โรงเรียนในฝัน

โครงการแห่งความ (เพ้อ) ฝันที่น่าจับตามอง

พินิจ พันธ์ชื่น

     เชื่อว่าทุกท่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติ ไม่ว่าจากฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ และบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งจากภาครัฐและเอกชน คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามีความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงมากเหลือเกินในระยะนี้ มีนโยบายด้านการศึกษาหลายอย่างถูกผลักดันเพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม แน่นอนว่าทุกเรื่องจะมี หลักการ เหตุผลและความจำเป็นที่อ่านแล้วอาจเคลิ้มเอาได้ง่ายๆ เหมือนอ่านนวนิยายแล้วจินตนาการตามไปก็ทำให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม เบิกบาน ยิ้ม หัวเราะ ด้วยความสุขที่ปรุงแต่งขึ้นในใจได้ไม่ยาก อ่านจบ เหลียวดูตัวเองตามสภาพที่เป็นจริงก็คงพบอะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไป เรียกว่าความคิดที่เลื่อนไหลไปในโลกแห่งจินตนาการนั้น ไม่อาจมีสิ่งใดมาขวางกั้น อะไรๆก็ดูจะง่ายไปหมด ก็ความฝันนี่ครับ ย่อมไม่มีปัญหา

     บนเส้นทางของการปฏิรูปการศึกษาของชาติ ได้มีการนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีหลายอย่าง ให้สถานศึกษา และครูอาจารย์นำไปปฏิบัติ การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การวิจัยในชั้นเรียน การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ การเพิ่มพูนทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การประกันคุณภาพการศึกษา ฯลฯ แต่ละเรื่องได้รับการเผยแพร่ ปลุกเร้า กระตุ้นเตือนให้รีบทำ และเกิดการแข่งขันกันทำ ออกอาการว่าใครจะได้มาก ได้เร็วกว่ากันก็มีอยู่ สิ้นเปลืองงบประมาณ และเวลาไปแล้วแค่ไหน เกิดความทุกข์ทรมานจนคนดี คนเก่งผันชีวิตตนเองออกจากเส้นทางอาชีพที่เคยศรัทธาและมุ่งมั่น ไปแล้วเท่าไร กล่าวโดยภาพรวม ความผิดพลาดสำคัญที่ผ่านมาและควรได้ใช้เป็นบทเรียน คือการมองงานด้านการศึกษาเสมือนหนึ่งว่าไม่แตกต่างจากกระบวนการผลิตสินค้าในระบบอุตสาหกรรม ทั้งๆที่มีธรรมชาติของงาน และความประณีต ละเอียดอ่อน ความสลับซับซ้อนของปัจจัยอันเป็นส่วนประกอบของระบบ แตกต่างกันมากเหลือเกิน สิ่งที่เป็นความสำเร็จของคนในสังคมหนึ่งที่มีคุณลักษณะพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมต่างจากเรามาก หากคิดจะนำวิธีการเหล่านั้นมาใช้บ้าง โดยหวังผลอย่างเดียวกัน ถ้าไม่คิดให้รอบคอบถึงทุนเดิมที่แท้จริงที่เรามีอยู่ ย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ได้แค่รูปแบบของเขามา มองผิวเผินที่เปลือกนอก ก็ดูจะคล้ายๆกัน แต่มักจะปราศจากแก่นสารที่แท้จริงภายใน

     โรงเรียนในฝัน เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ น่าสนใจติดตาม รับรองว่าใครได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโครงการนี้แล้ว ต้องชอบ ชื่นชม และ ยกนิ้วให้กับความคิดอันเลอเลิศของโครงการนี้เป็นแน่ ลองอ่านรายละเอียดต่อไปนี้ดูแล้วจะพบว่าน่าสนใจติดตามเพียงใด

มติคณะรัฐมนตรี

     คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในหลักการโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน (Lab School) เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๖ และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการพัฒนาแนวคิดและหลักการโดยมีความเชื่อที่ว่าการศึกษาสามารถพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถลดช่องว่างของบุคคลในสังคมลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนชาวไทยสามารถหลุดพ้นจากวงจรความยากจน ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นที่สำคัญของรัฐบาล ดังนั้น โครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน จึงเป็นกระบวนการพัฒนาโรงเรียนให้เป็น โรงเรียนในฝันของคนในสังคมที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ และในขณะ เดียวกันโครงการนี้ก็จะช่วยทำให้ความฝันของคนในสังคมเป็นจริงได้

