ผู้บังคับบัญชา
  บทความ
  แจ้งเบาะแสอาชญากรรม
  เหตุด่วน...เหตุร้าย
  สถิติอาชญากรรม
  บัญชีหมายจับ
  ข่าวการจับกุมคดีสำคัญ
  ตรวจสอบรถถูกยึด
  ภาพกิจกรรมตำรวจปาด
  กต.ตร.สภ.อ.สุไหงปาดี
  การ์ตูนตำรวจ
  เครื่องแบบเฮฮา
  รู้ไว้ได้ประโยชน์
  ฎีกาน่ารู้
  เที่ยวสุไหงปาดี,นราธิวาส
  กฎหมายไทย600ฉบับ
  คู่มือประชาชน
  หลักการจำคนร้าย
  วิธีป้องกันรถหาย
  แนะวิธีอดบุหรี่
  สถานบำบัดยาภาคใต้
  อ่านข่าว,ฟังข่าวไทย
  ท่องเที่ยวทั่วไทย (sabuy)
  หางานทำ (jobsdb)
  ค้นหาเว็บกับsiamguru
  ค้นหาเว็บกับgoogle
  Web site อื่นๆน่าสนใจ
ลงสมุดเยี่ยม Guestbook
Webmaster
ระฆังห่วงใย จากใจ นายกรัฐมนตรี

 

 

......ชาวสุไหงปาดี ร่วมใจกันต่อต้านภัยยาเสพติด........ เหตุด่วนเหตุร้ายทุกท้องที่ โทร.191 .....ดับเพลิงทุกท้องที่ โทร.199 .....ดับเพลิง อำเภอสุไหงปาดี โทร.0-7365-1184 .....รถหายแจ้ง ศปร.ตร.โทร.1192....ตำรวจทางหลวง โทร.1193.... ศปร.ภ.จว.นราธิวาสโทร.073-511028...

 

 
 
สถานีตำรวจภูธรอำเภอสุไหงปาดี เลขที่ 414 ถ.สุขาภิบาล 6 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จว.นราธิวาส 96140

 

 

 

 

ข้อเขียน และบทความจากผู้บังคับบัญชา และนายตำรวจใน จว.นราธิวาส

6.บทความเรื่องอำนาจการจับกุมของตำรวจตามรัฐธรรมนูญ(โดย พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา)
ฉบับที่ 1 >> ฉบับที่ 2

