picture

home

webboard

free  service

drawing  service

mail

contact 

[upload   23 :10,01-01-22 ]   [update ]  [explorer  resolution 800x600 ]  

 

headlines

drawing

 

 การเขียนแบบ | ความหมายคำว่า แปลน รูปด้าน | ภาพ Perspective,Oblique,Iso | วิธีเขียนรอยต่อของวัสดุ  | Dimension  | เกลียว | Bolt 6 เหลี่ยม ประเภทของ Screw | สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ | ขนาด กระดาษ (Standard) | Titleblock 
(Standard)
| คำย่อที่ใช้ในงาน เขียนแบบ | อ่านสัญลักษณ์การเชื่อม | Download รายการประกอบแบบ
| รูปแบบประตู-หน้าต่าง | ระยะ ความสูงอุปกรณ์ห้องน้ำ | Human Dimensions  | ขนาดสนามกีฬา รูปแบบและชนิดเสาโรมัน |LogConstruction 


 









วิธีอ่านสเกล (scale)

 [<<] Prev 1  ( 3 )


                          ตามปกติ scale จะประกอบไปด้วยมาตราส่วนย่อ 1 : 20 ,1 : 25 ,1 : 50 ,1 : 75 ,1 : 100  และ 1 : 200  และชุดพิเศษใช้สำหรับงานขนาดมาก ซึ่งต้องย่อส่วนให้เล็กลงพอเขียนลงแผ่นกระดาษได้คือชุด 1 : 100 ,1 : 200 ,1 : 250 ,1 : 300,
1 : 400
,1 : 500
  แต่ละชุดผู้ผลิตจะใช้สีเป็นตัวแบ่งเพื่อให้ง่ายต่อการแบ่ง เช่น สีแดง สีดำ สีเขียว
                         
มีเทคนิคเล็ก ๆ คือ หากต้องการย่อส่วนขนาด 1 : 500  แต่บังเอิญมี scale วัดชุดที่ไม่มีมาตรย่อส่วนนั้นก็อาจใช้มาตราส่วน
ย่อ 1 : 50 ในชุดที่มีอยู่  และคำนวณเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า คือ เมื่อจะกะขนาด 10 เมตรก็จะกะขนาดย่อส่วนจากมาตราส่วนย่อ 1: 50 เพียงขนาด
1 เมตร ดังนี้แบบที่เขียนขึ้นด้วยระยะที่กะจากมาตราส่วนย่อ 1 : 50 ได้เช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อต้องการมาตราส่วนย่อที่น้อยลง เช่น
ส่วนย่อ 1 : 20 แต่ไม่มี scale วัดมาตราส่วนย่อในชุดนี้ ก็อาจใช้มาตราส่วนย่อในชุดที่มีมาตราส่วนย่อ 1 : 200 แล้วคิดลดลง 10 เท่า แบบที่
เขียนขึ้นจากการลดส่วนย่อแล้ว ก็จะกลายเป็นแบบที่ใช้มาตราส่วน 1 : 20 ได้

  อธิบายภาพ

 ภาพ scale  (A)

1 : 1 ในบ้านเราใช้ 1 : 100  ส่วนระยะที่บอก 52.5 mm เราก็จะอ่านว่า 52.5 m.
  1 : 10 ระยะที่บอก 320 mm เราก็จะอ่านว่า 32 m m.

  ภาพ scale  (B)

1 : 2 ในบ้านเราใช้ 1 : 200  ส่วนระยะที่บอก 118 mm เราก็จะอ่านว่า 118  m.
  1 : 20 ระยะที่บอก 540 mm เราก็จะอ่านว่า  54 cm.

ภาพ scale  (C)

1 : 5 ในบ้านเราใช้ 1 : 500  ส่วนระยะที่บอก 335 mm เราก็จะอ่านว่า 335  m.
  1 : 50 ระยะที่บอก 1.75 m.  เราก็จะอ่านว่า 1.75 m.

