All animals all the time
home
Dog
Fish
Cat
Bird
SmallPets
Insects
Shopping


SEARCH

 PET SHOP
 FARM
 โรงเรียนสุนัข
 โรงพยาบาลสัตว์
 ราคากลางสัตว์เลี้ยง
 สินค้าผลิตภัณฑ์
 FOOD
ควายป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bubalus bubalis Linnaeus,1758
อันดับ : Artiodactyla
วงศ์ : Bovidae
ข้อมูลจำเพาะ ควายป่าเป็นสัตว์กีบคู่ ลักษณะของกีบคู่ขนาดเท่ากัน เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับวัวป่า เท้า ทั้ง 4ข้างมีนิ้วเท้าขนาดใหญ่ข้างละ 2นิ้ว (คือนิ้วที่ 3และ 4) แต่นิ้วที่ 2 และ 5 ลดขนาด เป็นกีบเท้าเล็ก ๆ
ควายป่าจัดเป็นสัตว์พวกกินพืชที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก มีการพัฒนาระบบการย่อยอาหาร เช่นเดียวกับสัตว์ในจำพวกเดียวกัน คือ กระเพาะมี 4ตอน สามารถสำรอกอาหารมาพักเพื่อ เคี้ยวเอื้องให้ละเอียดได้ เขาบนหัวเป็นแบบเขากลวงทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่มีการแตกกิ่งเขา โดยเขาจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม เปลือกนอกเป็นปลอกเขาแข็งสวมทับบน แกนกระดูกที่งอกติดกับกะโหลกศรีษะ ตัวเขาจะโตขึ้นตามอายุ เขามีคู่เดียวตลอดชีวิต ควายป่ามีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเซีย มีนิสัยชอบน้ำมาก จึงได้ชื่อเรียกอีก อย่างว่า ควายน้ำเอเซีย
ส่วนคำว่า "มหิงสา" เป็นคำมาจากภาษาบาลีว่า "มหิส" ซึ่งแปลว่าควาย นิยมใช้เรียกควายป่า ขนาดใหญ่เพื่อแยกความแตกต่างของควายด้วยกัน เนื่องจากควายป่ามีความแข็งแรง ดุร้าย ปราดเปรียว รักอิสระและฉลาดเฉลียวเหนือกว่าควายบ้านซึ่งมีพฤติกรรมเชื่องช้า จึงมักนำ มาใช้แรงงาน

ลักษณะเด่น รูปร่างของควายป่ากับควายบ้านคล้ายคลึงกันมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ทุกสัดส่วนของ ควายป่าจะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ลักษณะของควายป่าจะมีรูปร่างเตี้ยล่ำสัน มีขนสีเทา หรือสีน้ำตาลดำอยู่ตามลำตัว เส้นขนหยาบห่าง ช่วงคอใหญ่และหนา บริเวณลำคอมีแถบลาย ขนาดใหญ่สีขาวเป็นรูปตัว V หน้าผากแคบ ท้องไม่ป่องพลุ้ยอย่างควายบ้าน หางสั้นแค่ข้อ เข่าหลัง ปลายหางเป็นพู่ขนยาว ใบหูแหลมมีขนขึ้นเต็มขาทั้ง 4ข้างตั้งแต่หัวเข่าไปถึงกีบเท้า เป็นสีออกเทาหม่นคล้ายใส่ถุงเท้า เขาของควายป่ามีขนาดใหญ่และวงกว้างกว่าควายบ้านและ พวกวัวทุกชนิด วงเขาตีวงโค้งไปด้านหลังคล้ายเสี้ยววงพระจันทร์ ด้านในของโคนเขาที่เป็น รูปสามเหลี่ยมจะมีรอยหยักลึกเป้นลอนคลื่นคล้ายพาลีของเขาวัวป่า ขนาดของโคนเขามีความ กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ความยาวของวงเขาวัดตามโค้งนอกยาวประมาณ 150-180 เซนติเมตร

การกระจายพันธุ์ เขตกระจายพันธุ์ของความป่าจะอยู่ในภูมิภาคเอเซียเป็นส่วนใหญ่ เช่น ในแถบประเทศอินเดีย พม่า และไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ความป่าที่สำคัญที่สุด เคยมีรายงานว่าควายป่า ในประเทศไทยมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น ๆ
ปัจจุบันคาดว่าหลายรัฐในประเทศอินเดีย เช่นรัฐอัสสัมและโอริสา น่าจะมีควายป่าแท้ ๆ หลง เหลืออยู่บ้าง ในประเทสไทยเดิมเคยมีควายป่าอยู่ตามทุ่งหรือป่าโปร่งเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ แต่ปัจจุบันถูกล่าไปเกือบหมดแล้ว ยังคงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวคือในพื้นที่ของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี คาดว่าประมาณ 40ตัว

อุปนิสัย ความเป็นอยู่โดยทั่วไปของความป่า ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ที่มีแต่ตัวเมียและตัวผู้เล็ก ๆ ส่วนตัวผู้ขนาดใหญ่มักจะชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังแหล่งอาศัยสำคัญของควายป่า ได้แก่ ป่าทุ่ง หรือป่าโปร่ง ตามที่ลุ่มต่ำที่มีหนองบึงสำหรับลงนอนแช่ปลัก ควายป่าจะไม่ชอบอยู่ป่าสูงเพราะ ว่าขนาดเขาที่ใหญ่และยาวจะเกะกะไม่สะดวกในการอยู่อาศัย ควายป่าสายตาไม่ดี แต่จะมีจมูกและ หูไวต่อประสาทสัมผัสควายป่าจะมีความทรหดทนไม่เกรงกลัวคน และดุร้ายกว่าสัตว์ป่าในตระกูล เดียวกัน
อาหารหลักของควายป่า ได้แก่ พวกหญ้าต่าง ๆ ใบไม้ลูกไม้ต่าง ๆ ควายป่าจะชอบออกหากินตอน เช้าและตอนเย็น กลางวันจะพักนอนแช่ปลักหรือหลบอยู่ตามพงหญ้าสูง ๆ การนอนแช่ปลักของ สัตว์ป่าหลายชนิดนั้น นอกจากจะได้ความเย็นจากโคลนที่เกาะติดอยู่ตามผิวหนังแล้ว ยังเป็นเกราะ สำหรับป้องกันแมลงรบกวนได้อีกด้วย ฤดูผสมพันธุ์ของควายป่าจะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดู หนาวประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ในช่วงนี้ควายโทนจะกลับเข้าฝูงเพื่อผสมพันธุ์ และถ้าตัว ผู้ที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 1ตัวในฝูง จะเกิดการต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงตัวเมียในฝูง ตัวที่ชนะจะสามารถ ผสมพันธุ์กับตัวเมียทั้งฝูงได้ ตัวที่แพ้ก็จะหลบหนีไป
ปกติควายป่าตัวเมียจะใช้ระยะเวลาในการตั้งท้องประมาณ 310วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ภายหลัง คลอดได้ 40วัน ก็สามารถผสมพันธุ์ใหม่ได้ วัยเจริญพันธุ์ของตัวเมียคือ 3ปีขึ้นไป ส่วนตัวผู้สามารถ ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่ 2ปีขึ้นไป อายุเฉลี่ยของควายป่าประมาณ 20-25ปี