5.ผู้ว่า ซีอีโอ
(โดย พ.ต.อ.อนุรุต กฤษณะการะเกตุ)>>อ่าน
4.ผู้ว่า ซีอีโอ (โดย บุญช่วย ศรีสารคาม)
ผู้ว่า CEO
เป็นชื่อใหม่ และรู้สึกว่าจะเข้าใจสับสนกันอยู่ ผู้เขียนจึงขอใช้ประสบการณ์ ความรู้ และสติปัญญา แสดงความเห็น
เกี่ยวกับผู้ว่า CEO เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ผู้ว่า CEO คืออะไร ? ตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ และตามที่ใช้กันอยู่ในวงการบริหารธุรกิจ CEO คือ CHIEF EXECUTIVE OFFICER ในวงการบริหารราชการหรือบริหารแผ่นดิน คำว่า CEO มีการนำเข้ามาใช้น้อย แต่ก็มีอยู่บ้างเช่น ต่งเจี้ยนหัว ผู้บริหารเกาะฮ่องกง
ในปัจจุบัน ก็เรียกว่า CHIEF EXECUTIVE ของเกาะฮ่องกงนั้น มีการจัดงานกันอย่างใหญ่โต เจ้าฟ้าชายชาร์ลล์ มงกุฎราชกุมารประเทศอังกฤษก็เสด็จร่วมพิธีด้วย ในประเทศไทยเรา ท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ให้นำเอาความคิดการบริหารแบบ CEO เข้ามาสวมใส่ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด เป็นการทดลอง ได้แก่ จังหวัดลำปาง จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดชัยนาท จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนราธิวาส ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 นี้ จึงได้ชื่อว่า CEO
ผู้ว่า CEO เป็นรูปแบบ ( FORM) เป็น Style เป็นบทบาท (ROLE) เป็นสถานะภาพ (STATUS) เป็นศูนย์กลางการบริหารงานทั้งหลายทั้งปวงในจังหวัดรวมทั้งเป็นความหวัง (ASPIRATION) ของประชาชน จะเป็นผู้ว่า CEO ได้ต้องมีปัจจัยส่งเสริมทั้งภายนอกและภายใน ปัจจัยส่งเสริมจากภายนอก คือการให้อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ตามตัวบทกฏหมาย ตามนโยบายที่ชัดเจน ตามกฏ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการ EMPOWER ให้แก่ผู้ว่า CEO ถ้ากฏหมายหรือ กฏระเบียบคำสั่งข้อบังคับใด ที่เป็นอุปสรรคหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการสวม อำนาจให้แก่ผู้ว่า CEO แล้วก็ต้องแก้ไข
สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น รวมทั้งต้องประกาศนโยบายของรัฐบาลให้ชัดเจน ปัจจัยส่งเสริมภายใน เป็นพลังภายในในตัวของผู้ว่า CEO เอง พลังภายในนี้ได้แก่ ความรู้และปัญญา (KNOWLEDGE AND WISDOM ) ความรู้และปัญญามันไม่ได้กอดกันอยู่มันอิง อาศัยกันเกิดก็จริง แต่มันไม่ได้เกิดพร้อมกันที่เดียว ผู้มีความรู้แล้วจะถือว่ามีปัญญาด้วยนั้นไม่ถูกต้อง โบราณจึงกล่าวความจริงว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เพราะมีแต่ความรู้แต่ขาดปัญญา โดยทั่วไปทางราชการมักมองแต่ความรู้ไม่มองปัญญาด้วย ซึ่งถือว่าไม่สมบูรณ์ ผมจึงเอาปัญญามาเขียนรวมไว้กับความรู้ ความรู้เกิดจากการศึกษา การเรียนรู้จากตำรา (TEXT BOOK) จากครูบาอาจารย์ (TEACHER) จากการสังเกตทดลอง (TEST) และจากประสบการณ์ แต่ปัญญาเกิดจากการคิด และการอบรมสติปัญญา ผู้ว่า CEO จึงต้องมีทั้งความรู้และปัญญา ความสามารถ (COMPETENCY) ในวงการบริหารธุรกิจเขาดูกันที่ความสามารถมาก ใครมีความสามารถมากเขาก็ถือว่าเป็นมืออาชีพ จะมีความสามารถได้ต้องทำงานหนัก (WORK HARD) มีการทุ่มเท มุ่งมั่น และจริงจัง ลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยจะพบเห็นในวงราชการบ่อยนัก ท่านนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นแบบอย่างของการบริหารงานแบบ CEO ให้เป็นอย่างดีเพราะท่านทำงานหนัก ท่านขยัน ท่านทุ่มเท และมั่งมั่น และยังกล้าตัดสินใจ กล้ารับผิดชอบ คุณธรรม (MORALITY) เป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ มีทั้งเป็นหลักธรรมกว้าง ๆ มีทั้งเป็นหัวข้อธรรม ข้อปฏิบัติ มีทั้งเป็นจริยธรรม สุดแท้แต่จะเลือกนำมาปฏิบัติ แต่พุทธธรรมที่ใช้กันมาตั้งแต่ โบราณกาล และปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม และสังคหวัตถุ 4 ความเป็นผู้นำ (LEADERSHIP) ต้องกล้านำและนำถูกทาง ต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ อย่าคิดอย่างเด็ก อย่าทำอย่างเด็ก อย่าใจน้อยอย่างเด็ก อย่าบริหารงานอย่างที่องค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ออกมาพูดต่อสาธารณะชนว่า ทำงานแบบผู้จัดการ สันดานเสมียน จนเป็นที่ฮือฮากัน เมื่อผู้ว่า CEO ได้รับการสวมอำนาจและมีกำลังภายในอยู่พร้อมดังกล่าวนี้แล้ว ก็ให้นั่งภาวนา สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ปล่อยลมหายใจออกยาว ๆ ทำอยู่ประมาณสัก 5 นาที โดยเพ่งพิจารณาไปด้วย (CONTEMPLATING) จนให้เห็นรู้สัจธรรมของความเป็นผู้ว่า CEO และให้เห็นรู้ถึงกิจธรรม คือจะทำอะไร กับภาระการเป็นผู้ว่า CEO การที่เขียนให้รู้ถึง สัจธรรม และกิจธรรมของสิ่งต่าง ๆ นั้น เป็นการรู้อย่างพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เขียนขึ้นมาเพื่ออารมณ์ขัน ของพระพุทธเจ้าจริง ๆ ต้องรู้ครบ 3 รอบ หรือครบวงจร นั้นก็คือ ต้องรู้ถึงกตธรรมด้วย คือส่งที่เรารู้มานั้นได้ทำเสร็จหรือยัง เมื่อท่านเพ่งพิจารณาเห็นว่าเรามีความพร้อม การเป็นผู้ว่า CEO แล้ว ก็ไม่ต้องเปล่งวาจาอะไรออกมา เดี๋ยวลูกเมีย และลูกน้องจะแปลกใจคงทำเป็นปกติทุกอย่าง และตั้งหน้าทำงานให้ก้าวไปข้างหน้า เมื่อมีความเป็นผู้ว่า CEO เต็มตัวแล้วจะทำอะไรต่อไป ? เรื่องนี้มีความสำคัญมาก ซึ่งผมคิดว่าคงไม่มีใครคิด ได้มาก่อนเรื่องที่จะทำต่อไปก็คือให้นำไปสร้าง "ศํกยภาพ C-E-O"
ศํกยภาพ C-E-O คืออะไร ? ศักยภาพ C คือ CO-OPERATION ผู้ว่า CEO จะต้องสร้าง CO-OPERATION คือความร่วมมือภายในหน่วยงาน ภายในองค์กร ภายในจังหวัดให้ได้ การสร้าง TEAM WORK เป็นทางหนึ่งที่ จะสร้าง CO-OPERATION ท่านอย่าไปคิดถึง CO-ORDINATION เพราะ CO-ORDINATION มีดีกรีต่ำกว่ามาก มีการประสานงานกัน
