Explosive Ordnance Disposol TEAM

กล่าวนำ

 ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด ของกองกำลังรักษาสันติภาพ ในปัจจุบัน อยุ่ในความรับผิดชอบของกองทัพไทยในการจัดเจ้าหน้าที่มาให้การสนับสนุน ซึ่งงานดังกล่าวมีความสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจเป็นอย่างยิ่ง บุคคลกรในชุดทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิดในผลัดที่ผ่านมาสามารถปกิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง เอกสารนี้เป็นเอกสารแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติงานและการเตรียมการของผู้ที่จะมาปฏิบัติงานในชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด

การเตรียมการของผู้ที่จะมาปฏิบัติงานในชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด

 

๑.ศึกษาวิธีการอ่านแผนที่รวมทั้งการใช้ GPS เบื้องต้น

๒.ศึกษาแนวทางการ กวาดล้างสนามยิงปืน/สนามทำลาย  เพราจะทำการปิดสนามดังกล่าวทั้งหมด

๓.ศึกษาวิธีการและแนวทางการตรวจสภาพกระสุนวัตถุระเบิด เพื่อใช้ในการตัดสิน ให้ใช้ราชการต่อไปได้หรือจำหน่าย สำหรับกระสุนวัตถุระเบิดของกองกำลังชาติต่างๆที่ปฏิบัติงานในติมอร์ทั้งหมด โดยดูจาก TABLE. 5  ของ คู่มือทางเทคนิคเฉพาะกระสุนปืนเล็ก และวิธีการตรวจกระสุนวัตถุระเบิดใน TO 11A-1-10

.ศึกษาวิธีการบรรจุหีบห่อ(PACKING) กระสุนวัตถุระเบิดให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ UN (UN POP MARKING) การทำเอกสารกำกับหีบห่อพัสดุ และการทำเอกสารขอการขนส่งวัตถุระเบิดทางเรือให้เป็นไปตามกฎของ  IMDG และทางอากาศตามกฎของ ICAO และ IATA ว่าด้วยการขนส่งวัตถุอันตราย(HAZARDOUS MATERIAL) รวมทั้งวิธีการทำและเซ็นกำกับในเอกสารรับรองการขนย้ายวัตถุระเบิดด้วย

๕.ศึกษาเกี่ยวกับเกณฑ์ปริมาณและระยะห่าง (QUANTITY DISTANCE) ของวัตถุระเบิด

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

 

แนวทางการปฏิบัติงานของชุดเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด

ของกองกำลังรักษาสันติภาพใน ติมอร์ตะวันออก

หน้าที่หลักทั่วไป

1.      งานเก็บกู้/ทำลายที่จะต้องเข้าพื้นที่ด้วยรถยนต์

2.      งานเก็บกู้/ทำลาย ที่จะต้องเข้าพื้นที่ด้วยอากาศยาน

3.      งานทำลายที่สนามทำลาย(โดยเฉพาะที่ MANATUTO)

4.      งานทางด้าน IED

งานเก็บกู้/ทำลายที่จะต้องเข้าพื้นที่ด้วยรถยนต์

         อาจได้รับแจ้งจาก UNPOL/PNTL ( ตำรวจ ) หรือ WATCHKEEPER ทางโทรศัพท์ เกี่ยวกับ ชนิด สถานที่พบวัตถุระเบิดเบื้องต้นและเมื่อได้รับ TASK ORDER จาก OPERATION  BRANCH ( OPS)  ให้เตรียมการดังนี้

๑.ทำ ROAD SPACE REQUEST ( RSR ) แล้วเมล์ส่งไปให้ WATCHKEEPER (เทียบเท่า น.เวร  ศปก. ) ทางโปรแกรม LOTUS  NOTE

๒. ทำ  MOVEMENT OF PERSONEL(MOP) ส่งให้ SATO ซึ่งจะเซ็นชื่อและส่งต่อให้กับ ADMINs ต่อไป

.วางแผนวิธีการทำลาย(ใช้ไฟฟ้าหรือไม่ใช้ไฟฟ้า)และอุปกรณ์ที่จะนำไปใช้  วัตถุระเบิดอยู่ในตู้ CONTAINER  ด้านข้าง  บก.PKF

