ศาสตราจารย์นายแพทย์อมร    ลีลารัศมี
ภาควิชาอายุรศาสตร์   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล    กรุงเทพ ฯ   10700

 

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพ

 

ยาต้านจุลชีพคืออะไร 

                ยาต้านจุลชีพเป็นยากึ่งสังเคราะห์ที่ได้มาจากสารสกัดจากจุลชีพด้วยกัน  เช่น  จากแบคทีเรียหรือเชื้อรา  แล้วนำมาปรับปรุงสูตโครงสร้างอีกเล็กน้อยเพื่อให้ออกฤทธิ์ดีขัน   หรือบริหารยาง่ายขึ้น  หรือมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น   จนสามารถสังเคราะห์ยาได้เองโดยไม่ต้องสกัดสารใดๆจากจุลชีพอีกต่อไป   ยาต้านจุลชีพบางขนานจึงเป็นสารเป้าหมายในตัวจัลชีพ จนสามารถขัดขวางกระบวนการเจริญเติบโต  หรือการแบ่งตัว  ทำให้จุลชีพหยุดการเจริญเติบโตหรือตายไปในที่สุด   วงการแพทย์แบ่งยาเหล่านี้ออกเป็นประเภทต่างๆ   หลายกลุ่ม เช่น  เบต้าแลคแทม , คาร์บาพีแนม , มาโครลัยด์ , เตตราศัยคลิน เป็นต้น  ตัวอย่างของยาต้านจุลชีพได้แก่ เพนิศิลลิน  (penicillin) , สัลฟา (sulfa หรือ suphonamide) , อะม็อกศิลลิน (amoxicillin) , แอมปิศิลลิน (ampicillin) เป็นต้น

                กระบวนการออกฤทธิ์โดยจับกับสารเป้าหมายในตัวจุลชีพนั้น  เป็นลักษณะเฉพาะตัวของยาแต่ละขนานกับจุลชีพแต่ละชนิด   ดังนั้น ยาจึงออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้บางชนิด และไม่สามารถทำลายเชื้อทุกชนิดได้   จึงไม่มียาต้านจุลชีพใดที่กว้างครอบจักรวาลจริง  การใช้ยาจึงต้องเลือกให้   “ตรง”

กับเชื้อโรคด้วย   มิฉะนั้นจะไม่สามารถทำลายเชื้อก่อโรค   หรือรักษาโรคได้ถึงแม้ยาที่มีราคาแพงมากก็ตาม  นอกจากนั้น  ยังมีเชื้อก่อโรคบางชนิดที่ยังไม่มียาต้านจุลชีพไปทำลายได้   เชื้อกลุ่มนี้มักอยู่ในกลุ่มไวรัส   เช่น  เชื้อก่อโรคไข้หวัด   ไข้เลือดออก   ไข้สมองอักเสบ   โรคพิษสุนัขบ้า   เป็นต้น

 

ยาแก้อักเสบและยาต้านจุลชีพเป็นยาขนานเดียวกันหรือไม่

                ในวงการแพทย์ยาแก้อักเสบและยาต้านจุลชีพเป็นยาคนละกลุ่ม  ยาต้านจุลชีพเป็นยาทำลายเชื้อหรือยับยั้งการเจริญเติบโต    เมื่อให้ยาต้านที่ตรงกับเชื้อโรค   ยาจะไปทำลายเชื้อนั้น  และทำให้ปฏิกิริยาอักเสบลดลงและหายไปในที่สุด    ส่วนยาแก้อักเสบไปยับยั้งกระบวนการอักเสบที่ร่างกายนำมาต่อสู่สิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพที่บุกรุกเข้ามาสู่ร่างกายยาแก้อักเสบจึงไปลดกระบวนการต่อสู้ของร่างกายทำให้ปฏิกิริยาอักเสบซึ่งได้แก่  ยาเพรดนิโสโลน (prednisone) ยาเม็ดเบอร์ 5  หรือ ยาลูกกลอนบางชนิดที่ผสมยาแผนปัจจุบันเข้าไปด้วยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์   เมื่อมีการติดเชื้อและกินยาแก้ต้านจุลชีพ    จึงไม่ควรกินยาแก้อักเสบดังกล่าวไปพร้อมกัน

