ผู้บังคับบัญชา
  บทความ
  แจ้งเบาะแสอาชญากรรม
  เหตุด่วน...เหตุร้าย
  สถิติอาชญากรรม
  บัญชีหมายจับ
  ข่าวการจับกุมคดีสำคัญ
  ตรวจสอบรถถูกยึด
  ภาพกิจกรรมตำรวจปาด
  กต.ตร.สภ.อ.สุไหงปาดี
  การ์ตูนตำรวจ
  เครื่องแบบเฮฮา
  รู้ไว้ได้ประโยชน์
  ฎีกาน่ารู้
  เที่ยวสุไหงปาดี,นราธิวาส
  กฎหมายไทย600ฉบับ
  คู่มือประชาชน
  หลักการจำคนร้าย
  วิธีป้องกันรถหาย
  แนะวิธีอดบุหรี่
  สถานบำบัดยาภาคใต้
  อ่านข่าว,ฟังข่าวไทย
  ท่องเที่ยวทั่วไทย (sabuy)
  หางานทำ (jobsdb)
  ค้นหาเว็บกับsiamguru
  ค้นหาเว็บกับgoogle
  Web site อื่นๆน่าสนใจ
ลงสมุดเยี่ยม Guestbook
Webmaster
ระฆังห่วงใย จากใจ นายกรัฐมนตรี

 

 

......ชาวสุไหงปาดี ร่วมใจกันต่อต้านภัยยาเสพติด........ เหตุด่วนเหตุร้ายทุกท้องที่ โทร.191 .....ดับเพลิงทุกท้องที่ โทร.199 .....ดับเพลิง อำเภอสุไหงปาดี โทร.0-7365-1184 .....รถหายแจ้ง ศปร.ตร.โทร.1192....ตำรวจทางหลวง โทร.1193.... ศปร.ภ.จว.นราธิวาสโทร.073-511028...

 

 
 
สถานีตำรวจภูธรอำเภอสุไหงปาดี เลขที่ 414 ถ.สุขาภิบาล 6 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จว.นราธิวาส 96140

 

 

 

 

แนะ 3 ขั้นตอนการเลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด โดย พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา
ข้อมูลจาก www.thaiquit.com
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพร้อมจะเลิก ผู้สูบบุหรี่ซึ่งวางแผนล่วงหน้าก่อนลงมือเลิกบุหรี่จริง จะมีโอกาสทำสำเร็จ ได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีการวางแผน การวางแผนใช้เวลาน้อยมาก ขั้นตอนในการเตรียมตัวมี 4 ขั้นตอน คือ
1. ทำความเข้าใจการติดนิโคตินของตัวคุณเอง นิโคตินเป็นสารชนิดหนึ่งที่มีผลหลายอย่างต่อร่างกายคุณ นิโคตินจะกระตุ้นร่างกายของคุณทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย นิโคตินมีผลต่อสมองคุณทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นหลังจากสูบบุหรี่ 1 มวน ผู้เริ่มสูบบุหรี่ใหม่ๆจะรู้สึกเวียนหัวและคลื่นไส้ แต่จะเริ่มชินเมื่อสูบบ่อยเข้า เมื่อร่างกายชินแล้วก็จะเริ่มติดและจะสามารถสูบเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ เมื่อเริ่มเลิกร่างกายจะรู้สึกขาดอะไรไปบางอย่าง คุณจะเริ่มหงุดหงิด หิวและไม่มีสมาธิ ถึงแม้จะเลิกนานแล้ว บางคนเมื่อลองสูบบุหรี่ใหม่จะกลายมาเป็นสูบเป็นประจำ การติดนิโคตินเสมือนกับติดเฮโรอีนหรือโคเคน จากการวิจัยพบว่าผู้สูบบุหรี่บางราย ไม่สามารถเลิกได้ ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าการสูบบุหรี่มีอันตราย เพราะเพียงแต่คิดว่าตนเองจะไม่เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับอันตรายจากบุหรี่
2. รู้สาเหตุของการสูบบุหรี่ของคุณ ผู้สูบบุหรี่ทุกคนมีอุปนิสัยในการสูบบุหรี่และจะเกี่ยวข้องกับเวลา สถานที่และสถานการณ์ต่างๆ สาเหตุของการสูบบุหรี่คือ : ความรู้สึกทางอารมณ์ รู้สึกเครียด โกรธ ผิดหวัง หมดหวัง ความสุข รู้สึกสนุกสนาน ให้รางวัลแก่ตนเอง ความกดดันทางสังคม เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกับพรรคพวก นิสัย คุ้นเคยกับการสูบบุหรี่เมื่อทำงานต่างๆ การติด เพื่อให้ได้รับนิโคติน
3. วางแผนในการเลิกสูบบุหรี่ โทรศัพท์ขอคำแนะนำ คุณจะได้รับความช่วยเหลือในการวางแผนเลิกสูบบุหรี่ โดยการโทรศัพท์ปรึกษากับหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ ได้ที่ 0-2350-4000 (Quit to Win: เลิกเพื่อชัยชนะ) หรือ 1600 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