อย่างหลวม ๆ ไม่เกิดพลัง บางทีช่วยได้เพียงทำให้การประสานงานไม่เป็นการประสานงาเท่านั้น ถ้าท่านสร้าง CO-OPERATION ได้ ก็มีลู่ทางที่จะก้าวไปสู่ พลังแผ่นดิน ตามที่ท่านนายกทักษิณเอ่ยถึงอยู่บ่อย ๆ และก็จะนำไปสู่การทูลเกล้า ถวายพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ ภูมิพลังแผ่นดิน ศักยภาพ E คือ EFFICIENCY หรือประสิทธิภาพการทำงาน อันนี้เป็นหัวใจ เป็นจุดสำคัญของการบริหารงาน ไม่ว่าองค์กรเล็ก องค์กรใหญ่ ถ้าเป็นประสิทธิภาพการบริหารงานบริษัท หรือธุรกิจ เขามักจะเน้นไม่ที่ 3 P คือ PRODUCTIVITY ได้แก่การเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุน,PROFIT ได้แก่การทำกำไร ยิ่งทำได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี,PROSPERITY ได้แก่ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย แต่ผู้ว่า CEO อยู่ในวงการการบริหารสาธารณะ (PUBLIC ADMINISTRATION) ฉะนั้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมุ่งไปที่ความสุขของประชาชนด้วย นั้นก็คือ นอกจาก 3 P ดังกล่าวข้างต้น จะต้องเติม PH เข้าไปด้วย นั้นก็คือ PEOPLE'S HAPPINESS ศํกยภาพ O ได้แก่ ORDERLY ผู้ว่า CEO ต้องสามารถออกคำสั่ง (ORDER) แก่ข้าราชการและหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ในบังคับบัญชา และในการดูแลได้ คือสั่งอะไรไปเขาต้องเชื่อฟัง และ ปฏิบัติตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยเก่ามีความเจ็บปวด กับการออกคำสั่งนี้มาก
จนถึงกับพูดกันว่า สั่งไปก็เหมือนสั่งขี้มูก ถ้าผู้ว่า CEO แก้ไขตรงนี้ไม่ได้ ก็จะไม่แตกต่างอะไรกับผู้ว่าธรรมดา ส่วน ORDERAL คือการจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ว่า CEO ต้องสามารถสั่งให้จัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขององค์กร ของหน่วยงาน ให้พ้นจากความสกปรก ความอึมครึม ความมืดมิด ความไม่โปร่งใส รวมทั้งการทำงานแบบเลอะเทอะ แบบไม่เอาไหน
รวมทั้งการทุจริต คอรัปชั่น ส่วนการจัดระเบียบสังคม และการจัดระเบียบชุมชนที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สนใจและมุ่งมั่นอยู่ในขณะนี้ก็สามารถเอาศักยภาพ C-E-O นี้เข้าไปจัดการได้ คำถามต่อไปก็คือ เมื่อผู้ว่า CEO สามารถสร้างศักยภาพ
C-E-O ได้แล้ว, จะเอาไปใช้ทำอะไร? จากการติดตามข่าวการทำงานของผู้ว่า CEO และการให้สัมภาษณ์ทางสื่อมวลชน เห็นว่าผู้ว่า CEO ยังงง ๆ อยู่ และยังไม่มีแนวความคิดที่จะใช้ศักยภาพให้สมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะเน้นไปในทางการใช้แก้ปัญหา ผมมีความเห็นว่าควรจะใช้ศักยภาพ C-E-O ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงคิดเห็นว่าศักยภาพ C-E-O น่าจะใช้ได้ 3 ช่องทาง ช่องทางที่ 1 (ใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ) การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในทุกวันนี้ยังล่าช้า ยังไม่จบสิ้น ยังอ่อนปวกเปียก ยังไม่ตรงจุด ยังไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม เมื่อผู้ว่า CEO
มีศักยภาพ C-E-O แล้วน่า จะสามารถแก้ไขปัญหาได้เด็ดขาด -รวดเร็ว เสร็จ ถูกต้อง และเป็นธรรม
ปัญหาที่รอการแก้ไขอยู่ในขณะนี้มีมากมาย ทั้งปัญหาของประชาชน ปัญหาการไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัญหาการขาดแคลน ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ปัญหาเรื่องที่ดินและที่ทำกิน ปัญหาป่าไม้ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ ช่องทางที่ 2 นำไปปรับปรุงงานการให้บริการประชาชน แทบทุกหน่วยงานมีงานบริการ ประชาชนทั้งนั้น แต่การบริการประชาชนก็ยังไม่รวดเร็ว มีการกลั่นแกล้ง ยึกยัก เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ มีการบิดเบี้ยว ไม่ให้ความเป็นธรรม เจ้าหน้าที่พูดจาและมีกริยาท่าทางไม่เรียบร้อย ดูหมิ่นดูแคลน ประชาชน มีการเลือกปฏิบัติ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีมายาวนาน และสร้างความเจ็บปวด ให้แก่ประชาชน คนยากคนจนมาก เมื่อผู้ว่ามีศักยภาพ C-E-O อยู่ในกำมือก็น่าจะแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ได้ ช่องทางที่ 3 นำไปเพิ่มพูนประสิทธิภาพการบริหารงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดบางคนบ่นว่า โอนงานพัฒนาและงานบริหารไปให้องค์กรส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นแล้ว จึงไม่ค่อยจะมีงานทำ การคิดเช่นนี้ผมถือว่าคิดผิด จริง ๆ แล้วงานบริหารที่ผู้ว่าจะต้องดูแลยังมีอยู่มากมาย เช่น การบริหาร การจัดการ การบริหารเวลา การบริหารองค์กร ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารการพัฒนานั้นไม่ใช่การก่อสร้างถนน สะพาน แหล่งน้ำ หรือ งานโครงสร้าง
พื้นฐานต่าง ๆ เท่านั้น แต่การพัฒนาจะต้องมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางที่สำคัญ 5 ประการคือ
1. BASIC NEEDS ได้แก่ ความจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งมีทั้งสิ่งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ มีทั้ง สิ่งที่ต้องใช้เงินจัดทำและไม่ต้องใช้เงินจัดทำ
2. SOCIAL JUSTICE ได้แก่ ความเป็นธรรมในสังคม การไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เรื่องนี้ มีทั้งสิ่งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ มีทั้งสิ่งที่ต้องใช้เงิน และไม่ใช้เงิน มีทั้งที่สามารถลงมือทำได้เดี๋ยวนี้ และต้องใช้เวลา
3. SELF-RELIANCE คือการพึ่งพาตนเอง โครงการที่มีลักษณะพึ่งพาตนเองมีมากมาย โดยเฉพาะโครงการพระราชดำริ เศรษฐกิจ
เพียงพอ
