สิทธิมนุษยชนของผู้ถูกคุมขัง  

                                                                กุลพล  พลวัน*

                               

                                ด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทาง

การเมือง  .. 1996  ของสหประชาชาติเมื่อวันที่  29  มกราคม  2540  และประเทศไทยในฐานะภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกติกาดังกล่าวหลายประการ  อาทิ  การจัดทำรายงานสถานะการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  รวมทั้งข้อมูลการปฏิบัติให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกติกา  ซึ่งมีทั้งหมดรวม  27  ข้อ  ทั้งด้านนิติบัญญัติ  บริหาร  และตุลาการว่าได้ปฏิบัติไปแล้วมากน้อยเพียงใด  มีปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องอย่างใดและมีมาตรการจะแก้ไขปรับปรุงพัฒนาการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกติกามากยิ่งขึ้นอย่างไรบ้าง

 

                                รายงานของรัฐภาคีรวมทั่วประเทศไทยจะถูกส่งไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่แต่งตั้งตามกติการฉบับนี้เพื่อตรวจสอบต่อไป  จากนั้นจะแจ้งให้รัฐภาคีส่งผู้แทนไปชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมการซึ่งปกติจะจัดขึ้นเป็นประจำที่นิวยอร์ค  สหรัฐอเมริกา  และเจนีวา  สวิสเซอร์แลนด์  การตรวจสอบรายงานโดยคระกรรมการฯ จะมีทั้งการตั้งคำถามเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าและการซักถามชี้แจงด้ววาจาในที่ประชุม

 

                                สำหรับสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพนั้น มีการเกี่ยวข้องตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน  ราชทัณฑ์  และการควบคุมโดยอำนาจรัฐ กรณีอื่น ๆ อาทิ  การควบคุมคนขอทาน การควบคุมผู้ที่ถูกลงโทษฐานค้าประเวณี  ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมประชาสงเคราะห์  เป็นต้น ฯลฯ ก็เป็นเรื่องที่กติการฉบับนี้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะขอให้รัฐภาคีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยละเอียดและมีการตรวจสอบรายงานอย่างจริงจัง  โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทั้งโดยลายลักษณ์อักษรและโดยการซักถามในที่ประชุม

 

 

 

*    -      อธิบดีการฝ่ายช่วยเหลือทางกฏหมาย

-          อดีตผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่เจนีวา

สวิสเซอร์แลนด์  ระหวางวันที่  12 –30  .. 2536

-          ประธานอนุกรรมการจัดทำรายงานตามพันธกรณี แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมือง

        และสิทธิทางการเมือง  .. 1966 ของสหประชาชาติตามมติคณะรัฐมนตรี

-          อาจารย์พิเศษชั้นปริญญาตรี – ปริญญาโท  ผู้บรรยายวิชาสิทธิมนุษยชน  วิชากฏหมายอาญาและวิชาการบริหารกระบวนการบุติธรรม

 

 

 

 

 

 

 

- 2 -

                                ในฐานะที่กรมราชทัณฑ์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ถูกคุมขัง  และการรายงานผลดำเนินงานของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมราชทัณฑ์จะถูกตรวจสอบ  โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

ดังกล่าว   ผู้เขียนจึงขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ  มาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องและจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานราชทัณฑ์ของเราในโอกาสต่อๆ ไป

                                 บทบัญญัติของกติกาฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์โดยตรงก็คือ  ข้อบทที่ 7  และข้อบทที่  10  (สิทธิของผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมและเคารพสักดิ์สรีความเป็นมนุษย์)   ทั้งนี้โดยผู้เขียนขอแยกเนื้อหาสาระออกเป็นเป็น  2  ส่วนคือ

1.     ความเห็น (General  Comment)  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่แต่งตั้งขึ้นตาม

กติกาฯ   ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการดังกล่าวโดยกำหนดขอบเขตความหมายของสิทธิเสรีภาพนั้นๆ 

ไว้อย่างไร   และประสงค์ให้รัฐภาคีดำเนินการอย่างไรบ้าง 

                   2.  การตรวจสอบรายงานจากรัฐภาคีที่จัดทำขึ้นตามพันธกรณีของกติกาฯ แล้วจัดส่งไป

ยังคณะกรรมการฯ เพื่อตรวจสอบและคณะกรรมการฯ  จะมีการคำถามเป็นลายลักษณ์อักษรจัดทำคำตอบ

ประกอบการซักถามด้วยวาจาระหว่างการประชุมพิจารณารายงาน

 

                                คำถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับรัฐภาคีทั่วไปจะได้ทราบแนวทางการตรวจสอบ  และการซักถามของคณะกรรมการและจะได้เตรียมการในการจัดทำรายงาน   และรวบรวมข้อมูลของประเทศของตนให้ตรงกับความประสงค์ของคณะกรรมการฯ ต่อไป

 

                                ผู้เขียนได้ดำเนินการจัดแปลเนื้อหาสาระทั้งสองประเด็นไว้ทั้งหมด  แต่จะนำมาเสนอเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ไว้ดังต่อไปนี้

                        1.  ความเห็น( General  Comment )  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในข้อบทที่ 7  และ ข้อบทที่  10  ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค..  1966

1.1   สิทธิที่จะปลอดจากการทารุณกรรม ( มติที่ประชุมสมัยที่ 44, .. 1992)

 

ข้อบทที่  7 บัญญัติว่า “บุคคลจะถูกทรมานหรือได้รับการปฎิบัติหรือการลงโทษที่

โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้ามิได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  บุคคลจะถูกใช้ในการทดลองทางการแพทย์หรือทาง

วิทยาศาสตร์  โดยปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้นมิได้”

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีความเห็นดังต่อไปนี้

                1)  วัตถุประสงค์ของข้อบทที่ 7 ก็ป้องกันทั้งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และคุ้มครองสุขภาพทางกายและทางใจที่สมบูรณ์ของประชาชน  จึงเป็นภาระหน้าที่ของรัฐภาคีจะให้การคุ้มครองแก่บุคคล  โดยทางกฎหมายหรือมาตรการอื่น ๆ อันจำเป็น เพื่อต่อต้านการกระทำใด ๆ อันขัดต่อข้อบทที่ 7  ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดที่อาศัยอำนาจหน้าที่ราชการ  หรือกระทำนอกเหนืออำนาจ

หน้าที่ราชการ  หรือในส่วนส่วนตัวของเอกชนโดยแท้

 

                                                                ข้อห้ามในข้อบทที่ 7  นี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับข้อบทที่  1  วรรค

1 ของกติกาที่มีข้อความว่า “บุคคลทั้งปวงที่ถูกลิดรอนทางเสรีภาพต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความมีมนุษยธรรมและความเคารพในศักดิ์ศรีแก่กำเนิดแห่งความเป็นมนุษย์”   

 

- 3 -

 

 

 

2)   ความในข้อบทที่ 7 ไม่ยินยอมให้มีการกล่าวอ้างเพื่อกำจัดสิทธินี้ได้แม้ในภาวะฉุกเฉินสาธารณดังนี้บัญญัติไว้ในข้อบทที่ 4 ของกติกา ฯ รัฐภาคีก็ไม่อาจทำให้สิทธินี้เสื่อมเสียไปได้  นอกจากนี้บทบัญญัติของข้อบทที่ 7 จะยังใช้บังคับอยู่ตลอดเวลาไม่ว่ารัฐภาคีจะตกอยู่ในสถานะการใด ๆ และไม่อาจกล่าวอ้างเหตุผลใด ๆ เพื่อจำกัดสิทธิข้อบทที่ 7 แม้จะอ้างเหตุผลว่าเป็นคำสั่งของผู้มีอำนาจในระดับสูง หรือผู้มีอำนาจหน้าที่ราชการก็ตาม

3) คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องกำหนดความแตกต่างอย่าง

ชัดแจ้งว่าการปฏิบัติที่ละเมิดสิทธิตามข้อบทที่ 7 นั้น  ต้องเกิดจากการลงโทษโดยเฉพาะ  หรือจากการปฏิบัติความ

แตกต่างดังกล่าวขึ้นอยู่กับลักษณะของแหล่งที่มา  วัตถุประสงค์และความรุนแรงของการปฏิบัตินั้นเองเป็นเรื่อง ๆ ไป

 

                                                                4)  ข้อห้ามของข้อบทที่ 7  ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะการกระทำที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายเท่านั้น  แต่รวมไปถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจแก่เหยื่อแห่งการกระทำ

นั้น ๆ ด้วย *

5)การห้ามมิให้มีการปฎิบัติหรือลงโทษโดยวิธีการเช่นนั้นโดยการบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าการกระทำที่ขัดต่อข้อบทที่  7  เป็นความผิดทางอาญายังไม่พอเพียงที่จะทำให้ข้อบทที่ 7  ประสบความสำเร็จ  รัฐภาคีควรแจ้งถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  มาตรการทางบริหาร  มาตรการทางตุลาการ หรือมาตรการอื่น ๆ ที่ใช้ในการป้องกันและลงโทษต่อการกระทำใด ๆ ที่เป็นการทรมาน โหดร้ายทารุณไร้มนุษยธรรม และการ

ปฏิบัติที่เลวร้ายซึ่งเกิดขึ้นในอาณาเขตรัฐของตนด้วย

 

   

*ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมีหลักฐานน่าเชื่อถือว่านาซีได้นำเชลยศึกชาวรัสเซียหรือชาวยิวไปทำการทดลอง                   ทางแพทย์หรือทางวิทยาศาสตร์โดยวิธีการโหดร้ายทารุณจนเป็นเหตุให้ผู้ที่เป็นเหยื่อต้องตายลงด้วยความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

ในกรณีของประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็ได้นำผู้ต้องขังชาวจีนไปทำการทดลองทางแพทย์ด้วยวิธีการทารุณโหดร้ายเช่นกัน (ผู้แปล)  

 

 

- 4 -

 