.เมื่อ WATCHKEEPER เมล์ RSR  ที่ได้รับการตอบรับจากกองพันทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นแล้วหรือกรณีเร่งด่วน เมื่อทราบที่เอกสาร RSR ที่ตอบรับจากกองพันฯก็สามารถออกปฏิบัติงานได้

.เข้าถึงพื้นที่ให้ติดต่อประสานกับกองพันฯหรือ UNPOL/PNTL ตามที่กำหนดไว้ใน TASK ORDER หรือตามที่ได้ติดต่อประสานไว้ล่วงหน้าเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุระเบิดรวมทั้งสถานที่พบและเป็นการแจ้งให้ทราบถึงการเข้าปฏิบัติงาน

.อุปกรณ์ที่จำเป็นนอกเหนือจากที่ใช้ในงานเก็บกู้/ทำลายที่ต้องนำไปคือ วิทยุสื่อสาร  แผนที่ท้องที่จะเข้าปฏิบัติงานและที่จะผ่านเพราะต้องไปเอง รวมทั้ง GPS สำหรับนำทางและ MARK พิกัดของวัตถุระเบิด รวมทั้งระยะทาง เพื่อใช้ประกอบการรายงานหลังเสร็จภารกิจ และไม่ควรลืมพกดิกฯภาษาเตตุน/บาฮาซาไปด้วย

.บางพื้นที่เข้าถึงยากลำบากควรให้ PNTL(ตำรวจติมอร์)นำทางจะปลอดภัยกว่า

.วิธีการทำลายขึ้นอยู่กับพื้นที่และสถานการณ์โดยถือเอาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวติมอร์เป็นหลัก

.เมื่อปฏิบัติงานเสร็จ แจ้งให้หน่วยในพื้นที่ทราบอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ

๑๐.เอาระยะทางรวมไป-กลับ ตำแหน่ง(ที่ MARK ไว้ใน GPS) ชนิด ขนาด สภาพ ประเทศผู้ผลิต และวิธีการทำลายมาเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน(EODR)แล้วเมล์ส่งไปให้ WATCHKEEPERและทำสำเนาเก็บไว้ที่ CELLหมายเหตุ : กรณีที่ต้องเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ของ FDTL(SECTOR EAST;LOS PALOS)ต้องทำเอกสารขอเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น(VISIT DOCUMENT) ขึ้นอีกหนึ่งฉบับต่างหาก

งานเก็บกู้/ทำลาย ชุดปฏิบัติจะต้องเข้าพื้นที่ด้วยอากาศยาน

เมื่อได้รับ TASK ORDER  ให้ดำเนินการดังนี้

๑.ทำ MOP(MOVEMENT OF PERSONEL) ส่งไปให้ MOVCON(MOVEMENT CONTROL)โดยตรวจดูวัน เวลา และเที่ยวบินที่จะไปสถานที่ปฏิบัติงานใน FLIGHT SCHEDULE

๒.เตรียมวัตถุระเบิดที่จะใช้บรรจุหีบห่อให้ถูกต้องตามระเบียบและเรียบร้อยรวมทั้งทำเอกสารขอการขนส่งวัตถุระเบิดทั้งที่จะนำติดตัวไปและที่ส่งไปทางเรือ

๓.นำวัตถุระเบิดไปส่งที่ท่าเรือ ซึ่งต้องคำนวณให้สัมพันธ์กันระหว่างวันและเวลาที่เรือจะไปถึงท่าที่จะรับของกับวันเวลาที่บินไปถึงตามที่ระบุใน MOP

๔.ตรวจดูชื่อผู้โดยสารและเที่ยวบินใน FLIGHT MANIFESTหรือดูที่บอร์ดหน้า MOVCON ซึ่งจะออกก่อนวันเดินทางหนึ่งวัน

๕.เชื้อปะทุสามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่เกินสองดอกและต้องบรรจุในกล่องกระสุน M148 ภายในต้องมี CUSHION( แผ่นรองรับแรงกระแทก ) เรียบร้อย ส่วนอาวุธปืนนำติดตัวไปได้แต่ต้องถอดแมกกาซีนออก

๖.ไปถึงติดต่อ MOVCON ทำเรื่องเพื่อขอรับวัตถุระเบิด

๗.ประสานไปยังหน่วยในพื้นที่เกี่ยวกับยานพาหนะ สถานที่จะปฏิบัติงานและถือเป็นการแจ้งให้ทราบการจะเข้าปฏิบัติงานด้วย

