ผลงานด้านวิชาการ

          งานวิจัยชิ้นแรกๆ ของสืบ  นาคะเสถียรเริ่มจากการเป็นนักสำรวจนก ติดตามจำนวนชนิด และพฤติกรรมการ ทำรังของ นกบางชนิด ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระแต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้สร้าง ความเจ็บปวดให้เขาคือ เมื่อเขาได้มีโอกาสติดตามนักวิจัยจาก เมืองนอกที่ได้รับทุนจากนิตยสาร National Geographic และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางเข้าไปสำรวจ ติดตามกวางผา สัตว์ป่าสงวนที่ใกล้สูญพันธุ์เต็มที แล้วที่ดอยม่อนจอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ..2528...เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อสืบและ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าคนหนึ่งชื่อ คำนึง ณ สงขลา กำลังปีนขึ้นไปถ่ายภาพกวางผา ที่อาศัยอยู่บนหน้าผา ได้เกิดไฟใหม้ป่าขึ้น เพราะชาวบ้านเข้าไปจุดไฟ เพื่อล่าสัตว์ทันใดนั้นลมกรรโชกพัดเอาลูกไฟที่กำลังลุก ไหม้อย่างรุนแรง มาที่คนเหล่านั้น คุณคำนึง โชคร้ายพลัดตกลงไปจากหน้าผาขณะหนี

          สืบ นาคะเสถียร คือหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าที่เข้าไปช่วยเหลือสัตว์ เหล่านี้เป็นครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับรองอธิบดีกรมป่าไม้เป็นคนเลือก ให้เขาเข้าไปรับผิดชอบในตอนแรก สืบปฏิเสธที่จะเข้ารับงานนี้   ด้วยในขณะนี้มีงานวิชาการวิจัยสัตว์ป่าที่เขาดำเนินการอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้บังคับบัญชา ในที่สุดเขาจึงต้องรับและพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดโดย มีงบประมาณขึ้นต้นเพียง 8 แสนบาท ในการรับผิดชอบ พื้นที่แสนกว่าไร่ ไม่มีอุปกรณืช่วยชีวิตสัตว์ป่าใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่เรือหรือตาข่าย และอื่นๆ เดิมทีงบประมาณของโครงการ นี้มีมากกว่านี้ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ ชุดก่อนที่เข้ามารับงาน ฉ้อฉลเงินไปประมาณ 7 แสนบาท ระบบราชการเมืองไทยมักเป็น เช่นนี้เสมอ สืบตระหนักดีว่า หากช้าไปอีกทุกๆ หนึ่งวัน ก็จะมีสัตว์ล้มตายเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ดังนั้นเขาจึงทำงานทั้ง กลางวันและกลางคืน แม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์ การช่วยชีวิตสัตว์ป่ามาก่อนก็ตาม เขาจึงพยายามศึกษาหาข้อมูลจาก ตำราของเมืองนอก ตลอดจนขอความรู้จาก นายพรานเก่าที่มีความชำนาญใน การจับสัตว์ป่ามาก่อน

        สองปีผ่านไป โครงการอพยพสัตว์ป่าสามารถช่วยเหลือชีวิตสัตว์ได้ถึง 1,364 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนที่น่าพอใจ แต่ ยิ่งสืบช่วยชีวิตสัตว์ก็ยิ่ง รู้ดีว่าเทียบไม่ได้กับสัตว์อีกจำนวนมหาศาลที่จมน้ำหรืออดอาหารตาย จากการสร้างเขื่อนครั้งนี้ กระนั้นก็ตาม สืบ ยังคงช่วยชีวิตสัตว์ป่าด้วยหัวใจ มิใช่เพียงเพราะหน้าที่ เขาจะซึมเศร้าทุกครั้งเมื่อเอาพืชอาหาร ที่เก็บมาตามเกาะ ต่างๆ มาป้อนให้กับค่างดำหรือชะนีที่บาดเจ็บแต่มันไม่ยอมกิน ทุกครั้งที่เห็นศพค่างหรือชะนีลอย ตามน้ำมา มันทำให้เขา รู้สึกเจ็บปวด และรู้สึกโกรธเมื่อเห็นเลือดสดๆ จากเนื้อสัตว์ที่ชำแหละแล้วในเรือ ของนายพรานที่ผ่านมาพบเข้า เขาน้ำตา ไหล เมื่อเลียงผาและกวางที่ช่วยชีวิตขึ้นมาจากน้ำต้องตาย เพราะความอ่อนเพลียและความหิวโหย แต่หัวใจของสืบก็ไม่ เคยเหน็ดเหนื่อยจากการเอาเรือออกตระเวน ช่วยเหลือพวกมัน แม้จะรู้ดีว่าการกระทำนั้นแทบจะไร้ผล แต่เขาก็ยังทำอย่าง บ้าบิ่นต่อไป จนกระทั่งเขาได้เข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างท่องแท้ว่า การอพยพสัตว์ไม่อาจช่วยชีวิตสัตว์ได้เลย เพราะผล กระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ทำลายแหล่งอาหารแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าซึ่งถือ ได้ว่าเป็นหัวใจของ ผืนป่าทั้งหมดที่ มนุษย์ไม่อาจสร้างขึ้นมาทดแทนได้อีก สืบ เริ่มรู้แล้วว่างานวิชาการไม่อาจช่วยชีวิต สัตว์ที่กำลังถูกฆ่าได้ ปัญหาการทำลายป่าและสัตว์ป่า เป็นปัญหาใหญ่หลวงระดับชาติที่นักวิจัยสัตว์ป่าอย่างเขาจะต้อง เข้าไปแก้ปัญหาให้ได้ ก่อนจะสายเกินแก้ สำหรับคนอื่นๆ แล้ว ปัญหานี้อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่หมักหมมกัน มานานไม่อยาก เอาตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่สำหรับ สืบ นาคะเสถียร แล้ว ไม่ อย่างเด็ดขาด..

