คำนำ

ทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยแบ่งพื้นที่เป็นนาข้าว ๓๐ ส่วน, พืชสวนพืชไร่ ๓๐ ส่วน, สระน้ำ ๓๐ ส่วน, ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ ๑๐ ส่วน ซึ่งเกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติในทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่ สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างพอเพียง เห็นความสำคัญของการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และสร้างความสามัคคีในท้องถิ่น

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ทฤษฎีใหม่ ถือเป็นทางเลือกที่สามารถสร้างงาน สร้างเงินให้ได้อย่างพอเพียง สำหรับกลุ่มคนผู้ว่างงานได้อย่างแน่นอนและเป็นที่แน่นอนว่า นาข้าวยังคงมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นปากท้องของประชาชน ดังนั้น น้ำเป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญเพระฉะนั้น เกษตรกรจะต้องมีมาตรการในการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ ต้องวางแผนการผลิตและใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

แม้ว่าเราไม่สามารถพัฒนาพื้นที่ดินตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ทั้งนี้เนื่องจากอุปสรรคและปัจจัยหลาย ๆ ประการ มีผลทำให้ผลผลิตของโครงการต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทเรียนของโครงการที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ที่สุดในโอกาสต่อไป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ ซึ่ง กรม สน.พล.ร.๙ ดำเนินการ จะเป็นโครงการตัวอย่างเพื่อให้กำลังพลได้นำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ดินของตนเองได้อย่างสมบูรณ์

***********************

ทฤษฎีใหม่

ทฤษฎีใหม่ เป็นพระราชดำริแนวคิดใหม่ที่จะแก้ปัญหาระบบการผลิตทุกอย่างผสมผสานระหว่างธรรมชาติ (ดิน - น้ำ - ต้นไม้ ), คน (เกษตรกร) และสัตว์ ให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เกิดความสมดุลย์ ให้เกษตรกรมีอยู่มีกินมีใช้ พึ่งตนเองได้ และช่วยเหลือกันและกันในชุมชน

พื้นที่ของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่จะมีเฉลี่ยประมาณ ๑๐ - ๑๕ ไร่ ต่อครอบครัว พระองค์ได้พระราชทานแนวปฏิบัติในการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนต่าง ๆ ในการทำเกษตรเลี้ยงชีพเป็น ๓ ส่วน ดังนี้

ส่วนที่หนึ่ง : พื้นที่ร้อยละ ๓๐ ประมาณ ๓ ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำที่มีความลึกประมาณ ๔ เมตร จะมีความสามารถเก็บกักน้ำได้มากถึง ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

ส่วนที่สอง : พื้นที่ร้อยละ ๖๐ ทำการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ โดยแบ่งที่ดินนี้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนแรก ร้อยละ ๓๐ ทำนาข้าวและพืชหลังทำนาประมาณ ๕ ไร่ อีกส่วนหนึ่งร้อยละ ๓๐ ทำสวนไม้ผล ๓ ไร่ และสวนเกษตร ๒ ไร่ รวม ๕ ไร่ พื้นที่ทางการเกษตร ทั้ง ๒ แบบนี้ ใช้น้ำประมาณ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

ส่วนที่สาม : พื้นที่ที่เหลือร้อยละ ๑๐ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในการพัฒนาการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ที่ทรงพระราชทานไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา

หลักการของทฤษฎีใหม่

๑. เป็นวิธีการที่สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนน้อย ประมาณ ๑๕ ไร่ ซึ่งเป็นอัตรา ถือครองโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย

๒. มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน โดยเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีในท้องถิ่น

๓. สามารถผลิตข้าวไว้บริโภคได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา ๕ ไร่ จะมีข้าวกินตลอดปี ซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้

๔. ใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง เฉลี่ยประมาณ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ เพื่อใช้ในการทำนา ปลูกพืชไร่ และเลี้ยงปลา

ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่พระราชทาน

๑. ทำให้สภาพแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งน้ำและดิน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเกษตร ทำให้มีผลผลิตทั้งปี และดีขึ้น

๒. ทำให้เกิดความมั่นคงในรายได้ของเกษตรกร และเกษตรกรจะไม่เสียงต่อราคาผลผลิตชนิดใดที่ตกต่ำและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เนื่องจากมีผลผลิตที่สามารถใช้บริโภคเป็นอาหารประจำวันได้

๓. ทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองและสามารถแบ่งปันช่วยเหลือญาติพี่น้องและเพื่อบ้านได้