๘.เสร็จภารกิจแจ้งให้หน่วยเกี่ยวข้องทราบอีกครั้งค่อยเดินทางกลับ

๙.เขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน(EODR)

หมายเหตุ  ถ้ามี  EOD  TASK  ที่  SUAI  หรือพื้นที่ใกล้เคียง  ไม่ต้องนำ  DEMOITION  CHARGE  และเชื้อปะทุไปด้วย  เพราะมีวัตถุระเบิดบางส่วนที่ใช้ในการทำลายเก็บรักษาไว้ที่  พัน ร.ไทย  แต่ต้องติดต่อประสานกับ หัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุง  ล่วงหน้า  เพื่อขอรับการสนับสนุนยานพาหนะและนัดหมายวันเวลาที่แน่นอน    

งานทำลายที่สนามทำลาย(โดยเฉพาะที่ MANATUTO)

การทำลายที่สนามทำลายส่วนมากเป็นการทำลายกระสุนวัตถุระเบิดที่หมดอายุการใช้งานหรืออนุมัติให้จำหน่าย และส่วนน้อยที่เป็นวัตถุระเบิดที่ได้จากการเก็บกู้ซึ่งอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย มีวิธีดำเนินการดังนี้

๑.กำหนดวัน เวลา และวิธีการที่จะทำลายตามชนิด ประเภทของกระสุนวัตถุระเบิดนั้นๆ

๒.ทำเอกสาร ROAD SPACE REQUEST

๓.ทำเอกสาร AME(AERO MEDICAL EVACUATION) ถ้าจำเป็นต้องใช้

๔.ทำเอกสาร NOTAM (NOTICE TO AIRMEN AND MARINERS) ถ้าจำเป็นต้องใช้ ซึ่งเดิมต้องส่งก่อนเจ็ดวัน แต่ปัจจุบันทำเป็น PERMANENT NOTAM (เฉพาะที่ MANATUTO) ให้ส่งก่อนวันทำลายยี่สิบสี่ชั่วโมง

๕.ก่อนเข้าสนามทำลายแจ้งให้จนท.ตำรวจหรือหน่วยรับผิดชอบพื้นที่ทราบถึงการเข้าปฏิบัติภารกิจ

๖.แจ้งให้ทราบอีกครั้งเมื่อเสร็จภารกิจ

๗.เขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน(EODR)

งานทางด้าน IED

๑.กรณีมีการจัดงานและต้องออกตรวจค้นวัตถุระเบิด

-          ตรวจสอบ วัน เวลา และสถานที่ที่จัดงานให้ชัดเจน ถ้าทาง OPS. PKF ไม่ได้กำหนดเวลาตรวจมาให้กำหนดตามความเหมาะสม

-          เมื่อออกปฏิบัติงานให้ประสานการทำงานร่วมกับ UNPOL ,PNTLและ SECURITY TEAM ที่ทำงานด้านรปภ.ตลอดเวลา

          ๒.กรณีเตรียมพร้อมรับสถานการณ์หากมีการขู่วางระเบิดหรือการเดินขบวน ให้เตรียมพร้อม ณ  EOD CELLโดยตกลงวิธีการ/รูปแบบ การติดต่อประสานกับ UNPOL(UNITED NATIONS POLICE)ให้ชัดเจนและเปิดวิทยุสื่อสารเฝ้าฟังข่ายของ UNPOL ตลอดเวลาจนกว่าจะจบสถานการณ์

๓.อุปกรณ์ในการเก็บกู้ที่จำเป็นที่ควรเตรียมได้แก่

     ๓.๑ WATERJET DISRUPTER พร้อมกระสุน(ในกล่องเหล็ก)

     ๓.๒ WATER CANNON .50’     พร้อมกระสุน(ในกล่องเหล็ก)

     ๓.๓เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจุดระเบิด (ในกล่องพลาสติกขาว)

    ๓.๔ เครื่อง X-RAY พร้อมฟิล์มและเครื่องล้างฟิล์ม

    ๓.๕ HOOK and LINE

    ๓.๖ ชุด BOMB SEARCH and SEEK

    ๓.๗ วิทยุสื่อสาร

 

Back to main Page

GOOD LUCK FOR THE NEXT REPLACEMENT