ประวัติโครงการหมู่บ้าน ป้องกันตนเองชายแดน ไทย - พม่าในเขต กองทัพภาคที่ ๑

ความเป็นมาโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน
โครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (โครงการหมู่บ้าน ปชด.) เป็นโครงการที่รัฐบาลได้จัดทำขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎรไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ บริเวณแนวชายแดน จากกองกำลังภายนอกประเทศ โดยในปี พ.ศ.๒๕๒๐ - ๒๕๒๑ ได้มีกองกำลังทหารกัมพูชา และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา ได้เข้ามาปล้นสะดมภ์ เผาทำลายทรัพย์สิน บ้านเรือนราษฎรไทยที่อยู่บริเวณชายแดน รวมทั้งได้บังคับ และกวาดต้อนให้ราษฎรไทยที่อยู่ในบริเวณชายแดน ตั้งแต่ จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดตราด เข้าไปในประเทศกัมพูชา ทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ตามชายแดน เกิดความเดือดร้อน โดยราษฎรจำนวนประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน ได้รับผลกระทบจากการรบพุ่งกันโดยตรง ต้องละทิ้งถิ่นฐานที่อยู่เดิมบริเวณแนว ชายแดน ไทย - กัมพูชา ไปอาศัยอยู่กับบ้านญาติพี่น้องในพื้นที่ส่วนหลังเป็นจำนวนมาก และราษฎรอีกจำนวนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ได้รับผลกระทบทางอ้อม นอกจากกองกำลังต่างชาติ และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เข้ามาร่วมก่อความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรไทยแล้ว ยังมีผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวกัมพูชาอีกจำนวนมาก ที่ได้อพยพหลบหนีจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่ไม่พึงปรารถนาเข้ามาในประเทศไทยอีกหลายแสนคน จึงทำให้ราษฎรไทยได้รับความ เดือดร้อน จากกองกำลังต่างชาติแล้ว ก็ยังได้รับความเดือดร้อนจากราษฎรชาวกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมืองอีกด้วย
จากเหตุการณ์นี้เอง เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๑ รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราษฎรไทยอพยพเนื่องจากการกระทำของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และกองกำลังจากภายนอกประเทศ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และมีหัวหน้าฝ่ายยุทธการ ศอร.บก.ทหารสูงสุด เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาถึงแผนการต่าง ๆ ที่จะช่วยราษฎรดังกล่าว โดยแผนการช่วยเหลือมีทั้งโครงการระยะสั้นและโครงการระยะยาว สำหรับโครงการระยะสั้นนั้นได้มีโครงการจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนขึ้น โดยเมื่อ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๑ คณะรัฐมนตรีได้มีมติจัดตั้งโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย - กัมพูชา
หลังจากโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน ไทย - กัมพูชา ได้ดำเนินการไประยะหนึ่ง รัฐบาลได้เห็นความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงบริเวณชายแดน ได้เป็น อย่างดี จึงได้มีมติ เมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๔ให้จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย - ลาว, ไทย - พม่า และ ไทย - มาเลเซีย เพิ่มเติม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบป้องกันประเทศตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการต่อสู้แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อสร้างความกินดีอยู่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อก่อให้เกิดความรัก ความหวงแหนแผ่นดินและป้องกันการอพยพทิ้งถิ่นฐาน เพื่อการพัฒนาชนบท ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดยหมู่บ้าน ป้องกันตนเองชายแดน ไทย - พม่า ในเขตกองทัพภาคที่ ๑ ในขณะนั้น ได้รับการจัดตั้ง มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๘ หมู่บ้าน ดังนี้
ง จังหวัดกาญจนบุรี มี ๘ หมู่บ้านได้แก่
- บ.จะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี
- บ.พระเจดีย์สามองค์ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.ซองกาเลีย ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.เวียคะดี้ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.อีต่อง ต.ปิล็อค อ.ทองผาภูมิ
- บ.บ้องตี้บน ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค
- บ.บ้องตี้ล่าง ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค
ง จังหวัดราชบุรี มี ๒ หมู่บ้านได้แก่
- บ.บ่อหวี ต. ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง
- บ.ห้วยม่วง ต. ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง
ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี ๙ หมู่บ้านได้แก่
- บ.รวมไทย ต.หาดขาม อ.กุยบุรี
- บ.ด่านสิงขร ต.คลองวาฬ อ.เมือง
- บ.มรสวบ ต.ชัยเกษม อ.บางสะพาน
- บ.วังน้ำเขียว ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน
- บ. คลองลอย ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน
- บ.ธรรมรัตน์ ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน
- บ.ช่องลม ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย
- บ.ไร่บน ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย
- บ.บางเจริญ ต.ไชยราช อ.บางสะพานน้อย
และเมื่อ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานเลขานุการ โครงการ หมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนขึ้น ในศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด โดยมีรองเสนาธิการทหาร ซึ่งดำรงตำแหน่ง เลขานุการคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราษฎรไทยอพยพฯ เป็นหัวหน้าสำนักงาน มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการเสนอแนะนโยบาย การวางแผน การปรับปรุงแผนและการประสานกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้ององค์การระหว่างประเทศต่างๆ และองค์การภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนโครงการและงบประมาณ ตลอดจนติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน มีคณะทำงานในสำนักงานเลขานุการ เป็นผู้กลั่นกรองเฉพาะด้าน พิจารณาให้ความ เห็นชอบงานของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในระดับกองทัพภาค จะมีคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่นในระดับ พื้นที่ ในเขต ทภ.๑ รับผิดชอบดำเนินโครงการ (ซึ่งคณะกรรมการ ฯ ดังกล่าว ได้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๒ ก.