4. PEOPLE'S PARTICIPATION คือการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเลือกโครงการ,การตัดสินใจในโครงการ การร่วมทำงานในโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการในทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม เรื่องนี้ประชาชนร่ำร้องมาก และเสียงร่ำร้องจะดังขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในทางการเมือง เพราะประชาชนเห็นว่า INDIRECT หรือ REPRESEN ATIVE DEMOCRACY อย่างที่เราใช้ ๆ กันอยู่ทุกวันนี้มีข้อบกพร่อง มีจุดอ่อนหลายประการ ฉะนั้นประชาชนจึงหันไปหา ประชาธิปไตยแบบ DIRECT หรือ PEOPLE DEMOCRACY มากขึ้น ต่อไปเสียง NGO จะดังและสั่นสะเทือนมากยิ่งขึ้น ผู้ว่า CEO จึงต้องดูการพัฒนาในเรื่อง PEOPLE PARTICIPATION นี้เป็นเรื่องสำคัญ 5. QUALITY OF LIFE คือคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องสุขภาพ อนามัย การศึกษา สวัสดิการสังคม ความพออยู่ พอกิน ซึ่งงานเหล่านี้จะไปมอบให้องค์กรส่วนท้องถิ่นเสียทั้งหมดก็คงไม่ได้ ผู้ว่า CEO ยังต้องเข้าไปรับรู้และไปดูแลด้วย การนำศักยภาพ C-E-O ไปใช้ควรมีขั้นตอนอย่างไร ? เนื่องจากภาระกิจของผู้ CEO เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างมาก และมีขอบข่ายกว้างขวาง จึงต้องใช้เวลา และทำงานเป็นขั้นตอน ผมขอเสนอความเห็นขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การสวมอำนาจให้ผู้ว่า การแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับต่าง ๆ รวมทั้งการถ่ายโอนอำนาจ การถ่ายโอนงบประมาณการเงิน และทำความเข้าใจ กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ขององค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก ถ้าทำความเข้าใจไม่ถึงแก่น จะสร้าง CO-OPERATION,EFFICIENCY และ ORDER ไม่ได้
ขั้นตอนที่ 2 คือการทำงานเชิงรุก นำเอาศักยภาพ C-E-O ไปใช้อย่างเต็มที่และทุกช่องทาง
ขั้นตอนที่ 3 ได้แก่การประเมินผล ซึ่งแน่นอนคงจะมีการประเมินตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ (SCIENTIFIC METHOD)
ขั้นตอนที่ 4 ได้แก่ การทบทวนการทดลองเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง และการสรุปผลรายงานต่อสาธารณะ ส่วนแต่ละขั้นตอนจะมีกรอบเวลาอย่างไร ผมคงไม่สามารถคิดแทนได้
บทสุดท้าย ผู้ว่า CEO เป็นนักปกครองอยู่หรือเปล่า ? ผมขอฟันธงตามความเห็นของผมว่ายังเป็นอยู่ เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเหตุผล ทาง ประวัติศาสตร์ก็ดี โดยความเป็นจริงที่เป็นจริงอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ดี ผู้ว่าราชการจังหวัดคือ ผู้ปกครอง บ้านเมือง ในขณะที่รัฐบาลคือผู้ปกครองประเทศชาติ ผู้ปกครองบ้านเมืองจะต้องมีคุณลักษณะ และคุณธรรมหลายอย่างเช่น "PLATO" กล่าวว่าผู้ปกครองบ้านเมืองที่ดีจะต้องเป็นนักปราชญ์ "ขงจื้อ" ให้คำสอนไว้ว่าผู้ปกครองบ้านเมืองจะต้องมีคุณธรรมที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. RIGHTEOUSNESS
คือความเป็นธรรม ความชอบธรรม
2. BENEVOLENCE คือเมตตาธรรม ในประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศไทย ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ปกครองประเทศได้ปกครองประเทศและอาณาประชาราษฎร์ ด้วยพระเมตตาธรรม ทรงมีความรักประชาชนเสมือนบิดากับบุตร ดังจะเห็นได้จาก พระราชจริยวัตร์ พระราชกรณียกิจ ของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังเช่น พระเจ้ารามคำแหงมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้แต่ในปัจจุบันซึ่งการปกครองประเทศชาติเป็นแบบระบอบประชาธิปไตย แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราองค์ปัจจุบันก็ยังทรงเป็นเจ้าพ่อหลวงของปวงประชาชาวไทย ดังเป็นที่ประจักษ์แนบแน่นอยู่ในดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ผมอยากจะยกตัวอย่างของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงรักและห่วงใยประชาชนเหมือนลูกซึ่งตัวอย่างนี้เข้าใจว่าน้อยคนจะได้พบอ่าน นั้นก็คือประกาศรัชกาลที่ 4 ฉบับที่ 203 พ.ศ.2504 เรื่อง ดาวหางปีระกาตรีศก (ณ วันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีระกาตรีศก) ประกาศแก่ราษฎร์ผู้ใหญ่ผู้น้อยและประชาราษฎร์ไทยทราบโดยทั่วกัน ความบางตอนมีดังนี้ "ถ้ากลัวว่าฝนจะแล้งในฤดูฝน ก็ให้เตรียมตัวต่อสู้เหตุ อย่างนี้คือว่า กลัวฝนแล้งเมื่อฝนยังมี อยู่ให้รีบทำนาเสีย ทำข้าวไร่ ข้าวหางม้า ข้าวสามเดือน ทันสารท ไปตามได้ตามมี ที่ไม่ได้ทำนา พี่น้องบุตรภรรยา บ่าวไพร่มาก ก็ให้จัดซื้อข้าวเก็บเตรียมไว้ให้พอกัน อย่าตื่นขายเสียนัก" "ถ้ากลัวความไข้ว่า เกลือกฝีดาษจะรุมตัวใครแลบุตรหลานใครยังไม่ได้ออก
ฝีดาษ ก็ให้รีบพามา ปลูกฝีดาษที่โรงงาน นอกก็ดี โรงหมอท่าพระก็ดี ศาลาวัดสุทัศน์เทพวรารามก็ดี เสียโดยเร็ว อย่าให้ทันฝีดาษมีมา" "ถ้ากลัวว่าไข้ลงรากจะมีมากก็ให้ขัดตัวปฏิบัติเสียให้สะอาด อย่าให้สกปรกโสมมความเคยตัวนัก" "ขอให้ข้าราชการและราษฎร์ทั้งปวงรักษากาย รักษาใจ รักษาเหย้า รักษาเรือนและทรัพย์สมบัติอยู่โดยปกติ อย่าเชื่อมดต่อหมอดูคนทรงผีว่าอย่างนี้อย่างนั้น" อ่านข้อความบางตอน ในประกาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แล้วจะทราบซึ้งใจในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีความรักและห่วงใยปวงอาณาราษฎร์ ดุจบิดากับบุตรพระมหากษัตริย์ไทยทรงรักประชาชนอย่างแท้จริง ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์และด้วยสภาพ ความเป็นจริงที่แท้จริงในปัจจุบัน เป็นผู้ปกครองบ้านเมืองเป็นผู้ดูแลทุกข์สุขของประชาชน จะต้องมีจิตวิญญาณของ นักปกครองอยู่เสมอ นั่นก็คือ รักประชาชนและมีความจริงใจต่อประชาชน จะเป็นเพียงผู้ว่า CEO เท่านั้นคงไม่เพียงพอ ข้อเขียนข้างบนนี้ผมคิดและเขียนจาก -ความจริงในประวัติศาสตร์ (HISTORY)
-จากปรัชญาการปกครอง (PHILOSOPHY)
- จากความรู้ทางวิชาการการบริหารการจัดการ (MAMAGEMENT SCIENCE)
- จากประสบการณ์ทำงาน (ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัดเป็นเวลายาวนานต่อเนื่องกันถึง 16 ปี )
- และจากพุทธปัญญา (BUDHIST WISDOM)