3.1 หาเพื่อนร่วมเลิก กำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ร่วมกันกับเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน โดยวางแผนร่วมกันและเป็นกำลังใจให้กันและกัน
3.2 หากำลังใจจากเพื่อนฝูงและครอบครัว บอกเพื่อนๆและครอบครัวว่าจะเลิกบุหรี่แล้วขอกำลัง ใจจากพวกเขา 3.3สำรวจในบันทึกของคุณว่าเพื่อนหรือบุคคลในครอบครัวคนใดทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ แล้วทางที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการพูดกับเขาในเรื่องนี้
4. กำหนดวันเริ่มต้นเลิกสูบบุหรี่ พยายามกำหนดวันภายใน 2 หรือ 3 สัปดาห์จากวันนี้ หาวันที่คุณจะไม่เครียดเรื่องงานและวันที่คุณมีเวลาเป็นของตัวเองเต็มที่
ขั้นตอนที่ 2 เลิก คุณคิดว่าการเลิกสูบบุหรี่จะทำได้ยากไหม คุณพร้อมที่จะเผชิญกับการท้าทายนั้นหรือไม่? คุณมีสิทธิที่จะรู้สึกกลัวหรือ ไม่แน่ใจ แต่จงแน่วแน่อยู่กับการตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ของคุณ คุณกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
1. เข้าใจอาการอยากบุหรี่หรืออาการถอนยา อาการถอนจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคุณขาดนิโคตินและสารเคมีอื่นๆ ในควันบุหรี่ ขอ ให้คิดเสียว่า นี่คืออาการของการปรับร่างกายในทางที่ดีขึ้น อาการบางอย่างจะหายไปภายใน 2-3 วัน และส่วนใหญ่จะหมด ไปเมื่อผ่านไป 2 หรือ 3 สัปดาห์ อาการทางอารมณ์ เช่น เครียด จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางร่างกายของคุณในขณะที่นิโคตินถูกขจัดออกจากร่างกาย อาการถอนประกอบด้วย ความอยากสูบ : แต่ละครั้งจะไม่กินเวลานาน แต่ความรู้สึกจะรุนแรง เมื่อผ่านพ้นไป ความอยากจะเกิดน้อยครั้งลง อาจปวดศรีษะเป็นครั้งคราว ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ เจ็บคอ น้อยรายที่จะมีอาการเกิน 4 วัน พฤติกรรมการนอนหลับเปลี่ยนแปลง การฝันไม่ปกติ แต่คนส่วนใหญ่จะหลับสบายขึ้น การไอ แปลว่า เส้นขนในปอดของคุณฟื้นขึ้นมาทำงานอีกครั้งและกำลังกำจัดทาร์และเสมหะ หงุดหงิด เครียด หดหู่ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหมดไปภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ เจริญอาหารมากขึ้นชั่วคราว และอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
หมายเหต - เกี่ยวกับการเพิ่มน้ำหนักตัว เมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่น้ำหนักตัวคุณอาจจะเพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เลิกสูบบุหรี่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และครึ่งหนึ่งจะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 2 กิโลกรัม ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว เพราะการสูบบุหรี่ ทำให้อยากอาหาร และนิโคตินทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมาก1, 2 เมื่อเลิกสูบบุหรี่ได้ก็จะใช้พลังงานน้อยลง แต่คุณอาจจะรู้สึกหิวบ่อย สำหรับบางคนแล้วไม่กล้าเลิกบุหรี่เพราะกลัวน้ำหนักตัวจะเพิ่ม ขอให้จำข้อคิดนี้ไว้
