โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ จว.กาญจนบุรี

๑. ความเป็นมา : สงคราม ๙ ทัพเป็นชัยชนะของการทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เพื่อป้องกันการรุกรานจากพระเจ้าปดุงกษัตริย์ พม่า ในปี พ.ศ.๒๓๒๘ ผลของสงครามในครั้งนี้ได้ให้บทเรียนเรื่องยุทธศาสตร์ทางเส้นใน ซึ่งเป็นที่เลื่องลือแก่นักการทหารโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง ด้วยการดำเนินกลยุทธ์ ใช้กำลังน้อยต่อสู้กับข้าศึกที่มีกำลังมากกว่า นอกจากเรื่องยุทธศาสตร์ทางเส้นในอันลือชื่อแล้วกองทัพไทยยังใช้กลยุทธ์และหลักการสงครามอีกหลายประการ แม้กระทั่งการใช้ท่อนไม้แทนกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างชาญฉลาด และสอดคล้องกับจังหวะของสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ชัยชนะของฝ่ายไทยในการทำส่งครามครั้งนี้มีความสำคัญมาก ซึ่งหากฝ่ายไทยไม่สามารถเอาชนะพม่าครั้งนี้ได้แล้ว คงต้องเสียเอกราชและถูกผนวกเป็นอาณาเขตของพม่า และท้ายที่สุดอาจต้องเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในเวลาต่อมาด้วย สงคราม ๙ ทัพ จึงเป็นการทำสงครามเพื่อรักษาเอกราชของชาติไทยโดยแท้ ชัยชนะของสงคราม ๙ ทัพ ครั้งนี้คือ ชัยชนะที่ "ทุ่งลาดหญ้า" นั่นเอง

" ทุ่งลาดหญ้า " เป็นที่ราบอยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่กับลำน้ำลำตะเพิน ไหลมาบรรจบกันห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี ขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๑๐ กม. ณ บริเวณนี้ยังปรากฏหลักฐานร่องรอยประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่ตามเส้นทางไป อ.สังขละบุรี จนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเหล่านี้ยังมิได้ทำการรวบรวม และนำเสนอเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์ทหาร และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งรวบรวมหลักฐานโบราณวัตถุต่าง ๆ และควรจัดตั้งแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์การสงคราม ไทยรบพม่า ตลอดจนสามารถใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วย

๒. วัตถุประสงค์ : เพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกให้ประชาชนชาวไทยมีความตระหนักหวงแหนคุณค่าของความเป็นไท ระลึกและเทิดทูนวีรกรรมของพระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถรักษาเอกราชของประเทศมาตราบเท่าทุกวันนี้ ตลอดจนเพื่อประโยชน์เป็นแหล่งรวบรวมศึกษาค้นคว้า เรื่องราวทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี งานประวัติศาสตร์ทหาร และโบราณคดีสงครามไทย - พม่า ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

๓. ผู้รับผิดชอบโครงการ : กองทัพภาคที่ ๑ โดยกองพลทหารราบที่ ๙

ที่ปรึกษาโครงการ

๑. สำนักงานนายกรัฐมนตรี

๒. กระทรวงกลาโหม

๓. กระทรวงหมาดไทย

๔. กระทรวงศึกษาธิการ

๕. กรมศิลปากร

๖. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

๗. จังหวัดกาญจนบุรี

๘. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

๙. ชมรมประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรี

คณะทำงาน ฯ

๑. กองพลทหารราบที่ ๙

๒. กองทัพภาค ที่ ๑

๓. หน่วยในพื้นที่ จว.กาญจนบุรี

ผู้ประสานโครงการ

๑. คณะทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของกองทัพบก

๒. กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก

๔. แผนการดำเนินงาน : จัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์การสงคราม ๙ ทัพ บริเวณทุ่งลาดหญ้าและโดยรอบประกอบด้วย

๔.๑ อาคารพิพิธภัณฑ์

๔.๒ บริเวณที่ตรวจการณ์ฝ่ายไทย

๔.๓ บริเวณที่ตั้งค่ายทั้งของกองทัพไทย และกองทัพพม่า

๔.๔ บริเวณที่เป็นสมรภูมิสู้รบ

๔.๕ เส้นทางเดินทัพ และที่พักระหว่างทาง

๕. ระยะเวลาดำเนินการ : ตั้งแต่ ต.ค.๔๑ - ธ.ค.๔๓

๖. การดำเนินการ

๖.๑ จัดคณะเจ้าหน้าที่ร่วมค้นคว้าและสำรวจเส้นทางการเดินทัพและจุดที่ตั้งทัพทั้งของไทยและของพม่าตามเส้นทาง โดยพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามที่ปรากฏในเอกสารตามแหล่งต่าง ๆ และตรวจพิสูจน์ทราบร่องรอยภูมิประเทศที่ยังหลงเหลืออยู่ พร้อมทั้งสำรวจกรรมสิทธิ์ที่ดินในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ

๖.๒ ขั้นต่อไปจะดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะแบ่งขั้นตอนโครงการออกเป็น ๒ ระยะ ดังนี้

โครงการระยะที่ ๑ (สิ้นสุด ธ.ค.๔๒ )

- ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นที่เก็บรวบรวมเอกสารและสิ่งของทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม ๙ ทัพ รวมทั้งการจำลองสมรภูมิบนโต๊ะทรายเพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

- จัดสร้างสุถานพักผ่อน และสิ่งอำนวยความสะดวกรอบ ๆ บริเวณพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้ที่เข้ามาหาความรู้และเข้ามาพักผ่อน

โครงการที่ระยะที่ ๒ (สิ้นสุด ธ.ค.๔๓ )

- ก่อสร้างป้อมค่ายจำลองในบริเวณที่มีการตั้งค่ายจริงตามที่ได้สำรวจไว้ โดยสร้างในลักษณะบางส่วนเพื่อให้เห็นภาพการรบ ตามแนวเส้นทางเดินทัพในบริเวณที่สำคัญ ๆ

- จัดกิจการมร่วมกับชุมชน และภาคเอกชนต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อมของแหล่งประวัติศาสตร์ เช่น การปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ และพันธ์พืชต่าง ๆ ตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

๗. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑ ทำให้เกิดความหวงแหน ความรักในแผ่นดิน และความภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดจนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งราชจักรีวงศ์ ที่ทรงเสียสระเพื่อชาติบ้านเมืองและความสงบสุขของประชาชนชาวไทย

๗.๒ ทำให้ได้รับทราบเหตุการณ์ในสงคราบ ๙ ทัพ อย่างถูกต้อง โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าในสถานที่ที่เป็นสมรภูมิรบจริง

๗.๓ สร้างความสัมพันธ์ ความผูกพัน และทัศนคติระหว่างทหารกับประชาชน

----------------------------------

 

 

 

แผนงานด้านงบประมาณในการก่อสร้าง

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ จังหวัดกาญจนบุรี

๑. อาคารศึกษาประวัติศาสตร์ ๙.๘ ล้านบาท

๒. หอสังเกตการณ์ ๒.๐ ล้านบาท

๓. อาคารบริการ ๑.๒ ล้านบาท

๔. ลานจอดรถ/สนาม ฮ./ถนน ๑.๐ ล้านบาท

๕. งานก่อสร้างทางดิน ๑.๑ ล้านบาท

๖. งานออกแบบตกแต่งภายใน ๓.๐ ล้านบาท

๗. งานภูมิทัศน์ ๐.๓ ล้านบาท

๘. ค่าออกแบบ ๑.๐ ล้านบาท

๙. เบ็ดเตล็ด ๐.๖ ล้านบาท

รวมทั้งสิ้น ๒๐ ล้านบาท

 

 

 

 

 

 

 

การจัดกิจกรรม หารายได้ และประชาสัมพันธ์โครงการ

ในวันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๒ ณ จ.กาญจนบุรี มีดังนี้

๑. การจัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศล โดย กรมการทหารช่าง

๒. การจัดการแข่งขันเรลลี่ โดย กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์

เส้นทาง กรุงเทพ ฯ (กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๑ ) - ที่ตั้งอุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ -

สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี

๓. การจัดคอนเสิร์ตลูกทุ่ง ( ไม่เสียค่าเข้าชม ) โดย กรมกิจการพลเรือนทหารบก

ร่วมกับ ททบ.๕

๔. การจัดมหกรรมสินค้า ราคาประหยัด โดย กรมการสัตว์ทหารบก ร่วมกับ

จังหวัดกาญจนบุรี

๕. การประกวดสุนัข และการแสดงสุนัขทหาร โดย กรมการสัตว์ทหารบก

๖. การแข่งขันวิ่งมินิฮาล์ฟมาราธอน โดย กรมการรักษาดินแดน

๗. การถ่ายทอดสอทางโทรทัศน์ และแสดงบนเวที โดย ททบ.๕

๘. พิธีถวายสดุดี ๗๒ พรรษา โดย จังหวัดกาญจนบุรี

๙. นิทรรศการสงคราม ๙ ทัพ โดย กองพลทหารราบที่ ๙

สำนักงานเลขานุการกองทัพบก


กลับไปหน้าแรก

1