เรื่องที่ 3 โจรกรรมรถสูตรใหม่ วางดาวน์น้อยถอยป้ายแดง
(ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา - 16 มิ.ย.2544))
*ตลอดพรมแดนไทย-กัมพูชา ยาวเหยียดกว่า 160 กิโลเมตร ขบวนการค้ารถข้ามชาติเคยรวย
แบบติดปีกเมื่อวันวานอย่างไร วันนี้ไม่แปรเปลี่ยน จะผิดแผกไปบ้างก็วิธีการ รูปแบบการครอบครอง
รถมีวิวัฒนาการล้ำหน้าไปอย่างเป็นระบบ
*ก่อนหน้านี้มีแค่แก๊งค์นักบิด นักบิน พึ่งเพียงกุญแจผีออกอาละวาดไม่เกิน 20 แก๊งค์ และเป็นคู่ปรับ
ศูนย์ป้องกันโจรกรรมรถ(ศ.ปร.ตร./ศ.ปร.น.) 3 แก๊งค์หลัก คือ"แดง โคกปปีบ" "สิงห์ บ้านสวน"
และ"จ่าหรั่ง" แต่บัดนี้มีแก๊งค์น้องใหม่ออกอาละวาด แบบพกเงินดาวน์ตุงกระเป๋า ใช้กลยุทธ์
ที่แยบคาย สามารถขับรถผ่านด่านขนส่งไปขายชายแดนประเทศเพื่อนบ้านอย่างสง่าผ่าเผย
เฉพาะบริษัทวิริยะประกันภัย ยักใหญ่แห่งวงการประกันรถเจอมาเกือบ 50 ราย เฉลี่ยปีละ 5-10 ราย
*วิธีการ นายทุนมอบเงินก้อนหนึ่งให้หน้าม้านำไปวางดาวน์ถอยรถป้ายแดง โดยว่าจ้างหน้าม้าทำที
เป็นผู้เช่าซื้อรถให้ เมื่อผ่านขั้นตอนทำเอกสารประกันภัย และจัดไฟแนนซ์เรียบร้อย และถอยรถออก
มาแล้ว หน้าม้าก็จะส่งมอบรถพร้อมเอกสารที่ถูกต้องทุกอย่างให้แก๊งค์นี้นำรถไปสต๊อคไว้ที่โกดัง
ชายแดน รอจนกว่าจะส่งรถข้ามแดนไปเรียบร้อยแล้ว จึงให้หน้าม้ากลับไปแจ้งความกับพนักงาน
สอบสวน และขอเคลมกับบริษัทประกันภัย ซึ่งทำประกันชั้นหนึ่งไว้ว่ารถหาย ถ้าบริษัทประกันภัย
เชื่อตามนั้น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือไฟแนนซ์ เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัย ซึ่ง
บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินให้บริษัทไฟแนนซ์ หน้าม้าผู้เช่าซื้อจึงลอยตัวไม่ต้องรับผิดชอบ เพียง
เสียค่าประกันภัยงวดแรกกับเงินดาวน์เท่านั้น ซึ่งคุ้มกับราคารถที่นำไปขายได้
*พวกแก๊งค์ฉ้อฉลมีจุดสังเกตุหลายอย่าง เป็นต้นว่าชอบออกรถหลายแห่ง ทำประกันไว้หลายที่
สลับกันเป็นผู้ค้ำประกัน มีกิจการหรืออาชีพอื่นบังหน้า
*การดำเนินคดีกับขบวนการดังกล่าวในศาลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเมื่อขึ้นศาล ภาระการพิสูจน์
ตกเป็นของบริษัทประกันภัย แต่บริษัทก็ไม่สามารถหารถของกลางมายืนยันได้ เฉพาะบริษัทวิริยะ
ประกันภัยบริษัทเดียว ต้องควักค่าสินไหมรถหาย ทั้งหายจริงและจากแก๊งค์ต้มตุ่นนี้ปีละร้อย
กว่าล้านบาท
*ขณะนี้มีรถจากฝั่งไทยไปใช้อยู่มากมายในประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา โดยเฉพาะรถปิคอัพ
ขับเคลื่อนสี่ล้อ เป็นที่ต้องการของลูกค้าในประเทศดังกล่าวมาก เมื่อข้ามพ้นจากปรเทศไทยไปแล้ว
โอกาสจะได้คืนแทบเป็นศูนย์ มีการนำไปขึ้นทะเบียนได้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ
โดยไม่จำเป็นต้องทราบที่มาของรถ ทำให้ไทยต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละหลายพันล้านทีเดียว
ท่านนายกทักษิณกำลังเดินทางไปเยือนทั้ง 3 ประเทศ กรุณาพูดปัญหานี้กับผู้นำของประเทศ
เหล่านั้นด้วยจะดีไหมเอ๋ย