2.การจัดการกับอาการถอนยา วันแรกจะเป็นวันที่ยากที่สุด ผู้สูบบุหรี่น้อยคนนักที่จะเลิก ได้โดยไม่รู้สึกอยาก ถ้าจะเลิกได้คุณต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตผ่านพ้นความรู้สึกนี้ไปจนกว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก ต่อ ไปนี้เป็นข้อแนะนำให้เผชิญกับความอยากสูบบุหรี่ ลองทำตามคำแนะนำข้างล่างนี้ คำแนะนำนี้นำมาจาก คู่มือบุหรี่และสุขภาพ ของสถาบันควบคุมบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
2.1 อาการหงุดหงิด งุ่นง่าน ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อยๆ เพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปเร็วที่สุด ท ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว ปั้นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลาย เหงื่อจะช่วยขับถ่ายนิโคตินออกไป อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัวจะทำให้ผ่อนคลายได้ดี ท พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง
งดเว้นอาหารจากเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่างๆ ท ฝึกหายใจเข้า - ออกลึกๆ คล้ายกับถอนหายใจบ่อยๆ
2. 2 อาการ ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด ท นอนหลับ หรือนั่งเพื่อผ่อนคลายในห้องที่เงียบๆ ฟังเพลงเบาๆ ผ่อนความรู้สึกสับสนออกไป ท งดเว้นงานที่ต้องใช้ความคิดมากๆ ท พักร้อน หรือลางานครึ่งวันเพื่อผ่อนคลาย ท ดื่มนมอุ่นๆ
2.3 อาการ โกรธ ขุ่นเคืองง่าย ทอดทนกับอารมณ์ของตนเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่น เต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ท ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบ หรือชกหมอน เข้าห้องน้ำแล้วตะโกนก็ช่วยได้ เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก ท คุยปัญหากับเพื่อนสนิท
2.4 อาการหมดแรง ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้นเมื่อไม่ได้สูบ ทำให้หมดแรงเป็นธรรมดา หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่น ออกกำลังกาย เต้นรำ ท พักผ่อน ด้วยวิธีการนอน หรือออกไปสูดอาการในธรรมชาติ ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ ท รับประทานยาแก้ปวด
หมายเหตุ - อาการทางกายเหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพื่อปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติเท่านั้นอย่าตกใจ อาการจะเป็นเพียงชั่วคราวประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น สี่กลยุทธ์ที่ต้องจำ ถ่วงเวลา (Delay) เมื่ออยากสูบบุหรี่อย่าเพิ่งเปิดซองบุหรี่หรือจุดบุหรี่ เมื่อ 5 นาทีผ่านไป ความอยากจะลดลง แล้วความตั้งใจของคุณที่จะเลิกก็จะกลับมา หายใจลึกๆ ช้าๆ (Deep breathe) หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ 3-4 ครั้ง ท ดื่มน้ำ (Drink water) ค่อยๆจิบน้ำ และอมไว้สักครู่ให้รู้รสน้ำแล้วจึงกลืนลงคอ เปลี่ยนอิริยาบท (Do something else ) อย่าคิดเรื่องการสูบบุหรี่เปลี่ยนอิริยาบทไปทำอย่างอื่นเสีย เช่น ฟังเพลง ไปเดินเล่น หรือ ไปหาเพื่อนฝูง
3. กรรมวิธีในการเลิก (เลือกวิธีที่เหมาะสมกับคุณ)