รายละเอียดของโครงการสรุปได้ดังนี้

     ๑. การคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในแต่ละอำเภอ ควรเป็นไปตามเจตนารมณ์ และความต้องการ ของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่

     ๒. การพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนในฝันในด้านต่างๆ นอกจากใช้งบประมาณแผ่นดินแล้วควรประสานกับ ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพเพื่อเป็นเจ้าภาพหลักที่จะให้การสนับสนุนโรงเรียนแต่ละแห่งอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง โดยให้ประสานกับกระทรวงการคลังเพื่อหามาตรการทางภาษีที่เหมาะสม และสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนในโครงการนี้ต่อไป

     ๓. ควรระดมความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันราชภัฏในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติจริงแก่นิสิตนักศึกษาเสมือนเป็นโรงเรียนสาธิตของสถาบันนั้น ๆ

แนวคิดโครงการ

     พื้นฐานแนวคิดโครงการหลอมรวมจากความฝันอันสูงสุดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนในท้องถิ่นที่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

     ๑. การกระจายโอกาสทางการศึกษา แก่เด็กและเยาวชนไทยให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเทียบเคียงกับโรงเรียนชั้นนำ เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนี้

     ๒. การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนบนพื้นฐานความเป็นไทยและความเป็นประชาธิปไตย เป็นต้นแบบและพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนอื่นได้

     ๓. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีจำนวนเพียงพอ เป็นระบบเครือข่ายและเอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในอนาคต

     ๔. การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย ให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันได้ในระดับสากล

     ๕. การบริหารจัดการทั้งระบบโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ให้มีจำนวนผู้บริหาร ครูและบุคลากรมืออาชีพอย่างเพียงพอ มีอิสระในการทำงานอย่างคล่องตัว มีการพัฒนาด้านกายภาพอย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

     ๖. การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนใน ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยและเป็นโรงเรียนสาธิตการฝึกอบรมครูจากสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่

     ๗. การวัดประเมินผล เน้นการประเมินเพื่อการพัฒนาตนเองภายในโรงเรียนและการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติโดยการประเมินจากองค์กรทั้งภายในและภายนอก

     เพื่อให้เกิดผลจริงจังในการดำเนินงาน กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน จากทุกกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้องโดยกำหนดให้โครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน เป็นโครงการที่ให้โอกาส ให้ความเสมอภาคและพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและชื่นชมผลงานร่วมกันของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครู ผู้บริหารและโรงเรียนให้สมบูรณ์แบบ กลายเป็นฝันที่เป็นจริงของทุกคนในยุคปฏิรูปการศึกษาให้เกิดขึ้นพร้อมกันในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ นี้โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตรงตามเป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้ ดังนี้

     ๑. การคัดเลือกโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและกรมสามัญศึกษาได้ร่วมกันกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียน เพื่อให้แต่ละอำเภอใช้เป็นแนวทางการคัดเลือกโรงเรียน ขนาดกลางที่มีความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค ทำเลที่ตั้งเหมาะสม ผู้บริหารและครูมีศักยภาพเพียงพอ และที่สำคัญที่สุดคือได้รับการคัดเลือกจากประชาชนในท้องถิ่น โดยจะประเมินสภาพจริงของแต่ละโรงเรียนก่อนการพัฒนา จำนวนรวมทั้งสิ้น ๙๒๑ โรงเรียนใน ๗๙๕ อำเภอ ๘๑ กิ่งอำเภอและ ๔๕ เขตในกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกได้ดังนี้

     ๒. การพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย

     ๒.๑ ผู้รับผิดชอบ คือคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ สถาบันราชมงคลและโรงเรียนเอกชนที่ได้มาตรฐานในแต่ละพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     ๒.๒ ผู้รับการพัฒนาได้แก่ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน จาก ๙๒๑ โรงเรียน โดยมีกระบวนการพัฒนา ดังนี้

๖. การกำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการ ประกอบด้วย