picture

home

webboard

free  service

drawing  service

mail

contact 

[upload   23 :10,01-01-22 ]   [update ]  [explorer  resolution 800x600 ]  

 

headlines

drawing

 

การเขียนแบบ | ความหมายคำว่า แปลน รูปด้าน | ภาพ Perspective,Oblique,Iso | วิธีเขียนรอยต่อของวัสดุ  | Dimension  | เกลียว | Bolt 6 เหลี่ยม ประเภทของ Screw | สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ | ขนาด กระดาษ (Standard) | Titleblock 
(Standard)
| คำย่อที่ใช้ในงาน เขียนแบบ | อ่านสัญลักษณ์การเชื่อม | Download รายการประกอบแบบ
| รูปแบบประตู-หน้าต่าง | ระยะ ความสูงอุปกรณ์ห้องน้ำ | Human Dimensions  | ขนาดสนามกีฬา รูปแบบและชนิดเสาโรมัน |LogConstruction 


 

เครื่องมือที่ใช้เขียนแบบ

(1) 2 3 Next [>>]


                      ถึงแม้ทุกวันนี้จะใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเขียนแบบ  แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้เครื่องมือเขียนแบบที่ใช้มือเขียนไม่ได้
เนื่องจากการลืมหรือตกหล่นขณะเขียนด้วยโปรแกรมเขียนแบบภายหลังพริ้นงานแล้ว ดังนั้นกระดานเขียนแบบ ดินสอ ฉากปรับองศา
 ยางลบ ฯลฯ เรายังคงต้องใช้ต่อไป  หัวข้อเครื่องมือที่ใช้เขียนแบบนี้จะเน้นเฉพาะเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นที่ต้องใช้ร่วมกับ
โปรแกรมเขียนแบบ

กระดานรองเขียนแบบ

                     ใช้สำหรับรองกระดาษที่จะเขียน ไม่จำเป็นต้องทำจากไม้ จะใช้วัสดุอื่นทำก็ได้ เช่น พลาสติก กระจก ใยสังเคราห์อื่น ๆ ที่
เป็นแผ่น จุดสำคัญของกระดานรองเขียนแบบคือ ต้องมีผิวหน้าเรียบ
                     สำหรับขนาดของกระดานรองเขียนแบบควรเลือกให้ขนาดที่เหมาะกับกระดาษที่ใช้ในการเขียนเป็นส่วนใหญ่คือ ขนาด
กระดาษชนิดใหญ่มาตรฐานที่เรียกขนาดอิมพีเรียล ซึ่งกระดานรองเขียนแบบจะต้องมีขนาดใหญ่กว่าขนาดกระดาษตามสมควร เผื่อ
ไว้ความสะดวกอื่น ๆ ด้วย

กระดาษเขียนแบบ

                     มีลักษณะและชนิดแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ใช้สอยดังนี้
              กระดาษร่าง มีลักษณะเหมือนกระดาษลอกลายทั่วไป ีความทึบน้อยจนมองทะลุผ่านถึงแบบที่ร่างไว้ข้างใต้สำหรับ
ขนาดของกระดาษมีตั้งแต่ 1-2 อิมพีเรียล
             กระดาษปอนด์ มีลักษณะเหมือนกระดาษวาดเขียนทั่วไป แต่มีความหนาบางต่างกันหลายขนาดตามน้ำหนักคือตั้งแต่
80-100 ปอนด์ ส่วนขนาดกว้างยาวของแผ่นกระดาษมีขนาดมาตรฐานเรียกว่าขนาด "อิมพีเรียล"