3.1 แนวทางเลิกบุหรี่ในปัจจุบัน กำลังใจ อย่างเดียว ในการเลิกด้วยตัวเองโดยอาศัยกำลังใจอย่างเดียว พบว่าส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จน้อย และมักกลับมาสูบอีก ท วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้พฤติกรรมบำบัด การทำกิจกรรมกลุ่ม การใช้น้ำยาบ้วนปาก (ซึ่งทำให้รสชาดของบุหรี่เปลี่ยนไป) การสะกดจิต และการฝังเข็ม หลักฐานที่จะมาสนับสนุนผลความสำเร็จของวิธีการต่างๆเหล่านี้ยังขาดอยู่มาก1 ท การใช้ยาในการรักษาการติดนิโคติน การใช้ยาสามารถช่วยลดความทรมานจากการติดทางร่างกายได้ ทำให้เราสามารถทุ่มเทกำลังใจในการต่อสู้กับการติดทางจิตใจได้เต็มที่ ในปัจจุบันมีการใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ดังต่อไปนี้ การให้นิโคตินทดแทน มีอยู่ในรูปของแผ่นแปะนิโคติน และหมากฝรั่งนิโคติน หลักการคือการให้สารนิโคติน ในระดับต่ำๆเพื่อระงับอาการขาดนิโคติน อาการดังกล่าวได้แก่ อาการหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย เสียสมาธิ และเหนื่อยง่าย หลังจากนั้นจะค่อยๆลดขนาดยาลงเรื่อยๆจนหมด ทั้งแผ่นแปะนิโคติน และหมากฝรั่งนิโคตินใช้ได้ผลใกล้เคียงกัน ข้อจำกัดของการใช้นิโคตินทดแทนทั้ง 2 รูปแบบนี้คือ เมื่อเริ่มใช้ยาผู้สูบบุหรี่ต้องหยุดสูบบุหรี่ทันที การใช้ยาไปด้วยแล้วค่อยๆสูบน้อยลง จะทำให้เลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ นอกจากนั้นปริมาณนิโคตินโดยรวมที่ร่างกายได้รับเข้าไปอาจมากเกินไปทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น การใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จึงต้องอยู่ในภายใต้การดูแลของแพทย์ ยาเม็ดรับประทาน ในปัจจุบันมีแนวทางใหม่ในการเลิกบุหรี่ในรูปยาเม็ดรับประทานที่สามารถลดความอาการขาดนิโคติน โดยที่ผู้สูบบุหรี่ไม่จำเป็นต้องหยุดสูบบุหรี่ในทันทีที่ทานยา เนื่องจากยาตัวนี้ไม่มีส่วนผสมของสารนิโคติน จึงทำให้ไม่ต้องเสี่ยงกับการได้รับนิโคตินมากเกินไป การใช้ยานี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เช่นเดียวกัน
3.2 คำแนะนำในช่วงที่กำลังเลิก เพียงมวนเดียวก็มีผลร้าย ขอให้ใจแข็ง การกลับไปสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียวจะเป็นผลทำให้กลับไปสูบใหม่ คุณต้องต่อสู้กับความอยากให้ได้ การเลิกสูบบุหรี่คือการต่อสู้กับความอยาก แม้กระทั่งบุหรี่เพียงมวนเดียว และต่อสู้กับจิตใจของคุณเอง อดเป็นวันๆไป พยายามตั้งใจ ให้วันผ่านไปโดยไม่สูบบุหรี่ จำบุหรี่มวนแรกของคุณได้ไหม ? บางทีอาจจะทำให้คุณเวียนหัวไม่สบายก็ได้ ทำดีต่อร่างกายของคุณให้ปรับสภาพได้โดยไม่ต้องมีนิโคติน ชา กาแฟ และเครื่องดื่มประเภทโคล่า เครื่องดื่มเหล่านี้มีคาเฟอีน แต่ไม่มีนิโคติน การที่ไม่มีนิโคตินทำให้ร่างกายดูดซึมคาเฟอีนเข้าไปมากกว่าธรรมดา ทำให้กระวนกระวายและนอนไม่หลับ พยายามดื่มกาแฟให้น้อยลงหรือ ให้อ่อนลง หรือดื่มเครื่องดื่มคล้ายกาแฟ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือ ไดเอ็ดโคล่าที่ไม่มีคาเฟอีน เตือนสติตนเองเมื่อมือว่าง พยายามใช้มือทำโน่นทำนี่อย่าปล่อยให้มือว่างเอากุญแจมาขยำ หรือนับลูกประคำก็ได้ การสูบบุหรี่กับสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ มีรายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะไม่สามารถต้านทานความอยากสูบบุหรี่ได้ เมื่อดื่มเหล้าเข้าไป เหล้าและสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ จะทำให้คุณมีความอดทน ต่อความอยากสูบบุหรี่ได้น้อยลง ดังนั้น ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์และสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ สัก 2-3 สัปดาห์