6)  รัฐภาคีจะต้องไม่เปิดโอกาสให้มีการนำเอาเอกชนคนหนึ่งคนใดไปรับอันตรายจากการทรมานหรือโหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรม  หรือการปฏิบัติที่เลวทรามต่ำช้า หรือถูกลงโทษด้วยวิธีการดังกล่าว ทั้งนี้โดยการส่งกลับไปยังประเทศอื่นด้วยวิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือด้วยการขับไล่ออกจากดินแดนแห่งรัฐนั้น ๆ รัฐภาคีจะต้องแจ้งรายละเอียดของมาตรการดังกล่าวที่ได้กระทำไป เพื่อป้องกันเรื่องนี้ไว้ในรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้วย

                                                                7)  รัฐภาคีควรระบุในรายงานด้วยว่า  ได้มีการเผยแพร่ข่าวสารแก่สาธรณชนเกี่ยวกับการยกเลิก  หรือห้ามการทรมานและการปฏิบัติที่ต้องห้ามโดยข้อบทที่ 7   อนึ่ง  บรรดาผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย  บุคลากรทางการแพทย์  ตำรวจ   และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการควบคุมหรือการปฎิบัติต่อกับบุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังหรือจำคุก จะต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมด้วย  รัฐภาคีจะต้องรายงานให้ทราบถึงการให้ความรู้และการฝึกอบรมที่ได้กระทำไป  และแนวทางที่ข้อห้ามของข้อบทที่  7 ได้ถูกนำไปบรรจุไว้ในระเบียบข้อบังคับในทางปฏิบัติ  และมาตรการทางจริยธรรมที่บุคลากรดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามด้วย

 

                                                                8)  เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนที่จะใช้ในการป้องกันการกระทำที่ต้องห้ามตามข้อบทที่ 7  รัฐภาคีควรให้ข่าวสารรายละเอียดเกี่ยวกับการให้การคุ้มครองพิเศษแก่บุคคลที่ถูกจำกัดสิทธิ โดยการ

จัดทำระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติให้ทราบทั่วกัน  ทั้งผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิและผู้ที่หน้าที่ควบคุมหรือปฎิบัติต่อบุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังหรือจำคุก  เพื่อจะได้เป็นวิธีการป้องกันการทรมานและการปฎิบัติอย่างเลวร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น  เพื่อเป็นการใช้หลักประกันอย่างมีประสิทธิภาพแก่ผู้ถูกคุมขังระเบียบข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นควรจัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่ถูกคุมขังได้ทราบว่าเขาจะต้องถูกคุมขังในสถานที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นที่คุมขังของทางราชการเท่านั้น  และชื่อสถานที่ที่ถูกคุมขังจะต้องลงทะเบียนไว้เพื่อสามารถตรวจสอบได้จากผู้ที่

เกี่ยวข้องรวมทั้งญาติมิตร  ข้อมูลดังกล่าวนี้จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน  ทั้งในทางตุลาการและในทางบริหาร  ควรมีการบัญญัติกฎหมายห้ามการขังเดี่ยวด้วย  รัฐภาคีควรทำให้เชื่อได้ว่าสถานที่ที่ใช้ในการคุมขังจะต้องปลอดจากการใช้เครื่องมือใด ๆ เพื่อการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้าย

 

9)  การห้ามการละเมิดสิทธิตามข้อบทที่  7  มีความสำคัญมาก  ดังนั้นกฎหมายของรัฐภาคี  จะต้องห้ามการใช้เอกสารหรือข้อรับสารภาพที่เป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรมว่า

ใช้ยันผู้ถูกกล่าวหาในศาลได้  ถ้าเอกสารหรือคำรับสารภาพนั้นได้มาจากการทรมานหรือการปฏิบัติใด ๆ ที่

ต้องห้ามตามกฎหมาย*

 

10) รัฐภาคีจะต้องแสดงในรายงานที่เสนอต่อคณะกรรมการด้วยว่า             บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาได้มีบทลงโทษการทรมานและการทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม  และต่ำช้า  การลงโทษต้องแสดงให้เห็นว่าได้มีการลงโทษต่อการกระทำตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว       หรือไม่ประการใด ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดที่กระทำการในนามของรัฐหรือแม้แต่เป็นการกระทำโดยเอกชนก็ตาม บุคคลที่ละเมิดข้อบทที่ 7 ไม่ว่าจะโดยการสนับสนุนเป็นผู้ออกคำสั่ง  จำเป็นต้องกระทำความผิด  ผู้กระทำการที่ต้องห้ามดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้น ๆ ด้วย ฉะนั้นบุคคลที่ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งที่มิชอบดังกล่าว  จะต้องไม่ถูกลงโทษหรือได้รับการปฏิบัติใด ๆ ที่ก่อให้เกิดผลร้ายแก่เขา                                         

                  - 5 -

 

 

11)  ข้อบทที่   7   จะต้องถูกอ่านต่อเนื่องกับข้อบทที่   2  วรรค   3   แห่งกติกา ฯ  ดังนั้นในรายงานของรัฐภาคีจะต้องชี้ให้เห็นว่าตามระบบกฎหมายของตน การให้หลักประกันเพื่อยุติ

การกระทำที่ขัดต่อข้อบทที่    7    รวมทั้งการแก้ไขเยียวยาความเสียหายอย่างเหมาะสมได้เป็นไปอย่างมี

ประสิทธิภาพด้วย

 

สิทธิที่จะยื่นคำร้องเรียนต่อการปฎิบัติที่เลวร้ายซึ่งต้องห้ามตามข้อบทที่  7

จะต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายภายในของรัฐภาคีด้วย

 

นอกจากนี้  ควรจัดให้มีระบบการตรวจสอบสภาพของห้องขังในสถานีตำรวจหรือสภาพเรือนจำ  โดยคณะกรรมการร่วมกันทั้งจากฝ่ายบริหาร  ฝ่ายตุลาการ  และฝ่ายนิติบัญญัติร่วมกับองค์กรภาคเอกชนด้วย  เพื่อหลักประกันว่าการปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขังจะเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การ

สหประชาชาติและสอดคล้องกับข้อบทที่  7  แห่งกติกาฯ  ฉบับนี้

 

คำร้องเรียนนี้จะต้องได้รับการไต่สวนโดยพลันและอย่างเป็นกลาง  โดยหน่วยงานที่มีอำนาจ หน้าที่ ทั้งนี้เพื่อจักได้มีการแก้ไขเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

                                                               รายงานของรัฐภาคีจึงต้องให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขเยียวยาที่เป็นประโยชน์ต่อเหยื่อแห่งการกระทำที่ไม่ชอบดังกล่าวและกระบวนการต่าง ๆ   ที่ผู้ร้องเรียนจะต้องมีการติดตามผล รวมทั้งต้องแสดงสถิติของการร้องเรียนและสถิติที่ว่าคำร้องเรียนดังกล่าวได้มีการพิจารณาได้ผลประการใด *

                                                                                                                                                                               

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                *  ตรงกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา  226 ของประเทศไทยซึ่งบัญญัติว่า  “ พยานวัตถุ พยานเอกสาร”  หรือพยานบุคคล  ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้   แต่ต้องเป็นพยานที่มิได้เกิดการจูงใจ  มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ  หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น…..

 ( ผู้แปล )

 

 

               - 6 -

 

 

                                                                12) รัฐภาคีจำนวนหนึ่งได้ยินยอมให้องค์กรนิรโทษกรรมสากลตรวจสอบการกระทำที่เป็นการทารุณโหดร้ายได้ด้วย

 

                                                1.2 สิทธิของผู้ถูกบลิดรอนเสรีภาพที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์    ( มติที่ประชุมสมัยที่  44,  ..  1992)

 

                                                ข้อบทที่   10  บัญญัติว่า

                                                “ 1.  บุคคลทั้งปวงที่ถูกลิดรอนเสรีภาพที่จะได้รับการปฏิบัติด้วยความมีมนุษยธรรมและความเคารพในศักดิ์ศรีแต่กำเนิดแห่งความเป็นมนุษย์

                                                 2. (เอ)  ยกเว้นในสถานการณ์พิเศษ  ผู้ต้องขังได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษและต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้องโทษ

                                                     (บี)  ต้องแยกผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่

และให้นำตัวขึ้นพิจารณาพิพากษาคดีให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

 

*   มีข้อสังเกตว่า  ผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมตัวในสถานีตำรวจระหว่างการสอบสวนของประเทศไทย  ไม่มี

กฏหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องเรียนต่อการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้
ส่วนผู้ต้องขังในเรือนจำระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาคดีของศาล  รวมทั้งนักโทษเด็ดขาดที่

ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีสิทธิยื่นคำร้องเรียนได้ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์  2479

และระเบียบข้อบังคับของกรมราชทัณฑ์

 

     นอกจากนี้  ในประเทศไทยยังไม่มีการจัดตั้งคณะผู้ตรวจการห้องขังผู้ต้องหาบนสถานีตำรวจ  ซึ่งควร

ประกอบด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันตรวจตราเป็นระยะ       เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีการ

ปฏิบัติต่อผู้ต้องหาอย่างโหดร้ายหรือผิดมนุษยธรรม    เพื่อให้รับสารภาพรวมทั้งสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของ

ผู้ต้องหาว่าได้เป็นไปอย่างเหมาะสมต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ประการใด เพียงแต่มาตรา  7  ทวิแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความอาญาบัญญัติให้พบและปรึกษาทนายสองต่อสอง 

และมีสิทธิได้รับการเยี่ยมตามสมควรเท่านั้น

 

     สำหรับเรือนจำได้เคยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเรือนจำ   แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้กระทำกันจริงจัง

 

     ดังนั้นแม้ว่าประเทศไทยอาจจะเข้าไปเป็นภาคีหรือไม่เข้าไปเป็นภาคีกติกา ฯ ฉบับนี้ก็ตาม  การจัดให้ผู้ต้องหา

ผู้ต้องขังหรือนักโทษเด็ดขาดมีสิทธิร้องเรียนต่อการปฎิบัติที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้   นับว่าเป็น

การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องคุมขังมากยิ่งขึ้น  (ผู้แปล)