             กระดาษไข กระดาษชนิดนี้มีเนื้อเรียบแข็งและมีความขุ่นน้อยกว่ากระดาษร่าง บางทีก็เรียกกันว่ากระดาษแก้ว และผลิด
ออกขายเป็นม้วน มีความยาวประมาณ 30 เมตร กว้าง 1.10 ม. มีความหนาบางต่างกันตามเบอร์ตั้งแต่ 60,70,80,90
และ 100
             ยังมี
กระดาษไขอีกชนิดหนึ่งทำจากพลาสติก ซึ่งถูกน้ำจะไม่หดตัวหรือย่น แม้การพิมพ์ก็ได้ผลดี ไม่แตกต่างกับกระดาษไข
ธรรมดา ผิวหน้าทางด้านหนึ่งเป็นผิวด้านจับดินสอและหมึกได้ดี แต่อีกด้านจะลื่น อายุการใช้งานสั้น เพราะมักกรอบแตกเร็วกว่า
กระดาษไขธรรมดามาก
             กระดาษอื่น ๆ   ที่ใช้ในการเขียนแบบ เช่น กระดาษสี กระดาษขาว-เทา และกระดาษสำหรับพิมพ์แบบ

ดินสอ

             ดินสอเขียนแบบมีหลายชนิด ชนิดทำเป็นแท่งหุ้มด้วยไม้ เมื่อต้องการใช้ก็เหลาไม้ออกให้ใส้ภายในปรากฎมากน้อยตามต้อง
การ บาง
ชนิดใช้แถบกระดาษหุ้มใส้ดินสอไว้เมื่อต้องการใช้ก็ลอกแถบกระดาษออก ชนิดเป็นด้ามหุ้มใส้ดินสอถาวรแต่ใช้เฉพาะใส้
ดินสอสอดไว้ภายในมีกลไกเลื่อนใส้ดินสอเข้าออกมากน้อย หรือเปลี่ยนใส้ใหม่ได้ตามต้องการ
             ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบนั้น มีส่วนผิดกันอยู่บ้าง สำหรับใส้ดินสอตามธรรมดามีความแข็งและอ่อนต่างกันตามมาตรฐาน
สากล 17 ขั้น เพื่อใช้สำหรับความประสงค์ต่าง ๆ กัน และมีรหัสบอกความแข็งอ่อนไว้ดังนี้

อ่อนมาก  B

อ่อน  B

ปานกลาง  F,HB

แข็ง  H

แข็งมาก  H

6B-4B

3B-B

F,HB,H

2H-4H

5H-9H

            

 





ที่เหลาใส้ดินสอ (เหลาเฉาะใส้)

ความเข้มและอ่อนของดินสอ   

 

 

ดินสอแบบกดที่มีขนาดตั้งแต่  0.3 - 1.0


ตารางชนิดเส้นที่ใช้เขียนแบบกับความหนาของดินสอที่เหมาะสม

TASK

LEAD

CONSTRUCTION LINES

3H,2H

GUIDE LIN 3H,2H
LETTERING LINES H,F,HB
DIMENSION LINES 2H,H
LEADER LINES 2H,H
HIDDEN LINES 2H,H
CENTER LINES

2H,H

PHANTOM LINES 2H,H
STITCH LINE 2H,H
LONG BREAK LINES 2H,H
VISIBLE LINES H,F,HB
CUTTING PLANE LINE H,F,HB
EXTENSION LINES 2H,H
FREEHAND BREAK LINES H,F,HB


             สภาพอากาศในเมืองไทยนับเป็นอิทธิพลอย่างหนึ่ง  ที่ทำให้ต้องมีการปรับระดับขั้นของดินสอตลอดจนเทคนิคการเขียน
แบบให้พอเหมาะกัน  เส้นดินสอบางชนิดที่เขียนลงบนกระดาษไข และต้องการพิมพ์ต่อไปจะต้องมีคุณสมบัติทึบแสงด้วย

เครื่องมือเขียนเส้นทางตั้ง-ทางนอนและทแยงมุม





การเขียนเส้นในแนวนอน เริ่มด้วยให้ดินสอทำมุมกับกระดาษ 60° ขณะลากเส้นให้หมุนดินสอด้วยอย่างช้า ๆ



การเขียนเส้นในแนวตั้ง ก็เช่นกันทำมุมกับกระดาษ 60° ขณะลากเส้นให้หมุนดินสอด้วยอย่างช้า ๆ

 

                                                 

(1) 2 3 Next [>>]


COPYRIGHT (©) 2002-2012  Mr.SIRIWAT POKAYANONT  ALL RIGHTS RESERVED.
CONTACT  : :  02-431-2441  or  jumpffish@hotmail.com

Thank For Visit