๔. เป็นแบบอย่างของการพัฒนาแบบยั่งยืนที่เกิดดุลยภาพระหว่างคุณภาพชีวิต, เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ กรม สน.พล.ร.๙

ความมุ่งหมาย : กรม สน.พล.ร.๙ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนว พระราขดำริ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและสั่งการของ มทภ.๑ และ ผบ.พล.ร.๙ ที่ต้องการให้ หน่วยขึ้นตรงทุกหน่วย นำแนวทางตามแนวพระราชดำริ ไปดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ที่เหมาะสม โดยกรม สน.พล.ร.๙ ได้จัดทำการเกษตรกรรมแบบไร่นาสวนผสม ตามแนวพระราชดำริ บนเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ ณ บริเวณทิศใต้ของสนามบิน ร้อย บ.พล.ร.๙ ซึ่งเป็นพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์ โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ ๔ แสนบาท

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเป็นโครงการนำร่อง และเป็นตัวอย่างแก่พลทหารกองประจำการและเกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงค่ายสุรสีห์

๒. เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมทหารกองประจำการก่อนปลดเป็นกองหนุน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในด้านการการเกษตรแก่กำลังพลดังกล่าว

๓. เพื่อบริหารน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรภายในค่ายสุรสีห์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ตลอดจนการจัดระเบียบพื้นที่ให้สวยงาม

๔. เพื่อเป็นการส่งเสริมงานทางด้านการพาฒนาสวัสดิการของกำลังพลภายในค่ายสุรสีห์ ในเรื่องแหล่งจัดซื้อเครื่องบริโภคที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด

๕. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพพลทหารกองประจำการก่อนปลดเป็นกองหนุน

พื้นที่ดำเนินการฝึก : พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ลุ่ม มีน้ำขังในช่วงฤดูฝน และมีบางแห่งเป็นพื้นที่ที่มีวัชพืชปกคลุม ทำให้เกิดสภาพที่ไม่สวยงามและไม่เกิดประโยชน์ในการใช้พื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของหน่วยทหาร ซึ่งการดำเนินการบริหารและจัดการตามโครงการ จะเป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่และป้องกันการบุกรุกเข้ามาใช้พื้นที่ทางราชการจากราษฎรได้อีกวิธีหนึ่ง สำหรับพื้นที่โครงการในเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ ประกอบด้วย

๑. แปลงนาข้าว : ใช้พื้นที่ ๒๐ ไร่ ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท ๑ และพันธุ์ข้าวหอมมะลิ

คลองหลวง

ผลที่ได้รับจากการทำนา : ในปี ๒๕๔๑ ปลูกข้าว ๒ ครั้ง ได้ผลผลิตข้าว ๒๕ เกวียน ส่งข้าวเปลือกให้กับโรงสีข้าวค่ายสุรสีห์ แปรสภาพเป็นข้าวสาร จำหน่ายให้กับหน่วยทหาร กำลังพลและครอบครัวในค่ายสุรสีห์ในราคาถูก

๒. การปลูกพืชไร่พืชสวน และการเพาะเห็ด : ใช้พื้นที่ ๒๐ ไร่ ประกอบด้วย

๒.๑ พืชสวนผลไม้ ได้แก่ มะม่วง , ขนุน , ฝรั่ง , มะกรูด , มะนาว , มะพร้าวน้ำหอม , กล้วย , มะละกอ , น้อยหน่า , มะขามหวาน , กระท้อน เป็นต้น

๒.๒ พืชไม้ตัดดอก ได้แก่ มะลิ และดาวเรือง

๒.๓ พืชผักสวนครัว ได้แก่ ผักบุ้งจีน , พริก , ข่า , ตะไคร้ , ถั่วลิสง , ฟักทอง , ฟักเขียว ,มะเขือยาวเป็นต้น

๒.๔ การเพาะเห็ด ได้แก่ เห็ดนางฟ้า

ผลที่ได้รับจากการปลูกพืชผักสวนครัว และการเพาะเห็ด : ผลผลิตที่ได้จะนำไปจำหน่ายให้กับกำลังพลและครอบครัว ในราคาถูกกว่าท้องตลาด และบางชนิดที่มีจำนวนมาก จะจำหน่ายให้กับโรงเลี้ยงของหน่วย เพื่อใช้ในการประกอบเลี้ยงกำลังพลทหารกองประจำการ