 

 

 

- 7 -

 

 

 

2.        ระบบราชทัณฑ์ต้องประกอบด้วยการปฏิบัติต่อนักโทษ  โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะ

ให้นักโทษกลับตัวและฟื้นฟูทางสังคม  ผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนต้องได้รับการจำแนกออกจากผู้กระทำผิด

ที่เป็นผู้ใหญ่  และต้องได้รับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัยและสถานะทางกฎหมาย

 

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีความเห็นดังต่อไปนี้

 

1)       ข้อบทที่ 10 วรรค 1  ใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ถูกจำกัดเสรีภาพ

ภายใต้กฎหมายและโดยอำนาจรัฐโดยถูกคุมตัวไว้ในเรือนจำ  โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลโรคจิตหรือ สถานคุมขังใด ๆ หรือทัณฑสถานอื่น ๆ   รัฐภาคีจะต้องทำให้เชื่อได้ว่า  หลักการคุ้มครองตามข้อบทที่  10  ได้มีการปฏิบัติตามด้วยแล้วในหน่วยงานทุกแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่บุคคลที่ถูกคุมขังตัวอยู่

                                                                2)   ข้อบทที่ 10 วรรค  1  กำหนดภาระหน้าที่แก่ภาครัฐภาคีจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่ถูกควบคุมในลักษณะที่ดี  เพราะว่าเขาเหล่านั้นมีฐานะเป็นบุคคลที่ถูกจำกัดเสรีภาพ  และจะต้องห้าม

การกระทำต่าง    ที่เป็นการทรมานหรือการลงโทษโหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้า  ดังที่ระบุไว้ในข้อบทที่  7  แห่งกติกาฯ  นี้

                                                                ดังนั้น  บุคคลทีถูกจำกัดเสรีภาพไม่เพียงแต่จะไดีรับการคุ้มครองจากการปฏิบัติที่ขัดต่อข้อบทที่  7  รวมทั้งได้รับการคุ้มครองจากการถูกนำไปทดลองทางการแพทย์หรือทางวิทยาศาสตร์

เท่านั้น  แต่เขายังต้องไดัรับการคุ้มครองไม่ให้ต้องรับความทุกข์ยากมากไปกว่าที่เขาจะต้องได้รับในฐานะที่เป็นผู้ถูกจำกัดเสรีภาพตามกฏหมาย  การให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลดังกล่าวจะต้องได้รับการ

คุ้มครองภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับที่บุคคลทั่วไปพึงมี  บุคคลที่ถูกจำกัดเสรีภาพย่อมมีสิทธิและใช้สิทธิทั้งหลาย

ที่ได้รับการคุ้มครองไว้ในกติกาฉบับนี้เหมือนบุคคลอื่น ๆ

 

                                                                3)   การปฏิบัติต่อบุคคลที่ถูกจำกัดเสรีภาพอย่างมีมนุษยธรรมและโดยการให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา  เป็นหลักกรพื้นฐานและเป็นหลักการสากลที่ถือปฏิบัติกัน  การปฏิบัติตามหลักการนี้ไม่สามารถอ้างว่าต้องขึ้นอยู่กับเหตุผลปัจจัยต่าง ๆ  ภายในของรัฐภาคีแต่ละรัฐ  หลักการนี้จะต้องถูกนำไปใช้ปฏิบัติโดยปราศจากความแตกต่างในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา

ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่น ๆ สัญชาติ หรือพื้นฐานที่มาของสังคม ชาติกำเนิดหรือสถานะอื่น ๆ

 

                                                                4)   รัฐภาคีจะต้องแสดงในรายงานด้วยว่าตนได้นำมาตรฐานของ

สหประชาชขาติในเรื่องหลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษต่อไปนี้ถือปฏิบัติหรือไม่อย่างไร

                                                                                1.  The  standard  minimum  Rules  for  the  treatments  of  all Prisoners  (  1957  )

 

 

 

-  8  -

 

 

                                                                                2. The  Boys  of  Principles for the Protection of all Persons   under  Any    Form  or Detention  or  imprisonment    (1988) 

                                                                                3. The    code  of  Conduct  for  Law  Enforcement   officials(1978)                                                        

4. The  prlnclples  of   Medlcal  Ethlca  relevant   to  the  Role   of  Health  Personal.    particularly   physicians.   in  the  Protection  of  Prisoners   and  Detainees  against  Torture   and   other Cruel,  lnhuman    or  Degrading  Treatment   or  Punisment  (1982)

 

                                                                5)   คณะกรรมการประสงค์ให้รายงานที่ส่งมาจากรัฐภาคีทั้งหลาย  ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกฏหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติและกฏระเบียบข้อบังคับที่ท่างบริหารได้จัดทำขึ้นภายในประเทศตนว่าได้  สนับสนุนการส่งเสริมการส่งเสริมสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในข้อ  10  วรรค   1 แห่งกติการนี้ไว้เพียงใด

                                                                คณะกรรมการประสงค์ให้รายงานระบุอย่างชัดแจ้งว่าไดีมีการจัดทำมาตราการต่าง    โดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจตราว่า  ได้มีการนำหลักการที่ม่งคุ้มครองการปฏิบัติต่อบุคคลผู้ถูกจำกัดเสรีภาพไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรหรือไม่  รายงานของรัฐภาคีควรกล่าวรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งระบบต่าง    ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบในเรื่องนี้  มาตราการจำเพาะที่จะป้องกันการถูกทรมาน  หรือการปฏิบัติที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้า  และระบบตรวจสอบที่ว่านี้มีความเป็นกลางและอิสสระภาพเพียงใด

                                                                6)   นอกจากนั้น  คณะกรรมการเรียกร้องด้วยว่าในรายงานควรชี้ให้เห็นว่า   ในทางปฏิบัติบทบัญญัติต่าง     ที่ว่านี้ถูกนำไปใช้เป็นไปมีส่วนสำคัญของการฝึกอบรมซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการ

ดูแลควบคุมผู้ที่ถูกจำกัดเสรีภาพหรือไม่ด้วยและบทบัญญัติต่าง    ที่ว่านี้ได้มีผลผูกพันโดยเคร่งครัดต่อบรรดาบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยกันหรือไม่

 

                                                                อนึ่ง  รายงานควรชี้แจงอย่างเหมาะสมด้วยว่า บุคคลที่ถูกจับหรือถูกคุมขังได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้นและมีกระบวนการทางกฏหมายที่มีประสิทธิภาพในอันที่ช่วยทำให้บุคคลดังกล่าวมีความเชื่อมั่นว่า  บรรดากฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนี้  และจะได้รับค่าสินไหมทดแทนอย่างเหมาะสมในกรณีที่มีการละเมิดกฏหมายและระเบียบข้อบังคับเช่นว่านี้ซึ่งก่อความเสียหายแก่ตน              

 

                                                                7)   คณะกรรมการเรียกร้องว่าหลักการในข้อบทที่  10  วรรค   1  นี้ได้ก่อให้เกิดพื้นฐานของภาระหน้าที่สำหรับรัฐภาคีอย่างชัดแจ้งที่จะต้องให้ความเคารพต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อบทที่   10  วรรค  2  และวรรค  3 

 

 

 

 

-  9  -

 

 

                                                                8)   ข้อบทที่  10  วรรค  2  ()   ได้กำหนดให้มีการจำแนกผู้ต้องหาออกจากผู้ต้องโทษ  นอกจากจะเข้ากรณีข้อยกเว้นในบางสถานการณ์  การจำแนกดังกล่าวต้องการให้มีขึ้นดังนี้ เพื่อย้ำให้เห็นสถานะของบุคคลที่ยังมิได้ต้องโทษซึ่งมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามที่บัญญติไว้ในข้อบทที่  14  วรรค  2  รายงานของรัฐภาคีจึงควรชี้ให้เห็นชัดว่าได้มีการแบ่งแยกผู้ต้องหาออกจากผู้ต้องโทษไว้อย่างไร และอธิบายด้วยว่าการปฏิบัติต่อบุคคลทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร

 

                                                                9)ข้อบทที่  10  วรรค3   ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับบุคคลที่ต้องโทษคณะกรรมการจึงประสงค์จะได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติ เพื่อฟื้นฟูความประพฤติไม่ควรกระทำเพียงเพื่อเป็นการแก้แค้นหรือทดแทนการกระทำผิด  แต่ควรกระทำเพื่อให้นักโทษมีการกลับเนื้อกลับตัว  และการฝึกอบรม เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้  รัฐภาคีไดัรับการร้องขอให้ระบุในรายงานด้วยว่าในรัฐของตนได้มีระบบที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ผู้ต้องโทษภายหลังการปล่อยได้อย่างไรหรือไม่  และขอให้แจ้งด้วยว่าได้ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด

 

                                                               10)ในทางปฏิบัติปรากฏอยู่เสมอว่าข้อมูลซึ่งจัดเตรียมเสนอโดยรัฐภาคีต่อคณะกรรมการ   มิได้ระบุถึงรายละเอียดที่อ้างอิงได้ทั้งในเรื่องกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ  และกฎระเบียบ

ข้อบังคับของฝ่ายบริหาร  หรือมาตรการในทางปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการให้การศึกษาอบรมแก่ผู้ต้องโทษอีกครั้งหนึ่งระหว่างต้องโทษ  คณะกรรมการประสงค์จะได้ข้อมูลที่ระบุเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่ได้จัดทำขึ้น  เพื่อให้มีการสอนหนังสือ  ให้การศึกษา  และการศึกษาต่อเนื่องที่เป็นการศึกษาสามัญ  การฝึกอบรมด้านวิชาชีพ  และการจัด

ตารางการทำงานสำหรับนักโทษระหว่างการฟื้นฟูความประพฤติได้กำหนดขึ้นเป็นกิจลักษณะเช่นเดียวกับการทำงานภายนอกเรือนจำ

 

