ประวัติกองพลทหารราบที่ 9

....หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี พ.ศ.2484 เวียดนามได้ประกาศที่จะต่อสู้กับฝรั่งเศสอย่างเปิดเผย เพื่อให้เวียดนามหลุดพ้นจากสภาพการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และมีเอกราชของตนเอง ได้มีการสู้รบกันอย่างหนักเป็นเวลาถึง 8 ปี จนกระทั้งกองกำลังเวียดมินห์ ของพรรคนิยมคอมมิวนิสต์ เวียดนามสามารถโจตีป้อมปราการสำคัญของฝรั่งเศส ที่เดียนเบียนฟู แตกลงในวันที่ 4 พฤษภาคม 2497 วิกฤตการณ์สงครามครั้งนั้นมีทาที่จะรุกรานจนกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศ ฝรั่งเศสยอมรับความปราชัยแลต้องสงบศึก จึงได้มีการลงนามใน “อนุสัญญาเจนีวา พ.ศ.2497 ” ที่กรุงเจนนีวา ประเทศ สวีตเซอร์แลนต์ จึงมีผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตเวียดนามเหนือ ยึดถือการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ พยายามที่จะรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน จึงได้ส่งกำลังกองโจรเวียดกงเข้าก่อกวนและแทรซึมเข้าไปในเวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง โดยแฝงเข้ามาในลักษณะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ ตั้งแต่ พ.ศ.2498 เป็นต้นมา จากนั้นได้ปฏิบัติการรุกรานด้วยอาวุธ และกำลังทหารอย่างรุนแรง ตลอดจนโฆณาชวนเชื่อชักจูงใจราษฎรเวียดนามใต้ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ประกอบการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารประเทศของรัฐบาลเวียดนามใต้ประสบความล้มเหลว จึงไม่สามารถต่อต้านได้เพียงลำพังตนเอง และได้รองขอความช่วยเหลือจากมิตรประเทศฝ่ายโลกเสรี ใน พ.ศ.2508 เวียดนามใต้ตกอยู่ในจุดล่อแหลมที่สุดรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติการในเวียดนามใต้พร้อมด้วยกำลังทหารของพันธมิตรอีก 6 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นีวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และประเทศไทย สงครามเวียดนามจึงได้เริ่มตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

...............ในวันที่ 26 สิงหาคม 2506 เอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐเวียดนามประจำกรุงเทพ ฯได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ของรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม ซึ่งมีประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว เป็นผู้นำขอรับการช่วยเหลือทางทหารเพิ่มเติมจากรัฐบาลไทยซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2510 อนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหาร แก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้น เรียกว่า “กรมทหารอาสาสมัคร” ( กรม อสส.) มีขนาดใหญ่กว่ากองพัน แต่เล็กกว่ากรมผสม มีภารกิจในการรบเป็นหลัก และปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนเป็นรอง เป็นกองกำลังทหารไทยหน่วยแรก ที่ปฏิบัติการรบในเวียดนาม ได้สมญานามว่า “ จงอางศึก” หลังจากที่กรมทหารอาสาสมัคร เดินทางไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนามเป็นเวลา 1 ปี กองทัพบกได้มอบให้คณะกรรมการพิจารณาเตรียมการส่งกำลังไปผลัดเปลี่ยน กรมทหารอาสาสมัคร โดยให้เพิ่มเติมเป็น 1 กองพล เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2511 จึงมีคำสั่งจัดตั้ง “กองพลทหารอาสาสมัคร ” บรรจุมอบเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก มีที่ตั้งปกติ ณ ค่ายกาญจนบุรี ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และเดินทางไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม มีสมญานามเป็นที่รู้จักกันในนาม “กองพลเสือดำ” เป็นเวลา 4 ปี จนถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2514 กองกำลังทหารไทย ได้ถอนกำลังออกจากเวียดนามใต้กลับที่ตั้งปกติ ค่ายกาญจนบุรี การปฏิบัติการรบของทหารไทย ที่ไปร่วมรบในครั้งนั้น ได้เป็นที่ประจักษ์ แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างดี และได้รับคำสรรเสริญถึงวีรกรรมการสู้รบของทหารไทย ซึ่งสู้รบอย่างกล้าหาญ ความมีวินัย จิตใจที่เข้มแข็ง แสดงถึงความเป็นชาตินักรบ ยอมเสียสละแม้กระทั่งเลือดเนื้อ ชีวิต เพื่อส่วนรวมและประเทศชาติเป็นอันมาก

0............เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2514 กองทัพบกได้ออกคำสั่งตั้งกองพลใหม่ขึ้น บริเวณ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยแปรสภาพกองพลทหารอาสาสมัคร “กองพลเสือดำ” เป็นกองพลใหม่ ขนานนามว่า “กองพลที่ 9” เหตุผลว่า เป็นครบรอบปี 24 แห่งวันรัชดาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 และเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2525 กองทัพบกได้ออกคำสั่งให้เปลี่ยนนามจากหน่วยเดิม กองพลที่ 9 เป็น กองพลทหารราบที่ 9 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2517 กองทัพบกได้ขนานนาม ค่ายที่ตั้งกองพลที่ 9 ว่า “ค่ายกาญจนบุรี” และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2533 กองทัพบกได้มีประกาศขอพระราชทานเปลี่ยนนามค่ายใหม่ จากเดิม ค่ายกาญจนบุรี เป็น “ค่ายสุรสีห์” อันเนื่องมาจากสถานที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 9 เดิมเป็นสมรภูมิสงครามทุ่งลาดหญ้า ในสงครามเก้าทัพ เมื่ออดีต 209 ปี ที่ผ่านมา โดยกองทัพไทย ซึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 1 ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นแม่ทัพ ได้มีชัยชนะแก่ข้าศึก ที่ยกกำลังพลถึง 9 หมื่นคน เดินทัพมุ่งหน้ามายัง ตำบลลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรี เพื่อเข้าสู้เมืองหลวงของไทย หวังชัยชนะในการยึดครองแผ่นดินไทย ทั้งที่ฝ่ายไทยมีกำลังพล เพียง 3 หมื่นคน น้อยกว่าฝ่ายข้าศึกถึง 6 หมื่น คน แต่ด้วยพระปรีชาอันชาญฉลาด ของผู้ทรงเป็นแม่ทัพทำให้ฝ่ายข้าศึกต้องแพ้พ่ายถอนกลับไป ซึ่งตรงกับ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2328 และตั้งแต่นั้นมาสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่มี่มาช้านานเป็นอันยุติลง สมรภูมิลาดหญ้า จึงเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ของชาติไทย