ไรน้ำนางฟ้า ( fairy  shrimps)

                ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งความจริงมีอยู่ในธรรมชาติมานานแล้ว คนอีสานเรียกว่า  “ แมงอ่อนช้อย ”  หรือ  “ แมงหางแดง ”   หรือ “ แมงแงว ” หรือ “ แมงน้ำฝน ”  ชาวบ้านนำไรน้ำนางฟ้ามาประกอบอาหาร เช่นเดียวกับลูกอ๊อดของกบ  นอกจากนั้น  ไรน้ำนางฟ้ายังเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในระบบนิเวศของแหล่งน้ำจืดมีความสำคัญในห่วงลูกโซ่อาหารในแง่เป็นอาหารของปลา ปู กุ้ง แมลงน้ำชนิดต่างๆ ทำให้เกิดมีการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ  ตัวไรน้ำนางฟ้ากินสาหร่าย  แบคทีเรีย ไรน้ำชนิดอื่นที่เล็กกว่า และอินทรีย์วัตถุที่ละลายอยู่ในน้ำ

ความหลากหลายของไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทย

                ลักษณะโดยทั่วไปของไรน้ำนางฟ้ามีรูปร่างคล้ายกุ้งขนาดเล็ก  ไม่มีเปลือก  ตัวใส  มีขาว่ายน้ำจำนวน  11  คู่  ( กุ้งมีขาเพียง5 คู่ )  ตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว  ตัวยาว 1.7 - 3.9 เซนติเมตร  ตัวเมียมีสีเข้มกว่าตัวผู้  มีถุงไข่ 1 ถุง ไข่กลมคล้ายกับไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินธร    

                ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างหายากแหล่งที่อยู่อาศัยของไรน้ำมีลักษณะเฉพาะกล่าวคือเป็นบ่อหรือคลองที่มีน้ำขังอยู่ชั่วคราวในฤดูฝน
( temporary  pond )  เท่านั้น  ในช่วงฤดูแล้งน้ำจะแห้ง ก่อนที่น้ำจะแห้งตัวเมียจะผลิตไข่ที่มีเปลือกหนาเป็นจำนวนมาก เมื่อน้ำแห้งไข่เหล่านี้จะอยู่ในระยะพักตัว เมื่อฝนตกมาใหม่ในปีถัดไปไข่สามารถฟักเป็นตัวอ่อนและเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป

สำหรับไรน้ำเค็มหรืออาร์ทีเมีย ( Artemia salina) ที่สั่งซื้อไข่จากต่างประเทศเพื่อใช้เลี้ยงลูกกุ้งลูกปลานั้นเป็นไรนางฟ้าชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำเค็ม  ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในบ่อที่มีน้ำขังชั่วคราวขนาดเล็ก คลองข้างถนนและนาข้าว โดยฤดูกาลที่พบอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม

ไรน้ำนางฟ้าที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิด เป็นสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ทั้ง 3 ชนิด

 

ชนิดของไรน้ำนางฟ้า

ลักษณะ

ลำตัวยาว

(เซนติเมตร )

ไรน้ำนางฟ้าไทย

 

ตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว

 

1.7 – 3.9


ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร
 

 


ตัวใส หางแดง

 

1.3 - 3.0

ไรน้ำนางฟ้าสยาม 

 


ตัวใส สีตัวบางครั้งเป็นสีฟ้าอ่อน หางสีแดง

 

1.1 – 2.0

 

                                       

    

การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย

                จากการศึกษาชีววิทยาเบื้องต้นของไรน้ำนางฟ้ที่พบในประเทศไทย ทั้ง 3 ชนิด พบว่าไรน้ำนางฟ้าไทยมีการเจริญเติบโตเร็วและมีขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่นจึงมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาสู่การเพาะเลี้ยงในเชิงธุรกิจได้

  การเริ่มต้นเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย

-  นำตัวไรน้ำนางฟ้าขนาดเล็กหรือตัวเต็มวัยมาเลี้ยงจนกระทั้งมีการวางไข่  จากนั้นจึงเก็บรวบรวมไข่เพื่อใช้สำหรับ

การเพาะเลี้ยงในครั้งต่อๆ ไป

-  นำไข่ไรน้ำนางฟ้ามาฟักไข่เพื่อให้ได้ไรน้ำวัยอ่อน( Nauplii ) และนำไปเลี้ยงจนได้ผลผลิตทั้งที่เป็นไข่และเป็นตัว

ไรน้ำนางฟ้า

1. การฟักไข่ไรน้ำนางฟ้า

ไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างไปจากไข่ของสัตว์ชนิดอื่นโดยทั่วไปกล่าวคือเป็นไข่ที่มีการพัฒนาการไปถึงระยะหนึ่งเรียกว่าแกสตรูลา (gastrulastage)แล้วหยุดการพัฒนาการลงชั่วคราวและตามธรรมชาติไข่ไรน้ำนางฟ้าฟักเป็นตัวไม่พร้อมกันถึงแม้ว่าจะเป็นครอกเดียวกันก็ตาม แต่การแช่ไข่ไว้ในน้ำ 2 – 4 สัปดาห์ จะทำให้ไข่สามารถฟักเป็นตัวพร้อมๆ กันได้

1.1 อุปกรณ์ฟักไข่ไรน้ำนางฟ้า
            -
น้ำ ได้แก่น้ำประปาและแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีคุณภาพน้ำที่เหมาะสม
           
