picture

home

webboard

free  service

drawing  service

mail

contact 

[upload   23 :10,01-01-22 ]   [update ]  [explorer  resolution 800x600 ]  

 

คลิกหัวข้อที่ต้องการเพื่อ link ไปอ่านรายละเอียด
ดูแผนที่รับเขียนแบบ | ข้อแนะนำการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (เฉพาะในเขต กทม.)สถานที่ติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร | เอก
สารประกอบการขออนุญาตการก่อสร้างอาคาร
| รายละเอียดประกอบการเขียนแบบเพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร |การทำบุญขึ้น
บ้านใหม่
| ตำราขึ้นบ้านใหม่ | ปลูกเรือนตามวัน | พิธียกเสาเอก | ปลูกบ้านตามเดือน | ข้อห้ามเกี่ยวกับบ้านตามคติโบราณ | การปลูก
ต้นไม้บริเวณบ้าน


 
















































แผนที่ทางไปสถานที่รับเขียนแบบ
รับเขียนแบบอาคาารทุกสไตล์ shop drawing ราคาถูก 
โทร 02-431-2441

แผนที่

 
ข้อแนะนำการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (เฉพาะในเขต กทม.)


สถานที่ติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

การยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคารในกรุงเทพ ฯ สามารถยื่นขอได้ที่
1.    ณ  ที่ว่าการเขตท้องที่ที่สถานที่ทำการก่อสร้างอาคารขึ้นอยู่โดยจะต้องเป็น อาคารพักอาศัย อาคารตึกแถว หอพัก แฟลต อาคาร
ชุด สำนักงาน โกดัง ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ห้องแสดงสินค้า อาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เฉพาะที่สูงไม่เกิน ภ ชั้น และอาคารเลี้ยงสัตว์
อาคารชั่วคราว สะพานไม้ เขื่อน หอถังเก็บน้ำ รั้ว ป้าย แผงลอย และถนน
2.    ณ  กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารอื่นใดนอกจากข้อ 1

เอกสารประกอบการขออนุญาตการก่อสร้างอาคาร
1.    คำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามแบบฟอร์มที่ทางราชการกำหนด
2.    แผนผังแบบก่อสร้างและรายการก่อสร้างอย่างละ 5 ชุด
3.    การก่อสร้างในที่ดินตนเอง จะต้องมีภาพถ่ายโฉนดที่ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินเป็นผู้รับรองภาพถ่ายถูกต้อง
4.    ถ้าก่อสร้างอาคารในที่ดินของบุคคลอื่น จะต้องมีหลักฐานการยินยอมอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากเจ้าของที่ดินมาแสดง โดยระ
บุขอบเขตของที่ดินที่ยินยอมให้ก่อสร้างอาคารตามหนังสือรับรอง ให้ทำการก่อสร้างในที่ดิน พร้อมด้วยสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดิน
ซึ่งเจ้าของที่ดินเป็นผู้รับรองภาพถ่ายถูกต้อง หรือใช้สัญญาเช่าที่ดินที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยสัญญาเข่ามีข้อความ
ระบุได้สาระสำคัญว่า "ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าก่อสร้างอาคารในที่ดินที่เช่า" ซึ่งเจ้าของที่ดินหรือผู้เช่าเป็นผู้รับรองว่า สัญญาเช่ายัง
คงมีผลผูกพันกันอยู่ พร้อมสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดิน

บ้าน และสารบาณการจดทะเบียนซึ่งพนักงานซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่รับรองถูกต้อง
5.    ถ้าเป็นอาคารที่อยู่ในข่ายควบคุม ตาม พ.ร.บ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จะต้องมี
หนังสือรับรองตามแบบฟอร์มของ กทม. จากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
พร้อมภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งวิศวกรรับรองภาพถ่ายถูกต้อง

6.    ถ้าเป็นอาคารที่อยู่ในข่ายควบคุม ตาม พ.ร.บ วิชาชีพสถาปัตยกรรมจะต้องมี
หนังสือรับรองตามแบบฟอร์มของ กทม. จากผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
พร้อมภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งสถาปนิกรับรองภาพถ่ายถูกต้อง

