อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

     

DIAC

          อุปกรณ์ที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะเป็นอุปกรณ์ที่มีการไหลของกระแสทิศทางเดียวเท่านั้น แต่อุปกรณ์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะเป็นอุปกรณ์ที่มีการไหลของกระแส 2 ทิศทาง
           DIAC เป็นอุปกรณ์ trigger ไฟ AC ที่มี 2 ขั้ว ซึ่งสามารถจะ trigger ในด้านบวกและด้านลบของสัญญาณ AC สัญลักษณ์แสดงดังรูปที่ 9 ขั้วแอโนดและแคโทดไม่มีความหมายในที่นี้เพราะว่าอุปกรณ์ชนิดเป็นอุปกรณ์ที่มี 2 ทิศทาง ดังนั้นจึงเรียกเป็น main terminal 1 (MT1) และ main terminal 2 (MT2) แทน DIAC เป็น SUSs 2 ตัวที่ขนานกัน

 

ทฤษฎีการทำงาน
 

 

             DIAC แสดงคุณสมบัติของ SUSs 2 ตัวที่ขนานกันแบบขั้วหักล้างกัน รูปที่ 10 DIAC มีค่า breakover voltage threshold สำหรับแต่ละขั้วและแต่ละการสลับของไฟ AC รูปคลื่นแสดงในรูปที่ 10 เป็นรูปคลื่นของโวลท์ที่เกิดที่ DIAC DIAC จะเริ่ม off ที่จุดตัดศูนย์ของแต่ละการสลับ โวลท์ที่ผ่าน DIAC จะสูงขึ้นทั้ง2ทิศทาง breakover voltage จะเกิดขึ้นและ DIAC จะ switch on และจะมีโวลท์ตกคร่อมที่ MT2 ไป MT1 ประมาณ 1 V characteristic curve แสดงกระแส holding ที่ต้องใช้สำหรับรักษาสภาวะใน2ทิศทาง ตัวต้านทานที่อนุกรมกับวงจร DIAC ต้องต่ำเพียงพอที่ทำให้ค่ากระแสขณะ on มากกว่ากระแส holding ตามธรรมดาแล้ว DIAC จะ reset หรือ turn off ทุก ๆ การสลับของไฟ AC ที่ป้อน โดยเกิดที่จุดตัดศูนย์หรือจุดที่มีการสลับซึ่งกระแสของ DIAC ที่จุดนี้จะต่ำกว่าค่ากระแส holding

 

 

การนำไตรแอกและไดแอกไปใช้งาน

ไตรแอกและไดแอกมักนิยมใช้งานกับแรงดันไฟสลับโดยสามารถทำงานและควบคุมแรงดันที่จะจ่ายไปยังโหลดได้ทั้ง แรงดันช่วงบวก
และแรงดันช่วงลบ การควบคุมเฟสของแรงดันออกเอาต์พุตทำได้โดยการกำหนดเวลาที่จะกระตุ้นแรงดันให้ขา G ของไตรแอก ดังนั้น
สามารถนำไตรแอกและไดแอกไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เพราะว่าไตรแอกเมื่อนำมาใช้งานกับแรงดันไฟสลับไม่จำเป็นต้อง
มีวงจรมาควบคุมการหยุดทำงาน เพราะแรงดันไฟสลับที่จ่ายเข้ามาจะมีช่วงเวลาที่แรงดันตกลงเป็นศูนย์โวลต์ทุกๆ ครึ่งไซเคิลไตรแอก จะหยุดทำงานเองตามแรงดันดังกล่าว

 

การประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไปมีดังนี้

1. วงจรหรี่ไฟหรือหรี่ขดลวดความร้อน
2. วงจรหรี่ไฟแสงสว่างที่มีชุดป้องกันสัญญาณรบกวน
3. วงจรปรับความเร็วมอเตอร์แบบยูนิเวอร์แซว
4. วงจรควบคุมความร้อนด้วยเทอร์โมสตาร์ท
 

 

ลักษณะการทำงานของไดแอกแตกต่างจากอุปกรณ์อย่างอื่นคือ อาศัยช่วงแรงดันพังเป็นส่วนของการทำงาน เมื่อป้อนแรงดันบวกเข้าที่ขั้ว T1 และลบเข้าที่ขั้ว T2 รอยต่อ N และ P ตรงบริเวณขั้ว T1 จะอยู่ในลักษณะไบแอสกลับ ดังนั้นจึงไม่มีกระแสไหลผ่านจาก T1 ไปยัง T2 ได้ แต่ครั้นเพิ่มแรงดันระหว่าง T1 และ T2 ขึ้นไปอีกจนถึงค่าแรงดันค่าหนึ่งจะทำให้กระแสไหลทะลุข้ามรอยต่อ N-P ส่วนรอยต่อ P-N ตรง T2 นั้นอยู่ในสภาวะไบแอสรงอยู่แล้ว กระแสที่ไหลผ่านไดแอคนี้เสมือนกับกระแสที่เกิดจากการพังในตัวไดโอดนั่นเอง ถ้าหากว่าไม่มีการจำกัดกระแสแล้วไดแอกก็จะพังได้ ในทำนองเดียวกันถ้าให้แรงดันบวกเข้าที่ขั้ว T2 และแรงดันลบเข้าที่ขั้ว T1

 

ResistorDiodeTransistorCapacitorSCR.TriacHom Page