พ. ๒๕๒๐ อันเนื่องมาจากปัญหาภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์) โดยมีแม่ทัพภาคที่ ๑ / ผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ภาค ๑ เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระดับพื้นที่ในเขตกองทัพภาคที่ ๑ ซึ่งมีอำนาจในการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ให้ทำหน้าที่บริหาร ควบคุมดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือให้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานอื่นใดได้ตามความจำเป็น

ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ให้จัดตั้งหมู่บ้าน ปชด. เพิ่มเติม โดยในส่วนของ สง.พชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ มีหมู่บ้าน ปชด.เพิ่มขึ้นอีก ๑ หมู่บ้านได้แก่ บ.ห้วยน้ำขาว ต.บ้านเก่า อ.เมือง จว.ก.จ. ทำให้จำนวนหมู่บ้าน ปชด.ในขณะนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๙ หมู่บ้าน (จว.ก.จ. ๘ หมู่บ้าน, จว.ร.บ. ๒ หมู่บ้าน, จว.ป.ข. ๙ หมู่บ้าน )
ต่อมา เมื่อ ๒๖ ม.ค. ๒๗ กองทัพภาคที่ ๑ จึงได้อาศัยอำนาจตามคำสั่งคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระดับพื้นที่ ฯ ดังกล่าว ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการหมู่บ้าน ปชด. ไทย - พม่า ในเขตกองทัพ ภาคที่ ๑ ขึ้น โดยมี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ เป็นประธานอนุกรรมการโครงการหมู่บ้าน ปชด. ไทย - พม่า ในเขตกองทัพภาคที่ ๑ (ในขณะนั้น พล.ต.สมคิด จงพยุหะ เป็น ผบ.พล.ร.๙ ) ผู้ว่าราชการทั้ง ๔ จังหวัด ( กาญจนบุรี,ราชบุรี, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ) เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ ในขณะเดียวกัน ก็ได้ออกคำสั่ง จัดตั้ง กองบัญชาการควบคุมโครงการหมู่บ้าน ปชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ มีอำนาจหน้าที่ ในการวางแผน ควบคุม อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยเฉพาะกิจโครงการหมู่บ้าน ปชด.ในเขตรับผิดชอบ รวมถึงประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ ดังกล่าว โดยมีอัตราการจัดเฉพาะกิจดังนี้
* กกล.สุรสีห์ในครั้งนั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจ สกัดกั้นกองกำลังติดอาวุธต่างชาติ การต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และขจัดอิทธิพลในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๒๕๒๖ - ๒๘ ก.พ. ๒๕๒๗
ฉก.ปชด.๑ รับผิดชอบโครงการหมู่บ้าน ปชด.ในพื้นที่ จว.กาญจนบุรี มี พ.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผบ.ร.๙ (ในขณะนั้น ) เป็น ผบ.ฉก.ปชด.๑
ฉก.ปชด.๒ รับผิดชอบโครงการหมู่บ้าน ปชด.ในพื้นที่ จว.ราชบุรี มี พ.ต.อ.ขจร สัยวัตร ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (ในขณะนั้น ) เป็น ผบ.ฉก.ปชด.๒
ฉก.ปชด.๓ รับผิดชอบโครงการหมู่บ้าน ปชด.ในพื้นที่ จว.ประจวบคีรีขันธ์ มี พ.อ.ประสาท แทนขำ รอง ผบ.พล.ร.๙ (ในขณะนั้น ) เป็น ผบ.ฉก.ปชด.๓
ในปี ๒๕๒๗ พล.ร.๙ ได้เริ่มเข้าดำเนินงาน โดย ได้จัดชุด พลเรือน ตำรวจ ทหาร หรือ พตท.พัฒนาฯ ( ชป.พัฒนาในปัจจุบัน ) เข้าดำเนินงานโครงการฯ แต่ไม่สามารถจัดได้ครบตามจำนวนหมู่บ้าน ปชด. ที่หน่วยรับ ผิดชอบอยู่ เนื่องปัญหาด้านงบประมาณอันจำกัด โดยสามารถจัดได้เพียง ๘ พตท.พัฒนาฯ ดังนี้