7.    ในกรณีที่ผู้ยื่นขออนุญาตมิใช่เจ้าของอาคาร ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจตามแบบฟอร์มของ กทม.จากเจ้าของอาคาร และ
พร้อมปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (5 บาท)
8.    การขออนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ให้ยื่นขออนุญาตในหลักการต่อกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมก่อน เมื่อกรม
โรงงานได้อนุญาตในหลักการแล้ว จึงนำหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
9.    ในกรณีอาคารที่อยู่ในข่ายต้องมีระบบกำจัดน้ำเสีย เช่นตลาดสด หอพัก โรงงาน โรงพยาบาล ภัตตาคาร อาคารชุด และอาคารที่
เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ให้ยื่นแบบ 5 ชุด และรายการคำนวณการกำจัดน้ำเสีย 1 ชุด มาด้วย
10.   ในกรณีที่วิศวกรและสถาปนิกตามข้อ 6 และ 7 มิได้เป็นผู้ควบคุมงาน ผู้ขออนุญาตจะต้องระบุชื่อผู้ควบคุมงานที่ถูกต้อง ตาม
พ.ร.บ  วิชาชีพวิศวกรรมและ พ.ร.บ วิชาชีพสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งหนังสือรับรองตามแบบฟอร์มของ กทม. จากวิศวกรหรือ
สถาปนิกผู้ควบคุมงานและภาพถ่ายใบอนุญาตถูกต้อง



รายละเอียดประกอบการเขียนแบบเพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 
หมวด 3  แผนผัง แบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ และรายการคำนวณ
ข้อ 11 
แผนผังให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 500 แสดงขอบเขตที่ดินบริเวณติดต่อ และขอบนอกของอาคารที่มีอยู่แล้วกับ
อาคารที่ขอรับอนุญาตปลูกสร้างใหม่ ด้วยลักษณะเครื่องหมายต่างกันให้ชัดเจนพร้อมส่วนลาด
ข้อ 12 
ในแผนผังให้แสดงทางสาธารณะที่ติดต่อกับที่ดินปลูกสร้างและทางระบายน้ำ ออกจากอาคารที่จะปลูกสร้างจนถึงทางระ
บายน้ำสาธารณะ และตามแนวทางระบายน้ำนั้นให้แสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลพร้อมด้วยส่วนลาด
ข้อ 13 
ในแผนผังให้แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับถนนสาธารณะหรือระดับพื้นดินที่ปลูกสร้าง
ข้อ 14 
แบบก่อสร้างให้ใช้มาตรส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 แสดงผังฐานรากอาคารผังพื้นชั้นต่าง ๆ ของอาคาร รูปด้าน รูปตัด ทางขวางและรูปตัดทางยาวไม่ต่ำกว่าสองด้าน รูปรายละเอียดส่วนสำคัญขนาด และเครื่องหมายแสดงวัตถุก่อสร้างอาคารชัดเจน
พอที่จะคิดรายการ และสอบรายการคำนวณได้แบบก่อสร้างแสดงรูปด้านและแผนพื้นชั้นต่าง ๆของอาคารโรงงานอุตสาหกรรม
จะใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1ใน 200 ก็ได้
ข้อ 15  แบบก่อสร้างอาคารพาณิชย์ อาคารสาธารณะ หรืออาคาร ที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ให้แนบราย การคำนวณกำลังของส่วนสำคัญต่าง ๆ ของอาคารไว้โดยครบถ้วนแบบก่อสร้างอาคารพิเศษนอกจากต้องปฎิบัติตามกฎหมาย
ที่มีข้อกำหนดควบคุมอยู่โดยเฉพาะแล้วให้แสดงรายการคำนวณโดยละเอียด
ข้อ 16  แบบก่อสร้างสำหรับต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วให้แสดงแบบของส่วนเก่าและส่วนที่จะต่อเติมหรือดัดแปลง ให้ชัดเจนต่างกัน
ข้อ 17  อาคารชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในการปลูกสร้างอาคารถาวร หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นจะเสนอแบบก่อสร้างเป็นแบบสัง
เขปก็ได้ อาคารประเภทนี้ผู้ได้รับอนุญาตต้องรื้อถอนไปให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดอายุหนังสืออนุญาตนั้น ถ้ายังจำเป็นต้องใช้อยู่ต่อไป ให้ต่ออายุได้เป็นคราว ๆ ไม่เกินคราวละหกเดือน
ข้อ 18  รายการก่อสร้างให้แสดงลักษณะของวัตถุก่อสร้างอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคารโดยละเอียดชัดเจน
ข้อ 19  มาตราส่วน ขนาด ระยะ น้ำหนักและหน่วยการคำนวณต่าง ๆ ของแผนผัง แบบก่อสร้าง รายการก่อสร้าง หรือรายการคำนวณนั้นให้ใช้มาตราเมตริก
ข้อ 20  แผนผัง แบบก่อสร้าง และรายการก่อสร้าง ให้ลงรายมือชื่อและแจ้งสำนักงานหรือที่อยู่ของผู้กำหนดแผนผัง ออกแบบ
ก่อสร้าง ทำรายการก่อสร้าง และคิดรายการคำนวณไว้ด้วย หรือคุณวุฒิและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ



การทำบุญขึ้นบ้านใหม่

                      การทำบุญขึ้นบ้านใหม่มีมานานตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยเอาคติจากวรรณคดีและความเชื่อเพื่อเป็นสิรมงคล  ในการ
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่จะทำแบบพอเป็นพิธี หรือเป็นพิธีใหญ่ มีทำบุญเลี้ยงพระก็ก็ได้ แล้วแต่ฐานะของผู้เป็นเจ้าของบ้าน
                      การทำแบบพอเป็นพิธีนั้น เมื่อได้ฤกษ์ยามดีที่หาไว้หัวหน้าครอบครัวก็อัญเชิญพระประจำบ้าน ไปประฐานไว้ที่บูชา
จุดธูปเทียนบูชา อธิษฐานขอคุณพระคุ้มครองให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข หรือจะนิมนต์พระสักรูปหนึ่ง มาประพรมน้ำพระพุทธ
มนต์ตามห้องต่าง ๆ ก่อนขนของเข้าไปอยู่ ก็จะสมบรูณ์ยิ่งขึ้น
                      ส่วนการทำแบบมีเลี้ยงพระ ก็ให้เจริญพระพุทธมนต์ แล้วถวายภัตตาหารหรือ เพิ่มการตักบาตร สำหรับการเตรียม
การก็เช่นเดียวกับการทำบุญอื่น ๆ ทั่วไป เช่น มีบาตรที่บรรจุทราย 1 บาตร แป้งและน้ำหอมหรือน้ำอบ นำมาตั้งที่บูชา
                      พิธีเริ่มเมื่อพระสงฆ์มาพร้อม หัวหน้าครอบครัวจุดธูปเทียนรับศีล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หากมีตักบาตร เมื่อ
พระสงฆ์สวดถึงบท "พาหุ"ให้ตักบาตรแล้วถวายอาหาร ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ ฟังพระสงฆ์อนุโมทนา ต่อจากนั้นทุกคน
ในพิธีเจ้ารับพรมน้ำมนต์จากพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน ขณะนั้นพระสงฆ์อื่นจะเจริญมงคลคาถา เสร็จแล้วให้ใครสัก 2 คน ช่วยอุ้ม
บาตรน้ำมนต์ และบาตรทรายพร้อมแป้งกระแจะสำหรับเจิม นำหน้าพระสงฆ์ 1 รูป ไปพรมน้ำมนต์ตามห้องต่าง ๆ ถ้ามีการเจิมประ
ตูบ้าน ก็นิมนต์พระท่านให้ทำในโอกาสนี้ก่อนจะโปรยทรายรอบบริเวณพื้นบ้าน ถือเป็นมงคลว่า เป็นทรายเงิน ทรายทอง ให้อยู่เย็น
เป็นสุข ขับไล่ภูตผีปีศาจ ถือเป็นอันเสร็จพิธี...แล



ตำราขึ้นบ้านใหม่

                     สิทธิการิยะ ถ้าแรกขึ้นบ้านใหม่ท่านให้ขึ้นในวันพุธ วันพฤหัสและวันศุกร์ ดีนักแลและให้เป็นไปหรือละเว้นตาม
ทิศดังนี้
ขึ้นทิศบูรพา
ขึ้นทิศอาคเนย์
ขึ้นทิศทักษิณ
ขึ้นทิศหรดี
ขึ้นทิศปัจจิม
ขึ้นทิศพายัพ
ขึ้นทิศอุดร
ขึ้นทิศอีสาน
 ทิศตะวันออก
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันตก
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ทิศเหนือ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
จะเป็นความกัน
จะตายเร็ว
จะเสียของ
จะได้ลาภ
จะเจ็บไข้
จะสุขเหษมมีโชคดี
จะมีลูกมาก รักลูก
จะมีข้าวของมากมาย