ขั้นตอนที่ 3 เลิกอย่างถาวร ช่วงเวลาที่ยากผ่านไปแล้วคุณจะรู้สึกอยากบุหรี่น้อยลงทุกทีๆ และในไม่ช้าคุณจะเลิกคิดถึงบุหรี่ไปเลย แต่ความอยากบุหรี่อาจกลับมาได้อีกโดยที่คุณไม่ได้ตั้งตัว ถึงแม้ว่าคุณจะเลิกได้แล้ว แต่ก็ต้องระวังตัว ไว้และโปรดระลึกอยู่เสมอว่า สิ่งอื่นๆที่ดีกว่าบุหรี่ยังมีอยู่มากมายนัก คุณคือคนใหม่ ขอ ให้คิดว่าคุณเป็นคนไม่สูบบุหรี่นับแต่วันที่คุณเลิกสูบ หาวิธีใหม่ๆ สู้กับอารมณ์และความเครียด ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าอะไรทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญ แต่ยังมีความเศร้า ความโกรธ ความรู่สึกผิด ความหิว การสูบบุหรี่อาจทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น แต่เป็นแค่ชั่วประเดี๋ยวเดียว เมื่อคุณเลิกบุหรี่ คุณจะสามารถหาวิธีอื่นในการสู้กับความรู้สึกเหล่านี้ได้ คำแนะนำเมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ลำบาก หาวิธีใหม่ๆ ที่จะผ่อนคลาย
1. หายใจลึกๆ และช้าๆ
2. ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจของคุณอย่างเช่น นอนลง หรือนั่งในท่าที่สบายๆ ท หลับตาและหายใจลึกๆ ท เกร็งเท้าและนิ้วเท้าไว้แน่นๆ 2-3 วินาที แล้วปล่อยตามสบาย ทำแบบนี้กับกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อแขนและไหล่ ท คิดถึงสิ่งที่สบายๆไม่เครียด เช่น คิดว่ากำลังนอนใต้ต้นไม้ในวันที่อากาศเย็นสบายๆ แล้วคิดว่ามีสายลมพัดผ่านลูบไล้ผิวเนื้อคุณ ใบไม้พลิ้วแผ่ว ไม่มีอะไรให้กังวล หลับตาแล้วปล่อยให้จิตใจล่องลอยไปตามปรารถนา เมื่อผ่อนคลายแล้ว และเมื่อพร้อมให้ลืมตาและรู้สึกถึงความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับ เก็บความรู้สึกนั้นไว้กับตัว
3. ให้เพื่อนช่วยนวดหลังและไหล่
4. เปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันของคุณ
บุหรี่มีสารประกอบต่างๆ อยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ที่สำคัญ ได้แก
1.นิโคติน (Nicotine) เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองทั้งเป็นตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ขนาดน้อยๆ เช่น การสูบบุหรี่ 1-2 มวนแรก อาจกระตุ้นทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากหลายมวนก็จะกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ความรู้สึกต่างๆ ช้าลง ต้อยละ 95 ของนิโคติน จะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมีผลโดยตรงต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน (EPINEPHRINE) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและ ขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด บุหรี่ 1 มวนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลลิกรัม (ค่ามาตรฐานสากลกำหนดไว้ 1 มิลลิกรัม) และสำหรับบุหรี่ก้นกรองนั้นก็ไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้
2.ทาร์หรือน้ำมันดิน (Tar) ประกอบด้วยสารหลายชนิด เกาะกันเป็นสีน้ำตาล ทาร์เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งหลอดลม, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งไต, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอด ทำให้เกิดการระคายเคือง อันเป็นเหตุของการไอเรื้อรังมีเสมหะ ในคนที่สูบบุหรี่วันละซอง ปอดจะรับน้ำมันทาร์เข้าไปประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อมวน หรือ 110 กรัมต่อปี บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ระหว่าง 12-24 มิลลิกรัม/มวน
3. คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide) เป็นก๊าซที่ทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้ เท่ากับเวลาปกติ ผลที่ตามมาคือ เกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้าและเหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
4.ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะในตอนเช้าจะมีมากขึ้น
5.ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลมทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตกรวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้มีถุงลมจำนวนน้อย การยือหยุ่นในการหายใจเข้าออกน้อยลง ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
6.แอมโมเนีย (Ammonia) สารนี้มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอและมีเสมหะมาก 7.สารกัมมันตรังสี (Radioactive agents) ควันบุหรี่มีสาร โพโลเนียม 210 ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอด และควันบุหรี่ ยังเป็นพาหะที่ร้ายแรง ในการนำสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างที่ไม่สูบบุหรี่หายใจเอาอากาศที่มีสารพิษนี้เข้าไปด้วย 8.แคดเมียม (Cadmium) เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมโพลิเมอร์อิเล็คโทรนิค และเป็นสารประกอบที่อยู่ในถ่านไฟฉายด้วย มีผลกระทบต่อตับ ไต และสมอง บุหรี่ 1 มวนมีแคดเมียม 1-2 ไมโครกรัม และ 10 % ของแคดเมียมจะถูกหายใจเข้าไปเวลาสูบ สารหนู (Arsenic) เป็นสารเคมีที่ประกอบอยู่ในจำพวกผลิตภัณฑ์ยาฆ่าหญ้า มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อรับเอาสารนี้เข้าไปจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงอย่างแรง
9.ฟอมาลดีไฮด์ (Formaldehyde) รู้จักกันดีเป็นสารที่ใช้ในการดองศพ คนที่สูบบุหรีวันละ 20 มวน จะได้รับสารฟอร์มาลีนในประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อวัน และยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
10.ตะกั่ว (Lead) จะพบอยู่ตามโรงงานุตสาหกรรมจำพวกแบตเตอร์รี่ หรือโรงถลุงโลหะ เหล็กต่างๆ เป็นสารก่อมะเร็ง มีผลต่อหลายระบบในร่างกาย เช่น ทางระบบประสาท จะทำให้การได้ยินผิดปกติ ระดับไอคิวต่ำ ผลต่อระบบเลือด คือ จะทำให้ความดันเลือดสูงมีผลต่อระบบไต และที่สำคัญมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ในผู้ใหญ่ จะทำให้เป็นหมันในเพศชาย ซึ่งจะทำให้ตัวอสุจิ (sperm) ผิดปกติ และน้อยลง จึงทำให้เกิดสมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้
11.อะซิโตน (Acetone) เป็นสารประกอบสำคัญที่อยู่ในน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งพบว่าอยู่ในบุหรี่ด้วยเช่นกัน
บุหรี่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจแน่หรือ
จากรายงานการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาส หรือความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง 2.4 เท่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคความดันเลือดสูงหรือมีไขมันในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดถึง 1.5 เท่า แต่หากผู้สูบบุหรี่นั้น เป็นทั้งความดันเลือดและไขมันในเลือดสูง จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 8 เท่า ของคนทั่วไปโดยเฉลี่ยแล้วผู้ติดบุหรี่ จะทำให้เส้นเลือดเสื่อม และเกิดความตีบตันเร็ว มากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 - 15 ปี องค์การอนามัยได้ระบุว่า 1 ใน 4 หรือ ร้อยละ 25 