                                                               11)เพื่อที่จะวินิจฉัยได้ว่าหลักการในข้อบทที่   10  วรรค   3   ได้มีการเคารพกันอย่างจริงจังหรือไม่เพียงใด  คณะกรรมการจึงเรียกร้องให้มีการให้ข้อมูลระบุถึงมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ถูกนำมาใช้

ในระหว่างการจำคุก  อาทิ  ได้จัดให้นักโทษแต่ละคนทำงานอย่างไร  ได้มีการแบ่งประเภทนักโทษไว้อย่างไรและ

กฎระเบียบที่ใช้กับนักโทษในการขังเดี่ยว  การควบคุมไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูง  และเงื่อนไขต่าง ๆ

ที่สามารถทำให้แน่ใจว่านักโทษสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้  ( อาทิ  ครอบครัว,ทนายความ,การให้บริการ

ทางสังคมและทางด้านการแพทย์,องค์กรพัฒนาเอกชน……..(แปล)

 

                                                               12)นอกจากนั้น  คณะกรรมการมีข้อสังเกตว่า  ในรายงานของรัฐภาคีจำนวนหนึ่งไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฎิบัติต่อเยาวชนที่กระทำผิดตามข้อบทที่  10  วรรค  2 () ซึ่งกำหนดว่า  เยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำผิดจะต้องแยกตัวออกจากผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่  ข้อมูลดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐภาคีจำนวน

 

 

 

 

 

 

-  10  -

 

 

หนึ่งไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรเลยว่าข้อบทที่  10   วรรค   2 ()  นี้คือบทบัญญัติที่เป็นบทบังคับของกติการ

ฉบับนี้   บทบัญญัติของข้อบทที่  10   วรรค  2  ()  ยังกำหนดด้วยว่า  คดีที่เกี่ยวกับเยาวชนนั้นจะต้องได้รับการพิจารณาโดยเร็วที่สุดท่าที่จะสามารถกระทำได้  รายงานของรัฐภาคีจึงควรระบุมาตรการต่าง ๆ ที่ได้กระทำไปโดยรัฐภาคี  เพื่อให้บทบัญญัติดังกล่าวนี้มีผลใช้บังคับในทางปฏิบัติท้ายสุด  ภายใต้ข้อบทที่  10  วรรค  3   เยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำผิดจะต้องถูกแยกตัวจากผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่   และได้รับการปฎิบัติอย่างเหมาะสมกับอายุ

และสถานะทางกฏหมายตามสภาพของการเป็นผู้ถูกควบคุมตัว  ดังเช่น   การกระทำในระยะเวลาสั้น ๆ  และการติดต่อกับญาติพี่น้องโดยมีเป้าหมายเพื่อระยะไกลให้สามารถกลับเนื้อกลับตัวเป็นพลเมืองดี    และการฟื้นฟูความประพฤติข้อบทที่  10  ไม่ได้จำกัดอายุของเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำผิดไว้โดยชัดแจ้ง    แต่ปล่อยให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐภาคีแต่ละรัฐว่าควรกำหนดให้สอดคล้องกับสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรมและสภาอื่น    ในประเทศตน    คณะกรรมการมีความเห็นว่าข้อบทที่    6   วรรค   5   ได้แนะนำว่าบุคคลทุกคนที่อายุต่ำกว่า  18  ปี จะต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับเยาวชน  อย่างน้อยที่สุดในกรณีที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา  รัฐภาคีควรให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเรื่องอายุของผู้ที่จะได้รับการปฎิบัติในฐานะเป็นเยาวชนด้วย   เพื่อให้ความสำคัญแก่เรื่องนี้รัฐภาคีได้รับ

การร้องขอให้ชี้แจ้งด้วยว่า  รัฐภาคีได้นำ  “ The  United  Nations  Standard  Minimums  Rules  for  the

Administration  of  Juvenile  Justice “ ( รู้จักกันในชื่อว่า  “  Beijins  Rules.  1987 …  ผู้แปล )   มาใช้

บังคับด้วยหรือไม่ประการใด

 

2.                     ตัวอย่างคำถามของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในการพิจารณารายงานประจำปี

                                ในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการนั้น   คณะกรรมการอาจตั้งปัญหาเป็น

ลายลักษณ์อักษรให้ผู้แทนของประเทศที่เข้าเสนอและชี้แจงรายงานทราบล่วงหน้า  เพื่อเตรียมตัวรายงาน

ข้อมูลไว้อย่างครบถ้วนอันจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาทั้งสองฝ่าย  ตัวอย่างที่คณะกรรมการได้ทำเป็น

ลายลักษณ์อักษรรวมทั้งจะมีการซักถามด้วยวาจาเพิ่มเติมในที่ประชุมตามที่เห็นสมควรด้วย  สำหรับ

ประเทศที่เสนอรายงานในครั้งนี้  ซึ่งผู้เขียนได้จัดแปลข้อความคำถามของคณะกรรมการที่ถามเป็น

ลายลักษณ์อักษรเป็นภาษาไทยมีดังต่อไปนี้

2.1     ประเด็นคำถามในการพิจารณารายงาน  ของบุลกาเลีย  (รายงานครั้งที  2 )

 

2.1.1            โครงร่างของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่นำมาใช้เพื่อบรรลุ

ผลตามบทบัญญัติแห่งกติกา : การไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ  และความเสมอภาคทางเพศ  และสิทธิของชนกลุ่มน้อย

 ( ข้อ  2, 26  และ  27 )

                                                                   ()  โปรดให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัจจัยและปัญหาอุปสรรค

ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการปฎิบัติตามกติกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับ “  การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนราก

ถอนโคลน  “ ( radical  changes ) ที่เกิดขึ้นในบุกาเลียในช่วง  6  -  7  ปีที่ผ่านมา  (ดูวรรค  3 ของรายงาน)

 

 

 

-  11  -

 

(‏ב)    โปรดชี้แจงเกี่ยวกับกฎหมายและการกระทำใด ๆ ที่

ยังไม่สามารถทำตามกติกาได้ทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวกับสถานภาพของคนต่างด้าว  ( ดูวรรค   28   ของราย

งาน )

(‏ג)     โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่ปัจเจกบุคคลได้

อุทธรณ์  ( ร้องทุกข์ )  ต่อศาลโดยตรงเกี่ยวกับบทบัญญัติในกติกา  และโปรดให้ความเห็นต่อผลของคำ

พิพากษาของคดีนั้น ๆ ด้วย  และโปรดอธิบายถึงวิธีการแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญต่อข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น

ระหว่างบทบัญญัติในกติกากับกฎหมายภายใน

() สมัชชาแห่งชาติมีความก้าวหน้าอะไรบ้างในส่วนที่

เกี่ยวกับการยอมรับกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนภายใต้แผน  3  ปีที่อ้างถึงรัฐธรรมนูญ     โดย

เฉพาะอย่างยิ่งคำถามที่ว่าประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ได้รับการยอมรับเพียงใด

                                                  

     () มีการกำหนดมาตรการอะไรบ้างเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่

ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ตามกติกาตามสนธิสัญญาฉบับแรก   หลังจากที่มีการพิจารณารายงาน ครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนของชนกลุ่มน้อยที่มีภาษาเฉพาะของตน  และมีการเผยแพร่แก่สาธารณชนเกี่ยวกับการตรวจรายงานที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนหรือไม่

 

                                                                                     ()  โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับจริยธรรม   ภาษา   และศาสนา

ของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในบุลกาเลียและความช่วยเหลือทีรัฐมีให้แก่คนเหล่านั้นในการอนุรักษ์วัฒนธรรม  ภาษาและศาสนาของคนเหล่านั้น

(‏ז)      โปรดชี้แจงกรณีที่สมาชิกจำนวนหนึ่งของชุมชนกลุ่มน้อย

ชาวตุรกีที่ถูกขับไล่ออกจากบุลกาเลียเมื่อหลังปี 1984 ว่าจะมีทางเป็นไปได้ไหมที่จะให้เหล่านั้นกลับมายังบุลกาเลีย  และได้รับค่าชดเชย    

 

2.1.2            สิทธิในชีวิตการปฎิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อใช้แรงงานอื่น ๆ และเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล  ( ข้อ  6 – 10 )

 

                                                            ()    ผลงานในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นอย่างไร  ( ดูวรรค   57   ของรายงาน )

(‏ב)       ได้มีการวางกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้อาวุธของตำรวจ

และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งหลายไว้อย่างไร ?  มีการละเมิดต่อกฎระเบียบเหล่านั้นหรือไม่ หากมี 

รัฐมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นอีก  อะไรบ้าง

(‏ג)         มีมาตรการในการใช้หลักประกันที่มั่งคงแก่เจ้าหน้าที่ที่

ปฏิบัติตามกฎหมาย  ตามข้อ  7  ของกติกาอะไรบ้าง   ในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลได้มีการให้หลักประกัน

แก่ผู้ที่รับสารภาพหรือให้การในฐานะพยาน  หรือไม่ ?