ปลูกเรือนตามวัน

ปลูกวันอาทิตย์
ปลูกวันจันทร์
ปลูกวันอังคาร
ปลูกวันพุธ
ปลูกวันพฤหัสบดี
ปลูกวันศุกร์
ปลูกวันเสาร์

จะเกิดทุกข์อุบาทว์
ทำได้สองเดือนจะได้ผ้าผ่อนและสิ่งของ
ทำแล้วสามวันจะเจ็บไข้หรือไฟไหม้
จะได้ลาภและผ้าผ่อนอันดี
เกิดสุขสำราญทำแล้วห้าเดือนจะได้ลาภ
ความทุกข์สุขก่ำกึ่ง หลังสามเดือนได้ลาภเล็กน้อย
จะเกิดพยาธิเลือดตกยามออก ทำเสร็จแล้วสี่เดือนจะยากลำบาก



พิธียกเสาเอก

                 การปลูกเรือนควรปรึกษาโหราจรรย์ หาวันเวลาที่เป็นสิริมงคล ต้องจัดเตรียมเครื่องบูชาเสาไว้ให้พร้อม ในวันที่ยกเสา
ให้เตรียมเสาไว้ให้พร้อมและกล่าวเซ่นไหว้ หรือขอซื้อจากเจ้าที่เจ้าทาง หรือแม่พระธรณีเป็นพิธี ตลอดจนบอกพระภูมิเจ้าที่เตรียม เครื่องบัดพลี มีต้นกล้วยไว้มัดเสาเอก ซึ่งอาจต้องให้พระสงฆ์ผู้ทรงศีลแลชำนาญทางไสยศาสตร์ ลงยันต์นำแผ่ทอง หรือผ้าแดง
มาผูกติดปลายเสา สำหรับผู้ที่ผูกนั้นจะเลือกสีตามวันเกิดของเจ้าของบ้านก็ได้ ครั้นได้ฤกษ์ให้เจิมเสาประพรมน้ำมนต์แล้วเอายันต์
ปิดหัวเสา พอได้เวลาก็ลั่นฆ้องตีกลองเคาะระฆัง หรือจะโห่ 3 ลา แล้วช่วยกันยกเสาตั้งตรง ข้อสำคัญที่สุดนั้น เสาเอกหรือเสาขวัญ
ต้องยกให้ตรงฤกษ์ที่หมอดูให้มา ตามจารีตประเพณีมาแต่โบราณสืบกันมา ดังพรรณามาฉะนี้แล



ปลูกบ้านตามเดือน

เดือนอ้าย (ธ.ค)
เดือนยี่ (ม.ค)
เดือนสาม (ก.พ)
เดือนสี่ (มี.ค)
เดือนห้า (เม.ย)
เดือนหก (พ.ค)
เดือนเจ็ด (มิ.ย)
เดือนแปด (ก.ค)
เดือนเก้า (ส.ค)
เดือนสิบ (ก.ย)
เดือนสิบเอ็ด (ต.ค)
เดือนสิบสอง (พ.ย)

ได้เมื่อสมุทรโฆษถูกวิทยาธรฉกพระขรรค์ ทำการไม่ดี
ได้เมื่อพระรามเกิดทำการดี
ได้เมื่อพระรามกลืนยาพิษ ทำการไม่ดีแล
ได้เมื่อพระสมุทรโฆษได้นางพินทุมดี ทำการดี
ถึงกาลโจรฆ่าพราหณ์ ไม่ดีแน่
ตกพระเจ้าเสด็จอุบัติเหตุ ทำการดีทุกวัน
พระนาราย์ปราบยักษ์ อย่าทำจะดีกว่า
ราพณาสูรต้องโมกขศักดิ์พระราม ไม่ดี
ตกพระจันทร์กุมารเกิด ทำการทุกอย่างดีนักแล
ตกได้เมื่ออภิเษกพระอินทร์ พักไว้ก่อนอย่าทำ
ได้เมื่อพระรามข้ามทะเล ไม่ดีอย่าทำ
ได้เมื่อพระยาาจักรพรรดิเกิด ทำการดีนักแล