เรื่องที่ 2 วิสัยทัศน์ในการปราบปรามยาเสพติด (พ.ต.ท.สมศักด์ ณ โมรา -16 พ.ค.2544)
*เมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2544 ผู้เขียนในฐานะหัวหน้าชุดป้องกันปราบปรามยาเสพติด สภ.อ.
สุไหงปาดี เข้าร่วมอบรมสัมนาในเรื่อง " คิดทำอย่างไร...ให้ขยายผลไปสู่การจับกุมนักค้ายาเสพติด"
โดยสัมนาร่วมกับปลัดอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดนราธิวาส
อำเภอละ 2 ท่าน และชุดปราบปราม
ยาเสพติดของ ตชด.ที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดนราธิวาส โดยศูนย์ป้องกันปราบปรามยาเสพติด
จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนงบประมาณ ซึ่งในระยะที่ผ่านมาจากรายงานของ ปปส.ภาคใต้ ได้
รายงานว่าในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 9 (7 จังหวัดตอนล่าง) จังหวัดนราธิวาส มีผลการปฏิบัติในการ
ปราบปรามยาเสพติดได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่มีการระบาดของยาเสพติด
ในระดับสูง (พื้นที่สีแดงจำนวน 5 อำเภอคือ เมือง สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี ตาบใบ และแว้ง สภาพ
พื้นที่ซึ่งติดกับประเทศมาเลเซีย มีเส้นทางลำเลียงยาเสพติดจากไทยไปมาเลเซีย มาเลเซียมาไทย
ได้หลายทาง )
*ท่าน ผบก.ภ.จว.นราธิวาส (พล.ต.ต.ปรีชา ปลดริปู) ได้แสดงปาฐกถาวิสัยทัศน์ไว้น่าฟัง ซึ่งขอ
นำมาเล่าให้ฟังเฉพาะบางส่วน
และบางส่วนเป็นความคิดเห็นของผู้เขียน
*ภัยที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยปัจจุบันนี้ ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐจะต้องต่อสู้ ได้เปลี่ยน
จากภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์ ไปเป็นภัยใน 3 ประการคือ ภัยจากปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน
ของประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศ ภัยจากปัญหายาเสพติด ซึ่งคนไทยใช้ยาเสพติดประมาณ
1 ล้านคน และติดยาเสพติดจำนวน 3 แสนคน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งเป็นเยาวชน และภัยอีกประการ
ที่บ่อนทำลายชาติคือปัญหาการคอรัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวงในทุกวงราชการ โดยเฉพาะ
ปัญหายาเสพติดถ้าเราแก้ไขไม่ได้ประเทศไทยจะต้องสิ้นชาติแน่นอน รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย
ได้เอานโยบายการปราบปรามยาเสพติดเป็นนโยบายหลักและเร่งด่วน แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้
เป็นความจริงที่เราต้องยอมรับว่าไม่สามารถทำลายให้ยาเสพติดทุกชนิดหมดสิ้นไปจากแผ่นดิน
ไทยได้ แต่หากร่วมมือกันทุกฝ่าย จะแก้ไขให้เบาบางลงได้ เมื่อมีการปราบปรามตัวยาชนิดหนึ่ง
พ่อค้าผู้ผลิต ก็คิดค้นตัวยาชนิดใหม่ขึ้นอีก พ่อค้าคนนี้ถูกจับ ก็เกิดพ่อค้าหน้าใหม่ขึ้นอีกตลอด
เวลา ส่วนนายทุนใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังก็ยังเสวยสุขอยู่ต่อไป ยากในการปราบปรามเพราะอิทธิพล
เงินสูง รวมทั้งอิทธิพลทางการเมือง
(ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น) เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกซื้อ
เป็นพวก ไม่ร่วมมือโดยตรงก็ร่วมมือโดยอ้อม เพราะเกรงกลัวอิทธิพล และเอาตัวรอด ประการ
สำคัญ ขณะนี้กำลังฝ่ายเราอ่อนแอ จึงยากที่จะต่อสู้ โดยเฉพาะกำลังฝ่ายกระบวนการยุติธรรม
ยังไม่ผนึกกำลังกันเท่าที่ควร เพื่อทำให้กลุ่มพ่อค้ายาเสพติดเกรงกลัว