 


                                สรุปการอ่าน scale แบบง่าย ๆ และเข้าใจว่าวัดได้เท่าใดก็อ่านอย่างนั้นเลยทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าคุณจะใช้มาตรา ส่วนเท่าใด เท่านี้เองครับไม่ยากใช่ไหม แต่อธิบายแบบนี้ก็ดูง่ายหากลงมือวัดและอ่านจริงก็จะงงอยู่พักนึงและก็จะเข้าใจแบบ
ฝังลึกครับ
                              

 
ลักษณะเส้นที่ดีและไม่ดี

 

1. เส้นตรงที่ไม่ต่อเนื่อง
2. เส้นที่มุมยาวเกินมากไป
และไม่ต่อกันพอดี
3. ใช้ความหนาเส้นไม่ถูก

4. เส้นตำแหน่งศูนย์กลางวงกลม
ไม่พอดีกับวงกลม
5. เขียนเส้นโค้งกับเส้นตรง
ไม่ต่อเนื่อง
6. ใช้เส้นร่างที่หนา


                       ข้อควรใช้ความระมัดระวังและความประณีตเป็นพิเศษในการต่อเส้นต่าง ๆ โดยเฉพาะเส้นคนละเส้น เช่น เส้นตรงต่อกับเส้นโค้งหรือเส้นโค้งทางหนึ่งต่อกับเส้นโค้งอีกทางหนึ่ง การเขียนเส้นต่อกันแต่ดูไม่ต่อกันนั้นมีผลทำให้อ่าน
 ความหมายผิดไปได้ไกลพอใช้