จุลชีพในร่างกาย

                จุลชีพในร่างกายมีทั้งชนิดที่ก่อโรคและชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  จุลชีพที่เป็นประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาก  ช่องคลอด  ทางเดินอาหาร  และลำไส้ แบคทีเรียเหล่านี้ย่อยเศษอาหารที่เหลือใช้    สร้างวิตามินให้เราและหลั่งสารหรือกรดที่คอยป้องกันจุลชีพแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้ามาเพิ่มจำนวนหรือบุกรุกเข้าสู่ร่างกาย   แบคทีเรียเหล่านี้ไวต่อยาต้านจุลชีพกลุ่มนี้ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย    การกินยาต้านจุลชีพที่ไม่จำเป็นจึงเกิดผลเสียได้เพราะยาไปทำลายจุลชีพชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจนทำให้เกิดโรคบางอย่างได้เอง   เช่น ตกขาวคันที่ช่องคลอดจากเชื้อรา   อุจจาระร่วงอย่างรุนแรงและยังทำให้แบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพง่ายขึ้นด้วย

 

หลักการใช้ยาต้านจุลชีพ

                โดยทั่วไปโรคติดเชื้อทำให้เกิดไข้และกระบวนการอักเสบตามมา   ทำให้ปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยตามตัว  อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร   และอาการเฉพาะที่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ถ้ามีการติดเชื้อที่ปอด  จะทำให้เกิดอาการไอ  มีเสมหะเจ็บหน้าอก  และหอบเหนื่อยได้   เชื้อก่อโรคมีหลายชนิด  ตั้งแต่ เชื้อไวรัส  (ทำให้เกิดไข้หวัด   ไข้หวัดใหญ่   หลอดลมอักเสบฉับพลัน ไข้เลือดออก เป็นต้น) เชื้อคลามัยเดีย (chlamydia) ริกเก็ตเซีย (rickettsia) มัยโคพลาสมา (mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย  เชื้อสไฟโรคีต  เชื้อรา   เป็นต้น  เชื้อบางชนิดก่อโรคชั่วคราวแล้วโรคหายได้เอง บางชนิดก่อโรคชั่วคราวแล้วโรคหายได้เอง   บางชนิดก่อโรครุนแรงจนถึงแก่กรรมได้   การเลือกยาต้านจุลชีพจึงต้องเลือกยาให้ “ตรง” กับเชื้อ   แพทย์จะทราบว่า   กลุ่มอาการแบบนี้น่าจะเกิดจากเชื้อโรคชนิดใดหรือกลุ่มใด   ก็จะเลือกใช้ยาหรือแนะนำตามข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วย     หรือได้จากการชันสูตรเพิ่มเติมโดยขอเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยมาเพาะหาเชื้อก่อโรค   เช่น  เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อหรือเก็บปัสสาวะมาเพาะเชื้อ  เป็นต้น    เมื่อเพาะได้เชื้อจากตัวอย่างแล้ว   ห้องปฏิบัติการสามารถทดสอบว่า   เชื้อดังกล่าวไวต่อยาต้านจุลชีพขนานใด    ทำให้เลือกยาต้านจุลชีพได้แม่นยำขึ้นอีก

                ในกรณีที่โรคเกิดจากเชื้อที่ยังไม่มียาต้านจุลชีพทำลายเชื้อได้  เช่น เชื้อไวรัสบางชนิดที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่  ไข้เลือดออก  ไข้หวัด-เจ็บคอ  เป็นต้น   ถ้าโรคหายได้เอง   แพทย์อาจจะให้ยารักษาตามอาการเพื่อทำให้ผู่ป่วยรู้สึกสบายและพักผ่อนนอนหลับได้ดีขึ้น  แต่ถ้าเป็นโรคร้ายแรงและไม่หายเอง   เช่น   ไข้เลือดออกอีโบลา  ไข้ทรพิษ  เป็นต้น  เราต้องป้องกันการกระจายของโรคไปสู่ผู้อื่น

                โรคบางชนิดมีอาการเหมือนกัน  แต่เกิดจากเชื้อได้หลายชนิด   ตัวอย่างเช่น  ไข้-เจ็บคอ  มีเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เป็นไวรัสที่ไม่ยาต้านจุลชีพทำลายได้    ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มียาต้านจุลชีพทำลายได้    การตรวจคอหอยโดยดูว่า   มีหนองหรือไม่จะชี้แนะถึงเชื้อก่อโรคว่า   เป็น ไวรัสหรือแบคทีเรีย     ถ้าไม่พบหนองที่ต่อมทอลซิลจะเกิดจากไวรัสและไม่ต้องกินยาต้านจุลชีพ  ถ้าพบจุดหนองที่ต่อมทอลซินหรือต่อมน้ำเหลือง 1 เม็ด    ใต้มุมขากรรไกรโตและเจ็บ   จะเกิดจากแบคทีเรีย และต้องกินยาต้านจุลชีพทำลายเชื้อโรคจะหายเร็วขึ้น    นอกจากนี้โรคอาจจะเกิดจากเชื้อต่างชนิดกันแต่มียาทำลายได้ทั้งคู่และเป็นยาคนละประเภท  ยาต้านจุลชีพที่กินก็อาจจะแตกต่างกันได้ด้วย   จึงสรุปได้ว่า   แม้อาการของโรคจะเหมือนกัน   ผู้ป่วยอาจจะไม่ต้องกินยาต้านจุลชีพ หรือต้องกินยาต้านจุลชีพ  แต่เป็นต้นจุลชีพคนละชนิดกันก็ได้   เพราะเชื้อที่ก่อโรคเป็นคนละชนิดกัน  ระยะเวลาที่กินยาอาจจะสั้น  คือกินเพียงครั้งเดียว   หรือกินนานหลายเดือนเป็นปี   จึงต้องกินยาต้านจุลชีพให้ครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดโดยเฉพาะโรคที่ต้องรักษายาวนาน  เช่น วัณโรค  การหยุดยาก่อนกำหนดจะทำให้โรคกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ง่ายและมีเชื้อที่ดื้อยาเพิ่มขึ้น   ทำให้การรักษายุ่งยากขึ้น