*ฝ่ายเขา
1.พ่อค้ายาเสพติด ทุกระดับ
2.ผู้สนับสนุน(ลูกมือ)
3.ข้าราชการ(ทุกประเภท)ผู้สนับสนุนทางตรงและทางอ้อม
*ฝ่ายเรา
1.ครอบครัว
*พ่อแม่ไม่เอาใจใส่ดูแลต่อลูกหลาน เอาแต่ทำงานหาเงิน ไม่มีเวลาให้ เมื่อเกิดเหตุขึ้นไม่ยอมรับ
ความเป็นจริง ที่จะช่วยกันแก้ไขนำไปบำบัดรักษา
2.โรงเรียน ไม่ยอมรับความจริง พยายามรักษาชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นสำคัญ ได้ปิดบังและไม่
ร่วมแก้ปัญหา โครงการโรงเรียนสีขาวไม่บรรลุผลเท่าที่ควร
3.โรงพยาบาล มีน้อยที่จะรับผู้ติดยาเสพติดเข้าบำบัดรักษา และปิดบังข้อมูลผู้ติดยา โดย
ถือเป็นความลับของผู้ป่วย
4.ตำรวจ หัวหน้า สภ.บางแห่งยังขาดความจริงจังในการปราบปราม มอบหมายแต่ชุด ขปส.
ในการปราบปรามจับกุม กำลังส่วนอื่นไม่สนใจเท่าที่ควร
5.ศาล มองในเรื่องสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายแก่ผู้ตัองหามากเกินไป ตีความเคร่งครัด ไม่เปิด
ช่องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปราบปรามทำงานโดยสะดวก บางครั้งขอหมายค้นก็ยาก
ในการพิจารณาคดี ยึดถือแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานเช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วไป
ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของผู้ค้ายาเสพติด ควรเร่งรัดให้มีศาลยาเสพติดเกิดขึ้นโดยเร็ว
6.อัยการ บางส่วนยังถูกกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดซื้อตัวเป็นพวก ยังมีการวิ่งเต้นคดีได้
7.ราชทัณฑ์ อ้างงบประมาณและสถานที่ไม่เพียงพอ หาวิธีการปล่อยตัวด้วยการพักโทษ
และพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ ยังหลุดพ้นจากการคุมขังเนื่องจากมีอิทธิพลทางการเงินสูง
ยังมีข่าวการแพร่ระบาดยาเสพติดในเรือนจำ
8.ฝ่ายปกครอง ถือว่าเป็นงานเฉพาะกิจไม่จริงจังในการป้องกันและปราบปราม ยังขาดความ
ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
*ปัญหาในเรื่องการใช้บัตร ปปส.เพื่อยกเว้นไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล อันเป็นข้อยกเว้น
ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่ผู้ปราบปรามกลัวจะเป็นความผิดจึงไม่กล้าใช้อำนาจ
ตามบัตร เนื่องจากคำพิพากษาของศาลจังหวัดลำปาง แม้คณะกรรมการกฤษฎีการจะ
วินิจฉัยแล้วว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (ยังไม่เคยมีเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย)
บัดนี้ มีคำพิพากษาของศาลฎีกา เป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่เกรงกลัวอีกต่อไป
คือคำพิพากษาฎีกา ที่ 4536/2543 โดยย่อดังนี้
*ผู้ดำเนินการจบักุมและตรวจค้นคือร้อยตำรวจเอก ศ. ซึ่งสืบทราบและวางแผนจับกุมจำเลย
โดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลยในการจำหน่ายเมทแอมแฟตตามีน ให้แก่ผู้ขับรถบรรทุก
จากการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตตามีน 2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของ ใกล้
กับที่นั่งของจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็น
ที่รโหฐาน นั้น ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดำเนินการทันที ยาเสพติดอาจถูก
โยกย้าย เมื่อแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้จำเลยดูแล้ว ร้อยตำรวจเอก ศ.
จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้โดยไม่ต้อง
มีหมายจับหรือหมายค้น ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14