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นผลจากการสูบบุหรี่ในสตรีสูบบุหรี่ที่ได้รับยาคุมกำเนิด จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าสตรีทั่วไปถึง 40 เท่า และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ และระบบหลอดเลือดสูงกว่าสตรีทั่วไปด้วย นอกจากนี้มีความเสี่ยงต่อการภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า โดยความเสี่ยงจะเพิ่มจากจำนวนบุหรี่ที่สูบ และในกลุ่มผู้ที่เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันนั้น ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละห้าสิบ) จะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเลย และอีกร้อยละ 25 จะไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล นั่นคือ หากเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันขึ้นแล้ว โอกาสจะมีชีวิตอยู่จะน้อยลงและมีปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตต่อไปด้วย
ผลจากการสูบบุหรี่ต่อการทำงานของหัวใจ
นิโคติน เมื่อดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้
1. ความดันโลหิตสูงขึ้น
2. หัวใจเต้นเร็วขึ้น
3. หลอดเลือดแดงหดตีบตัน
4. เพิ่มไขมันในเลือด
ผลของนิโคตินทำให้เกิดการทำลายของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือหัวใจขาดเลือด คาร์บอนมอนน๊อกไซด์ การหายใจเอาคาร์บอนมอนน๊อกไซด์เข้าไปเป็นจำนวนมาก จะทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหนะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย เป็นผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานมากขึ้น เพื่อจะสูบฉีดโลหิตนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าชพิษในควันบุหรี่ ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง ปรกอบกับสารพิษอื่นๆ ได้แก่ นิโคตินเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด เมื่อกลไกนี้เกิดซ้ำอีก ร่วมกับการขาดออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ ยิ่งจะทำลายเซลล์ชั้นในของหลอดเลือดมากขึ้น ทำให้ไขมันที่มีอยู่ในเลือดไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดได้ง่าย นอกจากนี้ควันบุหรี่ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกันมากขึ้น เกล็ดเลือดอายุสั้นลง เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น เลือดข้นขึ้น ทั้งนี้ ทำให้เลือดจับกันเป็นก้อนได้ง่าย เป็นสาเหตุทำให้เส้นแดงที่มีไขมันเกาะอยู่ชั้นในของหลอดเลือด หรือ หลอดแดงที่ตีบอยู่แล้ว เกิดการอุดตันได้ในทีทันใด ทำกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจเสียชีวิตทันทีทันใดได้ การสูบบุหรี่กับโรคหัวใจและหลอดเลือด
ในประเทศที่พัฒนาแล้วคนที่สูบบุหรี่ตายจากโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ไม่สูบเกือบ 3 เท่า และการสูบบุหรี่นั้น มีความสัมพันธ์กับจำนวนบุหรี่ที่สูบ ยิ่งสูบมากเกินกว่าวันละ 1 ซอง ก็ยิ่งทำให้อัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขึ้นในประเทศเรา ได้มีการศึกษาในจำนวนประชากรที่เกิดโรคหัวใจขาดเลือด พบปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค เรียงตามลำดับ คือ
1. การสูบบุหรี่มากกว่า 10 มวนขึ้นไป ยิ่งสูบเกิน 20 มวน ต่อวันขึ้นไป ยิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงมากขึ้น
2. ผู้ป่วยเบาหวาน
3. ความดันโลหิตสูง
4. อ้วน
5. ไขมันในเลือด
6. ความเครียด