ท ฉก.ปชด.๑ จัด ๔ พตท.พัฒนาฯ ได้แก่
- พตท.พัฒนา ๑๑
- พตท.พัฒนา ๑๒
- พตท.พัฒนา ๑๓
- พตท.พัฒนา ๑๔
ท ฉก.ปชด.๒ จัด ๑ พตท.พัฒนาฯ ได้แก่ พตท.พัฒนา ๒๑
ท ฉก.ปชด.๓ จัด ๓ พตท.พัฒนาฯ ได้แก่
- พตท.พัฒนา ๓๑
- พตท.พัฒนา ๓๒
- พตท.พัฒนา ๓๓
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งหมู่บ้าน ปชด.เพิ่มเติม โดยในส่วนของ สง.พชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ มีหมู่บ้าน ปชด. เพิ่มขึ้นอีก ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ บ.ห้วยกบ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จว.ก.จ. และ บ.ย่านซื่อ ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จว.ป.ข. ทำให้มี หมู่บ้าน ปชด.ทั้งสิ้น ๒๑ หมู่บ้าน ( ก.จ. ๙ หมู่บ้าน, ร.บ. ๒ หมู่บ้าน และ ป.ข. ๑๐ หมู่บ้าน ) และหน่วยได้รับงบประมาณสำหรับการจัดชุด พตท.พัฒนาฯ เข้าปฏิบัติงาน ในหมู่บ้าน ปชด. ครบทุกหมู่บ้าน ยกเว้น บ.ห้วยน้ำขาว เพราะในปีเดียวกันนั้นเอง ทบ.ได้อนุมัติ ให้โอนความรับ ผิดชอบ หมู่บ้าน ปชด.บ.ห้วยน้ำขาว ให้กับ นสศ. เป็นหน่วยดำเนินการ เนื่องจากหมู่บ้านดังกล่าว อยู่ในพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งได้มอบหมายให้ ทบ.ดูแลใช้ประโยชน์ และ ทบ.ได้มอบหมายให้ นสศ. ใช้เป็นที่ฝึกรบพิเศษ นสศ. จึงได้จัดตั้ง บก.ควบคุมโครงการหมู่บ้าน ปชด. นสศ. บ.ห้วยน้ำขาว และ ๒ ชุดปฏิบัติการ เข้าดำเนินงานในหมู่บ้านดังกล่าวและหมู่บ้านบริวาร
เมื่อ ๑๑ ม.ค.๒๕๓๓ ทภ.๑ได้จัดให้มีการประชุม เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหน่วยปฏิบัติงานโครงการหมู่บ้าน ปชด. ณ ห้องประชุม ๓ ชั้น ๓ บก.ทภ.๑ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุมัติหลักการ ของ ศอร.บก.ทหารสูงสุด ( โดยเสธทหาร ) ให้ดำเนินการปรับการจัดโครงสร้างหน่วยปฏิบัติงานโครงการหมู่บ้าน ปชด. ให้เป็นมาตรฐาน เดียวกัน โดยสรุปผลการประชุมที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับ โครงการหมู่บ้าน ปชด. ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ ดังนี้
- ระดับภาค กกร.ทภ.๑ รับผิดชอบจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดน กองทัพภาคที่ ๑ ( ศพชด.ทภ.๑ )
- ระดับพื้นที่ ( กองพล )ให้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน ( สง.พชด. ) โดยในส่วนของ พล.ร.๙ ใช้ชื่อว่า " สำนักงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน ไทย - พม่า ในเขตกองทัพภาคที่ ๑ " ( สง.พชด. ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ )
- ระดับจังหวัด (กรม ) ได้ให้ พล.ร.๙ จัดตั้ง หน่วยเฉพาะกิจพัฒนาพื้นที่ชายแดน ( ฉก.พชด. ) ขึ้นใน จังหวัดที่มีหมู่บ้าน ปชด. ทั้ง ๓ จังหวัด โดย ร.๙ จัด หน่วยเฉพาะกิจพัฒนาพื้นที่ชายแดนกาญจนบุรี ( ฉก.พชด.ก.จ.),ร.๒๙ จัดหน่วยเฉพาะกิจพัฒนาพื้นที่ชายแดนราชบุรี ( ฉก.พชด.ร.บ.) และ ร.๑๙ จัด หน่วยเฉพาะ

ร.๒๙ จัดหน่วยเฉพาะกิจพัฒนาพื้นที่ชายแดนราชบุรี ( ฉก.พชด.ร.บ.) และ ร.๑๙ จัด หน่วยเฉพาะกิจพัฒนาพื้นที่ชายแดนประจวบคีรีขันธ์ ( ฉก.พชด.ป.ข.)
- ระดับหมู่บ้าน จัดตั้งชุดปฏิบัติการพัฒนา ( ชป.พัฒนา )