เรื่องที่ 1 การใช้วิทยาการให้เต็มที่ในงานสอบสวน ทำให้ไม่จับแพะ
(พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา - 17 มี.ค..2544)
*ข่าวทางสื่อมวลชนขณะนี้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สร้างภาพพจน์ที่ไม่ดี
เป็นอย่างยิ่งคือการจับคนร้ายผิดตัว กรณีคนร้ายปล้นทรัพย์ร้านทองนวทองคำ ในหมู่บ้านนวนคร
ที่ อ.คลองหลวงจว.ปทุมธานี ซึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้วชุดเฉพาะกิจ ภ.จว.สมุทรปราการ จับกุมตัวผู้ต้องหา
ดำเนินคดีจำนวน2 คน คือนายชุบ ชุมแสง และนายเชษฐ์ ชุมแสง สองพ่อลูก เมื่อ 6 ธันวาคม 2540
ผู้ต้องหาทั้งสองคนยังอยู่ในเรือนจำระหว่างการดำเนินคดีชั้นศาล ต่อมาปรากฏว่ามีการจับกุมผู้ต้อง
หาได้ใหม่อีก 2 คนคือนายอัศวิน หรือสุชาติ สิทธิทองหลาง และนายยุทธนา นึกหมาย ซึ่งผู้ต้องหา
ทั้งสองคนหลังรับสารภาพและพบพยานหลักฐานทองคำรูปพรรณของกลาง
และพยานทางวิทยาศาสตร ์คือรอยลายนิ้วมือแฝงของคนร้ายในร้านทองที่เกิดเหต
*จะไม่พูดถึงประเด็นที่ว่าในการจับกุมนายชุบฯแลนายเชษฐ์ฯ มีการซ้อมผู้ต้องหาให้รับสารภาพ
หรือไม่ด้วยวิธีใด หากชุดจับกุม และพนักงานสอบสวนกระทำไปโดยไม่ถูกต้อง หวังจะเอาแต่ผล
งาน แน่นอนเมื่อความจริงกระจ่าง ย่อมจะต้องรับโทษทั้งทางสังคมและอาญา แต่ประเด็นที่อยาก
พูดถึงในวันนี้อยู่ที่ประเด็นของการปฏิบัติหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานทางคดีของพนักงาน
สอบสวน เพื่อให้ศาลเห็นว่าตามข้อกล่าวหา ผู้ต้องหาได้กระทำผิดอย่างไร เพื่อศาลจะได้ลงโทษผู้
ต้องหาได้ พนักงานสอบสวนบางคน มักจะสั่งฟ้องตามคำรับสารภาพของผู้ต้องหา ไม่สนใจที่จะหา
พยานหลักฐานอื่น เมื่อผู้ต้องหาปฏิเสธในชั้นศาล ผลที่สุดศาลมักจะยกฟ้อง แสดงให้เห็นถึงความ
ไม่เอาใจใส่ของ พนักงานสอบสวนในการปฏิบัติหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎ
หมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งๆคดีเหล่านั้นผู้ต้องหานั้นคือคนร้ายตัวจริง ไม่ใช่แพะ ยิ่งได้อ่าน
คอลัม "สกุ๊ปข่าวสด"ของหนังสือพิมพ์ข่าวสดฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เรื่อง ผ่ากม.พิทักษ์แพะ
พิฆาตตร.ชั่วจับมั่ว ซึ่งสัมภาษณ์นายทองใบ ทองเปา ทนายแม๊กไซไซ และอ่าน คอลัม"ชกไม่มีมุม"
ของวงค์ ตาวัน หน้า 13 ของหนังสือพิมพ์ฉบับและวันเดียวกัน เรื่อง ตำราสืบ-สอบด้วยแล้ว
ยิ่งไม่สบายใจ ด้วยแล้ว เป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของพนักงานสอบสวนในการทำคดี
* อยากจะให้พนักงานสอบสวนทุกนายในการทำคดีให้รวบรวมพยานหลักฐาน ให้มากที่สุดเท่าที่จะ
ทำได้ ทั้งพยานบุคคล พยานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิทยาการตำรวจให้มากที่สุด แม้คดีนั้นๆเมื่อ
จับกุมตัวผู้ต้องหาได้และให้การรับสารภาพก็ตาม อย่าลืมว่าความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
ยังไม่เสร็จสิ้นแค่การจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ สอบสวนเสร็จส่งพนักงานอัยการฟ้อง ความรับผิดชอบ
จะเสร็จสิ้นจนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา กระบวนการในการสืบพยานชั้นศาล เมื่อผู้ต้องหามีช่อง
ทางที่เห็นว่าจะต่อสู้คดีได้ ย่อมมีสิทธิที่จะต่อสู้ทางศาล และผู้ต้องหาที่ต่อสุ้คดีในชั้นศาลร้อยทั้งร้อย
มักจะอ้างว่าเหตุที่รับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนเพราะถูกผู้จับกุม หรือพนักงานสอบสวน
ซ้อม(ทำร้ายร่างกาย)จึงรับสารภาพ หากภาพพจน์ของพนักงานสอบสวนไม่ดีในสายตาของประชา
ชน (รวมทั้งศาลด้วย) ย่อมกระทบต่อการพิจารณาพิพาษาของศาลแน่นอน
*ตัวผู้เขียนเอง ทั้งๆที่ในชีวิตรับราชการตำรวจ เป็นพนักงานสอบสวนมาครบปีที่ 20 ในปีนี้ ไม่เคย
เลยที่จะซ้อมผู้ต้องหาแม้แต่ครั้งเดียว คำรับสารภาพทุกคดีที่ทำหมายถึงผู้ต้องหารับสารภาพด้วย
ความเต็มใจ หรือจำนนต่อพยานหลักฐานที่เราแสวงหาและรวบรวม ก็ไม่วายที่ถูกผู้ต้องหาให้การ
ในศาลตามที่ผู้ต้องหาให้การเอง หรือรับการเสี้ยมสอนจากทนายความว่าผู้เขียนซ้อม จึงได้รับ
สารภาพในชั้นสอบสวน เราไม่สามารถแก้ตัวเป็นอย่างอื่นได้ หรือฟ้องร้องผู้ต้องหาได้(เพราะเป็น
สิทธิของผู้ต้องหาตามกฎหมายที่จะให้การอย่างใดก็ได้) ได้แต่แสดงให้ศาลเห็นตามพยานหลัก
ฐานเพื่อให้ศาลเชื่อตามข้อกล่าวหา และภาพพจน์ที่ดีไม่เคยมีประวัติการซ้อมผู้ต้องหาแต่อย่างใด
อยากจะยกตัวอย่างการทำคดีเรื่องการถูกผู้ต้องหา กล่าวหาต่อหน้าศาลในการสืบพยานและทนาย
ความพยายามยกประเด็นมาให้ศาลเคลือบแคลงสงสัย ในการปฏิบัติงานของความเป็นพนักงาน
สอบสวน มาสัก เรื่อง
*เรื่องนี้เกิดเมื่อปี พ.ศ.2535 ขณะผู้เขียนเป็นสารวัตรหัวหน้างานสอบสวน สภ.อ.กันตัง จว.ตรัง
ทำคดีคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์ และฆ่าเจ้าทรัพย์(นายสุพจน์ สวัสดี สจ.ประจวบคีรีขันธ์) จุด
เริ่มต้นในการจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ คือการใช้วิทยาการจังหวัดมาร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุ และ
เก็บปลอกกระสุนปืนลูกซองในที่เกิดเหตุได้ 2 ปลอก จากการสอบสวนพยานในที่เกิดเหตุ 2
ปาก ยืนยันว่าคนร้ายจำนวนหลายคน แต่ 2 คน เป็นคนยิงผู้ตายจากปืนลูกซอง 2 กระบอก คือ
แบบลูกซองยาวธรรมดา และลูกซอง 5 นัด แบบสไลด์แอ๊คชั่น เมื่อตรวจสอบในหมู่บ้านใกล้เคียง
พบว่าน่าจะเป็นปืนลูกซอง อพป.จึงประสานกับนายอำเภอขอยึดอาวุธปืน อพป.ทั้ง 3 หมู่บ้าน
ใกล้ที่เกิดเหตุ เกือบ 100 กระบอก ส่งไปยิงตรวจเปรียบเทียบกับปลอกกระสุนปืนของกลาง
เพียง 3 วัน ก็รู้ว่ากระสุนปืนของกลางยิงมาจากปืนกระบอกใด จึงจับกุมตัวผู้ครอบครองปืนได้
รับสารภาพ และซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด ในการสอบสวนผู้ต้องหารับสารภาพได้สอบสวนต่อ
หน้าพ่อหรือแม่ผู้ต้องหาแล้วแต่กรณี และสอบสวนพ่อแม่ผู้ต้องหาเป็นพยานอีกชั้นหนึ่งว่า
ผู้ต้องหารับสารภาพ เมื่อถึงชั้นศาล จริงดังที่คิดผู้ต้องหาทั้ง 5 คนที่จับได้และชั้นสอบสวน
รับสารภาพต่างปฏิเสธหมด และอ้างว่าเหตุที่รับสารภาพเพราะผู้เขียนซ้อมให้รับ
ในที่สุดศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา พิพากษายืนให้จำคุกตลอดชีวิตผู้ต้องหาที่ 1,2
(คนที่ใช้อาวุธปืน) และผู้ต้องหาที่ 3 จำคุก 5 ปี(คนที่เก็บทรัพย์สินของผู้ตาย ซึ่งติดตามยึดคืนมา
ได้ภายหลังจากคำรับของผู้ต้องหาที่ 3 เอง) เมื่อวิเคราะห์คดีนี้ให้ดี ศาลเชื่อและลงโทษ
ผู้ต้องหาได้ทั้งๆที่พยานบุคคล 2 ปาก ไม่ดีเท่าไร เพราะ 1)ผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
เรื่องปลอกกระสุนปืนของกลาง 2)คำรับสารภาพชั้นสอบสวน ภาพถ่ายติดประชาชนที่มามุงดู
จำนวนหลายร้อยคน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับให้ผู้ต้องหาทำการชี้ประกอบคำรับโดยไม่
สมัครใจ 3)รับสารภาพต่อหน้า พ่อหรือแม่ผู้ต้องหา ซึ่งปกติจะไม่ปรักปรำลูก 4)พยานบุคคล
ในที่เกิดเหตุ 5)พยานแวดล้อมอื่น 6)ติดตามหาทรัพย์สินผู้ตายได้จากคำรับสารภาพของผู้ต้องหา

 
 
If you have comments or questions regarding this web site, please send E-mail to
theSungaipadee Police Department at the following: padee3@yahoo.com Unless otherwise noted,
all material is copyright @ 2000. The Sungaipadee Police Department. All rights reserved.