 

 

 

-  12  -

 

 

()     โปรดอธิบายเรื่องการว่างระเบียบเกี่ยวกับการคุมขัง

ในวรรคที่   75  และ  85  ของรายงานว่าได้เป็นไปตามข้อ  9  วรรค  3, 4  ของกติกา

                                                                       ()    โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเพื่อการสอดส่อง

ตรวจตราสถานที่ที่มีการคุมขังและวิธีการ  ขั้นตอนในการรับและไต่สวนคำร้องเรียน

                                                                       ()    มีการนำมาตรฐานขั้นต่ำเรื่องการปฎิบัติต่อผู้ต้องขัง

ของสหประชาชาติมาใช้หรือไม่ ?       ทำอย่างไรจึงจะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับทราบเกณฑ์

มาตรฐานเหล่านั้น   ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ  เจ้าหน้าที่ติดอาวุธ   ผู้คุม  และบุคคลอื่นทั้งหมดที่รับผิดชอบการ

สอบสวน

                                                                       ()    โปรดให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฎิบัติตาม

กฎหมายว่าด้วย  ความรับผิดชอบของรัฐต่อความเสียหายที่ก่อให้เกิดขึ้นกับประชาชน  ( Liability   of  State

for  Citizens  Act )

2.1.3          สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาพิพากษาอย่างยุติธรรม

(‏א)    โปรดอธิบายความหมายคำว่า  “ อำนาจตุลาการ”

(the  judiciary  power) ในวรรค  19  ของรายงาน

(‏ב)    มีหลักประกันความเป็นอิสระและความเป็นกลาง

ของศาลอย่างไรบ้าง ?  โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง  การพ้นจากตำแหน่ง

และวินัยของผู้พิพากษา

(‏ג)      โปรดชี้แจงว่ามีการจัดตั้งศาลปกครองสูงสุด  (the  

Supreme  Administrative  Court )  เพื่อตอบสนองข้อ  125  ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ระบุให้จัดตั้งหรือไม่

หากใช่  โปรดอธิบายถึง  อำนาจ  หน้าที่  และโครงสร้างของศาลดังกล่าว

2.1.4            สิทธิในการเคลื่อนไหวและการขับไล่คนต่างด้าว, สิทธิในชีวิตส่วนตัว

เสรีภาพในการนับถือศาสนาและการแสดงออก  และสิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม, ทางการเมือง ( ข้อ 12, 13, 17, 18, 19, 21, 24  และ  25 )

(‏א)    โปรดให้ข้อมูลในรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผลที่นำมาใช้อ้าง

ในการสั่งระงับการออกหนังสือเดินทางและชี้แจงว่ามีการนำแนวคิดในเรื่อง “ความมั่งคงของสาธารณรัฐบูลกาเรีย”  มาตีความในเรื่องนี้อย่างไร

                                                                                ()   โปรดชี้แจงข้อจำกัด    เกี่ยวกับเสรีภาพในการ

เคลื่อนไหวของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเขตแถบของบูลกาเรีย

                                                                       ()  โปรดให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายและ

ทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยินยอมให้มีการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวได้  โปรดอธิบายมาตรการที่นำมาใช้

เพื่อทำให้สอดคล้องกันระหว่างประมวลกฎหมายอาญากับรัฐธรรมนูญฯ

 

 

 

-  13  -

 

 

                                                                       ()  โปรดให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำทะเบียน

หรือวิธีการอย่างอื่นที่เกี่ยวกับการรับรองการตั้งชื่อทางศาสนาที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                                                                                ()   มีกฎหมายใดที่จำกัดการทำงานของหนังสือพิมพ์และ

สื่อมวลชนอื่น ๆ หรือไม่

                                                                                () เจ้าหน้าที่ฝ่ายใดที่มีอำนาจห้ามการจัดตั้งองค์กรหรือพรรค

การเมืองที่จัดตั้ง  โดยอ้างว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติของกฏหมาย

                                                                                ()   โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายและการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(‏כ)      มีประชาชนกลุ่มใดหรือไม่ที่ถูกห้ามเข้ารับราชการ

 

2.2   ประเด็นคำถามในการพิจารณารายงานของประเทศอิหร่าน

2.2.1          กรอบของรัฐธรรมนูญและกฏหมายที่เป็นไปตามกติกา  :

ลักษณะของสถานการณืฉุกเฉิน  การไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ  และความเสมอภาคทางเพศ    (ข้อ  2,

3, 4  และ  26)    

(‏א)    โปรดอธิบายถึงสถานะของกติกาในระบบกฏหมายของ

อิหร่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่า ปัจเจกบุคคลสามารถนำบทบัญญัติในกติกามาอ้างต่อศาลได้โดยตรงหรือไม่

                                                                                ()  จะมีวิธีแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างบทบัญญัติของกติกาและกฎหมายอิสลามอย่างไร ?  มีการตรวจสอบว่ามีบทบัญญัติใดของกติกาที่สอดคล้องกับกฎหมาย

อิสลามบ้างหรือเปล่า ? 

                                                            ()  สภาผู้พิทักษ์  ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมาตรา  91  แห่งรัฐธรรมนูญอิหร่านได้มีโอกาสเผยแพร่คำวินิจฉัยที่มาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายอิสลามหรือไม่  และคำวินิจฉัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

                                                                       () โปรดให้ความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องต้องกันระหว่างบัญญัติในกติกาข้อ  2  (1)  และ  26  กับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ  มาตรา  3  และ  20  ที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคกันของบุคคลภายใต้กฎหมาย

                                                                                ()  โปรดให้ข้อมูลเพิ่มเติม  พร้อมกับตัวเลขสถิติที่เกี่ยวข้องในเรื่องการมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมือง  และในทางเศษฐกิจของประเทศ

                                                                                ()  โปรดชี้แจงถึงการบังคับใช้กฎหมายในทางปฎิบัติเรื่องที่เกี่ยวกับระบบสินเดิมซึ่งมีความสอดคล้องกับบัญญัติกติกาข้อ  2, 3  และ  26

                                                                                ()  โปรดให้ความเห็นถึงผลกระทบของข้อ   2  วรรค  1 แห่งกติกาด้วยความเคารพต่อประชาชนแห่งอิหร่านทั้งมวลรัฐธรรมนูญ

 

 

 

 

-          14  -

 

 

                                                                                ()  นอกเหนือสิทธิทางการเมืองแล้ว  มีการเข้มงวดกับการให้สิทธิประการอื่นของคนต่างด้าวอีกหรือไม่  เมื่อเปรียบเทียบกับการให้สิทธิแก่ประชาชนทั่วไป

                                                                                ()  โปรดใช้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและการปฎิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ

                                                                2.2.2  สิทธิในการมีชีวิต, การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังอื่น ๆ และเสรีภาพ และความปลอดภัยของบุคคล  (ข้อ  6, 7, 9  และ  10 )

 

                                                            () มีการนำโทษประหารชีวิตมาใช้บ่อยครั้งเพียงใดและกับคดีอะไรบ้าง หลังจากที่มีการพิจารณารายงานฉบับแรก

                                                                                ()       โปรดรวมความผิดต่างๆ ที่มีโทษประหารชีวิตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในวรรคที่  59  ของรายงาน

                                                                                ()  โปรดให้ความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องกันระหว่างกฏหมายอิสลามกับบทบัญญัติแห่งกติกาฯ  ข้อ  6 วรรค  2  ที่ระบุว่าควรมีการนำโทษประหารชีวิตมาใช้เฉพาะกับคดีที่

ร้ายแรงที่สุดเท่านั้น

                                                                                หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายมีการพิจารณาที่จะจำกัดประเภทความผิดที่มีการใช้โทษประหารชีวิตกันอยู่เสมอบ้างหรือไม่?

                                                                                () โปรดให้ความเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายลงโทษตามศาสนาอิสลาม  ( the  lslamic  Punishment   Law)  มาตรา  18, 205,219  และ  257  ซึ่งกล่าวถึงในข้อ  59  แห่งรายงาน

                                                                                ()   มีการลงโทษประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณชนในอิหร่านบ้างหรือไม่ หากมี  มีกระบวนการพิจารณาคดีใดบ้างที่สอดคล้องกับกติกาข้อ 6, 7

                                                                                ()   มีการร้องเรียนให้มีการตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ว่ามีการหายสาบสูญ  และการประหารชีวิตที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายบ้างหรือไม่ ถ้ามี มีการสอบสวนในข้อกล่าวหานั้นหรือไม่  และมีผลอย่างไร? มีมาตราการใดบ้างที่นำมาใช้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองนั้นอีก

                                                                                ()   มีกฎหมายอะไรบ้างที่ใช้ควบคุมการใช้อาวุธของตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย? มีการละเมิดบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ หากมี มีมาตราการใดบ้างที่ใช้ป้องกัน?

                                                                                ()   มีมาตราการอะไรบ้างที่จะให้ความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติตามกฏหมายตามกติกา  ข้อ  7  และมีการนำวิธีการทรมานมาใช้เพื่อให้มีการับสารภาพหรือในการให้การเป็นพยานในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลหรือไม่

                                                                                ()   โปรดให้ข้อมูลเรื่องการจัดการ เรื่องการสอดส่องดูแลสถานที่กักขัง  และกระบวนการรับและไต่สวนเรื่องราวร้องทุกข์

 

 

                                                                               

-  15  -

 

 

                                                                               ()   โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาสูงสุดสำหรับการคุมขัง   และการกักขังก่อนขึ้นศาล

                                                                                ()   หลังจากที่มีการจับกุม  ผู้ถูกจับกุมจะสามารถติดต่อกับครอบครัว  และทนายความได้เร็วที่สุดเพียงใด

                                                                                ()   โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการหน่วงเหนี่ยวกักขังที่ไม่สามรถติดต่อกับใครได้  และชี้แจงความสอดคล้องกับกติกา  ข้อ  7, 10

 

                                                                2.2.3  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม  ( ข้อ  14 )

 

                                                            ()  โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติเรื่องการดำรงตำแหน่ง 

การพ้นจากตำแหน่งและวินัยของผู้พิพากษา  ศาลมีหลักประกันในความเป็นอิสระและความเป็นกลางเพียงใด ?

