หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

(พ.ศ. 2424-2497)

                             เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2424 เป็นบุตรนายสิน กับนางยิ้ม ชาวจังหวัดสมุทรสงคราม บิดาเป็นนักดนตรีและเจ้าของวงปี่พาทย์มีชื่อเสียง ภรรยาคนแรกชื่อ โชติ (นามสกุลเดิม หุราพันธ์) มีบุตรธิดา 7 คน ที่เป็นนักดนตรีมีชื่อเสียง คือ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง และนางมหาเทพกษัตริย์สมุห( บรรเลง สาคริก) ภรรยาคนที่2 ชื่อ ฟู (น้องสาวนางโชติ ศิลปบรรเลง) มีบุตรธิดา 5 คน

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เริ้มเรียนดนตรีกับบิดา ต่อมาได้เป็นศิษย์ ครูรอด พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เรียนเพลงมอญกับ ครูสุ่ม ดนตรีเจริญ ได้รับมอบให้เป้นผู้อ่านโองการไหว้ครูจากบิดา

เป็นมหาดเล็กในจอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทำหน้าที่นักดนตรีและครูสอนดนตรี ต่อมาได้เป็นหัวหน้าวงวังบูรพาภิรมย์ ของพระองค์

เข้ารับราชการประจำวงปี่พาทย์หลวงในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นปลัดกรมปี่พาทย์หลวง เป็นพระอาจารย์สอนดนตรีไทยถวาย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี บรมราชินี รวมทั้งมีส่วนช่วยถวายคำแนะนำการพระราชนิพนธ์เพลงไทย 3 เพลง คือเพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรลออองค์ เถา และโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น ทั้งยังเป็นผู้ช่วยในการก่อตั้งและฝึกสอนวงมโหรีส่วนพระองค์และวงมโหรีหญิงในราชสำนัก เป็นผู้ควบคุมวงวังลดาวัลย์และวงวังบางคอแหลมในพ.ศ.2473ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปยังประเทศกัมพูชา พระเจ้ามณีวงศ์ทรงขอตัวไว้ช่วยสอนดนตรีไทยแก่นักดนตรีในราชสำนักระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อปรับเปลี่ยนระบบราชการ จึงย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร จนเกษียณอายุ แล้วจึงสอนประจำวงของตนเอง ที่บ้านบาตร และสอนแก่สถาบันต่างๆเช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนราชินี ศิษย์ที่มีชื่อเสียง เช่น นายรวม พรหมบุรี นายเผือด นักระนาด นายโชติ ดุริยประณีต นายชื้น ดุริยะประณีต นายเอื้อน ดิษฐ์เชย นายสมภพ ขำประเสริฐ นายประสิทธ์ ถาวร นายบุญยงค์ เกตุคง เรืออากาศเอกโองการ กลีบชื่น คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง

นางมหาเทพกษัตริย์สมุห นางจันทนา พิจิตรคุรุการ

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ มีฝีมือในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้ดีทุกชนิด ที่ได้รับยกย่องเป็นพิเศษคือ ระนาดเอก เป็นต้นตำหรับเพลงแบบต่างๆเช่น เพลงกรอสำเนียงอ่อนหวาน การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก 2 ราง แตี่งเพลงที่มีลูกนำขึ้นต้น ริเริ่มการบรรเลงรวมวงใหญ่ที่เป็นต้นแบบของมหาดุริยางค์ไทยในปัจจุบัน การนำอังกะลุงและปี่พาทย์มอญมาบรรเลงริเริ่มแต่งเพลงที่มีทางเปลี่ยนของเพลงท่อนต่างๆ และเป็นผู้คิดริเริ่มโน้ตเลข 9 ตัวเพื่อใช้สอนดนตรีไทย ได้แต่งเพลงไว้เช่น เพลงโอ้ลาว เถา(พ.ศ.2456) เพลงเขมรพวง 3 ชั้น (พ.ศ.2460) เพลงเชิดจีนทางวังบางคอแหลม เพลงพม่าห้าท่อน เถา (พ.ศ.2473) เพลงแขกขาว เถา(พ.ศ.2473)

เพลงอะแซหวุ่นกี้ เถา (พ.ศ.2475) เพลงนกเขาขะแมร์ (พ.ศ.2476) เพลงลาวเสี่ยงเทียน เถา(พ.ศ.2476) เพลงแสนคำนึง เถา (พ.ศ.2483) เพลงไส้พระจันทร์ เถา (พ.ศ.2490)

จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประทานนามสกุล ศิลปบรรเลง แก่

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