หน่วยจึงได้ใช้ชื่อหน่วยงานที่ปฏิบัติงานโครงการหมู่บ้าน ปชด.ในระดับต่าง ๆ ตามที่ ทภ.๑ สั่งการตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๓๔ เป็นต้นมา ( ๑ ต.ค. ๒๕๓๓ ) โดยมีอัตราการจัดเฉพาะกิจ ดังนี้

ในปี ๒๕๓๓ ทบ.ได้อนุมัติให้ นสศ. ส่งมอบงานในโครงการหมู่บ้าน ปชด. บ.ห้วยน้ำขาว กลับมาให้ ทภ.๑ รับผิดชอบดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง และ ทภ.๑ ได้มอบหมายให้ พล.ร.๙ ซึ่งเป็นหน่วยในพื้นที่จัดหน่วยเข้าดำเนินการ โดย พล.ร.๙ ได้สั่งการให้ ป.๙ จัดหน่วยเฉพาะกิจพัฒนาพื้นที่ชายแดนกาญจนบุรี ส่วนแยก บ.ห้วยน้ำขาว ( ฉก.พชด.กาญจนบุรี ส่วนแยก บ.ห้วยน้ำขาว ) และ ๒ ชุดปฏิบัติการพัฒนา (ชป.พัฒนา) โดยเริ่มเข้ารับผิดชอบ ดำเนินการตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๓๔ เป็นต้นมา จากนั้น ปี ๒๕๓๗ ป.๙ ได้โอนความรับผิดชอบ บ.ห้วยน้ำขาว ให้กับ ฉก.พชด. ก.จ. ดำเนินการต่อไป และยุบ ฉก.พชด.กาญจนบุรี ส่วนแยก บ.ห้วยน้ำขาว คงเหลือไว้เพียง ชป.พัฒนา บ.ห้วยน้ำขาว เพียงอย่างเดียว
ในปี ๒๕๓๗ พล.ร.๙/ สง.พชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ. ๑ ได้มอบหมายให้ ร.๒๙ เข้ารับผิดชอบดำเนินงานโครงการหมู่บ้าน ปชด. ในพื้นที่ จว.ร.บ. แทน กก.ตชด.๑๓ โดยเข้าเริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๓๗ ( ปีงบประมาณ ๒๕๓๘ ) เป็นต้นมา
เมื่อปี ๒๕๓๙ กกล.สุรสีห์ ( พล.ต. ทวีป สุวรรณสิงห์ ผบ.พล.ร.๙ / ผบ.กกล.สุรสีห์ ในขณะนั้น ) ได้ทำการลาดตระเวนตรวจภูมิประเทศในพื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.พชด.ก.จ. ตรวจพบการบุกรุกพื้นอุทยานแห่งชาติเขาแหลม บริเวณ บ.ห้วยองค์พระ, บ.กุยจะโถ, บ.ชิเด่งเช่ง อ.สังขละบุรี และ บ.มะเซอย่อ ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จึงมอบหมายให้ ฉก.พชด.ก.จ. ดำเนินการจัดระเบียบพื้นที่ชายแดนในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า ของราษฎรดังกล่าว โดยได้ดำเนินการอพยพราษฎรที่บุกรุกอุทยานแห่งชาติเขาแหลม จำนวน ๘๑ ครอบครัว เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ บ.ประไรโหนก และได้ทำพิธีคืนพื้นที่ที่ถูกบุกรุก ให้แก่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมต่อไป และได้ย้าย ชป.พัฒนา บ.ห้วยกบ เข้ามาดำเนินใน บ.ประไรโหนกโดยจัดตั้งเป็น ชป.พัฒนา บ.ประไรโหนก ส่วนใน บ.มะเซอย่อนั้น ถือว่าเป็นหมู่บ้านบริวารของ หมู่บ้าน ปชด.บ.บ้องตี้ล่าง อีกทั้งบริเวณดังกล่าวเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สามารถควบคุมเส้นทาง และช่องทางสำคัญในพื้นที่ จึงได้เข้าดำเนินการจัดระเบียบหมู่บ้านเพื่อจำกัดการบุกรุกพื้นที่ของราษฎร โดยได้ย้าย ชป.พัฒนา บ.บ้องตี้ล่าง เข้าดำเนินการใน บ.มะเซอย่อ จัดตั้งเป็น ชป.พัฒนา บ.มะเซอย่อ และได้เสนอขอจัดตั้งหมู่บ้านทั้ง ๒ แห่ง เป็นหมู่บ้าน ปชด. เพื่อดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนาเป็นกำลังประชาชนต่อไป
ในปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลประสบปัญหาทางด้านงบประมาณ จึงได้ปรับลดงบประมาณของหน่วยต่าง ๆ ลง ซึ่งรวมถึงงานโครงการหมู่บ้าน ปชด. ด้วย สง.พชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ จึงได้ปรับแผนการปฏิบัติต่าง ๆ ลง เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ โดยได้พิจารณาการจัด ชป.พัฒนา เข้าปฏิบัติงาน จาก ๒๑ ชป.พัฒนา ฯ ลงเหลือเพียง ๑๔ ชป.พัฒนา ฯ ส่วนหมู่บ้าน ปชด. ในความรับผิดชอบนั้น ยังคงมีเท่าเดิม ๑๔ ชป.พัฒนา ฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นนั้นมีดังนี้