พัฒนาสู่โปรแกรมเขียนแบบ

 
                       Autocad  เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการเขียนแบบโดยตรง ประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆมากมายที่ใช้ในการสร้าง เส้นสายในลักษณะต่าง ๆ  และยังมีคำสั่งที่ช่วยให้การเขียนแบบสะดวกขึ้น  เช่น grid (ตารางแบบกระดาษกราฟ) การให้ค่าระยะหรือมุม
ที่เขียนโดยอัตโนมัติหรือแม้แต่การเขียนเส้นตั้งฉาก เป็นต้น ทั้งยังสามารถนำคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ เหล่านี้มาประกอบกันเป็นคำสั่งหรือขั้น
ตอนการทำงานของผู้ใช้แต่ละคนได้ต่อไป ซึ่งจะทำให้การใช้งานมีความเหมาะสมกับรูปแบบการทำงานและสะดวกรวดเร็จเป็นอย่างมาก
แต่ในการเขียนแบบด้วยโปรแกรมนี้หรือโปรแกรมทางด้าน CAD อื่น ๆ ก็ตาม จะแตกต่างจากการเขียนแบบด้วยมือพอสมควร ซึ่งสามารถ
จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในลักษณะใหญ่ ได้ 3 ประการด้วยกันคือ
                      1.   ลักษณะการมองเห็น รูปที่ทำการเขียนด้วยโปรแกรมนี้จะมีลักษณะเหมือนการมองผ่านกล้องถ่ายภาพซึ่งถ้าเรามองในระยะ ไกลก็จะเห็นภาพรวมทั้งหมดที่เราเขียน แต่อาจจะมองไม่เห็นรายละเอียดโดยเฉพาะในรูปขนาดใหญ่ แต่ถ้าใช้เลนส์ซูมดึงรูปเข้ามาในระยะ
ใกล้ก็จะเห็นรายละเอียดชัดเจน การเขียนรูปด้วยโปรแกรม Autocad ก็เช่นกันจะมีการเขียนรูปทางจอภาพเหมือนมองผ่านกล้องถ่ายภาพ
ดังที่กล่าวมาแล้ว ในการทำงานจะต้องมีการขยาย หรือที่เรียกว่าการ Zoom เข้าไปดูหรือทำงานในรายละเอียดเป็นส่วน ๆ ไป
                      2.  มาตราส่วนของการเขียน ท่านที่ทำงานเขียนแบบย่อมเคยใช้ไม้บรรทัดที่มีสเกล ต่าง ๆ คงทราบว่าเวลาเราจะเขียนแบบ ในมาตราส่วนใดก็ตามเราต้องใช้สเกลนั้นมาจับ รูปที่เขียนจะอยู่สเกลที่เราต้องการ แต่การเขียนด้วยโปรแกรม cad นั้น อาจเรียกได้ว่าการ
เขียน full scal เพราะการเขียนจะเขียนอยู่บนพื้นฐานของหน่วยวัดของโปรแกรม เรียกว่า drawing unit ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะสมมุติให้เป็น
ระยะเท่าใดก็ได้ เช่น 1 เมตร 1 หลา 1ฟุต หรือแม้แต่ 1 กิโลเมตรก็ได้
                      3.  ตำแหน่งของรูปที่เขียนบนพื้นที่ที่จะเขียน ในการเขียนแบบโดยปกตินั้นนอกจากเราจะต้องกำหนดมาตรส่วนขององค์
ประกอบภายในพื้นที่จะเขียนแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องวางตำแหน่งของแต่ละองค์ประกอบด้วยว่าแต่ละรูปที่เขียนขึ้นมาอยู่บริเวณใด
ของแผ่นงาน ท่านที่ทำงานเขียนแบบคงพบว่า บางครั้งตำแหน่งที่เราดาประมาณไว้ผิดพลาดไม่เหมาะสมก็มี เช่น อยู่ริมกระดาษเกินไปจนเขียน
ไม่พอ (ตกกระดาษ) ในกรณีเช่นนี้จะต้องลบออกและเขียนใหม่กันเลยก็ว่าได้ ถ้างานเร่งหน่อยก็ใช้วิธีต่อกระดาษเอา ปัญหาเหล่านี้บางท่านอาจ
เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เรื่องเหล่านี้จะมีผลต่องานเป็นอย่างมาก ความถูกต้องของแบบนั้นเป็นเรื่องสำคัญแน่นอน แต่เรื่องความสวยงาม
เป็นระเบียบของแบบที่ออกมาก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย
                     ปัญหาเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นเลยในการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ เพราะเราสามารถย้ายตำแหน่งของรูปที่เราเขียนไปยังจุดใด ๆ 
ของแผ่นงานได้โดยง่าย ไม่ว่าชิ้นงานนั้นจะละเอียดเพียงใดก็ตาม ซึ่งก็หมายความว่าเราไม่จำเป็นที่เราจะต้องคาดประมาณตำแหน่งของวัตถุ
ที่จะเขียนอีกต่อไป เราอาจจะเขียนรูปในจุดใด ๆ ก็ได้ เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้วค่อยย้ายวัตถุนั้น ๆ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการภายหลัง

โปรแกรม Autocad

                      โปรแกรม Autocad  มีการพัฒนาหลาย vertion ด้วยกันและปัจจุบันมีใช้กันอยู่คือ vertion 2000  นับได้ว่า Autocad
เป็นโปรแกรมที่มีการพัฒนาเป็นอย่างมาก

 

  
                       
สำหรับผู้เริ่มศึกษาโปรแกรม Autocad ผมขอแนะนำให้ศึกษาคำสั่ง Layer  ให้เข้าใจเพราะ Layer  จะมีประโยชน์
ในการลบอย่างเร็วในกรณีไม่ต้องการวัตถุนั้น ๆ และอื่น ๆ อีกมาก Layer จะเป็นตัวกำหนดสี ขนาด ของเส้นที่ plot ออกทางเครื่องพิมพ์
อีกด้วย 

[<<] Prev 1  2  ( 3 )


COPYRIGHT (©) 2002-2012  Mr.SIRIWAT POKAYANONT  ALL RIGHTS RESERVED.
CONTACT  : :  02-431-2441  or  jumpffish@hotmail.com

Thank For Visit