความหมายและความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังคำพูดหรือกิริยาท่าทางที่แสดงออก    ฉะนั้นผู้ให้คำปรึกษาจึงต้องรู้จักฟัง    รู้จักสังเกต

                   J คนส่วนใหญ่จะอึดอัดเมื่ออีกฝ่ายไม่พูด   ซึ่งแท้ที่จริงแล้วความเงียบอาจมีความหมายหลายอย่าง   เช่น   ไม่มีเรื่องจะพูด  เกิดความไม่พอใจ   ไปสะกิดใจในเรื่องบางเรื่อง  หรือกำลังคิด ฯลฯ

                        ฉะนั้นไม่ควรด่วนสรุป  และไม่ควรเร่งรัดให้อีกฝ่ายต้องพูด    แต่ควรรอจังหวะที่เหมาะสม


                3. เทคนิคการถาม   การถามเป็นศิลปะที่สำคัญมากในการให้คำปรึกษาเพราะถ้าถามไม่เป็น  นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว  ยังเป็นการทำลายบรรยากาศที่ดี   เช่น  การถามแบบสอบซัก  เหมือน ทนายหรืตำรวจ  หรือถามตรงๆ ในเรื่องที่ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่คนไม่ชอบเปิดเผย

                        การถามอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่   2   ประเภทคือ    ปลายปิดและปลายเปิด

                                J ปลายปิด  คือ  คำถามที่กำหนดให้ตอบในลักษณะสั้นๆ เช่นใช่  ไม่ใช่  ซึ่งไม่ช่วยให้ เราทราบข้อมูลหรือความรู้สึกมากนัก

                                J ปลายเปิด  คือ  คำถามที่เปิดกว้าง ให้ผู้ตอบแสดงออกได้เต็มที่ ทำให้ทราบ   ข้อมูลหรือความรู้สึกได้กว้างขวาง   อันจะเป็นประโยชน์ในการที่ผู้มีปัญหาได้ระบายออกอย่างเต็มที่   และผู้ให้คำปรึกษาจะได้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง

                                นอกจากนี้ยังมีคำถามประเภทต่างๆ  เช่น ถามตรงๆ   ถามแบบอ้อมๆ ถามให้  คิด วิเคราะห์    ถามให้สรุปความ   ถามให้อภิปราย  เป็นต้น

                                การถามควรมีจังหวะพอสมควร    ไม่ใช่ถามติดๆ   กัน หรือป้อนคำถามทีเดียวหลายคำถาม   ซึ่งทำยากที่ผู้ตอบจะลำดับความคิดได้ทัน


                4. เทคนิคการให้กำลังใจ  ในบางกรณีนักเรียนอาจรู้สึกว่าตนไม่มีค่า  ไม่ได้รับความสำเร็จ และอยู่ในสภาพที่อ่อนล้าหมดกำลังใจ   ในกรณีนี้ผู้ให้คำปรึกษาควรจะให้กำลังใจ  ให้ผู้มีปัญหาเห็นคุณค่าในบางส่วนที่ตนมองข้าม  หรือปลุกปลอบให้รู้จักสร้างความหวังและกำลังใจ   โดยกระตุ้นให้เห็นทางเลือกใหม่ๆ หรือให้เห็นตัวอย่างจากกรณีของบุคคลอื่นที่ผ่านความล้มเหลวมาก่อน  หรือการให้พิจารณาความจริงของชีวิตที่ต้องมีการต่อสู้เพื่อการพัฒนา   เป็นต้น

                5. เทคนิคในการสะท้อนคำพูด  บางครั้งผู้พูดเอง ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ตนเองมีความต้องการอย่างไรกันแน่  จึงพูดไปเรื่อยๆ และสับสนวกวน  จับต้นชนปลายไม่ถูก  ผู้ให้คำปรึกษาจึงต้องรู้จักสะท้อนคำพูดเหมือนกับสะท้อนภาพ ให้ผู้พูดได้รู้จักความคิดและความรู้สึกของตนเองหรือรู้สึกตัวว่าได้พูดอะไรออกไปบ้าง และสิ่งที่พูดนั้นเป็นสาระที่แท้จริง   มีความหมายตามที่พูดจริงหรือไม่

 

                6.  เทคนิคในการทำความกระจ่างกับคำพูด  ในบางครั้งการสื่อความอาจไม่ชัดเจนซึ่งเกิดจากการขาดทักษะในการสื่อความของผู้พูด  หรืออาจเนื่องจากผู้พูดเองไม่มีความกระจ่างในตนเอง  ฉะนั้นผู้ให้คำปรึกษาจึงต้องให้ผู้พูดแปลความหรือสรุปความ  หรืออภิปรายแยกแยะประเด็นคำพูดให้ชัดเจน  ซึ่งจะทำให้ผู้พูดเข้าใจตนเองชัดขึ้น  และผู้ฟังก็จะเข้าใจผู้พูดถูกต้องยิ่งขึ้น

               

7. เทคนิคในการแสดง  อาการยอมรับ  เข้าใจ  เห็นใจ  ผู้พูด    นอกจากเทคนิคในการรับฟัง และการใช้คำพูดทั้งในด้านการกระตุ้นให้ผู้พูดแสดงออกและให้ผู้พูดเข้าใจในความคิดความรู้สึกจากคำพูดและการแสดงออกของตนเองแล้ว   ผู้รับฟัง  คือ  ผู้ให้คำปรึกษาควรจะได้แสดงออกให้ผู้พูดทราบว่า  ตนกำลังรับฟังด้วยความตั้งใจ  ยอมรับ  เข้าใจและเห็นใจในตัวผู้พูด  เช่น  พยักหน้า  การมองด้วยสายตาอ่อนโยน   เพื่อผู้พูดจะได้เกิดความอบอุ่น และกล้าแสดงออกมากขึ้น   หรือกล้า วิเคราะห์วิจารณืตนเองมากขึ้น   เพราะมั่นใจว่าผู้ให้คำปรึกษายอมรับและเข้าใจ   ไม่ประณามลงโทษซ้ำเติมเหมือนคนอื่นๆ

 

8. เทคนิดในการเผชิญหน้ากับความจริง    คนที่มีปัญหาส่วนมากมักไม่กล้าเผชิญความจริง   แม้ว่าบางครั้งจะเป็นการช่วยให้บุคคลนั้นมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง   แต่การไม่ยอมรับความจริงนี้  จะเป็นอุปสรรคทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้   จึงจำเป็นที่ผู้ให้ปรึกษาจะต้องใช้วิธีการทำให้บุคคลนั้นมีความกล้าที่จะยอมรับความจริง   ยอมรับข้อบกพร่อง  ยอมรับสิ่งเปลี่ยนแปรงไป  ว่าเป็นเรื่องธรรมดา  ธรรมชาติของชีวิตที่ไม่มีความสมบูรณืเที่ยงแท้ถาวร   ทั้งนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีท่าทียอมรับทั้งด้านดีและไม่ดีจึงจะทำให้ผู้ขอรับคำปรึกษากล้าที่จะเปิดเผย   และแก้ไขสิ่งที่ตนไม่ยอมรับเหล่านั้น