ุ ฉก.พชด.ก.จ. ๗ ชป.พัฒนา
- ชป.พัฒนา บ.จะแก
- ชป.พัฒนา บ.พระเจดีย์สามองค์
- ชป.พัฒนา บ.เวียคะดี้
- ชป.พัฒนา บ.ประไรโหนก
- ชป.พัฒนา บ.อีต่อง
- ชป.พัฒนา บ.ห้วยน้ำขาว
ุ ฉก.พชด.ร.บ. ๑ ชป.พัฒนา
- ชป.พัฒนา บ.ห้วยม่วง
ุ ฉก.พชด.ป.ข. ๖ ชป.พัฒนา
- ชป.พัฒนา บ.ย่านซื่อ
- ชป.พัฒนา บ.ด่านสิงขร
- ชป.พัฒนา บ.มรสวบ
- ชป.พัฒนา บ.คลองลอย
- ชป.พัฒนา บ.ธรรมรัตน์
- ชป.พัฒนา บ.บางเจริญ
เมื่อปี ๒๕๔๓ ฝกร.ศปก.ทบ. ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเรียกชื่อของ ฉก.พชด.ฯ ของแต่ละหน่วย ที่รับผิดชอบงานโครงการหมู่บ้าน ปชด. ซึ่งเรียกชื่อไม่เป็นไปตามแผนแม่บท โครงการหมู่บ้าน ปชด. ฉบับที่ ๒ ( ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔ ) จึงได้ให้หน่วยเปลี่ยนชื่อ ฉก.พชด.ฯ เป็น ฉก.ปชด. โดยใช้ชื่อเต็มว่า " หน่วยเฉพาะกิจโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน ( ชื่อจังหวัด ) " เพื่อให้เป็นแบบอย่างอันเดียวกัน และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
การปรับและการจัดตั้งหมู่บ้าน ปชด. เพิ่มเติม
สืบเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ ๒๙ ก.พ.๔๓ ในการให้ส่วนราชการทบทวนนโยบายเป้าหมายและโครงสร้างการบริหารงานพัฒนาเพื่อความมั่นคง มิให้เกิดความซ้ำซ้อนระหว่างโครงการ อพป. และ ปชด. ทภ.๑/ศพชด.ทภ.๑ จึงได้ให้หน่วยพิจารณาปรับหมู่บ้าน ปชด. ที่ได้รับการพัฒนา เข้าเกณฑ์การพัฒนาฯ ตาม จปฐ. แล้ว ให้กลับไปอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายปกครอง และเสนอหมู่บ้านตามแนวชายแดนที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคง และอยู่ในแนวทางการเคลื่อนที่หลักของฝ่ายตรงข้าม เพื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ปชด.เพิ่มเติม เพื่อขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป โดย สง.พชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ ได้เสนอการปรับและจัดตั้งหมู่บ้าน ปชด.เพิ่มเติม ดังนี้
หมู่บ้าน ปชด. ที่ปรับเป็นหมู่บ้าน อพป. เพียงอย่างเดียว มีจำนวน ๗ หมู่บ้าน ดังนี้
v จว.ก.จ. ๓ หมู่บ้าน ได้แก่
- บ.บ้องตี้ล่าง หมู่ ๒ ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค
- บ.ซองกาเลีย หมู่ ๘ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.ห้วยกบ หมู่ ๔ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
v จว.ป.ข. ๔ หมู่บ้าน ได้แก่
- บ.รวมไทย หมู่ ๗ ต.หาดขาม อ.กุยบุรี
- บ.วังน้ำเขียว หมู่ ๗ ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน
- บ.ช่องลม หมู่ ๘ ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย
- บ.ไร่บน หมู่ ๖ ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย
หมู่บ้านที่ขอจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ปชด. เพิ่มเติม ๑๐ หมู่บ้าน ดังนี้
จ จว.ก.จ. ๓ หมู่บ้าน ได้แก่
- บ.ประไรโหนก หมู่ ๑๐ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.ใหม่ไร่ป้า(ปอสามต้น) หมู่ ๓ ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ
- บ.มะเซอย่อ หมู่ ๔ ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค
จ จว.ร.บ ๑ หมู่บ้าน ได้แก่
- บ.ตะโกล่าง หมู่ ๘ ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง
จ จว.พ.บ ๒ หมู่บ้าน ได้แก่
- บ.โป่งลึก หมู่ ๒ ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน
- บ.ป่าเด็งใต้ หมู่ ๖ ต.ป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน
จ จว.ป.ข. ๔ หมู่บ้าน ได้แก่
- บ.แพรกตะคร้อ หมู่ ๑๑ ต.บึงนคร อ.หัวหิน
- บ.ย่านซื่อ หมู่ ๑๒ ต.อ่าวน้อย อ.เมือง
- บ.สวนส้ม หมู่ ๙ ต.เขาล้าน อ.ทับสะแก
- บ.ทุ่งตาแก้ว หมู่ ๑๐ ต.นาหูกวาง อ.ทับสะแก
ซึ่งต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ปรับและจัดตั้งหมู่บ้าน ปชด.ตามที่หน่วยเสนอไป เมื่อ ๑๖ พ.ย. ๒๕๔๒ โดยสรุปหมู่บ้าน ปชด.ที่ สง.พชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ รับผิดชอบในปัจจุบัน มีจำนวน ๒๔ หมู่บ้าน ดังนี้
ในพื้นที่รับผิดชอบ ของ ฉก.ปชด.ก.จ. ๙ หมู่บ้าน
- บ.จะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี
- บ.เจดีย์สามองค์ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.ประไรโหนก ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.เวียคะดี้ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี
- บ.อีต่อง ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ
- บ.ใหม่ไร่ป้า ( ปอสามต้น ) ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ
- บ.มะเซอย่อ ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค
- บ.บ้องตี้บน ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค
- บ.ห้วยน้ำขาว ต.บ้านเก่า อ.เมือง
ในพื้นที่รับผิดชอบ ของ ฉก.ปชด.ร.บ. ๓ หมู่บ้าน
- บ.ตะโกล่าง ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง
- บ.บ่อหวี ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง
- บ.ห้วยม่วง ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง
ในพื้นที่รับผิดชอบ ของ ฉก.ปชด.พ.บ. ๒ หมู่บ้าน ( ผบ.ร.๒๙ รับผิดชอบหน้าที่ ผบ.ฉก.ปชด.พ.บ. อีกหน้าที่หนึ่ง)
- บ.โปร่งลึก ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน
- บ.ป่าเด็งใต้ ต.ป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน
ในพื้นที่รับผิดชอบ จว.ป.ข. ๑๐ หมู่บ้าน
- บ. แพรกตะคร้อ ต.บึงนคร อ.หัวหิน
- บ.ย่านซื่อ ต.หาดขาม อ.กุยบุรี
- บ.ย่านซื่อ ต.อ่าวน้อย อ.เมือง
- บ.ด่านสิงขร ต.คลองวาฬ อ.เมือง
- บ.สวนส้ม ต.เขาล้าน อ.ทับสะแก
- บ.ทุ่งตาแก้ว ต.นาหูกวาง อ.ทับสะแก
- บ.มรสวบ ต.ชัยเกษม อ.บางสะพาน
- บ.คลองลอย ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน
- บ.ธรรมรัตน์ ต. ทองมงคล อ.บางสะพาน
- บ.บางเจริญ ต.ไชยราช อ.บางสะพานน้อย
สำหรับ ชป.พัฒนาฯ ที่หน่วยจัดเข้าดำเนินงานนั้น ยังคงมีจำนวน ๑๔ ชป.พัฒนา เหมือนเดิม ซึ่งในจุบัน สง.พชด.ไทย - พม่า ในเขต ทภ.๑ ได้เสนอของบประมาณในการจัดตั้ง ชป.พัฒนา ฯ เพื่อเข้าดำเนินการในหมู่บ้าน ปชด. ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ จำนวน ๘ หมู่บ้าน ( เว้น บ.ประไรโหนก และ บ.มะเซอย่อ เนื่องจากปัจจุบัน ได้จัด ชป.พัฒนาฯเข้าดำเนินการแล้ว )

*******************************