๓. แหล่งน้ำ : ใช้พื้นที่ ๖ ไร่ สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งและการเลี้ยงปลา ได้แก่ ปลาดุก , ปลานิล , ปลาตะเพียน เป็นต้น

ผลที่ได้รับจากการเลี้ยงปลา : นำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่ายให้กับกำลังพลและครอบครัวตลอดจนโรงเลี้ยงของหน่วย ในราคาถูกเช่นเดียวกับผลผลิตจากการปลูกพืชผักสวนครัวและเพาะเห็ด

๔. ที่อยู่อาศัยและโรงเลี้ยงสัตว์ : ใช้พื้นที่ ๔ ไร่ ประกอบด้วย

๔.๑ การเลี้ยงเป็ด ได้แก่ เป็ดพันธุ์เนื้อและเป็ดพันธุ์ไข่ โดยเลี้ยงเป็นรุ่น ๆ ละประมาณ

๒๐๐ - ๓๐๐ ตัว

๔.๒ การเลี้ยงไก่ ได้แก่ ไก่พันธุ์พื้นเมืองและไก่พันธุ์ไข่ โดยเลี้ยงเป็นรุ่น ๆ ละประมาณ

๓๐๐ - ๕๐๐ ตัว

๔.๓ การเลี้ยงสุกร ได้แก่ พันธุ์ลาร์จไวท์และคร็อดเจอร์ซี่ จำนวน ๔๒ ตัว

๔.๔ การเลี้ยงกระต่าย : เริ่มเพาะเลี้ยงในชั้นต้น จำนวน ๒๘ ตัว

ผลที่ได้รับจากการเลี้ยงสัตว์ : ผลผลิตที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อและไข่ จะนำไปจำหน่ายให้กับกำลังพลและครอบครัว ตลอดจนโรงเลี้ยงของหน่วย ในราคาถูกเช่นเดียวกับผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัวและการเพาะเห็ด

๔.๕ การเลี้ยงโคนม : เริ่มเลี้ยงเมื่อต้นปี ๒๕๔๒ ได้แก่ พันธุ์ขาว - ดำ จำนวน ๔ ตัว โดยจัดซื้อจากสหกรณ์โคนมหนองโพ จว.ราชบุรี เพื่อนำผลผลิตที่ได้ให้กับนักเรียนโรงเรียนอนุบาลค่ายสุรสีห์และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์ ซึ่งเป็นบุตรหลานของกำลังพลได้บริโภคนมสดและในปัจจุบัน สามารถนำส่งให้กับโรงเลี้ยงของหน่วย เพื่อให้กำลังพลพลทหารได้บริโภคเป็นประจำทุกวันพุธ

ประโยชน์ที่ได้รับ

๑. ได้รูปแบบของการเกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ เช่น เกษตรผสมผสาน,ไร่นาสวนผสม เป็นต้น

๒. นำแนวพระราชดำริ " ทฤษฎีใหม่ " ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาใช้ในการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

๓. เป็นโครงการตัวอย่างให้กับกำลังพลและครอบครัว ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง

หน่วยขึ้นตรงที่รับผิดชอบการดำเนินงาน

๑. บก.กรม สน.พล.ร.๙ รับผิดชอบ การปลูกข้าว , การเลี้ยงโคนม

๒. ร้อย.บก.กรม.สน.พล.ร.๙ รับผิดชอบ การปลูกพืชผักสวนครัว , การเลี้ยงเป็ดไข่ , การ

เลี้ยงไก่ไข่ , การเลี้ยงไก่เก้าชั่ง และการเลี้ยงปลาดุก

๓. ร้อย.สบร.กรม สน.พล.ร.๙ รับผิดชอบ การปลูกพืชผักสวนผลไม้ , พืชผักสวนครัว , ไม้

ตัดดอก และการเพาะเห็ด

๔. พัน.ซบร.กรม สน.พล.ร.๙ รับผิดชอบการเลี้ยงสุกร

๕. พัน.สร.กรม สน.พล.ร.๙ รับผิดชอบ การปลูกพืชสวนผลไม้และพืชผักสวนครัว

๖. พัน.ขส.กรม สน.พล.ร.๙ รับผิดชอบ การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง , กระต่ายและการ

เลี้ยงปลา

หน่วยงานและส่วนราชการที่ให้การสนับสนุนโครงการ

๑. เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี

๒. ประมงจังหวัดกาญจนบุรี

๓. สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี

๔. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี

1