                                                                                () โปรดให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลและกิจกรรมต่าง ๆ ของ  The  National  General  Inspectorate ,The  Administratrative  Justice  Tribunal  และ  Revolutionary  Courts  รวมถึงสถานะทางกฎหมายของผู้พิทักษ์การปฏิวัติ  และอัยการของคณะปฏิวัติ  และอธิบายถึงความสัมพันธ์กับศาลต่าง ๆ ในยามปกติ

                                                                                ()  โปรดอธิบายข้อความในรายงาน  วรรค  65  ที่  กล่าวถึง  การฟ้องคดีพิจารณาคดีการพิพากษาคดี  และการบังคับใช้ในการตัดสินที่มีลักษณะเป็นการแก้แค้น  ซึ่งขึ้นอยู่กับ

คำร้องขอขอญาติพี่น้องที่ใกล้ชิด

                                                                                () โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กร  และอำนาจหน้าที่ของเนติบัณฑิตยสภาในอิหร่าน

2.2.4 เสรีภาพในการเคลื่อนไหวและการเนรเทศคนต่างด้าว (ข้อ  12 ,13 )

 

                                                            ()  โปรดอธิบายกรณีที่ปัจเจกบุคคลอาจถูกเนรเทศจากที่อยู่

ของเขาถูกห้ามไม่ให้อยู่ในสถานที่ที่เขาเลือก  หรือถูกบังคับให้อยู่ในท้องที่ที่กำหนดให้  และโปรดให้ความเห็น

เกี่ยวกับความสอดคล้องกันของบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวกับกติกา  ข้อ  12

                                                                                ()  โปรดให้รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จะเดินทาง

ออกนอกประเทศได้ตามความสมัครใจตามกฎหมายของอิหร่าน

(‏ד)     โปรดอธิบายเงื่อนไข  และขั้นตอนที่เกี่ยวกับการออกวีซ่าให้

กับชาวต่างประเทศที่ต้องการพักอาศัยเกิน  90  วัน

 

 

 

 

 

 

-  16  -

 

 

2.2.5 เสรีภาพในการนับถือศาสนาและการแสดงออก  (ข้อ 18 และ 19 )

 

                                                            ()  สิทธิของผู้ที่ไม่นับถือศาสนา  หรือผู้ที่นับถือศาสนาอื่นภายใต้ข้อ  18  ของกติกานั้นจะได้รับผลกระทบจากมาตรา  2 วรรค  1  แห่งรัฐธรรมนูญของอิหร่านหรือไม่

                                                            ()  สถานภาพของชนกลุ่มน้อย ทางศาสนาที่ไม่ได้ระบุในมาตรา 12  และ  13  ของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร  รวมถึงชนกลุ่มบาฮาด้วย

                                                                                ()  โปรดอธิบายความหมายของข้อความที่ว่า  “ การสมคบ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต่อต้านชาวอิสลามและสาธารณรัฐอิหร่าน “ ในมาตรา  14  แห่งรัฐธรรมนูญอิหร่าน

                                                                                ()  โปรดอธิบายข้อความในมาตรา  24  ของรัฐธรรมนูญอิหร่าน  “หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพที่จะนำเสนอข้อเขียนที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลักการของศาสนาอิสลาม”

 มีหนังสือพิมพ์กี่ฉบับในอิหร่าน  และส่งตีพิมพ์ภาษาต่างประเทศสามารถเผยแพร่ได้หรือไม่ ?

 

                                                                2.2.6  เสรีภาพในชุมนุม  การสมาคม  และสิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง  (ข้อ 21, 22 และ  25 )

(‏א)    โปรดให้ข้อมูลกับจำนวนสหภาพและพรรคการเมืองต่างๆ

ที่มีอยู่ในอิหร่านและวิธีการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว

(‏ב)    โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางปฏิบัติเพื่อใช้ในการจำกัด

เสรีภาพในชุมนุม  และการสมาคมตามที่ระบุในมาตรา  6 , 16  ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทาง

การเมือง  ทางสังคม  การจัดตั้งสมาคมทางการเมืองและทางวิชาชีพ

 

2.2.6 สิทธิของบุคคลทีเป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ( ข้อ  27 )

 

                                                            ()  บุคคลที่เป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ตามที่ระบุในข้อ  27  กติกามีสิทธิเป็นตัวแทนในสภาที่ปรึกษาแห่งอิสลามหรือไม่

                                                                                ()  มีการดำเนินการเพื่อให้หลักประกันในสิทธิของบุคคลที่มีเชื้อสายเคิร์ก  โดยเฉพาะชาวเคิร์กอย่างไร ?

 

                                                2.3  ประเด็นคำถามในการพิจารณารายงานของอียิปต์ (รายงานครั้งที่ 2 )

                                      2.3.1  กรอบของกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่นำหลักการในกติกาฯมาใช้  และลักษณะของสถานการณ์ฉุกเฉิน (ข้อ 2(2) ,3 และ 4 )

                                                                                ()  โปรดชี้แจงสถานะของกติกาฯ ในอียิปต์  โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าปัจเจกชนมีสิทธิที่จะนำบทบัญญัติในกติกามาร้องต่อศาลได้หรือไม่  และในกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างบทบัญญัติในกติกากับ Shari’a Law   จะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

 

 

 

-  17  -

 

 

                                                                                ()  มีการประกาศภาวะฉุกเฉินบ้างหรือไม่หลังจากที่มีการเสนอรายงานฉบับแรก ถ้ามีสภาวะดังกล่าวมีระยะเวลานานเท่าไร  และมีสิทธิอะไรบ้างที่ถูกลิดรอนในช่วงเวลาดังกล่าว

                                                                                ()  อธิบายหลักการพื้นฐานของกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้สอดคล้องกับข้อ 4 (2) ของกติกาในส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะฉุกเฉิน

                                                                                ()  โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  และการเยียวยาปัจเจกชนในช่วงภาวะฉุกเฉิน

                                                                                () โปรดให้รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่กระทำเพื่อส่งเสริมสนับสนุนบทบัญญัติในกติกาในอียิปต์

                                                                                ()  โปรดอธิบายถึงปัจจัยและปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามกติกา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณีของอียิปต์

 

                                                                2.3.2   สิทธิในชีวิต  การปฏิบัติต่อนักโทษและผู้ถูกคุมขังอื่น ๆ และเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล ( ข้อ 6,7,9 และ  1)

                                                                                ()   โทษประหารชีวิตที่ใช้กับการทำผิดอะไรบ้าง นับแต่มีการนำเสนอรายงานฉบับแรกมีการนำโทษดังกล่าวมาใช้หรือไม่

                                                                                ()   มีการนำบทบัญญัติในกฎหมายฉบับใดบ้างมาพิจารณาเพื่อจำกัด หรือทำให้ความผิดที่มักมีโทษประหารชีวิตลดจำนวนลง

                                                                                ()   มีกฎหมายหรือระเบียบอะไรบ้างที่ใช้ควบคุมการใช้อาวุธของตำรวจ  และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีการละเมิดบทบัญญัติเหล่านั้นหรือไม่  หากมี  ได้มีการใช้มาตราฐานการใดบ้างกับผู้และทำผิดและใช้ป้องกันไม่ให้มีการละเมิดทำนองนั้นอีก

                                                                                ()   มีการสอบสวนการกระทำที่มีลักษณะเป็นการใช้ความรุนแรงในการสอบสวนการลงโทษหรือการปฏิบัติต่อบุคคลอย่างไม่มีมนุษยธรรม  และจำกัดเสรีภาพของบุคคล  และมีการดำเนินการฟ้องร้องบุคคลที่กระทำการดังกล่าวอย่างไร  และมีมาตราการป้องกันไม่ให้การกระทำเช่นนั้นอีกอย่างไรบ้าง

                                                                                ()   มีมาตราการใดที่ให้หลักประกันแก่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามข้อ 7 ของกติการ  และผู้ที่ให้การรับสารภาพหรือผู้ที่ให้การเป็นพยานโดยถูกบังคับ  สามารถใช้อ้างต่อศาลได้หรือไม่

                                                                                ()   โปรดให้ข้อมลเกี่ยวกับการตรวจตราสถานที่คุมขังและกระบวนการในการรับและการไต่สวนคำร้องทุกข์    รวมถึงเงื่อนไขในต่าง   และปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาในสถานที่ดังกล่าว

                                                                                ()    โปรดให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ  ขั้นตอนเบื้องต้นตามกฏหมายและระยะเวลาสูงสุดของการควบคุมและคุมขังระหว่างพิจารณาคดีของศาล    และการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว

                                                                                ()   หลังจากที่ถูกจับกุม  ผู้ถูกจับกุมจะมีสิทธิติดต่อกับครอบครัวและทนายโดยเร็วที่สุดได้อย่างไร

(‏ל)      โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมที่ห้ามติดต่อกับบุคคลภายนอก

 

-  18  -

 

 

                                                                2.3.3   สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยยุติธรรม  (ข้อ  14)

 

                                                                                ()   โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล  องค์คณะและกิจกรรมของศาลเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ  และการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลดังกล่าว  และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของศาล

ดังกล่าวกับศาลปกติอื่น ๆ  โปรดระบุว่ามีความผิดอะไรบ้างตามกฏหมายปกติที่อาจต้องนำไปสู่การพิจารณาของศาลเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ โดยคำสั่งสอนของประธานธิบดี

                                                                                ()   โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวาระ  การดำรงตำแหน่ง   และการรักษาวินัยของผู้พิพากษา   โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิพากษาของศาลเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ

                                                                                ()   โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพ

ทางกฎหมายในอียิปต์

                                                                                ()   มีโครงการให้ความช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาหารือทาง

กฎหมายบ้างหรือไม่ ถ้ามี  มีการดำเนินงานอย่างไร

 

                                                                2.3.4   การไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ความเสมอภาคทางเพศ  เสรีภาพในการนับถือศาสนา  การแสดงออก  การชุมนุมและการสมาคม  สิทธิทางการเมือง  และสิทธิของชนกลุ่มน้อย

 

                                                            ()   โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายและการปฏิบัติที่มีผลกระทบต่อบทบัญญัติข้อ  2   ( 1 ) และ  26  ของกติกา 

                                                                                ()   โปรดอธิบายข้อความในหน้า  40  ของรายงานที่ระบุว่าเป็นการยอมรับหน้าที่ของผู้หญิงที่มีต่อครอบครัวกับงานสังคม  และกฏหมายของอียิปต์ต้องได้คุ้มครองสิทธิของพลเมืองและทางการเมืองของสตรีด้วย ดังข้อความที่ว่า “ ทั้งนี้เป็นไปตามความเหมาะสมตามธรรมชาติของสตรี”

                                                                                ()  โปรดให้ข้อมูล ตัวเลขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในทางเมืองเศรษฐกิจของสตรีอียิปต์

                                                                                ()   มีกรณีใดบ้างที่เด็กอาจได้สัญชาติอียิปต์ตามบิดาหรือมารดาที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ

                                                                                ()   อธิบายเกี่ยวกับกฏหมายหรือการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

                                                ()   ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายหรือการกระทำที่เกี่ยวกับการ

ยินยอมในสิทธิในชีวิตส่วนตัว

(‏י)      ให้ความเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสถานภาพของชาว

อิสลามกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น มีกรณีใดที่เป็นการแบ่งแยกระหว่างผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมหรือไม่  หากมี  มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นอีกอย่างไร

 

 

 

-  19  -

 

 

                                                                                ()   มีการควบคุมเสรีภาพของหนังสือ และสื่อมวลชนอื่น ๆ อย่างไร

                                                                                ()  มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร

                                                                                () มีข้อจำกัดเกี่ยวกับกฎหมายและการปฏิบัติที่เกี่ยวกับชุมนุม ในที่สาธารณะอย่างไร

                                                                                ()   ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมและสหภาพแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน

                                                                                () ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่เจ้าพนักงานใช้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อ 27  แห่งกติกา

 

2.3     ประเด็นคำถามในการพิจารณารายงานของฮังการี  (รายงานครั้งที่ 3)

 

2.4.1            กรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เป็นไปตามกติกา : 

สถานการณ์ฉุกเฉิน   การไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ  :  ความเสมอภาคทางเพศ : การให้ความคุ้มครองครอบครัวและเด็กและสิทธิของบุคคลที่เป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อย (2,3,4,23,26, และ 27)

                                                            ()   สถานภาพของกติกาในระบบกฎหมายของฮังการีเป็นอย่างไร ?  โปรดอธิบายว่า ปัจเจกบุคคล สามารถนำบทบัญญัติของกติกามาใช้อ้างต่อศาล และองค์กรของรัฐอื่นๆได้โดยตรงหรือไม่

                                                                                ()   มีการนำบทบัญญัติในกติกามาใช้ปรับปรุงในการกำหนดกลไกทางกฏหมายที่อ้างถึงรายงานย่อหน้าที่  7  ว่าอย่างไร ?

                                                                                ()   บทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร ?

 

                                                                                        การพิจารณาว่ากฎหมายใดเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

จะมีการเปรียบเทียบกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ หรือไม่ หรือพิจารณาเพียงเฉพาะกับรัฐธรรมนูญแห่งรัฐเท่านั้น

                                                                                ()  โปรดอธิบายความหมายในข้อ  70/k ของรัฐธรรมนูญ และวิธีการปรับใช้ในทางปฏิบัติ (ดูย่อหน้า 77 ของรายงาน)

                                                                                ()  มีกฎหมายของฮังการีที่จัดตั้งสำนักงานของ  Ombudsman เพื่อคุ้มครองสิทธิของพลเมืองแล้วหรือไม่ ?  อำนาจและโครงสร้างของ Ombudsman เป็นอย่างไร (ดูย่อหน้า  20 ของรายงาน)

                                                                                ()  มีมาตรการอะไรบ้างที่นำมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ในกติกาและได้เผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบการตรวจสอบรายงานฉบับนี้ที่กระทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้างหรือไม่

 

 

 

 

 

-  20  -

 

 

                                                                                ()  สถานะทั่วไปและสาระสำคัญของกฎหมายที่ใช้บังคับในช่วงที่มีภาวะฉุกเฉินเป็นอย่างไร  (ดูย่อหน้าที่  35 ของรายงาน ) มีข้อแตกต่างกับระบบที่ใช้บังคับอยู่แต่เดิมอย่างไร

                                                                                ()  โปรดให้ข้อมูลในเชิงสถิติตัวเลขเกี่ยวกับจำนวนของชาติพันธุ์  ศาสนา  และภาษาของชนกลุ่มน้อย  และอธิบายถึงสถานภาพของชนดังกล่าวทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ

                                                                                ()  สถานะและสาระสำคัญของร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิชนกลุ่มน้อยในทางเชื้อชาติที่อ้างถึงในย่อหน้าที่  137  ของรายงานเป็นอย่างไร

 

                                                                2.4.2  สิทธิในชีวิต  การห้ามมีทาส  แรงงานที่รับใช้และการใช้กำลัง : เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคลและการปฏิบัติต่อนักโทษ  และผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังอื่น ๆ (ข้อ 6 –11 )

                                                            ()  ตามคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่าความผิดฐานประหารชีวิตขัดต่อรัฐธรรมนูญ (ย่อหน้า 37  ของรายงาน ) นั้น เป็นผลให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตให้หมดไปหรือไม่ และมีข้อพิจารณาอื่นใดที่เสนอเพื่อให้บรรลุผลตามพิธีสารฉบับที่ 2 ของกติกาหรือไม่

                                                                                ()  มีกฎหมายและระเบียบใดบ้างที่ใช้ควบคุมการใช้อาวุธของตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ? มีการละเมิดกฎหมายดังกล่าวหรือไม่  ถ้ามี รัฐมีมาตรการใดบ้างที่ใช้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก

                                                                                ()  มีมาตรการที่แน่ชัดอะไรบ้างที่ให้หลักประกันแก้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามข้อ 7 ของกติกา  การรับสารภาพหรือการพิสูจน์หลักฐานที่ได้มาจากการข่มขู่จะสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาคดีของศาลหรือไม่

                                                                                ()  โปรดอธิบายว่า  มีกรณีใดบ้างที่บุคคลอาจถูกลงโทษให้ทำงานบริการชุมชน  (ดูย่อหน้า  49  ของรายงาน )

                                                                                ()  การบังคับให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ชั่วคราวหมายความรวมถึง  การจำกัดเสรีภาพด้วยหรือไม่  โปรดอธิบายเงื่อนไขของวิธีการดังกล่าว  (ย่อหน้า 53,48)

                                                                                ()  โปรดให้เหตุผลของการขยายเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหาจาก  72  ชั่งโมงเป็น 5 วัน (ย่อหน้า 52 ของรายงาน) และระยะเวลาก่อนที่จะนำตัวผู้ต้องหาสู่ศาลจาก  6-8 วัน (ย่อหน้า 56 ของรายงาน ) โปรดอธิบายความหมายของคำว่า  “ทันทีเท่าที่จะเป็นไปได้” ในข้อ 55 ย่อหน้า 2 ของรัฐธรรมนูญและให้ความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องต้องกันของบัญญัติดังกล่าวกับข้อ 9 แห่งกติกา

                                                                                ()  ผู้ที่ถูกคุมขังโดยมิชอบจะสามารถยื่นคำร้องต่อผู้พิพากษาโดยเปรียบเทียบกับ  habeas corpus หรือ  amparo ได้หรือไม่

                                                                   ()  โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรื่องการควบคุมสอดส่องสถานที่ที่ใช้คุมขังและวิธีการรับและการไต่สวนคำร้องทุกข์

 

 

 

 

-          21  -

 

 

2.4.3          สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม (ข้อ 14 )

()  มีหลักประกันในความมีอิสระและความเป็นกลางของศาลอย่างไรบ้าง

()  สถานะและสาระสำคัญของกฎหมายที่จัดตั้งศาลปกครองซึ่งผ่านรัฐสภาในเดือนธันวาคม  1989 เป็นอย่างไร ? (ดูย่อหน้า  79  ของรายงาน)

(‏ג)     โปรดอธิบายความหมายของคำว่า  “quasi-offences”

ความผิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของศาลหรือไม่ ?

()  โปรดให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งของอาชีพทางกฎหมาย  และระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่คิดมูลค่าของฮังการี

 

                                                 2.4.4    เสรีภาพในการเคลื่อนไหวและการเนรเทศคนต่างด้าวสิทธิในชีวิตส่วนตัว  เสรีภาพในการนับถือศาสนา  การแสดงออก  การชุนนุมและสมาคม  และสิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง (ข้อ  12,13,17,22 และ 26)

                                                            ()  โปรดอธิบายเกี่ยวกับข้อบังคับที่เกี่ยวกับสิทธิในการเดินทางออกนอกประเทศและการเดินทางกลับประเทศโดยเสรี  ทั้งที่ยกเลิกแล้วและที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบัน (ดูย่อหน้า  68 ของรายงาน)

                                                                                ()   โปรดชี้ให้เห็นวิธีการอ้างเหตุผลโดยอ้างหลักทั่วไปที่ว่า    “ เขาเป็นผู้ที่ไม้เหมาะสมที่จะเข้ามาอยู่ในสังคมชาวฮังการี”  มาเพื่อเป็นเหตุผลในการปฎิเสธไม่อนุญาตให้คนต่างด้าว

เข้าเมืองว่าเป็นอย่างไร  (ดูย่อหน้า  69  ของรายงาน)

                                                                                ()  โปรดอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายและทางปฎิบัติที่

เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงที่ชอบด้วยกฎหมาย ( Pemislble   Intreference ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำโดย

สืบราชการลับที่มีต่อสิทธิในชีวิตส่วนตัว (ย่อหน้า  92 b ของรายงาน )

                                                                                ()  โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนหรือวิธีการใหม่อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนรับรองนิกายทางศาสนา  โดยเจ้าหน้าที่รัฐ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายฉบับที่  17  ซึ่งจะจัดระเบียบเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์การทางศาสนา(ย่อหน้า 98 ของรายงาน)

                                                                                ()  โปรดอธิบายว่ามีกรณีใดบ้างที่หนังสือพิมพ์อาจถูกห้ามเผยแพร่สถานะและสาระสำคัญของร่างกฎหมายที่ให้เสรีภาพสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้นที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาเป็นอย่างไร (ย่อหน้า 103 ของรายงาน)

                                                                                ()  มีกรณีใดบ้างที่หนังสือพิมพ์อาจถูกปรับฐานละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (ย่อหน้า 92 ( c ) ของรายงาน)

 

 

 

 

 

-          22  -

 

 

                                                                                ()  โปรดอธิบายเกี่ยวกับการปฎิบัติที่แท้จริงของการบังคับใช้กฎหมายที่ให้สิทธิแก่ชาวต่างชาติในการออกเสียงเลือกตั้งระดับท้องถิ่น