- ภาชนะสำหรับฟักไข่  ภาชนะขนาดเล็ก  ( 5 - 20 ลิตร) หรือฟักในบ่อเลี้ยงโดยตรง
            
- ผ้ากรอง ที่มีขนาดที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์
1.2
วิธีการฟักไข่

นำไข่ที่อยู่ในสภาพพร้อมฟักทั้งไข่ที่ยังไม่ทำให้แห้งและ ไข่แห้งมาฟักโดยการเติมน้ำ ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 24 ชั่วโมงต่อมา
1.3 วิธีการเลี้ยง

                การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยโดยมีเป้าหมายที่การผลิตไรน้ำนางฟ้าตัวเต็มวัยเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์น้ำหรือประโยชน์อย่างอื่น สามารถเลือกวิธีการเลี้ยงได้หลายวิธีตามระดับความหนาแน่นของไรน้ำที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ เช่น เลี้ยงที่ระดับความหนาแน่นไม่เกิน 5 ตัวต่อลิตรสามารถเลี้ยงโดยที่เกือบไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดการเลี้ยงเพียงแต่เติมอาหารลงไปให้กินทุกวันเท่านั้นเมื่อเพิ่มความหนาแน่นขึ้นเป็น 10 - 20 ตัว จะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำวันละ 10 – 20 % และให้ฟองอากาศเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เพียงพอกับการใช้ภายในบ่อ และเมื่อเพิ่มความหนาแน่นขึ้นมากกว่า 30 ตัวต่อลิตร จะต้องเลี้ยงในระบบที่มีน้ำไหลผ่านตลอดการเลี้ยง  เพื่อระบายของเสียออกจากบ่อ ทำได้โดยการปล่อยให้น้ำสะอาดไหลเข้าบ่อทางด้านหนึ่งแล้วไปล้นออกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับของเสียโดยมีผ้ากรองที่ป้องกันไม่ให้ไรน้ำนางฟ้า
ถูกพัดพาออกไปด้วยอัตราการไหลของน้ำเข้าและออกจากบ่อเมื่อไรน้ำนางฟ้าอยู่ในระยะโตเต็มวัย (อายุ 5-7 วัน)ให้มีปริมาตรเท่ากับน้ำในบ่อเลี้ยงภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงส่วนไรน้ำนางฟ้ามีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่านี้จะต้องปรับอัตราการ
การไหลให้เหมาะสมกับขนาดและปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นภายในบ่อ   การระบายน้ำเข้า – ออกควรเริ่มใน วันที่ 2 - 3 ของการเลี้ยงโดยทั่วไป

 จะกำหนดขนาดของอาหารไว้ไม่เกิน60 ไมโครเมตร จากการศึกษาชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า พบว่า มีอาหารหลายประเภท   

ที่สามารถนำมาเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าได้ เช่น สาหร่ายสีเขียว รำ (ข้าว ข้าวโพด ) ยีสต์ แบคทีเรีย สาหร่ายแห้ง เป็นต้น

 1.4 การเก็บผลผลิต

การเก็บผลผลิตไรน้ำนางฟ้าสามารถเลือกเก็บได้ตามขนาดที่ต้องการ เช่น เมื่ออายุ 5 - 7 วัน มีความยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร และเมื่ออายุ 15 วัน มีความยาว กว่า 15 มิลลิเมตร เป็นต้น ผลผลิตตัวไรน้ำนางฟ้าเมื่อเลี้ยงครบ 15 วัน อยู่ระหว่าง 1,538.0 - 2,021.8 กรัมต่อปริมาตรน้ำ1 ลูกบาศก์เมตร และเก็บรวบรวมไข่ได้อีกประมาณ  4.5 - 6.3 ล้านฟอง

โรคที่มักเกิดกับไรน้ำนางฟ้าตัวเต็มวัยที่เลี้ยงในน้ำที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมได้แก่โรคสีดำ(Blackdisease) เมื่อไรน้ำเป็นโรคสีดำจะไม่ตายทันทีแต่จะทะยอยตายในภายหลังที่เป็นโรค 2 - 5  วัน

การเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการเมื่อตัวเต็มวัย

 

 คุณค่าทางโภชนาการ

ไรน้ำนางฟ้าไทย

ไรน้ำนางฟ้าที่พบในประเทศอินเดีย

อาร์ทีเมีย

โปรตีน

64.94

54.71

56.4

ไขมัน

5.07

11.01

11.8

คาร์โบไฮเดรท

17.96

7.43

12.1

เถ้า

8.4

10.44

17.4

 

ความเป็นไปได้ที่จะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยในเชิงธุรกิจ

-   การฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าสามารถควบคุมได้ทั้งปริมาณ  และระยะเวลา

-   สามารถเลี้ยงได้หนาแน่นถึง 50 ตัวต่อลิตร

-   ผลผลิต 1 ,698.33 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร  (นน.เปียก) 

-   ผลิตไข่ 4.5 - 6.3 ล้านฟอง ลูกบาศก์เมตร

-  ใช้คลอเรลล่าเป็นอาหาร ซึ่งเตรียมได้โดยวิธีที่ไม่ยุ่งยากและต้นทุนต่ำ

-  ไรน้ำนางฟ้าไทยมีโปรตีน 64.94 %

 

 

   กลับหน้าหลัก