ข้อห้ามเกี่ยวกับบ้านตามคติโบราณ
 
  1. ห้ามมิให้ทำชื่อใหญ่กว่าหัวเสา
  2. ห้ามมิให้ทำแหวกช่องกลางที่นอน
  3. ห้ามมิให้ทำเรือนคร่อมต้นไม้
  4. ไม่ควรสร้างบ้านแบบศาลพระภูมิ มี 2 ห้อง มีฝา 1 ห้องไม่มีฝา 1 ห้อง
  5. ไม่ควรสร้างบ้านมีระเบียง 4 ด้านเหมือนศาลาการเปรียญ
  6. ห้ามปลูกเรือนขวางตะวัน
  7. ห้ามปลูกเรือนขวางคลอง
  8. ห้ามทำเรือนมี 4 จั่ว
  9. เรือนหลังหนึ่งห้ามทำประตู 4 แห่ง หน้าต่าง 9 แห่ง ประตูไม่อยู่กลางบ้าน
  10. จำนวนห้ามใช้จำนวนคู่
  11. บันไดไม่ลงทางทิศตะวันตก
  12. ไม่หันหัวเตียงทางทิศตะวันตก
  13. ไม่นอนขวางกระดาน
  14. ไม่ทำน้ำพุน้ำตกไหวเข้าตัวเรือน
  15. ไม่ทำทางลอดใต้ห้องน้ำห้องส้วม
  16. ไม่ทำอาคารพักอาศัยเป็นรูปตัว " T "
  17. ไม่ทำเรือนทะลุหน้าตลอดหลัง ถือเป็นเรือน "อกแตก"
  18. ไม่ทำภูเขาจำลองไว้ในบ้าน
  19. ไม่ทำทางเข้าออกคู่ไว้ตอนมุมของที่ดินที่ทางสามแพรกหรือสี่แยก
  20. ห้ามใช้ช่อฟ้า ใบระกา เครื่องวัด เครื่องหลวง เป็นส่วนประกอบของบ้าน
  21. ห้ามปลูกเรือนคล่อมตอ
  22. ห้ามตั้งศาลพระภูมิใต้เรือนเงา
  23. ห้ามทำบันไดเวียนซ้ายขาขึ้น
  24. ห้ามมีสัตว์ตกตายในหลุมตอม่อ



การปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน

การปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน ตามหลักโหราศาสตร์ 
สิทธิการิยะ ผู้ใดจะสร้างบ้านให้อยู่เย็นเป็นมงคลกับตนเอง ให้ปลูกต้นไม้ดังนี้

ทิศตะวันออก
ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ทิศใต้
ทิศตะวันตกเฉียงใต้
ทิศตะวันตก
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ทิศเหนือ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ปลูกไม้ไผ่หรือต้นกุ่มหรือต้นมะพร้าว
ปลูกต้นสารภีหรือต้นยอ
ปลูกต้นมะม่วงหรือต้นมะพลับ
ปลูกต้นพิกุล ราชพฤษ์ ขนุน สะเดา
ปลูกต้นมะขาม มะยม
ปลูกต้นมะกรูด
ปลูกต้นพุดทราหรือต้นหัวว่าน
ป,ุกต้นทุเรียนและขุดบ่อคงไว้
ไข้ร้ายมิพบพาน
กันจัญไรดีนัก
อายุยืนดี
กันโทษดีแท้
กันผีกันขึ้นความ
รูดผีสางนางไม้
กันอาคม มีมนต์คุณ
กันศตรูมีชัย

ผู้ใดทำได้ดังนี้ คนจะเกรงขาม ทรัพย์สินจะมาตาม อยู่เย็นเป็นสุขสำราญดีนักแล

ต้นไม้ที่ห้ามปลูกไว้ในบริเวณบ้าน

ต้นโพธฺ์
ต้นไทร
ต้นตะเคียน
ต้นดอกทอง
ต้นยาง
เพราะเป็นต้นไม้ประจำวัดวาอารามเท่านั้น
เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่เกินไป รากอาจเป็นอันตรายกับฐานบ้าน
เพราะเป็นต้นไม้ที่เชื่อว่าผีนางอายนางไม้สิงอยู่
เพราะเป็นลางร้าย ทำให้คนในบ้านผิดประเวณีกัน
เพราะเป็นต้นไม้ที่คนโบราณนำไปทำหีบศพ

                     ทั้งนี้ให้พิจารณาดูว่า ต้นไม้หรือกอไม้ใดมีชื่อเรียกไม่เป็นมงคล ก็ห้ามนำมาปลูก เช่น ต้นโศก ต้นระกำ 
ต้นหวาย  กอไผ่รวก ต้นจำปาจำปี เป็นต้น


COPYRIGHT (©) 2002-2012  Mr.SIRIWAT POKAYANONT  ALL RIGHTS RESERVED.
CONTACT  : :  02-431-2441  or  jumpffish@hotmail.com

Thank For Visit