(‏כ)                มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ศาลมีอำนาจสั่งห้ามบุคคลไม่ให้เข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมือง  (ดูย่อหน้า  123 (b ) ของรายงาน )

 

2.5   ข้อวิจารณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต่อรายงานของประเทศบุลกาเรีย

 

                         คณะกรรมการได้พิจารณารายงานระยะที่  2  ของบุลกาเรียในการประชุมครั้งที่ 1248 ถึง 1250  เมื่อวันที่  21  และ  22  กรกฎาคม  1993  ที่ประชุมมีข้อวิจารณ์ดังนี้

 

‏א.     บทนำ

 

คณะกรรมการมีความพอใจต่อรายงานฉบับดังกล่าวของบุลกาเรียที่ได้มีการจักทำตามแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด  และพอใจที่คณะผู้แทนบุลกาเรียมีความรับผิดชอบเป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้งยังพอใจในข้อมูลที่ตัวแทนของบุลกาเรียได้นำเสนอไม่ว่าจะเป็นคำถามที่คณะกรรมการได้ถามไป  หรือคำถามที่มีผู้ถามโดยสมาชิกเป็นการส่วนตัวเป็นสิ่งที่ทำให้รายงานเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ และทำให้คณะกรรมการได้เข้าใจภาพรวมของการดำเนินตามกติการะหว่างประเทศว่าสิทธิทางการเมืองและของพลเมืองของบุลกาเรีย  อย่างไรก็ตามคณะกรรมการได้ร่างข้อสังเกตต่อรายงานระยะที่สองและรายงานฉบับที่เสนอช่วยปี  ..1978 – 1990  อันเป็นช่วงที่มีการนำมาตรการบางอย่างที่ขัดต่อกติกาฯมาใช้ในช่วงที่มีการปกครองแบบเก่า

 

‏ב.     แง่มุมในเชิงบวก

 

1.   คณะกรรมการได้ตั้งข้อสังเกตด้วยความยินดีที่นับแต่เดือนพฤศจิกายน  ..  1989  รัฐบาลบุลกาเรียได้นำหลักเกณฑ์ในกติกามาบัญญัติไว้ในกฏหมายภายในของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน

รัฐธรรมนูญและยังสอดคล้องกับกติกาฯ   และสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่บุลกาเรียได้เป็นภาคีด้วย การที่บุลกาเรียได้อ้างถึงอำนาจของคณะกรรมการในการรับและพิจารณาเรื่องราวจากปัจเจกบุคคลภายใต้พิธีสารต่อท้ายของกติกาฯ  นั้น  นับว่าเป็นเรื่องที่มี่คามสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลต่อการดำเนินการตามกติกาฯ ของภาคี

2.   คณะกรรมการพอใจต่อรัฐธรรมนูญของบุลกาเรีย ปี  ..  1991  บทที่  2  เรื่อง  “สิทธิและหน้าที่พื้นฐานของประชาชน”  ซึ่งบัญญัติขึ้นตามกรอบของกติกาฯ และยังพอใจต่อความมีอิสระของศาลในการคุ้มครองสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และยินดีต่อคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อไม่นานมานี้ที่วินิจฉัยในเรื่องสิทธิมนุษยชน  ซึ่งคำพิพากษาดังกล่างเป็นเครื่องยืนยันถึงการยกระดับในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทางศาลในบุลการเรีย    และเป็นเครื่องชี้ชัดว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการอย่างได้ผลในการส่งเสริมและการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่เคยใช้กันในสมัยที่มีรัฐบาลเผด็จการ  คณะกรรมการยังพอใจเหตุผลที่ศาลใช้ในการพิพากษาคดี  6 -7  คดีซึ่งเป็นตามหลักเกณฑ์ในกติกาฯ  มาใช้อ้างอิง

 

 

 

                   -  23  -

 

3.   คณะกรรมการเห็นว่ากฎหมายหลายฉบับที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

.1989  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  กฏหมายฟื้นฟูสถานะของบุคคลที่ถูกปราบปรามในช่วงเผด็จการอันเนื่องมาจากถิ่นกำเนิดการเมืองและความเชื่อทางศาสนา  กฏหมายว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐในการก่อความเสียหายต่อประชาชนกฏหมายนิรโทษกรรม  การคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ  กฏหมายว่าด้วยการคืนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนอกเหนือจากทรัพย์สินของรัฐ  กฏหมายการคืนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งรัฐได้ยึดมาภายใต้อสังหาริมทรัพย์ของคนที่ถือสัญญชาติบุลกาเรียที่ขออนุญาตเดินทางไปยังประเทศตุรกีและประเทศอื่น ๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคม  และกันยายน  1989  กฎหมาย

ดังกล่าวเหล่านี้ได้วางรากฐานอันมั่นคงสำหรับการพัฒนาเสรีภาพและสังคมประชาชาธิปไตยภายใต้หลักนิติกรรม  และกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังก็ได้รับอิทธิพลจากแนวทางดังกล่าว

 

.  ปัจจัยและอุปสรรคในการดำเนินงานตามกติกาฯ

 

คณะกรรมการเห็นว่ากฎ ระเบียบที่มีลักษณะเผด็จการที่ยังคงมีผลใช้อยู่บ้างนี้คงจะยกเลิกได้ยากภายใต้ระยะเวลาสั้น  และจะมีผลต่อการพัฒนาสถาบันประชาธิปไตยให้มั่นคง  และส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามกติกาฯ  คณะกรรมการยังมีข้อสังเกตว่า  ความหลากหลายเชื้อชาติของประชากร  การมีชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก  การใช้ข้อมูลและให้การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจำกัดและการที่บุลกาเรียไม่มีสถาบันระดับชาติที่ทำหน้าที่พัฒนาและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเหล่านี้นับว่าเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามกติกาฯ

 

                  .  ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง        

 

1.    คณะกรรมการมีข้อสังเกตว่าสถานภาพของกติกาฯ  ในระบบกฎหมายของ

บุลกาเรียยังไม่มีการบัญญัติไว้ชัดเจน  กล่าวคือ  ยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครองสูงสุดขึ้นตามที่บัญญัติไว้  ในมาตรา  125  แห่งรัฐธรรมนูญ  นอกจากนั้น  ยังเห็นว่าอัยการมีอำนาจอย่างกว้างขวางมากมายในการดำเนินคดีในศาลและความจริงอีกประการก็คือผลการพิจารณาวินิจฉัยของศาลต่อการตรวจสอบของการตัดสินใจของฝ่ายบริหารสามารถอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้เพียงแห่งเดียวอาจจะไม่สามารถแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนตามข้อ  2 แห่งกติกาฯ  ในทำนองเดียวกันคณะกรรมการเห็นว่าในจำนวนคดีที่เกี่ยวกับการทรมานทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการปกครองในระบอบเดิมนั้น  มีผู้เสียหายยังไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาครบถ้วนทุกคดี  และการ

ข่มแหงรังแกชาวบุลกาเรียเชื้อสายตุรกี  ซึ่งเกิดตามระบอบเก่าก็ยังคงมีผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มนั้นอยู่ในปัจจุบัน

 

                                  2.  คณะกรรมการยังติดใจคดีที่เสนอในรายงานที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กำลัง

เกินกว่าเหตุ  การคุมขังที่นานเกินไป  ซึ่งคณะกรรมการนับว่าการออกกฎหมายในระยะหลังนี้ไม่สอดคล้องตรงกันกับบทบัญญัติข้อ  9  แห่งกติกาฯ เท่าที่ควร

                                                         คณะกรรมการยังติดใจเกี่ยวกับเรื่องการอพยพอย่างต่อเนื่องของชาวบุลกาเรียเชื้อสายตุรกีที่จะต้องเสียประโยชน์หลายอย่างเช่นเดียวกับพวกอียิปต์  นอกจากนี้ยังเห็นว่าการจัดตั้งพรรคการเมืองมีข้อจำกัดมากเกินไป  และการระบุถึงสถานะภาพของสตรีและการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสาธารณะยังมีน้อยเกินไป

 

 

-  24  -

 

 

                                  .  ข้อเสนอแนะ

 

                                  คณะกรรมการขอตั้งข้อสังเกตว่า  ข้อจำกัดสิทธิมนุษยชนที่ยังคงมีอยู่ในกฎหมายของบุลกาเรียนั้นควรถูกหยิบยกมาพิจารณาและปรับปรุงให้สมบูรณ์ตามแนวทางของกติกาฯ   ข้อ  18 ,19  และ 21  กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุมขังควรได้รับการปรับปรุงให้ตรงตามข้อ  9  แห่งกติกาฯ ทำนองเดียวกันควรมีการพิจารณาอำนาจของอัยการที่มีค่อนข้างกว้างขวาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยตามข้อ 27  ของกติกาฯ  รัฐบาลพึงกระทำการที่มีผลในเชิงบวก  คณะกรรมการของเสนอว่าควรมีการจัดตั้งสถาบันเพื่อมาทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบและขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขึ้นในบุลกาเรียให้มากยิ่งขึ้น

 

                                  สรุป

 

                                  จากความเห็น ( General  Comment ) ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่แต่งตั้งตามกติกาฯ  ที่อธิบายความหมายของสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกคุมขังตามอำนาจรัฐโดยหน่วยงานต่าง ๆ ว่ามีอยู่อย่างไรและคณะกรรมการฯ ประสงค์จะให้รัฐภาคีดำเนินการอย่างไรบ้าง  รวมทั้งตัวอย่างคำถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่คณะกรรมการฯ ได้แจ้งแก่รัฐภาคีที่จัดทำรายงานตามพันธกรณีแห่งกติกาฯ ดังกล่าวข้างต้นคงจะเป็นประโยชน์แก่

ผู้ที่ปฎิบัติงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยและแก่ผู้ที่สนใจทางด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  ทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการให้มีความเจริญก้าวหน้าตามมาตรฐานของสหประชาชนในที่สุด

 

 

 

 

1