 

 

          สืบ นาคะเสถียร ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า ทั้งในด้านการวิจัยและด้านการปฏิบัติการ ช่วยเหลือชีวิตสัตว์ป่าที่ได้รับบาดเจ็บและได้รับความเดือดร้อน เช่น การอพยพสัตว์ป่าที่ได้รับความเดือดร้อน จากการ สร้างเขื่อน เชี่ยวหลาน เขาทำงานด้วยความเสียสละ รับผิดชอบ และมีความตั้งใจสูง คำนึงถึงความปลอดภัยและ สวัสดิการของผู้ร่วมงานอย่างเช่น การปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่า ตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อน รัชชประภาหรือเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2529 ซึ่งจากการสร้างเขื่อน เชี่ยวหลาน ทำให้ป่าดงดิบ นับแสนไร่ต้องจมอยู่ใต้น้ำส่วนที่เป็นเนินเขา และภูเขาถูก ตัดขาดเป็นเกาะน้อยใหญ่จำนวน 162 เกาะ สัตว์ป่านานาชนิดที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้อง ได้รับผลกระทบจากการที่มีน้ำท่วมฉับพลัน สัตว์ป่าจำนวนมากที่หนีน้ำไม่ทันไม่น้อยกว่า 338 ชนิด ซึ่งมีสัตว์หลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น เลียงผา เสือลายเมฆ สมเสร็จ ช้าง กระทิง วัวแดง ไก้ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า กบทูด เป็นต้นสัตว์ป่าเหล่านี้ต้องประสบกับการอดอาหาร ขาดร่มเงา ต้นไม้ที่เหลืออยู่บนเกาะก็กำลังจะตาย สัตว์ที่ติดอยู่บนเกาะไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องอดอาหารหรือจมน้ำตาย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน สืบ นาคะเสถียร คือหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าเหล่านี้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย

 

งานวิชาการของสืบ  นาคะเสถียร

1. การทำรังวางไข่ของนกบางชนอดที่ อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ.2524
2. รายงานการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ.2526
3. การศึกษานิเวศวิทยาของสัตว์ป่า ในบริเวณโครงการ ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาภูพาน ตามพระราชดำริ 2528
4.. นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง 2529
5. รายงานผลการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาษ 2529
6. เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ 2529
7. สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยของเก้งหม้อ
8. การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สัตว์ป่าในพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส 2530-2532
9. การอพยพสัตว์ป่า ในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา สัมมนาสัตว์ป่า 2532
10. วิเคราะห์ความเหมาะสม จากรายงานและแผนการ แก้ไขผลกระทบด้านทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า 
11. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แควใหญ่ตอนบน (Assessment on Report and Impact Assessment Plan on Forestry and Wildlife of Upper Quae Yai Project)
12. รายงานการประเมินผลงาน ช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จ.สุราษฏร์ธานี
13. นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี และ จ.ตาก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และ จ.ตาก กุมภาพันธ์ 2530 โดย สืบ นาคะเสถียร, นริศ ภูมิภาคพันธุ์, ศักดิ์สิทิ์ ซิ้มเจริญ
14. รายงานผลการวิจัย วางแผนขั้นรายละเอียดสำหรับ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้และ การจัดการป่าไม้บริเวณ พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองแสง โครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี 2527
15. Nomination of the Thung Yai-Huay Kha Khaeng Wildlife Sanctuary to be a UNESCO World Heritage Site, May 1990 Submitted by the Wildlife Conservation Division, Royal Forest Department Prepared Seub Nakasathien and Belinda Stewart-Cox


กลับสู่    หน้าหลัก

จัดทำโดย  NeoFreeEnergy Group