7. การไม่ออกกำลังกาย
โรคถุงลมปอดโป่งพอง และอาการ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ทรมานและรุนแรงมาก
ก่อให้เกิดทุกขเวทนาแก่ผู้ป่วย ญาติมิตร โดยปกติภายในปอดจะประกอบไปด้วยถุงลมเล็กๆ มากมาย ทำหน้าที่ฟอกเลือด ถ่าย ออกซิเจนให้เลือดดำ ควันบุหรี่โดยสารพิษภายในบุหรี่ทำให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง ทำลายเยื่อบุภายในหลอดลม ถุงลม มีการสลายตัวของโปรตีนภายในทางเดินหายใจ เป็นผลให้เยื่อบุหลอดลมหนาขึ้น หลอดลมตีบเล็กลง ทำให้ต้องออกแรงมากขึ้นในการหายใจ ส่วนถุงลมก็เกิดการอักเสบ ผนังถุงลมบวมอักเสบ เปราะแตก ฉีกขาดมารวมกันเป็นถุงลมขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถฟอกเลือดได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หอบเหนื่อยง่าย อาการของโรคถุงลมโป่งพอง ในระยะแรก มักไม่ค่อยมีอาการมาก อาจเป็นอาการทั่วๆไปคือ ไอเรื้อรัง มีเสมหะ เป็นหวัด เจ็บคอ คออักเสบง่าย หายยาก หลอดลมอักเสบบ่อยหายช้า ต้องใช้ยารักษานานกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ สภาวะของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองที่ได้รับความทรมานต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะที่ สอง มีอาการหอบเหนื่อย เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หน้าอกบวม หายใจมีเสียง ต้องใช้กล้ามเนื้ออก และบริเวณไหล่มากเวลาหายใจ หายใจลำบากเพราะหลอดลมตีบเล็กลง ถุงลมเล็กแตกรวมกันทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศไม่ได้ ส่วนในระยะที่เป็นมากแล้ว จะหอบเหนื่อยมากทำงานไม่ได้ เดินหรือดำรงชีวิตประจำวันไม่ได้เพราะเหนื่อยมาก ทำงานตามปกติไม่ได้ ต้องนอนพักเพราะร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ต้องได้รับออกซิเจนช่วยตลอดเวลา เนื่องจากปอดถูกทำลายหมดและการให้ออกซิเจนก็ต้องให้ด้วยความระมัดระวังกว่าคนปกติ เพราะหากให้ออกซิเจนในปริมาณสูงอาจทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจได้ หากผู้ป่วยหอบเหนื่อยมากๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจทำให้ดูน่าทุกขเวทนาสำหรับญาติและผู้พบเห็น และสำหรับผู้ป่วยเอง ก็เป็นความทุกข์ทรมานยิ่งของบั้นปลายชีวิต โรคถุงลมปอดโป่งพองเป็นหนึ่งในสามโรคจากบุหรี่ที่สำคัญ แต่เป็นโรคจากบุหรี่ที่ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานมากที่สุด เพราะจะมีอาการหอบเหนื่อยตลอดเวลาจนกว่าจะเสียชีวิต ชีวิตสดใสหลังเลิกบุหรี่
สรุป - เมื่อคุณหยุดสูบบุหรี่ หลังจากคุณหยุดสูบบุหรี่มวนสุดท้ายเพียง 20 นาที จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องในร่างกายของคุณ
20 นาที
- ความดันโลหิตเริ่มลดลง และกลับเข้าสู่ปกติ อุณหภูมิของมือ และเท้าสูงขึ้นและ กลับเข้าสู่ปกติ
8 ชั่วโมง
- ระดับของคาร์บอนมอนนอกไซด์ในเลือดต่ำลงและเข้าสู่ระดับปกติ ระดับของออกซิเจนในเลือดสูงขึ้น และกลับเข้าสู่ระดับปกติ
24 ชั่วโมง
- ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันลดลง
48 ชั่วโมง
- ปลายประสาทเริ่มเจริญเติบโตใหม่อีกครั้ง

 
 
If you have comments or questions regarding this web site, please send E-mail to
theSungaipadee Police Department at the following: padee3@yahoo.com Unless otherwise noted,
all material is copyright @ 2000. The Sungaipadee Police Department. All rights reserved.