                สำหรับผู้ที่รับประทานยาต้านจุลชีพ   ควรถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงประเภทและชื่อยาต้านจุลชีพที่ให้กิน    ความจำเป็นที่ต้องกินยาต้านจุลชีพขนานนี้ในการรักษาโรค    วิธีการอื่นๆที่รักษาโรคนี้ได้ผลดีเช่นกัน  ควรทราบว่า  โรคนี้หายเองได้ไหมและการกินยาต้านจุลชีพทำให้โรคหายเร็วกว่าเดิมจริงหรือไม่    การกินยาทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือแพ้ยาได้อย่างไรบ้าง   ควรบอกประวัติอดีตที่เคยแพ้ยาต้านจุลชีพให้แพทย์และเภสัชกรทราบด้วย

                ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่   เช่น  โรคไตหรือตับพิการ    ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงยาที่อาจจะมีพิษต่ออวัยวะนั้น    หรือเพื่อจัดขนาดยาให้เหมาะสม    ส่วนยาที่กินอยู่เป็นประจำ    ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย   เพราะการกินยาจุลชีพร่วมกับยาบางอย่าง  เช่น  ยาแก้หอบหือทำให้ระดับยาแก้หอบหืดสูงมากในเลือดจนมือหรือใจสั่นได้

 

การแพ้ยาต้านจุลชีพและข้อควรระวังในการใช้ยา

                การแพ้ยาต้านจุลชีพเป็นสิ่งที่พบได้เสมอ และส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างร้อยละ  0.1-10 ของฝู้ที่กินยา   อาการที่พบได้บ่อยสำหรับยากินคือ  คลื่นไส้  อาเจียน  อุจจาระร่วง  อาการอื่นๆ พบได้บ้าง  ได้แก่  ผื่นคันหลังจากกินแอมปิศิลลิน หรือผิวหนังรอบปากบวม  และมีสีดำหลังจากกินยาสัลฟา  หรือเตตร้าศัยคลิน    ผิวหนังบวมแดงเมื่อถูกแสงแดดจัดๆ ถ้ากินยาควินโนโลนบางขนาน          บางรายแพ้ยาแล้วมีดีซ่าน  เป็นต้น  บางรายแพ้ยารุนแรงถึงแก่กรรมได้  เช่น  แพ้ยาเพนิศิลลิน ทำให้มีอาการแน่นน่าอก    หายใจไม่ออก     ยาคลอแรมเฟนิคอลอาจจะทำให้ไขกระดูกฝ่อ  หรือยากลุ่มอื่นอาจจะทำให้ผิวหนังลอกหลุดทั่วร่างกายเหมือนกับถูกไฟไหม้ทำให้โรครุนแรงถึงแก่กรรมได้    ยาเตตร้าศัยคลีนที่หมดอายุทำให้เกิดโรคไตพิการ   ดังนั้น  เมื่อได้ยาต้านจุลชีพมาแล้ว ควรเก็บไว้ในที่เย็นหรือในตู้เย็นและใช้ให้หมด    ไม่ควรนำยาที่เหลืออยู่กับมาใช้อีกโดยเฉพาะยาต้านจุลชีพที่ผสมน้ำก่อนนำมาใช้

                เมื่อมีอาการผิดปกติและไม่แน่ใจว่า  แพ้ยา  ให้หยุดยาไว้ก่อนและสอบถามผู้ที่สั่งยาหรือแพทย์หรือเภสัชกร   เพื่อตรวจสอบว่า  แพ้ยาหรือไม่ ถ้าเป็นแพ้ยา  ต้องจำให้แม่นยำหรือจดไว้ว่า   แพ้ยาขนานใดเพื่อจะหลีกเลี่ยงการกินยาขนานนั้นต่อไปในอนาคต